สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลGovernment Lottery Office |
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล |
ภาพรวมสำนักงาน |
---|
ก่อตั้ง | 5 เมษายน พ.ศ. 2482; 85 ปีก่อน (2482-04-05) |
---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
---|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
---|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 359 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี |
---|
บุคลากร | 855 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
งบประมาณต่อปี | 338,083,022,000 บาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
ฝ่ายบริหารสำนักงาน | - ลวรณ แสงสนิท, ประธานกรรมการ
- พันโท หนุน ศันสนาคม, ผู้อำนวยการ
- ตุ้มทอง มุสิกรัตน์, รองผู้อำนวยการ
- พรพิไล บุญเอนก, รองผู้อำนวยการ
- เรือโท สุภาสชาญ ทัศนกุล, รองผู้อำนวยการ
- ทวีป วุฒิบาทุกาจิตต์, รองผู้อำนวยการ
- ชูชาติ มั่นครองธรรม, รองผู้อำนวยการ
|
---|
ต้นสังกัดสำนักงาน | กระทรวงการคลัง |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงาน |
---|
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (อังกฤษ: Government Lottery Office) เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลไทย มีหน้าที่ออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นหลัก รวมถึงจัดการโรงพิมพ์อันเป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ และรับผิดชอบในกระทำการอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินกิจการของสำนักงานเอง ภายใต้คำขวัญของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ว่า "ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ ยืนหยัดยุติธรรม"
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็น 1 ใน 10 รัฐวิสาหกิจไทยที่มีรายได้นำส่งภาครัฐสูงสุด ในไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานฯ นำส่งรายได้เป็นจำนวน 8,505 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 รองจาก บมจ.ปตท. และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[2]
ประวัติ
หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 รัฐบาลมีนโยบายลดเงินรัชชูปการ (หมายถึง เงินที่เรียกเก็บจากชายชาวสยามที่ไม่ได้รับราชการทหาร) ทำให้รัฐขาดรายได้ จึงมีการออกลอตเตอรี่รัฐบาลขึ้น โดยเรียกว่า "ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม" ออกจำหน่ายจำนวน 1 ล้านฉบับ ฉบับละ 1 บาท โดยออกปีละ 4 งวด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยออก "สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล" โดยกำหนดว่า หากเดือนใดเป็นเดือนออกสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้งดจำหน่ายสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาลในเดือนนั้น โดยเริ่มจำหน่ายงวดแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2478 แล้วออกสลากในเดือนเมษายน พ.ศ. 2479 โดยพิมพ์จำนวน 500,000 ฉบับ ฉบับละ 1 บาท และตั้งแต่นั้นก็ได้มีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงเทศบาลเรื่อยมา
พ.ศ. 2482 ถือเป็นยุคที่สลากกินแบ่งรัฐบาลเริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนกิจการเกี่ยวกับสลากกินแบ่งทั้งของรัฐบาลและเทศบาลมาสังกัดกระทรวงการคลัง และเมื่อวันที่ 5 เมษายน ได้มีการแต่งตั้ง "คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล" ขึ้น โดยมีพระยาพรหมทัตศรีพิลาต (แฉล้ม มิตรานนท์) เป็นประธานกรรมการคนแรก วันดังกล่าวจึงถือเป็น "วันสถาปนาสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล" มาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2499 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีอาคารที่ทำการแห่งแรกที่เลขที่ 3 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2517 มีการออกพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517[3] ขึ้น กำหนดสถานะให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นนิติบุคคล และเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง
นอกจากการดำเนินกิจการภายในประเทศแล้ว สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลยังได้ประสานงานกับต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลข่าวสารด้านกิจการสลากกินแบ่งด้วย โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมสลากกินแบ่งโลกและสมาคมสลากกินแบ่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543[4][5]
ภารกิจหลัก
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลบริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517[3] ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักตามมาตรา 5 ดังนี้
- ออกสลากกินแบ่งรัฐบาล
- จัดการโรงพิมพ์สำหรับพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
- กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินกิจการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
โดยโรงพิมพ์ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตั้งอยู่ที่เลขที่ 9 ซอยสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยมีการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงพิมพ์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2520 และเริ่มพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2521[4] ซึ่งนอกจากสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้ว คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลยังเห็นชอบให้โรงพิมพ์แห่งนี้สามารถจัดพิมพ์สลากบำรุงการกุศล ใบตรวจผลการออกรางวัล รวมถึงงานพิมพ์อื่นที่รับจ้างจากภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งพิมพ์กันปลอมแปลงของหน่วยราชการที่คณะกรรมการเห็นชอบอีกด้วย อาทิ ตั๋วรถโดยสาร บขส. บัตรผ่านทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือรูปลอกของกรมสรรพสามิต เป็นต้น[5]
ลอตเตอรีใต้ดิน
ลอตเตอรีใต้ดินหรือ "หวยใต้ดิน" (ฮวยไทดิน) ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศรายงานว่ามีการจัดหวยใต้ดินที่มีขนาดประมาณสี่ถึงห้าเท่าของหวยทางการ ตามข้อมูลจากอาจารย์ดร. สรรเสริญ์ พิริยะรังสรรค์สม คณบดีคณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต (RSU) ลอตเตอรีใต้ดินนี้เกี่ยวข้องกับเลขที่ออกในหวยทางการ ตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้นำเสนอรางวัลที่ดีกว่า การซื้อเชื่อเพิ่มเติมและตัวเลือกการเดิมพันที่มากขึ้น โดยธุรกิจลอตเตอรีใต้ดินขนาดเล็กสามารถเริ่มต้นด้วยสมุดบันทึกและปากกาเท่านั้น ทำให้มีการกระจายอย่างแพร่หลายและเป็นไปได้อย่างไร้ประสิทธิภาพในการปราบปราม[6]
ลอตเตอรีใต้ดินในประเทศไทยมีการเจริญรุ่งเรืองจนราวกับมีความเจริญกันอย่างแพร่หลายในชุมชนชาวไทยในต่างประเทศเช่นกัน[7]
ลอตเตอรีใต้ดินถือเป็นส่วนสำคัญของชีวิตคนไทย ซึ่งประชากรไทยมีการเล่นลอตเตอรีใต้ดินจำนวนมากถึงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด[8][9] ลอตเตอรีใต้ดินได้รับความนิยมมากกว่าลอตเตอรีทางการอันเป็นส่วนหนึ่งเนื่องจากโอกาสในการชนะมีมากกว่า โดยอัตราส่วนคือ 1 ใน 100 ในขณะที่รางวัลหลักทางการมีมูลค่ามากกว่า แต่อัตราส่วนคือ 1 ใน 1 ล้าน ลอตเตอรีใต้ดินเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจใต้ดินที่มีขนาดใหญ่ในประเทศไทย อยู่นอกเหนือจากการเก็บภาษีและไม่ถูกนับอยู่ในสถิติเศรษฐกิจทางการ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่มีการทุจริตเล็กน้อยอย่างแพร่หลาย นายนพนันท์ประมาณว่าตำรวจได้รับเงินสินบนจำนวน 11 พันล้านบาทหรือ 362 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากการดำเนินงานลอตเตอรีใต้ดิน[9]
สลากต่าง ๆ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
พลังงาน | | |
---|
ขนส่ง | |
---|
สื่อสาร | |
---|
สาธารณูปการ | |
---|
อุตสาหกรรม | |
---|
เกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติ | |
---|
พาณิชย์และบริการ | |
---|
สังคมและเทคโนโลยี | |
---|
สถาบันการเงิน | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทอื่น ๆ* | |
---|
* หมายเหตุ: เป็นองค์กรที่กองทุน FIDF เคยถือหุ้น หรือถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบ ซึ่งภายหลังในปี 2563 มีการตีความว่ากองทุนฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรที่กองทุนฯ ถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบ (ธนาคารกรุงไทย) สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ |