ชาข้าวบาร์เลย์ (อังกฤษ : Barley tea ) เป็นเครื่องดื่มชงธัญพืชคั่วที่ทำจากเมล็ดข้าวบาร์เลย์ เป็นเครื่องดื่มที่สำคัญในหลายประเทศในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน [ 1] มีรสชาติขม[ 2] [ 1]
ในประเทศเกาหลี ชาข้าวบาร์เลย์ดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น โดยมักจะใช้แทนน้ำดื่มในบ้านและร้านอาหารหลายแห่ง[ 3] [ 4] ในประเทศญี่ปุ่นมักเสิร์ฟแบบเย็นและเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในฤดูร้อน[ 5] ชายังมีจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบถุงชาหรือบรรจุขวดในเกาหลี และญี่ปุ่น [ 4] [ 5]
ศัพทมูล
ในประเทศจีน ชาข้าวบาร์เลย์เรียกว่า ต้าไม่ฉา (大麦茶 ; 大麥茶 ; dàmài-chá ) หรือ ไม่ฉา (麦茶 ; 麥茶 ; mài-chá ) ซึ่ง ต้าไม่ (大麦 ; 大麥 ; dàmài ) หรือ ไม่ (麦 ; 麥 mài ) มีความหมายว่า "ข้าวบาร์เลย์" และ ฉา (茶; chá ) มีความหมายว่า "ชา"
ในประเทศญี่ปุ่น ชาข้าวบาร์เลย์เรียกว่า มูงิชะ (麦茶 ; mugi-cha ) ซึ่งใช้อักษรตัวเดียวกันกับอักษรภาษาจีน ไม่ฉา (麦茶 ; 麥茶 ; mài-chá ) หรือ มูงิยุ (麦湯 ; むぎゆ ; mugi-yu ) ซึ่ง ยุ (湯 ; ゆ ; yu ) มีความหมายว่า "น้ำร้อน"
ในประเทศเกาหลี ชาข้าวบาร์เลย์เรียกว่า โพรีชา (보리차 ; bori-cha ) ซึ่งคำภาษาเกาหลีแท้ โพรี (보리; bori ) มีความหมายว่า "ข้าวบาร์เลย์" และคำภาษาเกาหลีที่ยืมจากภาษาจีน ชา (차 ;茶 ; cha) ใช้อักษรจีนตัวเดียวกันซึ่งมีความหมายว่า "ชา"
ในประเทศไต้หวัน ชาข้าวบาร์เลย์เรียกในภาษาจีนฮกเกี้ยน ว่า เบ่อ๊าเต๋ (麥仔茶 ; be̍h-á-tê) ซึ่ง เบ่อ้า (麥仔 ; be̍h-á) มีความหมายว่า "ข้าวบาร์เลย์" และ เต๋ (茶 ; tê) มีความหมายว่า "ชา"
ประวัติ
ชนชั้นสูงของญี่ปุ่น บริโภคชาข้าวบาร์เลย์มาตั้งแต่ยุคเฮฮัง [ 6] [ 7] ซามูไร เริ่มบริโภคชาข้าวบาร์เลย์ในยุคเซ็งโงกุ [ 8] [ 7] ในช่วงยุคเอโดะ แผงขายของริมทางที่เชี่ยวชาญด้านการทำชาข้าวบาร์เลย์ได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไป[ 9] [ 10] [ 7]
สินค้าพร้อมดื่ม
ข้าวบาร์เลย์คั่ว
ถุงชาสำหรับเหยือกชาข้าวบาร์เลย์
ชาข้าวบาร์เลย์สามารถเตรียมได้โดยการต้มเมล็ดข้าวบาร์เลย์ไม่ขัดสีที่คั่วแล้วในน้ำ หรือชงข้าวบาร์เลย์ที่คั่วและบดแล้วในน้ำร้อน ในประเทศญี่ปุ่น ถุงชาที่บรรจุข้าวบาร์เลย์ป่นได้รับความนิยมมากกว่าเมล็ดข้าวบาร์เลย์แบบดั้งเดิมในช่วงต้นทศวรรษ 1980 และยังคงเป็นรูปแบบที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีชาที่บรรจุล่วงหน้าในขวดเพ็ตอีกด้วย
ชาบรรจุขวด
ชาข้าวบาร์เลย์บรรจุขวดมีวางจำหน่ายที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ส่วนใหญ่จำหน่ายในขวดเพ็ต ชาข้าวบาร์เลย์เย็นเป็นเครื่องดื่มฤดูร้อนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น[ 5] ในประเทศเกาหลี ชาข้าวบาร์เลย์ร้อนบรรจุขวดเพ็ตทนความร้อนมีจำหน่ายในตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและในชั้นวางสินค้าอุ่นในร้านสะดวกซื้อ[ 11]
ชาข้าวบาร์เลย์ผสมและชาที่คล้ายคลึงกัน
ในประเทศเกาหลี เมล็ดข้าวบาร์เลย์คั่วมักจะผสมกับเมล็ดข้าวโพด คั่ว เนื่องจากความหวานของข้าวโพดจะช่วยกลบรสขมเล็กน้อยของข้าวบาร์เลย์ ชาที่ทำจากเมล็ดข้าวโพดคั่วเรียกว่า อกซูซูชา (ชาข้าวโพด) และชาที่ทำจากเมล็ดข้าวโพดคั่วและเมล็ดข้าวบาร์เลย์คั่วเรียกว่า อกซูซูโบรีชา (ชาข้าวบาร์เลย์และข้าวโพด) เครื่องดื่มที่คล้ายกันหลายอย่างที่ทำจากธัญพืชคั่ว ได้แก่ ฮย็อนมีชา (ชาข้าวกล้อง), กย็อลมย็องจาชา (ชาเมล็ดชุมเห็ดจีน) และ เมมิลชา (ชาบักวีต)
ชาข้าวบาร์เลย์คั่วขายในรูปแบบป่นและบางครั้งในรูปผสมกับชิโครีหรือส่วนผสมอื่น ๆ ก็มีจำหน่ายในฐานะเครื่องดื่มทดแทนกาแฟ[ 12]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Lee, J. (4 January 2016). "5 winter warmers that are caffeine-free" . Christian Today . สืบค้นเมื่อ 31 January 2017 .
↑ Allan, M. Carrie; Allan, M. Carrie (22 May 2016). "What's better than a tall glass of iced tea? One with booze stirred in" . The Washington Post . สืบค้นเมื่อ 31 January 2017 .
↑ De Mente, Boyé Lafayette (2012). The Korean mind : understanding contemporary Korean culture . Tokyo: Tuttle Pub. p. 420. ISBN 978-0-8048-4271-6 . สืบค้นเมื่อ 21 December 2017 .
↑ 4.0 4.1 Won, Ho-jung (22 April 2016). "[Weekender] Healthful Korean tea to fit every need" . The Korea Herald . สืบค้นเมื่อ 31 January 2017 .
↑ 5.0 5.1 5.2 Beseel, Casey (16 July 2015). "Japan's barley soda is so weird in so many ways, yet so right in one 【Taste test】" . RocketNews24 . สืบค้นเมื่อ 31 January 2017 .
↑ 源順, 和妙類聚抄, 承平(931AD - 938AD)
↑ 7.0 7.1 7.2 http://www.mugicya.or.jp/history/ 全国麦茶工業共同組合, 麦茶の歴史
↑ 北野大茶湯の記, 16 century
↑ 人見必大, 本朝食鑑, 1967
↑ 達磨屋活東子 達磨屋五一, 燕石十種, 第五 寛天見聞記, 1857 - 1863
↑ 이, 주현 (28 November 2016). "웅진식품, '하늘보리' 온장 제품 출시…동절기 포트폴리오 강화" [Woongjin Food launches hot 'Haneul Bori', augmenting winter portfolio]. The Asia Economy Daily (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 3 February 2017 .
↑ Maier, H. G. (1987). "Coffee Substitutes Made from Cereals" . ใน Clarke, R.J.; Macrae, R. (บ.ก.). Coffee: Related Beverages . pp. 5–8. ISBN 978-1-85166-103-9 .
อาหารจานหลัก อาหารจานรอง เครื่องดื่ม ขนม / ของหวาน ส่วนผสม / เครื่องปรุง อุปกรณ์ รายชื่อ ผลไม้ เกี่ยวข้อง