พิชัย รัตตกุล (16 กันยายน พ.ศ. 2469 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[1]) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 4 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย และเคยได้รับเลือกเป็นประธานสโมสรโรตารีสากล ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2546
ประวัติ
พิชัย รัตตกุล เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดพระนคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนซึ่งบรรพบุรุษได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นบุตรของ นายพิศาลกับนางวิไล รัตตกุล
พิชัยเป็นบุตรคนโต จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน ดังนี้
- นาย พิชัย รัตตกุล
- ร้อยตรี ไพโรจน์ รัตตกุล (สมรสกับ นางประพันธ์ศรี ลีลานุช)
- นายแพทย์ ปราโมทย์ รัตตกุล
- นางสาว ยุพิน รัตตกุล
- นางสาว สุภาพรรณ รัตตกุล
- นาง ยุพยงค์ รัตตกุล (สมรสกับ นาย Harry Studhalter)
- คุณหญิง สุภัจฉรีย์ ภิรมย์ภักดี (สมรสกับ นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี)
- นาง ยุพเรศ เที่ยงธรรม (สมรสกับ นายสุนัย เที่ยงธรรม)
- นาย แสนดี รัตตกุล (สมรสกับ นางสุพรรณี เอี่ยมสกุลรัตน์)
นายพิชัยจบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จากนั้นจึงไปศึกษาต่อด้านพาณิชยศาสตร์ที่โรงเรียนเซนต์สตีเฟ่น ที่ฮ่องกง หลังจบการศึกษาแล้วได้กลับมาดูแลธุรกิจของครอบครัว ก่อนจะเข้าสู่แวดวงการเมือง
ชีวิตครอบครัว สมรสกับ คุณหญิงจรวย รัตตกุล (สกุลเดิม ศิริบุญ) มีบุตรชาย 2 คนคือ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล บุตรสาว 1 คนคือ คุณหญิงพัชรี ว่องไพฑูรย์ (สมรสกับ ดร.วีระนนท์ ว่องไพฑูรย์)
นายพิชัยได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ โรงพยาบาลศิริราช หลังจากเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งปอด[2]ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
งานการเมือง
นายพิชัยเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2501 และเป็นส.ส.ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาไม่นาน นายพิชัยได้เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร และเป็น 1 ใน 4 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ลงชื่อในคราวนั้น (อีก 3 คนคือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์, นายเทพ โชตินุชิต, นายชวลิต อภัยวงศ์) เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งอีกครั้ง[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[7] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ. 2525 หลังจากการครบวาระของ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ได้ร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งนายพิชัยได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้วย[8] ในปี พ.ศ. 2529 จากนั้นในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลในวาระแรก และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[9] แต่ในวาระที่ 2 ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลเนื่องจากมีเสียงสนับสนุนรัฐบาลในสภา ฯ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดสภาพการเป็นเผด็จการรัฐสภา
ในวาระของการเป็นหัวหน้าพรรคของนายพิชัยนั้น ได้มีเหตุการณ์ความแตกแยกในพรรคเกิดขึ้น เมื่อ "กลุ่ม 10 มกรา" ที่นำโดยนายวีระ มุสิกพงศ์ ได้ลาออกจากพรรคไป เนื่องจากความขัดแย้งกันในแต่งตั้งหัวหน้าพรรค
จากนั้น เมื่อ นายชวน หลีกภัยเป็นหัวหน้าพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 นายพิชัยได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการเกี่ยวกับต่างประเทศและรับผิดชอบการจัดมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ 1998 และได้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาด้วย[10] หลังจากนี้ไม่นาน นายพิชัยได้วางมือจากการเมืองเนื่องจากมีอายุที่มากแล้ว จนได้รับฉายาว่า "คุณปู่" แต่ยังมีตำแหน่งเป็นสภาที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์อยู่
ในแวดวงสังคม นายพิชัย มีตำแหน่งเป็นประธานสโมสรโรตารีในประเทศ และเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานสโมสรโรตารีสากลในระหว่าง พ.ศ. 2545 – 2546
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- นิการากัว :
- พ.ศ. 2543 - เครื่องอิสริยาภรณ์ตระกูลโฆเซ เด มาร์โคเลตา ชั้น กราน ครูซ[15]
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของพิชัย รัตตกุล
|
| | | | | | | | | | | | | | | | |
| 4. เอ็กจุ่ง แซ่ตั้ง (ไล่หู) | |
|
| | | | | | | | | | |
| 2. พิศาล รัตตกุล (ตันบั๊กเส็ง) | |
|
| | | | | | | | | | | | | |
| 20. เจ่ง แซ่โง้ |
|
| | | | |
| 10. แดง แซ่โง้ | |
|
| | | | | | | |
| 21. นิ่ม แซ่โง้ |
|
| | | | |
| 5. กิมเน้ย แซ่ตั้ง | |
|
| | | | | | | | | | |
| 11. เกียว แซ่โง้ | |
|
| | | | | | | |
| 1. พิชัย รัตตกุล | |
|
| | | | | | | | | | | | | | | | |
| 6. เจริญ ศิริบุญ (ไล่เทียม จิว) | |
|
| | | | | | | | | | |
| 3. วิไล รัตตกุล | |
|
| | | | | | | | | | | | | |
| 28. พลตำรวจตรี พระพิจารย์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ) |
|
| | | | |
| 14. อุ่ม คำจิ่ม (บั๊ก เซียว) | |
|
| | | | | | | |
| 7. สอาด คำจิ่ม (ปลั่ง) | |
|
| | | | | | | | | | |
| 15. กิมสี คำจิ่ม (ยี่สุ่น) | |
|
| | | | | | | |
|
อ้างอิง
- ↑ "'พิชัย รัตตกุล' อดีตประธานรัฐสภา-หัวหน้าปชป. ถึงแก่อนิจกรรม สิริอายุ 96 ปี". Matichon. February 28, 2022. สืบค้นเมื่อ February 28, 2022.
- ↑ "สิ้น พิชัย รัตตกุล อดีตประธานรัฐสภา-หัวหน้าพรรค ปชป.เสียชีวิตในวัย 96 ปี". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2022-02-28.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายพิชัย รัตตกุล)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑, ๑๑ กันยายน ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2021-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๘, ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
| |
(ในวงเล็บ) หมายถึง สมัยดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น (กรณีมากกว่า 1 สมัย) |
|
---|
ประธาน | | |
---|
รองประธานคนที่ 1 | |
---|
รองประธานคนที่ 2 | |
---|
(ในวงเล็บ) หมายถึง สมัยดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น (กรณีมากกว่า 1 สมัย) |
|
---|
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ |
---|
|
| |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ |
---|
|
|
|
---|
หัวหน้าพรรค | | |
---|
เลขาธิการพรรค | |
---|
โฆษกพรรค | |
---|
นายกรัฐมนตรีจากพรรค | |
---|
นโยบายพรรค | |
---|
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง | |
---|