จักรพรรดิริจู (ญี่ปุ่น : 履中天皇 ; โรมาจิ : Richū-tennō ) มีอีกพระนามว่า โอเอโนอิซาโฮวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น : 大兄去来穂別尊 ; โรมาจิ : Ōenoizahowake no Mikoto ) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 17 ตามลำดับการสืบทอด แบบดั้งเดิม[ 7] [ 8] ทั้งโคจิกิ และนิฮงโชกิ (เรียกรวมกันเป็น คิกิ ) บันทึกเหตุการณ์ที่อ้างว่าเกิดขึ้นในชีวงชีวิตของริจู จักรพรรดิพระองค์นี้เป็นที่รู้จักจากความพยายามลอบปลงพระชนม์โดยซูมิโนเอะ พระอนุชา หลังการสวรรคตของจักรพรรดินินโตกุ พระราชบิดาของทั้งสอง แม้ว่าไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนสำหรับพระชนมชีพของจักรพรรดิองค์นี้ แต่ถือว่าพระองค์ครองราชบัลลังก์จาก ค.ศ. 400 ถึง 405[ 9]
เรื่องราวยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์
ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ปรากฏในโคจิกิ และนิฮงโชกิ ซึ่งเรียกรวมกันเป็น คิกิ (ญี่ปุ่น : 記紀 ) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น โดยบันทึกว่าริจูเสด็จพระราชสมภพจากเจ้าหญิงอิวะ (ญี่ปุ่น : 磐之媛命 ; โรมาจิ : Iwa no hime no Mikoto ) ในช่วง ค.ศ. 336 และได้รับพระราชทานนามว่า โอเอโนอิซาโฮวาเกะ โนะ มิโกโตะ (ญี่ปุ่น : 大兄去来穂別尊 ; โรมาจิ : Ōenoizahowake no Mikoto )[ 2] [ 6] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดินินโตกุ และภายหลังพระราชบิดาแต่งตั้งพระองค์เป็นมกุฎราชกุมารในปีที่ 31 ของรัชสมัยพระราชบิดา (ค.ศ. 343)[ 9] [ 10] เมื่อนินโตกุสวรรคตใน ค.ศ. 399 ท่ามกลางช่วงแห่งความโศกเศร้า ตามมาด้วยเรื่องอื้อฉาวที่เกือบทำให้มกุฏราชกุมารสิ้นพระชนม์
ความพยายามลอบปลงพระชนม์
ในช่วงหนึ่งก่อนที่ริจูจะขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ส่งเจ้าชายซูมิโนเอะ โนะ นากัตสึ (ญี่ปุ่น : 住吉仲皇子 ) พระอนุชา ไปจัดเตรียมการอภิเษกสมรสให้กับคูโระ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น : 黒媛 ; โรมาจิ : Kuro-hime ) พระมเหสีของพระองค์[ 9] [ 4] เจ้าชายนากัตสึกลับอ้างตนเองเป็นริจู พระเชษฐาของตน และล่อลวงคูโระ-ฮิเมะ เมื่อล่อเสร็จ พระองค์เผลอลืมกระดิ่งข้อพระหัตถ์ไว้ในที่พำนักของคูโระ-ฮิเมะ ต่อมาริจูพบสิ่งนี้ระหว่างเสด็จเยือนที่พำนักของพระนางเป็นครั้งแรก จึงสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของพระอนุชา แต่ตัดสินพระทัยไม่ดำเนินการใด[ 4] ในขณะที่นากัตสึทรงหวาดกลัวต่อการกระทำอันอื้อฉาวของพระองค์ จึงวางแผนปลงพระชนม์พระเชษฐาในคืนนั้น พระองค์แอบสร้างกลุ่มคนจำนวนเล็กน้อยขึ้นมาล้อมพระราชวัง ของพระเชษฐา[ 9] [ 4] โชคดีที่ผู้ติดตามผู้จงรักภักดีของพระองค์บางส่วนเข้าแทรกแซงโดยช่วยรัชทายาทและพาพระองค์ไปยังศาลเจ้าอิโซโนกามิ ที่ยาโมโตะ ขณะเดียวกันนากัตสึจุดไฟเผาพระราชวังโดยไม่รู้ว่าพระเชษฐาหลบหนีไปแล้ว[ 9] [ 4]
เจ้าชายมิซูฮาวาเกะ (ญี่ปุ่น : 瑞歯別尊 ; ภายหลังเป็นจักรพรรดิฮันเซ) พระอนุชาอีกพระองค์ เสด็จตามพระองค์ไปที่ยาโมโตะ อย่างไรก็ตาม ริจูตรัสแก่องค์ชายว่า หากไม่พิสูจน์ความภักดีด้วยการสังหารนากัตสึแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถไว้วางใจได้[ 9] มิซูฮาวาเกะจึงเสด็จกลับไปยังนานิวะ และติดสินบนบริวาร คนหนึ่งของนากัตสึให้ไปสังหารพระองค์นั้น นากัตสึไม่มีทางสู้และไม่เตรียมตัวรับมือเลย เพราะพระองค์คิดว่าพระเชษฐาเสด็จหนีไปและหายตัวไป ต่อมาพระองค์จึงถูกผู้บริวารแทงจนสิ้นพระชนม์ และมิซูฮาวาเกะเสด็จกลับไปยาโมโตะเพื่อรายงานการตายของพระเชษฐา ริจูทรงขอบพระทัยพระอนุชาด้วยการพระราชทานยุ้งฉาง "มูระ-อาฮาเซะ"[ 4]
รัชสมัย
ริชูขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหลังการกบฏที่ล้มเหลวของพระอนุชายุติลงในปีต่อมา (ค.ศ. 400)[ 4] ในช่วงนี้ ผู้ที่ไม่ได้ถูกประหารฐานมีส่วนร่วมในการกบฏถูกบังคับให้ทำรอยสักเป็นการลงโทษ[ 11] ภายหลังในปีนั้นคูโระฮิเมะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมอย่างเป็นทางการ แม้ว่าทั้งสองมีพระราชโอรส 2 พระองค์และพระราชธิดา ริจูทรงแต่งตั้งตำแหน่ง"มกุฎราชกุมาร"ให้กับเจ้าชายมิซูฮาวาเกะ (ภายหลังเป็นจักรพรรดิฮันเซ) พระอนุชา ใน ค.ศ. 401[ 9] [ 4] คูโระฮิเมะสวรรคตในช่วงปีถัดมา (ค.ศ. 404) โดยไม่ทราบสาเหตุ กล่าวกันว่าจักรพรรดิทรงได้ยินเสียงในลมกล่าวถ้อยคำลึกลับใน "ความว่างเปล่าอันยิ่งใหญ่" ก่อนที่ผู้ส่งสารจะประกาศถึงการสวรรคตของพระนาง[ 11] ริจูเชื่อว่าสาเหตุมาจากเทพเจ้าองค์หนึ่งที่ไม่พอใจ เนื่องจากข้อราชการคนหนึ่งประพฤติตัวไม่เหมาะสมในศาลเจ้า[ 11] เจ้าหญิงคูซากาโนฮาตาบิโนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดินีในปีถัดมา (ค.ศ. 405) และให้กำเนิดพระราชธิดา (เจ้าหญิงนากาชิ )[ 4] ในปีนั้นมีการจัดตั้งคลังหลวงขึ้น โดยมีชาวเกาหลีที่ได้รับแต่งตั้งสองคนเป็นผู้จัดการ[ 11] รัชสมัยจักรพรรดิริจูสิ้นสุดลงในปีที่ 6 เมื่อพระองค์ทรงพระประชวรและสวรรคตด้วยโรคภัยตอนพระชนมพรรษา 64 หรือ 70 พรรษา[ 4] [ 5] คิกิ ระบุว่าริจูถูกฝังไว้ที่มิซาซางิบน "พื้นที่ราบโมโซะ โนะ มิมิ"[ 4] [ 5] มิซูฮาวาเกะ พระอนุชา ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป ในปีถัดมา (ค.ศ. 406)
การประเมินทางประวัติศาสตร์
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
นางสนม/พระมเหสี
พระราชโอรสธิดา
หมายเหตุ
อ้างอิง
↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF) . Kunaicho.go.jp . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ January 24, 2023 .
↑ 2.0 2.1 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945 . Scarecrow Press. p. 488. ISBN 9780810878723 .
↑ Louis Frédéric (2002). Index . Japan encyclopedia . Belknap Press of Harvard University Press. p. 788. ISBN 9780674017535 .
↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 William George Aston (1896). "Boox XII - The Emperor Iza-Ho-Wake, (Richu Tenno)" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1) . London: Kegan Paul, Trench, Trubner. pp. 301–310.
↑ 5.0 5.1 5.2 Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXXXV — Emperor Ri-chu (Part V.— His Age and Place of Burial)" . A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters . R. Meiklejohn and Co.
↑ 6.0 6.1 Ponsonby-Fane, Richard (1915). Table of Emperors Mothers . The Imperial Family of Japan . Ponsonby Memorial Society. p. xiii.
↑ "応神天皇 (17)" . Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 6, 2020 .
↑ Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 24–25.
↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Ponsonby-Fane, Richard (1915). Richu (400–405) . The Imperial Family of Japan . Ponsonby Memorial Society. pp. 10–11.
↑ Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). Emperor Richū . A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219 . University of California Press. p. 257. ISBN 9780520034600 .
↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Francis Brinkley (1915). Chapter XII: The Protohistoric Sovereigns . A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era . Encyclopædia Britannica . pp. 108–110.
↑ 12.0 12.1 Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXXXI - Emperor Richū (Part I - Genealogies)" . A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters . R. Meiklejohn and Co.
↑ 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 William George Aston (1896). "Boox XII - The Emperor Iza-Ho-Wake, (Richu Tenno) (Children)" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1) . London: Kegan Paul, Trench, Trubner. p. 306.
↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 "Genealogy" . Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 9 January 2021 .
↑ Kenkichi Katō (2001). "Iitoyo-ao no Ōjo" 飯豊青皇女 . Encyclopedia Nipponica (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 5, 2021. สืบค้นเมื่อ February 9, 2023 .
↑ 16.0 16.1 16.2 Hiromichi Mayuzumi (1968). "On the Genealogy of Emperor Keitai: A Study of the Illustrated Documents of the Chronicles of the Emperor Keitai" . Gakushuin History (Gakushuin University Historical Society). pp. 1–14. ISSN 0286-1658 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 7, 2022.
อ่านเพิ่ม
Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0 ; OCLC 251325323
Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon . (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran ; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5 ; OCLC 59145842
แหล่งข้อมูลอื่น