ภาษาชอง

ภาษาชอง
พะซา ช์อง
ออกเสียง/pʰəsaː cʰɔ̤ːˀŋ/
[pʰasaː t͡ɕʰɔ̤̀ːˀŋ]
ประเทศที่มีการพูดไทย
ภูมิภาคจังหวัดจันทบุรี, จังหวัดตราด, จังหวัดระยอง
ชาติพันธุ์ชาวชอง 2,000 คน (2550)[1]
จำนวนผู้พูด500 คน  (2550)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย, อักษรเขมร,
อักษรชอง (ประดิษฐ์เมื่อ พ.ศ. 2553)[2]
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3cog

ภาษาชอง (ชอง: พะซา ช์อง) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร สาขาย่อยปอร์ตะวันตก[3] ใช้พูดกันในหมู่ชาวชองในจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดระยอง (ในอดีตมีในจังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกว่า ภาษาป่า)[4] ในปัจจุบันภาษาชองเป็นจุดสนใจของโครงการฟื้นฟูภาษาโครงการหนึ่งในประเทศไทย[5]

ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษาชองคือการจำแนกความต่างระหว่างลักษณะน้ำเสียง 4 ลักษณะ ระบบไวยากรณ์ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาษาชองเป็นภาษาที่ไม่มีตัวเขียนจนกระทั่ง พ.ศ. 2543 เมื่อเจ้าของภาษาได้ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลสร้างระบบการเขียนภาษาชองด้วยอักษรไทย หลังจากนั้นจึงมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาชองขึ้น

ในขณะที่ภาษาชองในประเทศไทยได้รับการศึกษาเรื่อยมา แต่ภาษาชองในประเทศกัมพูชายังไม่ได้รับการค้นคว้าวิจัยมากนัก เดวิด แบรดลีย์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน รายงานว่าไม่มีผู้พูดภาษานี้เหลืออยู่แล้วในประเทศกัมพูชา[1]

การจำแนก

ภาษาจำนวนหนึ่งในกลุ่มภาษาปอร์ถูกเรียกว่า "ภาษาชอง" แต่ทั้งหมดไม่ได้ประกอบกันเป็นภาษาเดียว ภาษาชองแท้ประกอบด้วยวิธภาษาส่วนใหญ่ที่พอล ซิดเวลล์ จัดอยู่ในกลุ่ม "ชองตะวันตก" ซึ่งรวมถึงภาษาถิ่นภาษาหลักในจังหวัดจันทบุรี (ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของอำเภอเขาคิชฌกูฏและทางด้านตะวันตกของอำเภอโป่งน้ำร้อน)[6] วิธภาษาในกลุ่มดังกล่าวเป็นคนละกลุ่มกับวิธภาษาที่เรียกว่า "กะซอง" หรือ "ชองจังหวัดตราด" ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม "ชองกลาง" ร่วมกับภาษาซำเร ในทำนองเดียวกัน บรรดาภาษาและวิธภาษาที่เรียกว่า "ชอุง" หรือ "สโอจ" ในจังหวัดกาญจนบุรีและในประเทศกัมพูชาเป็นภาษาย่อยของภาษาเดียวกันคือภาษาชอุง และจัดอยู่ในกลุ่ม "ชองใต้" ร่วมกับภาษาซูโอย

ภาษาหรือวิธภาษาในกลุ่มภาษาชองตะวันตก (ชองแท้) ตามการจำแนกของซิดเวลล์มีดังนี้[7]

  • ชองจันทบุรี (Baradat ms.)
  • (สาขา)
    • ชองเฮิบ (Martin, 1974)
    • ชองคลองพลู (Siripen Ungsitibonporn, 2001)
  • (สาขา)
    • ชองลอ (Martin, 1974)
    • ชองวังกระแพร (Siripen Ungsitibonporn, 2001)
    • ชอง (Huffman, 1983)

มารี อา. มาร์แต็ง ได้แบ่งภาษาชอง (ในจังหวัดจันทบุรี) ออกเป็น 2 ภาษาถิ่นตามคำลงท้ายประโยค โดยเรียกภาษาชองที่พูดในอำเภอเขาคิชฌกูฏว่า ชองลอ และเรียกภาษาชองที่พูดในอำเภอโป่งน้ำร้อนว่า ชองเฮิบ[8] ต่อมาอิสระ ชูศรี ได้ศึกษาภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นของภาษาชองในจังหวัดจันทบุรีแล้วเสนอให้แบ่งภาษาชองออกเป็น 3 ภาษาถิ่นตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ดังนี้[6]

  • ภาษาชองถิ่นเหนือ อยู่บริเวณบ้านคลองพลู บ้านน้ำขุ่น ตำบลคลองพลู และบ้านตะเคียนทอง บ้านชำเคราะห์ ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ เป็นภาษาถิ่นที่มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดและเป็นส่วนหนึ่งของภาษาชองถิ่นตะวันตกหรือ ชองลอ ตามการแบ่งของมาร์แต็ง
  • ภาษาชองถิ่นใต้ อยู่บริเวณบ้านพังคะแลง บ้านทุ่งตาอิน บ้านกระทิง ตำบลพลวง และบ้านทุ่งสะพาน ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ เป็นส่วนหนึ่งของภาษาชองถิ่นตะวันตกหรือ ชองลอ ตามการแบ่งของมาร์แต็ง
  • ภาษาชองถิ่นตะวันออก อยู่บริเวณบ้านวังกระแพร ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน ในปัจจุบันมีผู้พูดอยู่เพียงจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ภาษาถิ่นนี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ชองเฮิบ ตามการแบ่งของมาร์แต็ง

จากการสัมภาษณ์ผู้พูดภาษาถิ่นเหนือและผู้พูดภาษาถิ่นใต้ของอิสระ ชูศรี ทำให้ทราบว่าผู้พูดภาษาถิ่นทั้งสองสามารถเข้าใจภาษาของอีกฝ่ายได้ดีแม้จะมีความแตกต่างด้านการออกเสียงและด้านวงศัพท์อยู่บ้าง แต่พวกเขาไม่ทราบเกี่ยวกับภาษาถิ่นตะวันออก (ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเขาสอยดาว) มากนัก[9]

สัทวิทยา

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาชองถิ่นตะเคียนทองและคลองพลู จังหวัดจันทบุรี[10]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงหยุด ก้อง b d
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก (f) s h
เสียงรัว r
เสียงข้างลิ้น l
เสียงกึ่งสระ w j
  • หน่วยเสียงที่อยู่ในวงเล็บคือหน่วยเสียงที่ปรากฏในคำยืมจากภาษาไทย
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 12 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบในภาษาชองถิ่นตะเคียนทองและคลองพลูมี 12 หน่วยเสียง ได้แก่ /mr/, /ml/, /pr/, /pl/, /pʰr/, /pʰl/, /kr/, /kl/, /kw/, /kʰr/, /kʰl/ และ /kʰw/ ทั้งนี้ ในภาษาชองถิ่นวังกระแพรออกเสียง /kʰw/ เป็น [f]

สระ

สระเดี่ยว

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาชองถิ่นตะเคียนทองและคลองพลู จังหวัดจันทบุรี[11]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i, ɨ, ɨː u,
กลาง e, ə, əː o,
ต่ำ ɛ, ɛː a, ɔ, ɔː

สระประสม

ภาษาชองถิ่นตะเคียนทองและคลองพลูมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /iə/, /ɨə/ และ /uə/ สองหน่วยเสียงแรกปรากฏเฉพาะในคำยืมจากภาษาไทย[11]

ลักษณะน้ำเสียง

ภาษาชองถิ่นตะเคียนทองและคลองพลูมีลักษณะน้ำเสียง 4 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะน้ำเสียงปกติ (เสียงกลางปกติ) [V], ลักษณะน้ำเสียงก้องมีลม (เสียงต่ำใหญ่) [V̤̀], ลักษณะน้ำเสียงปกติตามด้วยการกักของเส้นเสียง (เสียงสูงบีบ) [V̂ˀ] และลักษณะน้ำเสียงก้องมีลมตามด้วยการกักของเส้นเสียง (เสียงต่ำกระตุก) [V̤̀ˀ][12]

ระบบการเขียน

เดิมทีภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น ต่อมาเฉิน ผันผาย อดีตกำนันตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ที่มีความพยายามในการรักษาอัตลักษณ์ชอง ได้คิดค้นระบบการเขียนใหม่ โดยศึกษาจากอักษรไทย อักษรมอญ อักษรเขมร และอักษรโรมัน และได้รับคำแนะนำจากนักภาษาศาสตร์แคนาดาที่ออกแบบอักษรให้ใช้งานง่าย มีระบบการเขียนบรรทัดเดียวแบบภาษาอังกฤษ ไม่มีสระและวรรณยุกต์อยู่เหนือหรือใต้บรรทัด และมีความพยายามที่จะทำเป็นชุดแบบอักษร ใน พ.ศ. 2553 มีผู้สามารถใช้อักษรนี้ได้ระดับคล่องแคล่ว 20 คน[13][2]

ตัวเขียนภาษาชองอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทยแห่งราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) ได้กำหนดไว้ มีดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ กู้ กบ
กื รองเท้า
/kʰ/ ค้อน หนู
/ŋ/ งั่ วัว
ปา ดอกไม้
/c/ จ้ กวาง
กะมู ตะไคร้
/cʰ/ หมา
/s/ ซี งู
/ɲ/ ญ้าม นิ้ว
คะนั แห
/d/ ดู มะพร้าว
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) กะมา แรด
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ตุ ไข่
/tʰ/ ท้าม ปู
/n/ น่อง ภูเขา
คี์ น้ำเต้า
/b/ บู หลังคา
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) กรึ มะเขือเปราะ
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) กะาว ควาย
/pʰ/ พ่ กลอง
/f/ ฟู ฝูง (ลักษณนาม)
/m/ ม์ ปลา
ะง่า ผึ้ง
/j/ กะาง เต่า
โม์ หนึ่ง
/r/ ร่อง ตะขาบ
/l/ ไก่
/w/ ลิง
เพล่ ไฟ
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) อู ท่อนไม้
/h/ าย ต้นข้าว, ข้าวเปลือก
กะทุ ข้าวตอก
ไม่มีรูป /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) เคละ อาย
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–ะ /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) กะล ใบไม้
/ə/ (เมื่ออยู่ในพยางค์ที่ไม่เน้นหนัก) วาญ กระวาน
–ั /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายที่ไม่ใช่
/ʔ/, /m/, /j/, /w/)
ฮั กระโดด
พั่ แห้ง
–า /aː/ กะต เป็ด
ง์ ไกล
–ิ /i/ มั่ดตะงิ พระอาทิตย์
พิ่ นอน
–ี /iː/ รี่ ป่า
ปี สุก
–ึ /ɨ/ กึ อยู่
ชึ่คึ ผู้หญิง
–ือ /ɨː/ (เมื่อเป็นพยางค์เปิด) กะพื่อ มะเฟือง
–ื /ɨː/ (เมื่อเป็นพยางค์ปิด) ทื่ ขี่
–ุ /u/ กะชุ่ กระชุ
กะมรุ่ ลิ่น
–ู /uː/ กะพู่ อ้อย
คู้ พังพอน
เ–ะ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) หมวกคล้ายงอบ
เ–็ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และไม่มีเครื่องหมายลักษณะน้ำเสียง)
เล็ เล็ง
เอ็ เส้นเอ็น
เ– /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีเครื่องหมายลักษณะน้ำเสียง)
ญ่ญ โคลงเคลง
ล้จ นิดหน่อย
/eː/ ปล เปล
ตว ขวา
แ–ะ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) พ่ แพะ
แ–็ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และไม่มีเครื่องหมายลักษณะน้ำเสียง)
กะแท็ ฟ้าผ่า
แป็ เป็น
แ– /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีเครื่องหมายลักษณะน้ำเสียง)
กะแท่ เกวียน
ซ้จ หนาว
/ɛː/ นา
กะมล่ง บ่า
โ–ะ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) คะ ก้อนหิน
โ–ะ (ลดรูป) /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) กะท่ง กระต่าย
โ– /oː/ กะ ครก
พล้ม ขี้ผึ้ง (จากรังผึ้ง)
เ–าะ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ง่าะ เงาะ
–็อ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และไม่มีเครื่องหมายลักษณะน้ำเสียง)
ต็อ บ้าน
ท็อ ลุง
–อ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีเครื่องหมายลักษณะน้ำเสียง)
คะม้ ไอ
ม่ กับ, ด้วย
/ɔː/ กะค่ จระเข้
พร กระรอก
เ–อะ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ล่อะ เลอะ, สกปรก
เ–อ /əː/ (เมื่อเป็นพยางค์เปิด) กะช่ กระบุงแต่งงาน
เ–ิ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) กะเทิ่ น่อง
/əː/ (เมื่อเป็นพยางค์ปิด) เยิ่ สูง
เ–ีย /ia/ ซุกเปีย ผมเปีย
เ–ือ /ɨə/ เกือ รองเท้า
–ัว /uə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) บัว บัว
–ว– /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ผิวปาก
–ำ /am/ กำตี กำมือ
ไ– /aj/ ไห
เ–า /aw/ เสื้อ
ลักษณะน้ำเสียง
อักษรไทย ลักษณะ
น้ำเสียง
ตัวอย่างคำ ความหมาย
ไม่มีรูป กลางปกติ กะตาก ถั่ว
ซาบ จืด
ซูจ เซ่น
–่ ต่ำใหญ่ กะล่าง หู
ช่ ชก
ลุ่ แหลม
–้ สูงบีบ กะต้าก ลิ้น
ซ้าบ สว่าง
ซู้ มด
–์ ต่ำกระตุก กะล์าง ทราย
ช์ หมู
ลุ์ ไส้เดือน

สถานการณ์ในปัจจุบัน

ปัจจุบันภาษาชองอยู่ภาวะวิกฤตใกล้สูญ คนเฒ่าคนแก่เสียดายที่ภาษาชองจะสูญหายไป โดยปัจจุบันมีชาวชองอยู่อาศัยถิ่นฐานเดิมบริเวณตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ (แต่แหล่งที่พูดกันมากที่สุดอยู่ที่ตำบลตะเคียนทอง) จังหวัดจันทบุรี ประมาณ 6,000 คน แต่ที่พูดได้มีเพียงประมาณ 500 คน โดยส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนวัยรุ่นชาวชองนั้นอายที่จะพูดภาษาดั้งเดิมประจำชาติพันธุ์ของตน

ขณะนี้มหาวิทยาลัยมหิดลพยายามจะฟื้นฟูโดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการบันทึกเสียงและถอดภาษาพูดเป็นภาษาเขียน ให้โรงเรียนบ้านคลองพลูสอนภาษาชองให้กับลูกหลานชอง แทรกเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

จากการศึกษาของอิสระ ชูศรี พบว่า ผู้พูดภาษาชองถิ่นเหนือ (ตะเคียนทอง–คลองพลู) มองว่าตนเองเป็นกลุ่มผู้พูดภาษาถิ่นแยกต่างหากจากผู้พูดภาษาชองถิ่นใต้ (พลวง–ชากไทย) ความตระหนักนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้พูดภาษาถิ่นเหนือเลือกที่จะเปิดโครงการฟื้นฟูภาษาชองในถิ่นตนเองแทนที่จะเป็นภาษาชองของทั้งอำเภอเขาคิชฌกูฏ[9] อิสระ ชูศรี ยังให้ความเห็นว่า จากมุมมองทางภาษาศาสตร์สังคม ภาษาชองถิ่นเหนือมีอนาคตที่สดใสกว่าภาษาชองถิ่นใต้ในแง่การคงจำนวนผู้พูดไว้ ในขณะที่ภาษาชองถิ่นตะวันออก (วังกระแพร) ในอำเภอโป่งน้ำร้อนนั้นอยู่ในภาวะใกล้สูญเต็มที[9]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ภาษาชอง ที่ Ethnologue (21st ed., 2018) Closed access อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "e21" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. 2.0 2.1 แบบเรียนภาษาชอง = Chong language
  3. Hammarström, Harald; Forke, Robert; Haspelmath, Martin; Bank, Sebastian, บ.ก. (2020). "Chong of Chanthaburi". Glottolog 4.3.
  4. วิบูลย์ เข็มเฉลิม. วิถีคนป่าตะวันออกผืนสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, หน้า 69–71.
  5. Premsrirat, Suwilai. "Chong Language Revitalization Project" (PDF). Mekong Watch. Mahidol University. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  6. 6.0 6.1 Choosri, Isara. (2002). Mapping dialects of Chong in Chanthaburi province, Thailand: an application of Geographical Information System (GIS) (M.A. dissertation, Mahidol University).
  7. Sidwell, Paul. (2009). Classifying Austro Asiatic languages: history and state of the art. LINCOM studies in Asian linguistics, 76. Munich: Lincom Europa.
  8. * Martin, Marie A. (1975). "Les dialectes Pears dans leurs rapports avec les langues nationales." Journal of the Siam Society, 63(2), 86.
  9. 9.0 9.1 9.2 Choosri, Isara. (2002). "Dialects of Chong." Mon-Khmer Studies, 32, 67.
  10. ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). คู่มือระบบเขียนภาษาชองอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 33.
  11. 11.0 11.1 ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). คู่มือระบบเขียนภาษาชองอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 38.
  12. ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). คู่มือระบบเขียนภาษาชองอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 39.
  13. องค์ บรรจุน. (2553). สยาม หลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 132.

อ่านเพิ่ม

  • เจตน์จรรย์ อาจไธสง, พระอธิการธวัชชัย จนฺทโชโต, พระอาจารย์สี เตชพโล, เฉิน ผันผาย, และคำรณ วังศรี. (2556). แบบเรียนภาษาชอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. จันทบุรี: [ต้นฉบับ].
  • พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนฺธสโร), และธรรม พันธุศิริสด. (2541). "อารยธรรมชอง จันทบุรี." ใน อารยธรรม ชอง จันทบุรี และอาณาจักรจันทบูร เมืองเพนียต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยรายวัน.
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.). (2005). Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.
  • DiCanio, C.T. (2009) The Phonetics of Register in Takhian Thong Chong, Journal of the International. Phonetic Association, 39(2): 162–188
  • Huffman, Franklin E. (1985). "The phonology of Chong, a Mon-Khmer language of Thailand". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  • Isarangura, N. N. (1935). Vocubulary of Chawng words collected in Krat Province. [S.l: s.n.].
  • Premsrirat, Suwilai; Rojanakul, Nattamon (2015). Chong. In Paul Sidwell and Mathias Jenny (eds.), The Handbook of Austroasiatic Languages, 603-642. Leiden: Brill.
  • Suphanphaiboon, Surekha (1982). The Phonology of Chong (Takianthong, Makham District Chantaburi) (วิทยานิพนธ์).

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!