สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์

สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2529 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าโกศล ไกรฤกษ์
ถัดไปมนตรี พงษ์พานิช
เลขาธิการพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม พ.ศ. 2530 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2532
ก่อนหน้าพงส์ สารสิน
ถัดไปมนตรี พงษ์พานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าเชาวน์ ณ ศิลวันต์
ถัดไปพลตรี ศิริ สิริโยธิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2473
อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (77 ปี)
โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (เสียชีวิต)[1]
ช่อพิภพ โอสถานุเคราะห์

ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม อดีตรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานกรรมการบริษัท โอสถสภา จำกัด กลุ่มบริษัทในเครือโอสถสภา และนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ

ร.ต.อ.สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 ที่จังหวัดพระนคร มีชื่อเล่นว่า เพชร (ซึ่งนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อจริงของบุตรชายคนโต) เป็นบุตรของนายสวัสดิ์ (บุตรชาย นายแป๊ะ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งห้างขายยาโอสถสภา (เต็กเฮงหยู) ต้นสกุลโอสถานุเคราะห์) และคุณหญิงล้อม โอสถานุเคราะห์ จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, วิทยาลัย วิลบราฮัม แอนด์ มอนสัน (WILBRAHAM & MONSON ACADEMY) รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และได้รับปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

ร.ต.อ.สุรัตน์ เคยได้รับเกียรติยศต่างๆ คือ รางวัลเกียรติคุณนักการตลาดไทย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544, ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 และปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539

นอกจากนี้ ร.ต.อ.สุรัตน์ ยังเป็นนักถ่ายภาพชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นผู้สะสมกล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์การถ่ายภาพ ไว้กว่า 3,000 ชิ้น จนได้รับรางวัลศิลปินนักถ่ายภาพไทย จากสมาพันธ์การถ่ายภาพไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545, รางวัลผลงานภาพถ่าย เดอะอีเลฟเว่นไตรอังแนล (The XI Triennale) จัดโดย สถาบันลาลิทฆาลา (Lalit Kala Akademi) กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และรางวัลโฟโต้ซิตี้ซากามิฮาร่า สาขาเอเชีย จากงานเทศกาลภาพถ่ายแห่งเมืองซากามิฮาร่า ครั้งที่ 6 ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549

การทำงาน

ธุรกิจ

ร.ต.อ.สุรัตน์ รับสืบทอดกิจการ บริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด จากนายสวัสดิ์ บิดา โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท โอสถสภา จำกัด, กลุ่มบริษัทในเครือโอสถสภา, บริษัท โอสถสภา ไทโช จำกัด และกรรมการ บริษัท โอสถสภา ประกันภัย จำกัด, บริษัท ชิเซโด้ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อิเซตัน (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไทย ฮาคูโฮโด จำกัด และบริษัท ฮาคูโฮโด (กรุงเทพฯ) จำกัด

สินค้าที่มีชื่อเสียงของเครือโอสถสภา เช่น ยาแก้ปวดทัมใจ, ยากฤษณากลั่นตรากิเลน, ยาธาตุ ๔ ตรากิเลน, ยาอมโบตัน, ลูกอมโอเล่, ลูกอมโบตันมินท์บอล, เครื่องดื่มเอ็ม-150, เครื่องดื่มลิโพวิตัน-ดี, เครื่องดื่มฉลาม, เครื่องดื่มเกลือแร่ เอ็ม-สปอร์ต, เครื่องดื่ม.357 แม็กนั่ม, เครื่องดื่ม ชาร์ค คูลไบต์, เครื่องดื่ม เอ็ม-แม็กซ์, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายทเวลฟ์พลัส, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเอ็กซิท และ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เบบี้มายด์ เป็นต้น

การเมือง

ร.ต.อ.สุรัตน์ เข้าสู่วงการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2512 ต่อมาเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม ในสมัยที่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค เมื่อปี พ.ศ. 2518 และขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปีเดียวกัน[2] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[3] ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2526 เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[4] แล้วดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2528[5] แต่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2529[6] หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีออกใบอนุญาตนำไม้ซุงเข้าจากพม่า แล้วได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจน้อยที่สุดในบรรดารัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายในคราวเดียวกัน เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลลงมติงดออกเสียง [7] จากนั้นได้รับแต่งตั้งให้เป็น ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ ของกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมา เป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ในสมัยที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก่อตั้งพรรคขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 จากนั้น ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2539 เป็นตำแหน่งท้ายสุดทางการเมือง

ด้านการศึกษาและสังคม

ร.ต.อ.สุรัตน์ เป็นผู้ก่อตั้ง และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ก่อตั้ง และประธานมูลนิธิโอสถสภา ผู้ก่อตั้ง และประธานมูลนิธิมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้ก่อตั้ง และประธานมูลนิธิสวัสดี และประธานมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการสภาธุรกิจไทย-ฝรั่งเศส (ฝ่ายไทย) กรรมการมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย

ชีวิตครอบครัว

ร.ต.อ.สุรัตน์ สมรสกับปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (สกุลเดิม เธียรประสิทธิ์) ซึ่งเป็นพี่สาวของสปัน เธียรประสิทธิ์ อดีตภรรยาของชรินทร์ นันทนาคร[1] สุรัตน์และปองทิพย์มีบุตรชายสองคน คือ เพชร โอสถานุเคราะห์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพและนักดนตรี (ถึงแก่กรรมแล้ว)และ รัตน์ โอสถานุเคราะห์ ซึ่งทั้งสองเข้ารับช่วงการบริหารบริษัทในเครือโอสถสภา และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ต่อจาก ร.ต.อ.สุรัตน์ ที่วางมือจากตำแหน่งบริหาร ต่อมาสมรสกับนางช่อพิภพ โอสถานุเคราะห์

อสัญกรรม

ร.ต.อ.สุรัตน์ เข้ารักษาอาการปวดขา และขาบวม ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ก่อนจะถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเวลา 15.20 น. วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ขณะมีอายุ 78 ปี โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม ที่ศาลาเจ้าจอม วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร และจะมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในปี พ.ศ. 2557

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ หัวเดียวกระเทียมลีบบนถนน คนหน้าหนา?" (Press release). นิตยสารผู้จัดการ. ตุลาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  3. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ลาออก ให้นายมนตรี พงษ์พานิช เปลี่ยนตำแหน่ง และตั้งนายสันติ ชัยวิรัตนะ)
  7. กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง หน้า ๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ถัดไป
เชาวน์ ณ ศีลวันต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(15 กุมภาพันธ์ 2518 - 13 มีนาคม 2518)
ศิริ สิริโยธิน
โกศล ไกรฤกษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(15 มกราคม 2529 – 6 พฤศจิกายน 2529)
มนตรี พงษ์พานิช

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!