จักรพรรดิเอ็นยู (ญี่ปุ่น : 円融天皇 ; โรมาจิ : En'yū-tennō ; 12 เมษายน ค.ศ. 958 – 1 มีนาคม ค.ศ. 991) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 64[ 1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์ แบบดั้งเดิม[ 2]
จักรพรรดิเอ็นยูทรงครองราชย์ในช่วง ค.ศ. 969 ถึง 984 [ 3]
พระราชประวัติ
ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ เอ็นยูมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ ) ว่า โมริฮิระ-ชินโน (ญี่ปุ่น : 守平親王 ; โรมาจิ : Morihira-shinnō )[ 4]
โมริฮิระ-ชินโน เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 5 ในจักรพรรดิมูรากามิ กับสมเด็จพระจักรพรรดินี อันชิ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมโรซูเกะ เอ็นยูจึงมีศักดิ์เป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดาเดียวกับจักรพรรดิเรเซ
ใน ค.ศ. 967 โมริฮิระ-ชินโน ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร โดยข้ามพระเชษฐาที่มีพระราชมารดาองค์เดียวกัน เนื่องจากตัวพระเชษฐาไม่ได้รับการสนับสนุนจากตระกูลฟูจิวาระ
เอ็นยูมีพระมเหสีรวม 5 พระองค์และมีพระราชโอรสเพียงองค์เดียว[ 5]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิเอ็นยู
27 กันยายน ค.ศ. 969 (ปีอันนะ ที่ 2, วันที่ 13 เดือน 8 ): ในปีที่ 3 ของรัชสมัยจักรพรรดิเรเซ (冷泉天皇三年) องค์จักรพรรดิสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชอนุชา[ 6]
5 พฤศจิกายน ค.ศ. 969 (ปีอันนะที่ 2, วันที่ 23 เดือน 9 ): กล่าวกันว่าจักรพรรดิเอ็นยูขึ้นครองราชบัลลังก์[ 7]
8 มิถุนายน ค.ศ. 976 (ปีเท็นเอ็ง ที่ 2, วันที่ 11 เดือน 5 ): พระราชวังเกิดเพลิงไหม้ และกระจกศักดิ์สิทธิ์ดำจนไม่สามารถสะท้อนแสงได้[ 5]
31 ธันวาคม ค.ศ. 980 (ปีเท็งเง็ง ที่ 3, วันที่ 22 เดือน 11 ): พระราชวังเกิดเพลิงไหม้ และกระจกศักดิ์สิทธิ์แตกหักครึ่งหนึ่ง[ 5]
5 ธันวาคม ค.ศ. 982 (ปีเท็งเง็งที่ 5, วันที่ 17 เดือน 11 ): พระราชวังเกิดเพลิงไหม้ และกระจกศักดิ์สิทธิ์ถูกลดขนาดลงเหลือเพียงก้อนโลหะหลอมเหลว ซึ่งมีการเก็บรวบรวมและนำไปถวายแด่องค์จักรพรรดิ[ 5]
24 กันยายน ค.ศ. 984 (ปีเอกัง ที่ 2, วันที่ 27 เดือน 8 ): จักรพรรดิสละราชสมบัติเมื่อพระชนมายุเพียง 26 พรรษา[ 5]
16 กันยายน ค.ศ. 985 (ปีคันนะ ที่ 1, วันที่ 29 เดือน 8 ): อดีตจักรพรดริเอ็นยูบวชเป็นพระสงฆ์ และใช้พระนามว่า คงโง โฮ[ 5]
1 มีนาคม ค.ศ. 991 (ปีโชเรียกุ ที่ 2, วันที่ 12 เดือน 2 ): เอ็นยู ตอนนี้รู้จักกันในพระนาม คงโง โฮ สวรรคตด้วยพระชนมพรรษาเพียง 32 พรรษา[ 5]
รัชสมัย
ปีในรัชสมัยเอ็นชูมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช (gengō หรือ nengō )[ 8]
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ โคชิ (藤原媓子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนมิจิ
จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ จุนชิ /โนบูโกะ (藤原遵子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โยริตาดะ
พระมเหสี (เนียวโงะ ): เจ้าหญิงซนชิ (尊子内親王; 966–985) พระราชธิดาในจักรพรรดิเรเซ
พระมเหสี (เนียวโงะ ): ฟูจิวาระ โนะ เซ็นชิ (藤原詮子; 962–1002) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ ; ภายหลังเป็น เนียวอิง (女院) 'ฮิงาชิ-ซันโจอิง' (東三条院)
ชาววัง (โคอูอิ ): ชูโจะ-มิยาซูโดโกโระ (中将御息所) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนตาดะ
ชาววัง (โคอูอิ ): โชโช โคอูอิ (少将更衣)
พระราชพงศาวลี
[ 9]
พงศาวลีของจักรพรรดิเอ็นยู
อ้างอิง
↑ Imperial Household Agency (Kunaichō ): 円融天皇 (64)
↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 71.
↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 144–148 ; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 299-300; Varely, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 191–192.
↑ Titsingh, p. 144 ; Varely, p. 191; Brown, p. 264; prior to Emperor Jomei , the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Brown, p. 300.
↑ Titsingh, p. 143; Brown, p. 299; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji ; and all sovereigns except Jitō , Yōzei , Go-Toba , and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami .
↑ Titsingh, p. 144 ; Varley, p. 44.
↑ Titsingh, p. 144.
↑ "Genealogy" . Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018 .
ข้อมูล