นัตโต

นัตโต
นัตโตบนข้าว
มื้ออาหารเช้า
แหล่งกำเนิดญี่ปุ่น
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ส่วนผสมหลักถั่วเหลืองหมัก

นัตโต (ญี่ปุ่น: 納豆なっとうโรมาจิnattō) เป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น ทำจากถั่วเหลือง หมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ natto นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า นัตโตอุดมไปด้วยโปรตีน เช่นเดียวกับมิโซะ ทำให้เป็นแหล่งโภชนาการที่สำคัญของญี่ปุ่นมาช้านานและคุณค่าทางโปรตีนที่สูงทำให้สามารถใช้แทนเนื้อสัตว์ได้ แต่เนื่องจากนัตโตมีกลิ่นแรงและมีลักษณะเป็นเมือกซึ่งเกิดจากการย่อยโปรตีนระหว่างการหมัก ดังนั้นจึงทำให้มีทั้งผู้ที่ชอบและไม่ชอบ ในญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันในแถบภาคตะวันออก เช่น คันโต โทโฮะกุและฮกไกโด[1]

ขั้นตอนการทำ

นำถั่วเหลืองไปแช่น้ำค้างคืนแล้วเอาเปลือกออก จากนั้นนำไปนึ่งแล้วใส่เชื้อ Bacillus sp. หมักที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 20 ชั่วโมง จากนั้นทำให้เย็นจนถึงอุณหภูมิปกติ การใส่เชื้อที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส จะช่วยลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำไปใส่ภาชนะหรือฟางข้าวห่อ จากนั้นนำไปบ่ม

การรับประทาน

การรับประทานนัตโตนั้นจะแตกต่างกันในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่แล้วจะรับประทานร่วมกับการผสมกับโชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) ต้นหอมซอย หัวไชเท้าฝอย ไข่ดิบ หรืออาจจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ข้าวผัดนัตโต ราเม็งนัตโต ซูชินัตโต แซนวิชนัตโต เป็นต้น

ประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหาร

นัตโต, 100 กรัม
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน883 กิโลจูล (211 กิโลแคลอรี)
12.7 g
น้ำตาล4.89 g
ใยอาหาร5.4 g
11 g
19.4 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(14%)
0.16 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(16%)
0.19 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(0%)
0 มก.
(4%)
0.215 มก.
วิตามินบี6
(10%)
0.13 มก.
โฟเลต (บี9)
(2%)
8 μg
คลอรีน
(12%)
57 มก.
วิตามินซี
(16%)
13 มก.
วิตามินเค
(22%)
23.1 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(22%)
217 มก.
เหล็ก
(66%)
8.6 มก.
แมกนีเซียม
(32%)
115 มก.
แมงกานีส
(73%)
1.53 มก.
ฟอสฟอรัส
(25%)
174 มก.
โพแทสเซียม
(16%)
729 มก.
โซเดียม
(0%)
7 มก.
สังกะสี
(32%)
3.03 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ55 g

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่

นัตโตเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน โปรไบโอติกส์ วิตามินบี 12 และสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ และลดโอกาสเส้นเลือดในสมองแตกได้

ถั่วเหลืองหมักรวมทั้งนัตโตมี vitamin PQQ ซึ่งจำเป็นสำหรับผิวหนัง[2] โดย PQQ ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ส่วนใหญ่ได้มาจากอาหาร นอกจากนั้นยังมี polyamine ซึ่งกดปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันที่มากเกินไป โดยนัตโตมีมากกว่าอาหารอื่น ๆ[3]

นัตโตมีสารเคมีที่มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งหลายชนิด เช่น daidzein, genistein, isoflavone, phytoestrogen และธาตุอาหาร เช่น ซีลีเนียม ซึ่ง ส่วนใหญ่สารเหล่านี้ พบในผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมักอื่นๆด้วย และการออกฤทธิ์ยังไม่ชัดเจน มีรายงานว่านัตโตมีผลทำให้คอเลสเทอรอลลดระดับลงเช่นกัน[4]

ในกองทัพเรือญี่ปุ่น ใช้นัตโตเป็นยาป้องกันโรคบิคในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2[5] บางครั้งใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงด้วย[6]

คลังภาพ


อ้างอิง

  1. Shurtleff, W.; Aoyagi, A. 2012. "History of Natto and Its Relatives (1405-2012)." Lafayette, California: Soyinfo Center. 657 pp. (1,934 references; 136 photos and illustrations).
  2. T Kumazawa; K Sato; และคณะ (1995-04-01). "Levels of pyrroloquinoline quinone in various foods". Biochem. J. 307 (Pt 2): 331–333. PMC 1136652. PMID 7733865.
  3. Kuniyasu Soda; Yoshihiko Kano; และคณะ (July 2005). "Spermine, a natural polyamine, suppresses LFA-1 expression on human lymphocyte". The Journal of Immunology. 175 (1): 237–45. PMID 15972654.
  4. Go Ichien; Tomokazu Hamaguchi; Masata Iwanaga (April 2006). "Examining the Effects of Natto (fermented soybean) Consumption on Lifestyle-Related Diseases". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-31. สืบค้นเมื่อ 2019-12-15.
  5. 有馬玄 (1937). "納豆菌ト赤痢菌トノ拮抗作用ニ関スル実験的研究(第2報)動物体内ニ於ケル納豆菌と志賀菌トノ拮抗作用". 海軍軍医誌. 26: 398–419.
  6. "ドットわんフリーズドライ納豆". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!