สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 (อังกฤษ: Anglo-Siamese Treaty of 1909)[1] หรือ สัญญากรุงเทพฯ (Bangkok Treaty of 1909) เป็นสนธิสัญญาระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์กับสยาม ซึ่งได้มีการลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452[2][3] และรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2452[4] สนธิสัญญาฉบับนี้มีทั้งสิ้น 8 ข้อโดยมีสาระสำคัญคือ:
สนธิสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นจากการที่เอ็ดเวิร์ด เฮนรี สโตรเบล ที่ปรึกษาชาวอเมริกันของรัฐบาลสยาม ได้ทูลถวายความเห็นต่อรัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จกลับจากการประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2450 ว่ารัฐบาลสยามไม่สามารถไว้ใจสุลต่านเมืองเหล่านี้ได้ และวันใดก็วันหนึ่งไม่ช้าหรือเร็ว อังกฤษจะต้องหาทางเอาดินแดนส่วนนี้ไปได้แน่ หากปล่อยไว้สยามอาจเสียดินแดนเหล่านี้โดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย
แม้สยามจะต้องสูญเสียดินแดนกว่า 38,000 ตารางกิโลเมตร แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยมีพระราชดำริต่อดินแดนส่วนนี้ว่า "เราไม่มีผลประโยชน์เป็นพิเศษแต่อย่างใดในบรรดาหัวเมืองเหล่านี้…หากเราต้องสูญเสียหัวเมืองเหล่านี้ให้แก่อังกฤษ เราจะขาดแต่เพียงดอกไม้เงินดอกไม้ทอง นอกเหนือไปจากเครื่องราชบรรณาการนี้แล้ว ก็ไม่มีการสูญเสียทางด้านวัตถุอื่นใดอีก..."[5] อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้สุลต่านไทรบุรีโกรธเคืองมาก โดยตรัสว่า "ประเทศของฉัน ประชาชนของฉัน ถูกขายไปเหมือนกับการขายลูกวัว ฉันให้อภัยคนซื้อซึ่งไม่มีพันธะกับฉันได้ แต่ฉันให้อภัยคนขายไม่ได้"[6]
รัฐบาลสยามไม่มีท่าทีที่แสดงความลังเลหรือต้องการเมืองประเทศราชเหล่านี้ไว้ โดยพิจารณาตามเอกสารประชุมเสนาบดีรัชกาลที่ 5 เกี่ยวกับเรื่องเขตแดนในแหลมมลายูก่อน ลงนามสนธิสัญญากับอังกฤษปี พ.ศ. 2452 “...ในเวลานี้เรายังมีของที่มีราคาอยู่ จึงควรถือเอาราคาอันนี้แลกเปลี่ยนกับสิ่งอื่น...” ตามความหมายของข้อความดังกล่าว คือ การใช้หัวเมืองมลายูเหล่านี้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่จะได้รับจากอังกฤษ บ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลสยามพร้อมที่จะผลักเอาพันธะของเมืองเหล่านี้ในระบบการปกครองแบบจารีตออกไป เพราะเหตุผลจากข้อความข้างต้นที่ได้ยกมาสื่อความถึงสยามจะไม่ได้ประโยชน์จากเมืองเหล่านี้ และไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาประเทศราชได้อย่างเต็มกำลังสามารถ รวมถึงในอนาคตหัวเมืองมลายูจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศของสยาม เนื่องจากพื้นที่หัวเมืองมลายูโดยเฉพาะเมืองกลันตัน และตรังกานู ในประวัติศาสตร์ของสยามเมืองเหล่านี้ห่างไกลจากการรับรู้และเป็นหัวเมืองประเทศราชอย่างแท้จริง เหตุการณ์ยกเมืองไทรบุรีให้แก่อังกฤษ มีการอัญเชิญจดหมายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพในฐานะรัฐบาลสยาม แสดงความขอบใจในความภักดีของสุลต่านที่มีต่อพระมหากษัตริย์สยามตั้งแต่อดีตเรื่อยมา[7]
หลังจากลงนามในสนธิสัญญาสยามกับอังกฤษปี พ.ศ. 2452 ผลตอบแทนที่สยามได้รับประโยชน์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนกฎหมาย เช่น การยกเลิกสิทธิสภาพนอก อาณาเขต รวมถึงยกเลิกสนธิสัญญาลับปี พ.ศ. 2440 ซึ่งสยามลงนามกับอังกฤษมีใจความ ห้ามสยามโอนหรือให้สิทธิพิเศษแก่ชาติอื่นในการพื้นที่ตั้งแต่เมืองบางตะพานลงมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอังกฤษ 2. ส่วนความช่วยเหลือ ได้แก่ การสร้างเส้นทางรถไฟสายใต้ โดยความช่วยเหลือทางด้านการเงิน อังกฤษให้สยามกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยร้อยละสี่ รวมถึงความช่วยเหลือทางด้านทรัพยาการบุคคล เช่น วิศวกร นายช่าง รวมทั้งการให้ยืมข้าราชการจากอาณานิคมมาทำงานในหน่วยงานของรัฐบาลสยาม ฯลฯ[8]
{{cite web}}
|date=
ราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์
พระมหาอุปราช
พระบัณฑูรน้อย
มกุฎราชกุมาร
เจ้าชายทางสายเลือด
พระราชวงศ์
ชาวสยาม
ชาวต่างชาติ
เหตุการณ์สำคัญ
Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!