การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยTourism Authority of Thailand | ตราเครื่องหมาย | ตราแคมเปญมหัศจรรย์ประเทศไทย | ชื่อย่อ | ททท. / TAT |
---|
ก่อนหน้า | |
---|
ก่อตั้ง | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522; 45 ปีก่อน (2522-05-05) |
---|
ผู้ก่อตั้ง | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 40 |
---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
---|
สํานักงานใหญ่ | 1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
---|
ผลิตภัณฑ์ | |
---|
บริการ | |
---|
ผู้ว่าการ | ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ |
---|
| คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |
---|
บุคลากรหลัก | นัทรียา ทวีวงศ์ (ประธานกรรมการ) |
---|
องค์กรแม่ | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
---|
หน่วยงานในกํากับ | |
---|
งบประมาณ (2568) | 6,161,586,000 บาท[1] |
---|
รายได้ (2566) | 5,836,980,000 บาท[2] |
---|
การเบิกจ่าย | 6,157,119,000 บาท[2] |
---|
รายจ่าย (2566) | 7,308,090,000 บาท[2] |
---|
การให้ทุน | 6,932,200,000 บาท[2] |
---|
เงินบริจาค (2566) | 58,680,000 บาท |
---|
พนักงาน (2566) | 1,012 |
---|
เว็บไซต์ | www.tat.or.th |
---|
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Tourism Authority of Thailand, TAT) หรือย่อว่า ททท. เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย และปกป้องสิ่งแวดล้อม[3] ปัจจุบันผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คือ ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก ยุทธศักดิ์ สุภสร โดยมติเห็นชอบของคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566[4]
ประวัติ
ยุคองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๐๒[8] เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 เป็นองค์การของรัฐในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีโดยมีวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ
เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของชาติ และเผยแพร่ประเทศไทยในด้าน วัฒนธรรม ศิลปกรรม ประเพณี นาฏศิลป์ การกีฬา และกิจการอย่างอื่นอันจะเป็นการชักจูงหรือเป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยว
สถานที่ทำการขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในระยะแรกได้อาศัยอาคารกรมประชาสัมพันธ์เป็นสำนักงานชั่วคราว ต่อมาจึงได้ย้ายไปยังสนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา ซึ่งเคยเป็นอาคารของกรมการศาสนา โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไปเปิดอาคารเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2503 และได้ย้ายไปอาคาร 2 ถนนราชดำเนินกลาง ในปี พ.ศ. 2505[9]
โดยผู้อำนวยการส่งเสริมการท่องเที่ยวคนแรกคือ พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่เดิมนั้นมีหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวดเร็ว จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ อ.ส.ท. ให้มีขอบเขตการปฏิบัติงานกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และการส่งเสริมเผยแพร่ และได้แก้ไขกฎหมายการจัดตั้งอีก 7 ครั้ง จึงได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อให้หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในการพัฒนาส่งเสริมเผยแพร่ และดำเนินกิจการ เพื่อเป็นการริเริ่มให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนคุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วย
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่รัฐสภาในการประชุมครั้งที่ 41 วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2522 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่ผ่านการพิจารณา ส่วนพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ผ่านการพิจารณา จึงทำให้องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปลี่ยนชื่อเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย[10]
ยุคการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ
เพื่อจัดตั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแทนองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังคงทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างยั่งยืน และยังคงความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และการส่งเสริมเอกลักษณ์ความสง่างามของความเป็นไทย เพื่อให้เกิดดุลยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม[2]
ที่ตั้งและสำนักงานสาขา
สำนักงานใหญ่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งอยู่เลขที่ 1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังมีสำนักงานสาขาตามจังหวัดต่าง ๆ และสำนักงานสาขาในต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันสาขาในประเทศไทยแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
สำนักงานในต่างประเทศ
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานโตเกียว (รับผิดชอบประเทศญี่ปุ่น เฉพาะพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะฮนชู, โทโฮกุ, คันโต และเกาะฮกไกโด)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานโอซากะ (รับผิดชอบประเทศญี่ปุ่น เฉพาะบางส่วนทางตอนกลาง, ตะวันตก และบางส่วนของพื้นที่ตอนใต้ของเกาะฮนชูและบางส่วนของเกาะชิโกกุ)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานฟูกูโอกะ (รับผิดชอบประเทศญี่ปุ่น เฉพาะบางส่วนภูมิภาคชูโงกุ (ฮิโระชิมะและยามางูจิ) และบางส่วนของเกาะชิโกกุ (เอฮิเมะและโกจจิ))
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานไทเป (รับผิดชอบประเทศไต้หวัน)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานโซล (รับผิดชอบประเทศเกาหลีใต้)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานฮ่องกง (รับผิดชอบเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานปักกิ่ง (รับผิดชอบประเทศจีน เฉพาะปักกิ่ง, เหอเป่ย์, เหอหนาน, ซานซี, มณฑลเหลียวหนิง, จี๋หลิน, มณฑลเฮย์หลงเจียง, เขตปกครองตนเองมองโกเลียในและประเทศมองโกเลีย)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเซี่ยงไฮ้ (รับผิดชอบประเทศจีน เฉพาะเซี่ยงไฮ้, ซานตง, หูเป่ย์, อานฮุย, เจียงซูและเจ้อเจียง)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานคุนหมิง (รับผิดชอบประเทศจีน เฉพาะยูนนาน, กุ้ยโจวและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเฉิงตู (รับผิดชอบประเทศจีน เฉพาะเสฉวน, ฉงชิ่ง, ฉ่านซี, เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกว่างโจว (รับผิดชอบประเทศจีน เฉพาะกวางตุ้ง, หูหนาน, มณฑลเจียงซี, ฝูเจี้ยนและไหหลำ)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลอนดอน (รับผิดชอบสหราชอาณาจักร, ประเทศไอร์แลนด์และแอฟริกา)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแฟรงก์เฟิร์ต (รับผิดชอบประเทศเยอรมนี, ออสเตรีย, สโลวีเนีย, โครเอเชีย, สวิตเซอร์แลนด์, ลีชเทินชไตน์และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานปารีส (รับผิดชอบประเทศฝรั่งเศส, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, โมร็อกโก, โมนาโก, ตูนิเซียและแอลจีเรีย)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานโรม (รับผิดชอบประเทศอิตาลี, สเปน, กรีซ, โปรตุเกส, อิสราเอล, ตุรกีและไซปรัส)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสต็อกโฮล์ม (รับผิดชอบประเทศสวีเดน, นอร์เวย์, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, เอสโตเนีย, ลัตเวียและลีทัวเนีย)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานมอสโก (รับผิดชอบประเทศรัสเซีย, เบลารุส, จอร์เจีย, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน, คาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน, ประเทศเติร์กเมนิสถาน, ทาจิกิสถานและคีร์กีซสถาน)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานดูไบ (รับผิดชอบประเทศบาห์เรน, อิหร่าน, อิรัก, จอร์แดน, คูเวต, เลบานอน, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ซีเรีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอียิปต์)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานปราก (รับผิดชอบประเทศเช็กเกีย, โปแลนด์, ฮังการี, สโลวาเกีย, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, เซอร์เบีย, มอลโดวา, มาซิโดเนียเหนือ, แอลเบเนียและมอนเตเนโกร)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลอสแอนเจลิส (รับผิดชอบสหรัฐ เฉพาะรัฐแอริโซนา, แคลิฟอร์เนีย, โคโลราโด, ฮาวาย, ไอดาโฮ, มอนแทนา, เนวาดา, นิวเม็กซิโก, ออริกอน, ยูทาห์, วอชิงตัน, ไวโอมิง, รัฐเท็กซัสและเกาะกวม ประเทศในอเมริกากลาง เช่นประเทศเม็กซิโก, เบลีซ, คอสตาริกา, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, นิการากัวและปานามา และประเทศในอเมริกาใต้ เช่นประเทศอาร์เจนตินา, โบลิเวีย, บราซิล, ชิลี, โคลอมเบีย, เอกวาดอร์, กายอานา, ปารากวัย, เปรู, ซูรินาม, อุรุกวัยและเวเนซุเอลา)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนิวยอร์ก (รับผิดชอบสหรัฐ เฉพาะรัฐแอละแบมา, คอนเนทิคัต, เดลาแวร์, ฟลอริดา, จอร์เจีย, เคนทักกี, เมน, แมริแลนด์, แมสซาชูเซตส์, มิสซิสซิปปี, นิวแฮมป์เชอร์, นิวเจอร์ซีย์, รัฐนิวยอร์ก, นอร์ทแคโรไลนา, เพนซิลเวเนีย, โรดไอแลนด์, เซาท์แคโรไลนา, เทนเนสซี, เวอร์มอนต์, เวอร์จิเนีย และเวสต์เวอร์จิเนีย และประเทศในแคริบเบียน)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชิคาโก (รับผิดชอบสหรัฐ เฉพาะรัฐอะแลสกา, อาร์คันซอ, อิลลินอย, อินดีแอนา, ไอโอวา, แคนซัส, ลุยเซียนา, มิชิแกน, มินนิโซตา, มิสซูรี, เนแบรสกา, นอร์ทดาโคตา, โอไฮโอ, โอคลาโฮมา, เซาท์ดาโคตาและวิสคอนซิน รวมถึงประเทศแคนาดา)
อนุสาร อ.ส.ท.
อนุสาร อ.ส.ท. เป็นนิตยสารท่องเที่ยวขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) (ปัจจุบันเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ออกวางตลาดเป็นปฐมฤกษ์ ในฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2503 โดยคำว่าอนุสาร หมายถึงสารฉบับเล็ก มียอดพิมพ์ครั้งแรก 50,000 ฉบับ เนื้อหานำเสนอเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งในด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และแม้ว่าองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ท.ท.ท.) ในปี พ.ศ. 2522 อนุสาร อ.ส.ท.ก็ยังใช้ชื่อเดิมมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2551 มียอดพิมพ์สูงถึง 100,000 ฉบับต่อเดือนนับเป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่อายุยืนนานที่สุด และมียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศไทย[11]
รางวัล
ปี
|
รางวัล
|
สาขา
|
ผล
|
2566
|
Thailand Social Awards 2023[12]
|
Best Brand Performance on Social Media กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
|
ชนะ
|
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 รายงานประจำปี 2566 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- ↑ Five ways Thailand is taking responsible tourism seriously
- ↑ "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไฟเขียวแต่งตั้ง ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ เป็นผู้ว่าฯ ททท. คนใหม่". www.thairath.co.th. 2023-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๒, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๕ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๖, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๖๘ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๖, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๘ ก ฉบับพิเศษ ๖, ๔ ตุลาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๐๒, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ก หน้า ๒๗๓, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒
- ↑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เปิดสำนักงาน อ.ส.ท.
- ↑ ประวัติความเป็นมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- ↑ "อนุสาร อ.ส.ท.", gaming.youtube.com, april 8, 2017
- ↑ "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
พลังงาน | | |
---|
ขนส่ง | |
---|
สื่อสาร | |
---|
สาธารณูปการ | |
---|
อุตสาหกรรม | |
---|
เกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติ | |
---|
พาณิชย์และบริการ | |
---|
สังคมและเทคโนโลยี | |
---|
สถาบันการเงิน | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทอื่น ๆ* | |
---|
* หมายเหตุ: เป็นองค์กรที่กองทุน FIDF เคยถือหุ้น หรือถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบ ซึ่งภายหลังในปี 2563 มีการตีความว่ากองทุนฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรที่กองทุนฯ ถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบ (ธนาคารกรุงไทย) สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ |
|
|