ลัทธิข้อยกเว้นไทย

ลัทธิข้อยกเว้นไทย (อังกฤษ: Thai exceptionalism) เป็นความเชื่อว่าประเทศไทยเป็นประเทศพิเศษที่มีวัฒนธรรมไม่เหมือนผู้ใด ซึ่งเป็นทัศนคติที่พบในหมู่อภิชนชาวไทยเป็นพิเศษ ความคิดหนึ่งเดียวที่ถือกันนั้น เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดียวที่ไม่เคยเป็นอาณานิคม มีระบบราชาธิปไตยที่ประณีต สละสลวยและน่าเคารพเทิดทูน พึ่งพาการนำอาหารเข้าต่ำ เป็นต้น[1] ข้ออ้างความเป็นพิเศษอื่นนั้น ได้แก่ ระบบการตั้งชื่อที่ซับซ้อน และภาษาไทย ตลอดจนข้อสันนิษฐานว่าเกิดความรุนแรงขึ้นน้อยแม้มีรัฐประหารหลายครั้งและการสังหารหมู่ยาวเหยียด อย่างไรก็ดี บางคนก็ยอมรับว่าความเป็นไทยไม่ได้ดีเสียหมด มีชัย วีระไวทยะ นักการเมือง เคยกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นชาติคนทำผิดกฎหมาย[2]

อนึ่งการชนชาติไทย มีการให้ความหมายของคำว่า ไท คือผู้ที่อิสระไม่เป็นทาสไทย แต่ในหลักศิลาจารึกหลักที่หนึ่งมีคำว่า ไพร่ฟ้าข้าไทย ซึ่งมีความหมายว่า ข้าทาสบริวารของเจ้าขุนมูลนาย

ซึ่งส่งผลให้ความเป็นไท คือ การมีระบบเจ้าขุนมูลนาย โดยสิ่งที่เป็นนิยามคือ ระบบราชการของประเทศไทย

สาเหตุในบริบทประวัติศาสตร์

ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งเดียวที่ไม่เป็นอาณานิคม
ประเทศไทยเป็นชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาติเดียวที่สามารถขัดขืนลัทธิอาณานิคมได้ ต่อมาจึงมีการบอกเล่าเป็นนิทานวีรบุรุษของราชวงศ์จักรี และใช้เพื่อเป็นเหตุผลว่าวัฒนธรรมไทยไม่มีอิทธิพลตะวันตก
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดใหญ่
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และรัฐบาลอ้างว่าเป็นข้อพิสูจน์ถึงวัฒนธรรมไทยอันสวยงามและไม่เหมือนผู้ใด รัฐบาลระบุในแบบเรียนว่าวัฒนธรรมไทยเป็นสาเหตุของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดใหญ่

ข้อวิจารณ์

นักวิชาการตะวันตกบางส่วนถือประเด็นกับญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทย บ้างถือว่าหัวสูง (elitist) และรู้สึกว่ามันก่อให้เกิดความไม่ลงรอยระหว่างชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี สำคัญต้องเข้าใจว่าคำ "ลัทธิข้อยกเว้น" ในบริบทนี้ไม่ได้หมายความว่าเหนือกว่า แต่หมายถึงความไม่เหมือนผู้ใด และความรู้สึกว่าประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะซึ่งไม่พบในภูมิภาคอื่นมากกว่า

ลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยว

นักวิจารณ์ญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทยอ้างความโอหังชาตินิยมว่าเป็นอุปสรรคต่อบูรณาการอาเซียน ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อความมั่งคั่งและเสถียรภาพโดยการทำให้โครงสร้างทางสังคมของไทยที่ไม่เท่าเทียมว่าชอบด้วยเหตุผล[3] ในปี 2561 รัฐบาลไทยสร้างการรณรงค์ "อำนาจอ่อน" ชื่อ ไทยนิยม เพื่อส่งเสริมญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทย นักวิชาการไทยบางส่วนเรียกว่าเป็น "แค่โฆษณาชวนเชื่อของรัฐ"[4]

ในบางโอกาส ผู้ถือลัทธิข้อยกเว้นไทยใช้เพื่ออ้างเหตุผลขัดขวางเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจตนาขัดขวางผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งชาวต่างชาติ โดยอ้างว่า "คนไทยภูมิใจที่จัดการเลือกตั้งโดยปลอดอิทธิพลต่างประเทศ"[5]

สิทธันตนิยมทางการเมือง

มีหลายเหตุการณ์ที่ชาวเน็ตชาตินิยมชาวไทยแสดงลัทธิข้อยกเว้นไทยเพื่อตอบโต้ข้อวิจารณ์จากชาวต่างประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ บางทีมีการใช้ลัทธิข้อยกเว้นไทยเพื่อปัดข้อวิจารณ์ต่อลัทธิอำนาจนิยม ดังเช่น ในสุนทรพจน์ของพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ว่า

"ระบอบประชาธิปไตยในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีวัฒนธรรมของระบอบประชาธิปไตยของตัวเอง ท่านลองถามตัวเองว่าเมื่อท่านไปอยู่ประเทศอื่น ไปศึกษาไปเรียน หรือไปเที่ยวประเทศอื่น ทำไมท่านจะต้องปรับตัวให้เข้ากับประเทศอื่นตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศนั้น [...] เราอยู่กันแบบไทย ๆ นี่คือวัฒนธรรมของระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ขอให้รักกันจะไปร่ำไปเรียนที่ไหนมา ไปเอาตำราประเทศไหน ไม่อยากจะเอ่ยชื่อ เอาของเขามาแล้วมาดูด้วยว่าควรจะมาดัดแปลง แต่ไม่ใช่พยายามจะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข อย่าไปเอาความซ้ายจัดที่ไปเรียนมาแล้วมาดัดจริต ประเทศอื่นเขาไม่มีที่จะมีแบบนี้ นี่คือเมืองสยาม เมืองแห่งรอยยิ้ม เมืองที่เรามีระบอบประชาธิปไตยของเราแบบนี้ สิ่งที่ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ต้องการคือมีคนไทยรักกัน หันหน้าเข้าหากัน"

ความคล้ายกับชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น

นักวิชาการส่วนใหญ่เสนอว่าในความเป็นจริงแล้ววัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติ โดยยกประวัติศาสตร์ว่าประเทศไทยวิวัฒนามาจากอาณาจักรอินเดียอย่างจักรวรรดิขแมร์และอาณาจักรอยุธยา จึงมีความคล้ายหลายประการระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มวยไทยกับประดัลเสรี หรือสงกรานต์กับตะจาน[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Fry, Gerald W; Nieminen, Gayla S; Smith, Harold E (2013). Historical Dictionary of Thailand. Scarecrow Press. pp. 405–406. ISBN 081087525X. สืบค้นเมื่อ 2018-05-28.
  2. Fry, Gerald W (2014-05-19). "Thai exceptionalism - a myth or Reality?". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Opinion)เมื่อ 2019-07-03. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.
  3. Stent, Jim (2014-05-23). "Deja vu in Thailand, but what comes next?". Nikkei Asian Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.
  4. Phataranawik, Phatarawadee (27 May 2018). "SPECIAL REPORT: How the junta misused culture to boost 'Thai-ism'". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
  5. Manager Online, (Thai) (15 December 2018). "Don blocked foriegn election observers because Thai is prestigious". Manager Online. สืบค้นเมื่อ 15 December 2018.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!