คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย เป็นเรื่องที่แพร่หลาย[1] แต่มีการกล่าวถึงในที่สาธารณะไม่บ่อยนัก สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไม่ได้กำหนดเป็น "คตินิยมเชื้อชาติ"; อย่างไรก็ตาม นิยามนี้กำหนดเป็น "การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ": ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ พ.ศ. 2508 ของยูเอ็น "...คำว่า "การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ" จะหมายถึง การจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเลือกโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสายหรือชาติกำเนิดหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด ซึ่งมีเจตนาหรือผลให้เกิดการระงับหรือกีดกั้นการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในด้านอื่น ๆ ของการดำรงชีวินในสังคม รวมทั้งการระงับหรือกีดกั้นการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างเสมอภาคของบุคคล"[2] ประเทศไทยได้ยื่นเสนออนุสัญญาสองครั้ง [3][4]กับประเด็นต่อเนื่องรวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมลายูและการขาดกฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติของประเทศ[4]
การเหยียดชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย
ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะชาวเขากว่าหนึ่งล้านคนที่ยังถูกมองว่าเป็นพวกคนขายยาเสพติดที่ไม่รู้หนังสือหรือพวกปลูกฝิ่นอยู่ โดยมีสื่อในประเทศส่งเสริมภาพลักษณ์นี้ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กล่าวไว้ว่าความคิดแบบนี้นั้นไม่ได้เป็นมาตลอด
"ก่อนหน้านี้ พวกเขา (ชาวเขา) ถูกคนทั่วไปที่อาศัยอยู่บนพื้นราบมองว่าเป็นทั้งเพื่อนและคู่ค้า รวมไปถึงมีความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วมกัน ทว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นหลังเริ่มใช้แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเมื่อประมาณช่วงปีพ.ศ. 2503 ไปจนถึงพ.ศ. 2523 และการอพยพเข้ามาของชาวเวียดนามในช่วงสงครามเวียดนาม ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์นี้ตลอดไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกชาวเขากลายเป็นศัตรู หรือ 'พวกนั้น' การมองว่าคนที่ไม่ใช่คนไทยนั้นไม่ได้เป็นพวกเดียวกันกับ 'พวกเรา' และการมองพวกเขาเป็นผู้ร้าย นั้นฝังอยู่ในตำราเรียน ในประวัติศาสตร์ไทย และในสื่อทั่วไป"
[5]
การวิสามัญฆาตกรรม การทรมาน การหายตัวไป และการข่มขู่ชาวเขาโดยตำรวจและทหารไทยนั้นไร้ความปราณีมากกว่าทั่วไปภายใต้นโยบายต้านยาเสพติดของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2546 [6]
มุสลิม มลายู อาณาจักรปัตตานีของภาคใต้ของประเทศไทยได้ถูกรวมเป็นประเทศไทยในปี พ.ศ. 2329 ชาวไทยเชื้อสายมลายูมักถูกเรียกว่าแขกและตกเป็นเป้าของการเหยียดและกดขี่ทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงของที่ปกครองโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และนโยบายการแผลงเป็นไทยในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายมลายูในสิบปีทีผ่านมาถูกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยรัฐบาลไทย โดยเฉพาะภายใต้การบริหารของทักษิณ ชินวัตร[7][8]
ชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งจำนวนประมาณ 14% ของประชากรไทยทั้งหมด เคยถูกเลือกปฏิบัติจากคนไทยในอดีตเช่นกัน โดยมีช่วงหนึ่งที่โรงเรียนสอนภาษาจีนถูกปิด และพวกที่มีต้นตระกูลจีนยังถูกบังคับให้เปลี่ยนนามสกุลให้เหมือนภาษาไทย อย่างไรก็ดีชาวจีนในประเทศไทยปัจจุบัน ได้รับความสำเร็จอย่างสูงทั้งในสังคมและทางเศรษฐกิจ และมีอิทธิพลทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากในปัจจุบัน
ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติชาวตะวันออกกลางอีกด้วย[citation needed] พวกเขาถูกเรียกรวม ๆ ว่าแขก ซึ่งหมายถึงคนต่างชาติ หรือ คนนอก คำนี้เป็นคำที่เคยใช้ในสมัยอยุธยาและยังใช้ได้ในปัจจุบันทั้งในเชิงทั่วไป และในเชิงเหยียด[9]
ความเดียดฉันท์ต่อคนผิวเข้ม
"ความคิดที่ว่าผิวขาวดีและผิวดำไม่ดีนั้นถูกฝังอยู่ในวัฒนธรรมไทย โดยไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยน[10]"
|
—ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์สาขามานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
เช่นเดียวกับส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย ผิวเข้มนั้นถูกโยงเข้ากับการทำงานใช้แรงงานกลางแจ้งและชนชั้นล่าง ทว่าไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกับทาสอย่างทางตะวันตก[10][11] ส่วนใหญ่แล้วคนไทยไม่เคยพบกับชาวแอฟริกา ดังนั้นอคติต่อชาวแอฟริกาจึงถูกซึมซับผ่านภาพยนตร์ของชาวตะวันตก[12]
แม้สังคมไทยในปัจจุบันได้นำอุดมคติหลายอย่างเกี่ยวกับความสวยแบบตะวันตกและความสวยแบบเอเชียตะวันออก (โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) มาใช้ ทัศนคติของชาวเอเชียเกี่ยวกับสีผิวนั้นมีอยู่เป็นเวลานานแล้ว วัฒนธรรมอินเดียได้ซึมซาบไปในอารยธรรมแรกเริ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงอุดมคติที่ว่าผิวขาวดีกว่าผิวเข้ม สินค้าสกินไวเทนนิงซึ่งช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นได้รับความนิยมเป็นวงกว้างในทวีปเอเชีย รวมไปถึงประเทศไทย และยังส่งเสริมความคิดที่ว่าผิวขาวนั้นสวยและมีเสน่ห์[13]
ความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระมหากษัตริย์และเจ้านายหลายพระองค์ชักชวนให้ราษฎรเกลียดคนจีน โดยยกว่าเป็นเจ้าภาษีนายอากรที่ขูดรีดภาษีสูง ทำให้ประชาชนยากลำบาก รัชกาลที่ 6 ทรงเรียกคนจีนว่า "ยิวในบูรพทิศ" การต่อต้านคนจีนออกมาเป็นนโยบายในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[14]: 226–8
ทัศนคติของคนไทยต่อประเทศพม่าเกิดจากสื่อที่ชี้นำโดยประเทศแม่ (ethnocentric) ในช่วงปี พ.ศ. 2533 ถึง 2543 และระบบการศึกษาแบบชาตินิยมซึ่งสอนว่าประเทศพม่าเป็นศัตรูกับประเทศไทยมานานบนฐานของสงครามครั้งแล้วครั้งเล่าระหว่างสองประเทศตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา มุมมองด้านลบนี้ถูกเพิ่มความนิยมผ่านนิยายและภาพยนตร์ โดยการแสดงวีรบุรุษชาวไทยต่อสู้กับตัวโกงชาวพม่า ตัวอย่างของภาพยนตร์แนวนี้มีเรื่องบางระจัน (พ.ศ. 2543), สุริโยไท (พ.ศ. 2544)[15] ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550–2558) และสียามา (พ.ศ. 2551)
บทวิจารณ์แรง ๆ ต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยประเทศอย่างสหรัฐและออสเตรเลียก่อให้เกิด "ทัศนคติต่อต้านชาวต่างชาติ" ในหมู่ชาวไทยซึ่งสนับสนุนรัฐประหาร[16] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาสตราจารย์ ศรีราชา วงศารยางกูร โทษชาวต่างชาติว่าเป็นต้นเหตุให้ชาวไทยเป็นเจ้าของที่ดินได้ยากขึ้น โดยอ้างผิด ๆ ว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทยประมาณ 100 ล้านไร่ หรือ 160,000 ตารางกิโลเมตร ของพื้นที่ซึ่งเคยเป็นรีสอร์ทชายทะเล ตอนนี้มีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติผ่านตัวแทน และได้มาจากการทุจริตและการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เป็นผู้ให้ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้[17][18]
เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียและชาวยุโรปตะวันออกเข้าจังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก ทำให้เกิดการประท้วงโดยมีป้ายที่เขียนว่า "ชาวรัสเซียจงออกไป" ในจังหวัดภูเก็ต[19] ประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ การที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์จัดงานสงกรานต์ในประเทศสิงคโปร์โดยทั้งคนไทยในสิงคโปร์และทางการไทยไม่สนับสนุน[20] สิงคโปร์ถูกกล่าวหาว่า "ขโมยสงกรานต์ของพวกเราชาวไทย"[21] โดยทางการขู่ฟ้อง[22]
ใน พ.ศ. 2557 ทางการไทยเริ่มตรวจหนังสือเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งต้องการเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยในเชียงใหม่เนื่องจากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางของนักศึกษา เข้าไปนั่งเรียน และรับประทานอาหารในโรงอาหารนักศึกษา[23] ทัศนคตินิยมการต่อต้านชาวกัมพูชา (ซึ่งสูงอยู่แล้วจากปัญหาเรื่องเขตชายแดนที่ปราสาทพระวิหาร) ได้ถูกสุเทพ เทือกสุบรรณ (เลขาธิการ กปปส.) ปลุกเร้า เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองใน พ.ศ. 2557[24]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Draper, John; Sobieszczyk, Teresa; Crumpton, Charles David; Lefferts, H. L.; Chachavalpongpun, Pavin (2019-07-03). "Racial "Othering" in Thailand: Quantitative Evidence, Causes, and Consequences". Nationalism and Ethnic Politics. 25 (3): 251–272. doi:10.1080/13537113.2019.1639425. ISSN 1353-7113. S2CID 202284379.
- ↑ "International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination". United Nations. Adopted December 1965, entered into force January 1969. สืบค้นเมื่อ 22 February 2016.
- ↑ International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention : Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. pp. 3, 5, 95. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
- ↑ 4.0 4.1 Committee on the Elimination of Racial Discrimination. Reports Submitted by States Parties under Article 9 of the Convention. Combined Fourth to Eighth Reports Submitted by Thailand under Article 9 of the Convention, Due in 2016: Thailand. United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 2019.
- ↑ "Asia Times: Thai hilltribes battling discrimination". atimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "THAILAND: Crime of the State: Enforced disappearance, killings and impunity — Asian Human Rights Commission". humanrights.asia. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
- ↑ "The Muslim Insurgency in Southern Thailand - Council on Foreign Relations". cfr.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-05. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
- ↑ "Asia Research Institute Working Paper Series No. 32 Origins of Malay Muslim "Separatism" in Southern Thailand" (PDF). 22 October 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "Review of Southern Thai Encyclopedia". asiapacific.anu.edu.au. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ 10.0 10.1 "Images Spark Racism Debate in Thailand : The New Yorker". newyorker.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "Thailand's Racism Problem - Black Listed - EBONY". ebony.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "NPR: Racism on the Silver Screen". npr.org. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
- ↑ Napat Chaipraditkul (6 August 2013). "Thailand: beauty and globalized self-identity through cosmetic therapy and skin lightening" (PDF). ETHICS IN SCIENCE AND ENVIRONMENTAL POLITICS. 13: 27–37. doi:10.3354/esep00134. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์. (2550). โฉมหน้าศักดินาไทย, กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 9, ISBN 9789748075242. (สาธารณสมบัติ)
- ↑ Glen Lewis: Virtual Thailand, published 2006, p. 53-54
- ↑ "Xenophobia no solution | Bangkok Post: opinion". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "Foreigners own one third of Thailand? | Bangkok Post: learning". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "Office of the Ombudsman Thailand". ombudsman.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
- ↑ "Xenophobia strikes out in Phuket". phuketgazette.net. สืบค้นเมื่อ 2018-09-29.
- ↑ "Songkran Water Festival Goes Waterless in Singapore · Global Voices". globalvoices.org. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "Thailand's Fragile Face". chiangmaicitynews.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "Official threatens to sue Singapore over Songkran | Bangkok Post: news". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "Anti-Chinese feelings in Thailand high as influx of tourists angers locals | South China Morning Post". scmp.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2016-03-11.