วิมล วงศ์วานิช

วิมล วงศ์วานิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 17 เมษายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
ถัดไปพลอากาศเอก พิศิษฐ์ ศาลิคุปต์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม 2535 – 30 กันยายน 2538
ก่อนหน้าพลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
ถัดไปพลเอก ประมณฑ์ ผลาสินธุ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คู่สมรสพันตรีหญิง คุณหญิงมาลี วงศ์วานิช
บุพการี
  • ศิริ วงศ์วานิช[1] (บิดา)
  • เอื้อน วงศ์วานิช (มารดา)

พลเอก วิมล วงศ์วานิช (1 มีนาคม พ.ศ. 2477) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตราชองครักษ์พิเศษ[2]

พลเอก วิมล เป็นแกนนำในการรวมตัวของนายทหารอาวุโส ณ สนามม้านางเลิ้ง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 เรียกร้องให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการก่อตั้ง “คณะรัฐบุคคล” เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 ณ สโมสรโปโลคลับ ซอยโปโล ถนนวิทยุ[3]

ประวัติ

ชีวิตส่วนตัว

วิมล วงศ์วานิช เกิดวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2477 เป็นบุตรของนายศิริ และนางเอื้อน วงศ์วานิช

วิมล วงศ์วานิช ได้สมรสกับ พ.ต.หญิง คุณหญิงมาลี วงศ์วานิช

การศึกษา

ประวัติรับราชการ

  • พ.ศ. 2501 : ประจำกองบัญชาการศูนย์การทหารราบ ผู้บังคับหมวดอาวุธ กองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และรับพระราชทานยศ"ร้อยตรี"
  • พ.ศ. 2503 : ผู้บังคับตอนปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง กองร้อยกองบังคับการ กองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2504 : ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และรับพระราชทานยศ"ร้อยโท"
  • พ.ศ. 2505 : ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยทหารพลร่ม กองพันทหาร พลร่ม
  • พ.ศ. 2506 : ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรบพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม)
  • พ.ศ. 2507 : ผู้ช่วยนายทหารยุทธการ และการฝึกกองรบพิเศษ (พลร่ม) และรับพระราชทานยศ "ร้อยเอก"
  • พ.ศ. 2509 : ประจำศูนย์รักษาความปลอดภัย สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประจำกองบัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2510 : รักษาราชการ นายทหารยุทธการ และการฝึก กรมผสมที่ 6
  • พ.ศ. 2511 : รับพระราชทานยศ"พันตรี"
  • พ.ศ. 2512 : รักษาราชการ เสนาธิการ กรมผสมที่ 6 หัวหน้าแผนกกำลังพล กองพลที่ 3
  • พ.ศ. 2513 : หัวหน้ากองค้นคว้าและพัฒนาการรบ ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2515 : รับพระราชทานยศ"พันโท"
  • พ.ศ. 2516 : หัวหน้าฝ่ายยุทธการ และการฝึก ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2518 : รองเสนาธิการ มณฑลทหารบกที่ 6
  • พ.ศ. 2519 : รับพระราชทานยศ"พันเอก"
  • พ.ศ. 2520 : ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2521 : อาจารย์หัวหน้ากองส่วนวิชาการยุทธวิธี โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2522 : ผู้บังคับการกรมผสมที่ 6
  • พ.ศ. 2523 : รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6
  • พ.ศ. 2525 : ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 และรับพระราชทานยศ"พลตรี"
  • พ.ศ. 2528 : ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 : ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และรับพระราชทานยศ"พลโท"
  • พ.ศ. 2532 : แม่ทัพภาคที่ 2
  • พ.ศ. 2533 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, รับพระราชทานยศ"พลเอก" และกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[4]
  • พ.ศ. 2534 : รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2535 : ผู้บัญชาการทหารบก

ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ

ผลงานที่สำคัญ

  • ริเริ่มการปรับปรุงกองทัพให้มีขนาดเล็ก ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาไปสู่ความ ทันสมัย 4 ประการ คือ ทันสมัยในการบังคับบัญชา การอำนวยการและสั่งการ ทันสมัยในการพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน ทันสมัยในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ การส่งกำลังบำรุง และทันสมัยในการพัฒนาสวัสดิการความเป็นอยู่ ของกำลังพล
  • การพัฒนากีฬากองทัพบก โดยกำหนดแนวทางพัฒนาว่า "กีฬาสร้างคน คนสร้างกองทัพ กองทัพสร้างชาติ"
  • เมื่อครั้งเป็น ผู้บังคับหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 2122 ได้ทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มีผู้มามอบตัวพร้อมด้วยอาวุธ 877 คน และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต้องปิดเขตงานที่ 11

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก วิมล วงศ์วานิช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. ผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน - พลเอก วิมล วงศ์วานิช
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  3. เปิดคลิปขุดกรุ"คณะรัฐบุคคล"เปิดหน้าสู้รัฐบาล
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/091/4215.PDF
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๗, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ สิงหาคม ๒๕๓๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๓ กันยายน ๒๕๑๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๐๘, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
  13. 13.0 13.1 สุเทพ สีวะรา (2538). พลเอก วิมล วงศ์วานิช ผู้บัญชาการทหารบก 2535-2538. ห.จ.ก. บี เจ เพลท โปรเซสเซอร์.
  14. MINISTER FOR DEFENCE DR YEO NING HONG CONFERS MERITORIOUS SERVICE MEDAL (MILITARY) ON THE COMMANDER-IN-CHIEF OF THE ROYAL THAI ARMY, GEN WINOL WONGWANICH AT THE MINISTRY OF DEFENCE
  15. AGO 1994-12 — HQDA GENERAL ORDER: MILITARY AWARDS

อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 ที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!