อู่กรุงเทพ

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
The Bangkok Dock Company (1957) Limited
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรม
ก่อนหน้าบริษัท บางกอกด๊อก จำกัด
ก่อตั้ง15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500; 67 ปีก่อน (2500-11-15)
ผู้ก่อตั้งจอห์น บุช
สำนักงานใหญ่,
จำนวนที่ตั้ง2 แห่ง (พ.ศ. 2555)
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลักพลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง (ประธานกรรมการ)
นาวาเอก ปริศฎางค์ กาศขุนทด (กรรมการผู้จัดการ)
ผลิตภัณฑ์
บริการ
  • การต่อเรือ
  • การซ่อมแซมเรือ
รายได้สุทธิ
67.01 ล้านบาท
(พ.ศ. 2564)[1]
สินทรัพย์134.70 ล้านบาท
(พ.ศ. 2564)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้น101.79 ล้านบาท
(พ.ศ. 2564)[1]
เจ้าของ
บริษัทแม่กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม
บริษัทในเครือสำนักงานธุรกิจสัตหีบ
เว็บไซต์เว็บไซต์ของบริษัท

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด (อังกฤษ: The Bangkok Dock Company (1957) Limited) เป็นรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย สังกัด กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม ประกอบกิจการอู่เรือ สร้าง ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกลเรือ และอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีของกองทัพไทย

ประวัติ

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจากบริษัท บางกอกด๊อก จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2408 โดยกัปตันจอห์น บุช นักลงทุนชาวอังกฤษ และราชนาวีไทยต้องเข้ามาควบคุมกิจการในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และส่งคืนให้แก่ประเทศอังกฤษหลังเสร็จสิ้นสงคราม แต่ บางกอกด๊อก ต้องเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2494 และขายกิจการกลับมาเป็นของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 และได้มีการโอนกิจการโดยสมบูรณ์ให้กองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2500 พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของบริษัทจาก Bangkok Dock Co., Ltd. มาเป็น Bangkok Dock company (1957) Limited. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 กองทัพเรือจึงโอนหุ้นทั้งหมดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงการคลัง มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นผู้ควบคุมนโยบาย และในปี พ.ศ. 2526 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้อู่กรุงเทพ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทยุทธปัจจัย อยู่ในความควบคุมของกองทัพเรือ[2]

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ระหว่างสะพานกรุงเทพ และสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีพื้นที่ 20 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา เป็นพื้นที่อู่จำนวน 2 อู่ สามารถซ่อมเรือขนาดระวางบรรทุก 3,000 - 4,000 ตัน ได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน และยังมีสำนักงานธุรกิจตั้งอยู่ที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อีกแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ 44 ไร่ 2 งาน เป็นลักษณะอู่ลอย

การดำเนินงาน

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด มีผลกำไรสุทธิ ในปี พ.ศ. 2553 จำนวน 13,266,419.67 บาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 13.27 บาท[3]

ผลงานของบริษัท

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด มีผลงานการต่อเรือสำคัญ อาทิ โครงการเรือน้ำมันกองทัพเรือ เรือตรวจการไกลฝั่ง เรือระบายพลประจำเรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงสุรินทร์ เรือหลวงทองหลาง เรือหลวงวังนอก เรือหลวงทองแก้ว เรือหลวงวังใน เรือหลวงศุกร์ เรือหลวงสุริยะ เรือหลวงถลาง เรือเวรด่วนทางธุรการ[4]

นอกจากนั้นยังได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการสำคัญ อาทิ พิพิธภัณฑ์เรือหลวงท่าจีน การกู้เรือหลวงกระบุรีออกจากการเกยตื้นภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ณ ฐานทัพเรือพังงา จังหวัดพังงา โครงการเรือออมสิน โครงการยานวิจัยใต้น้ำขนาดเล็ก

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 รายงานประจำปี 2564 บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
  2. ประวัติบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
  3. รายงานสถานะการเงิน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 13 มกราคม 2555
  4. "ผลงานของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-07-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!