จักรพรรดิจุนนะ

จักรพรรดิจุนนะ
淳和天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์29 พฤษภาคม ค.ศ. 823 – 22 มีนาคม ค.ศ. 833
ราชาภิเษก30 พฤษภาคม ค.ศ. 823
ก่อนหน้าซางะ
ถัดไปนิมเมียว
พระราชสมภพป. ค.ศ. 786
โอโตโมะ (ญี่ปุ่น: 大伴โรมาจิŌtomo)
สวรรคต11 มิถุนายน ค.ศ. 840(840-06-11) (54–55 ปี)
เฮอังเกียว (เกียวโต)
ฝังพระศพโอฮาราโนะ โนะ นิชิ โนะ มิเนโนเอะ โนะ มิซาซางิ (大原野西嶺上陵; เกียวโต)
คู่อภิเษกโชชิ/มาซาโกะ
พระราชบุตร
และอื่น ๆ...
เจ้าชายสึเนซาดะ
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิจุนนะ (淳和天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตะ-เนโกะ-อาเมะ-โนะ-ทากาซูรูอิยาโตโอะ โนะ มิโกโตะ (日本根子天高譲弥遠尊)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิคัมมุ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ ทาบิโกะ

จักรพรรดิจุนนะ (ญี่ปุ่น: 淳和天皇โรมาจิJunna-tennō; ป. ค.ศ. 786 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 840) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 53[1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2] จุนนะครองราชย์ใน ค.ศ. 823 ถึง 833[3]

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

จุนนะมีจักรพรรดิและพระมเหสีรวม 6 พระองค์ และพระราชโอรสธิดารวม 13 พระองค์[4] จุนนะมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) ว่า โอโตโมะ (ญี่ปุ่น: 大伴โรมาจิŌtomo)[5]

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจุนนะ

  • ค.ศ. 810: หลังการกบฏของจักรพรรดิเฮเซ พระองค์จึงกลายเป็นมกุฎราชกุมารในจักรพรรดิซางะตอนพระชนมพรรษา 25 พรรษา[4]
  • 30 พฤษภาคม ค.ศ. 823[6] (ปีโคนิงที่ 14, วันที่ 17 เดือน 4[7]): ในปีที่ 14 ของรัชสมัยจักรพรรดิซางะ พระองค์สละราชสมบัติใก้จุนนะ ผู้มีศักดิ์เป็นพระอนุชาในซางะกับพระราชโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดิคัมมุ[8]
  • 22 มีนาคม ค.ศ. 833 (ปีเท็นโจที่ 10, วันที่ 28 เดือน 2[9]): ในปีที่ 10 ของรัชสมัยจักรพรรดิจุนนะ พระองค์สละราชสมบัติให้กับพระราชโอรสบุญธรรม หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดินิมเมียวขึ้นครองราชย์ เมื่ออดีตจักรพรรดิจุนนะสละราชบัลลังก์แล้ว อดีตจักรพรรดิซะงะก็ยังมีพระชนมชีพอยู่ ผู้คนจึงเรียกอดีตจักรพรรดิซะงะว่า อดีตจักรพรรดิองค์ใหญ่ (Senior Retired Emperor) ขณะที่อดีตจักรพรรดิจุนนะเรียกว่า อดีตจักรพรรดิองค์น้อย (Junior Retired Emperor) [8]
  • 11 มิถุนายน ค.ศ. 840 (ปีโจวะที่ 7, วันที่ 8 เดือน 5[10]: อดีตจักรพรรดิจุนนะเสด็จสวรรคตขณะพระชนมายุได้ 55 พรรษา[11] หลังจากที่พระองค์สวรรคต ฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะวางแผนให้มนโตกุขึ้นครองบัลลังก์แทนมกุฎราชกุมารสึเนซาดะ การสวรรคตของจุนนะได้ปูทางสู่การขึ้นสู่อำนาจของตระกูลฟูจิวาระ[12]

รัชสมัย

ปีในรัชสมัยของจุนนะมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช (nengō).[13]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

จักรพรรดินี: เจ้าหญิงโชชิ/มาซาโกะ (正子内親王; 810–879) พระราชธิดาในจักรพรรดิซางะ

  • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายสึเนซาดะ (恒貞親王) มกุฎราชกุมาร (ถูกถอดถอนใน ค.ศ. 842)
  • พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายโมโตซาดะ (基貞親王; 827–869)
  • พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายสึเนฟูดะ (恒統親王; 829–842)

ฮิ (สถาปนาเป็นจักรพรรดินีหลังสวรรคต): เจ้าหญิงโคชิ (高志内親王; 789–809) พระราชธิดาในจักรพรรดิคัมมุ

  • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายสึเนโยะ (恒世親王; 806–826)
  • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงอูจิโกะ (氏子内親王; สวรรคต ค.ศ. 885) ไซโอองค์ที่ 16 แห่งศาลเจ้าอิเซะ (823–827)
  • เจ้าหญิงยูชิ (有子内親王; สวรรคต ค.ศ. 862)
  • เจ้าหญิงซาดาโกะ (貞子内親王: สวรรคต ค.ศ. 834)

นางพระกำนัล: เจ้าหญิงอตสึงุ (緒継女王; 787–847)

เนียวโง: นางาฮาระ โนะ โมโตฮิเมะ (永原原姫)

เนียวโง: ทาจิบานะ โนะ อูจิโกะ (橘氏子) ธิดาในทาจิบานะ โนะ นางานะ

  • เจ้าชาย

โคอูอิ: ฟูจิวาระ โนะ คิโยโกะ (藤原潔子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ นางาโอกะ

นางพระกำนัล: คิโยฮาระ โนะ ฮารูโกะ (清原春子) ธิดาในคิโยฮาระ โนะ นัตสึโนะ

  • เจ้าหญิงเมชิ (明子内親王; สวรรคต ค.ศ. 854)

นางพระกำนัล: โอนากาโตมิ โนะ ยาซูโกะ (大中臣安子) ธิดาในโอนากาโตมิ ฟูจีโอะ

  • พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าชายโยชิซาดะ (良貞親王; สวรรคต ค.ศ. 848)

นางพระกำนัล: โอโนะ โนะ ทากาโกะ (大野鷹子) ธิดาในโอโนะ โนะ มาซาโอะ

  • เจ้าหญิงฮิโรโกะ (寛子内親王; สวรรคต ค.ศ. 869)

นางพระกำนัล: ทาจิบานะ โนะ ฟูเนโกะ (橘船子) ธิดาในทาจิบานะ โนะ คิโยโนะ

  • เจ้าหญิงทาไกโกะ (崇子内親王; สวรรคต ค.ศ. 848)

นางพระกำนัล: ทาจิฮิ โนะ อิเกโกะ (丹犀池子) ธิดาในทาจิฮิ โนะ คาโดนาริ

  • เจ้าหญิงโทโมโกะ (同子内親王; สวรรคต ค.ศ. 860)

พระนางไม่ทราบนาม

  • มูเนะ โนะ ชูชิ (統忠子; เสียชีวิต ค.ศ. 863) ถูกถอนออกจากราชวงศ์ด้วยการได้รับชื่อตระกูลจากจักรพรรดิ (Shisei Kōka, 賜姓降下) ใน ค.ศ. 862

พระราชพงศาวลี

[14]

อ้างอิง

  1. Emperor Junna, Ōharano no Nishi no Minenoe Imperial Mausoleum, Imperial Household Agency
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 64.
  3. Brown and Ishida, pp.282–283; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 164; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 102–106., p. 102, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. 4.0 4.1 Brown and Ishida, p. 282.
  5. Titsingh, p. 103; Brown and Ishida, p. 282.
  6. วันที่จูเลียนนำมาจาก NengoCalc
  7. 弘仁十四年四月十七日
  8. 8.0 8.1 Brown and Ishida, pp. 282–283.
  9. 天長十年二月二十八日
  10. 承和七年五月八日
  11. Brown and Ishida, p. 283; Varely, p. 164.
  12. Mason and Caiger, p. 69
  13. Titsingh, p. 102.
  14. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 28 January 2018.

ข้อมูล

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!