อำเภอเขาคิชฌกูฏ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Khao Khitchakut |
---|
ยอดเขาคิชฌกูฏมีรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า พระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลพลวง เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขต อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ |
คำขวัญ: คิชฌกูฎเมืองแมน แคว้นรอยพระพุทธบาท ดารดาษไม้ผล เมืองคนคุณธรรม สวยล้ำน้ำตกกระทิง มิ่งเมืองเหลืองจันทบูร ศูนย์วัฒนธรรม |
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอเขาคิชฌกูฏ |
พิกัด: 12°48′16″N 102°6′53″E / 12.80444°N 102.11472°E / 12.80444; 102.11472 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | จันทบุรี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 830.2 ตร.กม. (320.5 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 29,282 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 35.27 คน/ตร.กม. (91.3 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 22210 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 2210 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเขาคิชฌกูฏ หมู่ที่ 10 ถนนบำราศนราดูร ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 22210 |
---|
|
เขาคิชฌกูฏ [เขา-คิด-ชะ-กูด][1] เป็นอำเภอหนึ่งของ จังหวัดจันทบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ อำเภอมะขาม เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ และพระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ "รอยพระพุทธบาท” ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเขาคิชฌกูฏมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติ
ท้องที่อำเภอเขาคิชฌกูฏเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอมะขาม ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[2] ชื่อของ "เขาคิชฌกูฏ" ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะมีชื่อเขาในกรุงราชคฤห์ในประเทศอินเดียลูกหนึ่งชื่อว่าเขาคิชฌกูฏ ฟังแล้วคล้ายกับว่าได้ไปยังนครราชคฤห์อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ครั้งปฐมโพธิกาล ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฏอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยก่อนนั้น (อินเดีย) แปลว่าภูเขาแร้งกระพือปีก มีคันธกุฎีอยู่บนยอดเขา และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อพระบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[3] เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และกลายเป็นอำเภอลำดับที่ 10 ของจังหวัดจันทบุรี
- พ.ศ. 2530 ตั้งตำบลคลองพลู แยกออกจากตำบลตะเคียนทอง[4]
- พ.ศ. 2535 ตั้งตำบลชากไทย แยกออกจากตำบลพลวง[5]
- วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 แยกพื้นที่ตำบลชากไทย ตำบลพลวง ตำบลตะเคียนทอง และตำบลคลองพลูจากอำเภอมะขาม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอมะขาม
- พ.ศ. 2536 ตั้งตำบลจันทเขลม แยกออกจากตำบลคลองพลู[6]
- พ.ศ. 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลพลวงและสภาตำบลคลองพลู เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงและองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพลู[7]
- พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลชากไทยและสภาตำบลตะเคียนทอง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชากไทยและองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง[8]
- พ.ศ. 2540 ยกฐานะจากสภาตำบลจันทเขลมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจันทเขลม[9]
- พ.ศ. 2548 กำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยกำหนดให้ตำบลพลวงมีเขตการปกครองทั้งหมด 9 หมู่บ้าน และตำบลชากไทยมีเขตการปกครองทั้งหมด 8 หมู่บ้าน[10]
- วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงเป็นเทศบาลตำบลพลวง[11]
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม เป็น อำเภอเขาคิชฌกูฏ[3]
- วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชากไทยเป็นเทศบาลตำบลชากไทย[12] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทองเป็นเทศบาลตำบลตะเคียนทอง[13]
- วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลจันทเขลมเป็นเทศบาลตำบลจันเขลม[14]
- วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพลูเป็นเทศบาลตำบลคลองพลู[15]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเขาคิชฌกูฏแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ
|
อักษรไทย
|
อักษรโรมัน
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[16]
|
1.
|
ชากไทย
|
Chak Thai
|
8
|
4,352
|
2.
|
พลวง
|
Phluang
|
10
|
7,382
|
3.
|
ตะเคียนทอง
|
Takhian Thong
|
9
|
4,646
|
4.
|
คลองพลู
|
Khlong Phlu
|
10
|
6,645
|
5.
|
จันทเขลม
|
Chanthakhlem
|
8
|
6,153
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเขาคิชฌกูฏประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลวงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลชากไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชากไทยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตะเคียนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนทองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลจันทเขลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทเขลมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลคลองพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพลูทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|