การศึกษาในประเทศไทย

การศึกษาในประเทศไทย
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เพิ่มพูน ชิดชอบ

ศุภมาส อิศรภักดี
งบประมาณทางการศึกษา (พ.ศ. 2557)
งบประมาณ482,788,585,900 บาท[1]
ข้อมูลทั่วไป
ภาษาที่ใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ก่อตั้งกระทรวงธรรมการ1 เมษายน พ.ศ. 2435
การรู้หนังสือ (พ.ศ. 2548)
ทั้งหมด93.5[2]
ผู้ชาย95.6[2]
ผู้หญิง91.5[2]
การลงทะเบียนเรียน (พ.ศ. 2551)
ทั้งหมด12,567,760[3]
ประถมศึกษา5,370,546 [3]
มัธยมศึกษา4,769,198 [3]
อุดมศึกษา2,428,016 [3]

การศึกษาในประเทศไทย เป็นการศึกษาที่จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย โดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[4] และต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปี[5] ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึงการศึกษาปฐมวัยอีกด้วย[6] ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[7] ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นถูกมองว่าล้าหลังและล้มเหลวเสมอมา[8] กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ว่า เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญา 98.59 ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเชาวน์ปัญญาทั้งโลกที่ระดับ 100 โดยเด็กไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสติปัญญาน้อยที่สุด สูงขึ้นมาจึงเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางตามลำดับ[9]

ระบบโรงเรียน

สำหรับระบบการศึกษาในโรงเรียนของประเทศไทยนั้นจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ช่วงชั้นที่ 2 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ช่วงชั้นที่ 3 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3) และช่วงชั้นที่ 4 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)[10] โดยในช่วงชั้นที่ 4 นั้นนอกจากจะมีการจัดการศึกษาในสายสามัญแล้ว ยังมีการจัดการศึกษาในสายอาชีพด้วย ซึ่งในระดับชั้น ปวช. 1 - 3 นั้นจะเทียบเท่ากับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยนักเรียนที่เลือกสายสามัญมักมีความตั้งใจที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนนักศึกษาที่เลือกสายอาชีพมักวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การจ้างงานและศึกษาเพิ่มเติม[11]

ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมไปถึงอาชีวศึกษาจำเป็นต้องมีการสอบข้อเขียนซึ่งจัดสอบโดยโรงเรียน ส่งผลให้ในบางครั้งอาจมีปัญหานักเรียนไม่มีที่เรียนได้[12] นอกจากนักเรียนจะต้องสอบข้อเขียนของโรงเรียนแล้ว นักเรียนจำเป็นต้องมีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (ONET) ซึ่งมีการจัดสอบในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3[13] ยื่นประกอบในการพิจารณา ส่วนการทดสอบระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะนำไปใช้ในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย[14]

สำหรับประเทศไทยนั้นมีการแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน[15] โดยโรงเรียนรัฐนั้นจะบริหารจัดการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่นๆที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ส่วนโรงเรียนเอกชนจะบริหารจัดการโดยกลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิต่างๆที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง[16] ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม เป็นหลัก ในเขตชนบทของประเทศไทยนั้นหลายๆโรงเรียนมีลักษณะเป็นโรงเรียนขยายโอกาส คือ มีการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น หรืออาจมีการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาปฐมวัยด้วยก็ได้[17]

เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณทางการศึกษาแก่โรงเรียนชนบท ส่งผลให้นักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนมากกว่าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี[18] หรือเข้าศึกษาต่อในเขตเมืองของจังหวัดนั้น ๆ

ระดับชั้น

การจัดการศึกษาในประเทศไทยในระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาและในระดับอาชีวศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาโดยภาคการศึกษาแรกจะจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคมถึงวันที่ 11 ตุลาคมของทุกปี ในขณะที่ภาคการศึกษาปลายจะเริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายนถึงวันที่ 1 เมษายน[19] อย่างไรก็ตามมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนเวลาการเปิดภาคการศึกษาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน แต่กระทรวงศึกษาธิการยังคงยืนยันที่จะกำหนดวันเปิดปิดภาคเรียนตามเดิม[19] สำหรับในระดับอุดมศึกษานั้นมีการจัดการเรียนการสอนออกเป็นทวิภาค ยกเว้นหลักสูตรนานาชาติที่จัดการเรียนการสอนแบบไตรภาค โดยมีภาคฤดูร้อนให้นิสิต/นักศึกษาสามารถเข้ามาศึกษาได้ สำหรับประเทศไทยได้แบ่งระดับชั้นการศึกษาไว้ดังตารางด้านล่างนี้[20]

ระดับชั้น อายุ
สายสามัญ สายอาชีพ
การศึกษาปฐมวัย
เตรียมอนุบาล 2-3
อนุบาล 3-5
ประถมศึกษา
ประถมศึกษาปีที่ 1 6 - 7
ประถมศึกษาปีที่ 2 7 - 8
ประถมศึกษาปีที่ 3 8 - 9
ประถมศึกษาปีที่ 4 9 - 10
ประถมศึกษาปีที่ 5 10 - 11
ประถมศึกษาปีที่ 6 11 - 12
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 12 - 13
มัธยมศึกษาปีที่ 2 13 - 14
มัธยมศึกษาปีที่ 3 14 - 15
มัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา
มัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 1 15 - 16
มัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 2 16 - 17
มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 3 17 - 18
อุดมศึกษาและเทียบเท่า
สายตรงทั่วไป สายอนุปริญญา สายอาชีวศึกษา
บัณฑิตปี 1 อนุปริญญาปี 1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 1
บัณฑิตปี 2 อนุปริญญาปี 2 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 2
บัณฑิตปี 3 ต่อเนื่องปี 1
บัณฑิตปี 4 - 6 ต่อเนื่องปี 2 - 4
บัณฑิต (ปริญญาตรี)
มหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
ดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)

*หมายเหตุ : การเรียนในระดับอุดมศึกษาระดับบัณฑิต (ป.ตรี) แบ่งสายทางการศึกษาได้ 3 ประเภทดังตารางข้างต้น และเมื่อหลักสูตรใดกำหนดให้ต้องศึกษาระยะเวลาเท่าใดอยู่ที่กำหนดการของหลักสูตรนั้น และสถาบันอุดมศึกษานั้นที่เปิดสอน ผู้เรียนต้องศึกษารายละเอียดของหลักสูตรนั้นให้เข้าใจ สมมุติผู้เรียนต้องการศึกษาหลักสูตรบัณฑิต 4 ปี

1.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่อบัณฑิต 4 ปีในสถานศึกษานั้นจนครบหลักสูตร ก็จะเป็นไปตามตารางสายตรงทั่วไป

2.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออนุปริญญา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาแล้ว ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตในสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอนุปริญญา หลักสูตรอนุปริญญานี้เปิดสอนที่ สถาบันวิทยาลัยชุมชนและสถานศึกษาอื่น ๆ ที่ให้อนุปริญญาได้

3.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออาชีวศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตในสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงนี้เปิดสอนที่ สถาบันด้านอาชีวศึกษาหรือเรียกกันว่า "สายอาชีพ" ทั้งรัฐและเอกชน

ระดับการศึกษาในมัธยมศึกษา [21]

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 12 ถึง 14 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจัดการเรียนการสอน 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 15 ถึง 17 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา แล้วโดยจัดการเรียนการสอน 3 ปี โดยการเรียนการสอนมี 2 ประเภท แบ่งออกดังนี้

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคือ 3 ปีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มสาระต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน[22]
กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิทย์-คณิต)
กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)
กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)
กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-สังคม (ศิลป์-สังคม)

การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา

การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา เป็นการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาวิชาชีพ (ระดับเทคนิค) ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระได้โดยเน้นการแก้ปัญหาสร้างองค์ความรู้ในอาชีพ มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและเจตคติที่ดี หลังจากศึกษาจบแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อีก 2 ปี หรืออาจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 4 ปีก็ได้เช่นกัน โดยเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเลือกเรียนทางด้านสายอาชีพอาชีวศึกษาได้[23]

การศึกษาต่อสายทวิศึกษา

การจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษา เป็นแนวคิดใหม่และเป็นการสร้างนวัตกรรมในการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ในการศึกษาทางด้านวิชาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ความสามารถต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบอาชีพ การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) คือการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้แก่ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความประสงค์จะเรียนในสายวิชาชีพ เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาครบตามหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองวุฒิการศึกษา ทั้งในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพร้อมกัน [24]

หลักสูตรในสายอาชีวศึกษา

1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
  1. สาขาวิชาเครื่องกล แบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
  2. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง แบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
  3. สาขาวิชาโลหะการแบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
  4. สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
  5. สาขาวิชาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
  6. สาขาวิชาการพิมพ์ แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
  7. สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
  8. สาขาวิชาการต่อเรือ แบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
  9. สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยาง
2. ประเภทวิชาพณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
  1. สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
  2. สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด
3.ประเภทวิชาศิลปกรรม
  1. สาขาวิชาศิลปกรรมแบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม
4. ประเภทวิชาคหกรรม
  1. สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายแบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
  2. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการแบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
  3. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
  4. สาขาวิชาเสริมสวยแบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย
5. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
  1. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง
6. ประเภทวิชาประมง
  1. สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  2. สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
  3. สาขาวิชาประมงทะเล แบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล
7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  1. สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว
8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
  2. สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
  3. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น สาขางาน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
9. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง
10. หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) 2551
  1. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาเอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  2. สาขาวิชาเครื่องกล วิชาเอก เทคนิคช่างยนต์
  3. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิชาเอก เชื่อมและประสาน
  4. สาขาวิชาโยธา วิชาเอก เทคนิคโยธา
  5. สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้ากำลัง
  6. สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้าสื่อสาร

เครื่องแบบและทรงผมนักเรียนนักศึกษา

เครื่องแบบนักเรียนไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบนักเรียนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551[25] โดยสถานศึกษาจะต้องกำหนดเครื่องแบบให้ตรงตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการหรืออาจใช้เครื่องแบบอื่นตามที่สถานศึกษากำหนดก็ได้[25] โดยเครื่องแบบต่างๆของทุกระดับชั้นจะถูกกำหนดโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551[26]

สำหรับในระดับอุดมศึกษา ประเทศไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศของโลกที่บังคับใช้เครื่องแบบในระดับอุดมศึกษา อีกสามประเทศคือ ประเทศลาว ประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม[27] สำหรับเครื่องแบบในระดับอุดมศึกษานั้นยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในด้านต่าง ๆ[28] อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1,293 คน ระหว่างวันที่ 14-17 กันยายน 2556 พบว่า ร้อยละ 94.44 มีความคิดเห็นว่าเครื่องแบบยังมีความจำเป็นอยู่[29]

ระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 กระทรวงศึกษาธิการประกาศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเรื่องเครื่องแบบและทรงผมของนักเรียนนักศึกษา แต่ยังไม่ประกาศกรอบระยะเวลา[30] ต่อมาในปี 2565 มีการยกเลิกกฎกระทรวงเรื่องทรงผม ให้โรงเรียนต่าง ๆ มีอำนาจออกกฎควบคุมทรงผมได้เอง[31]

ประวัติศาสตร์การศึกษา

สมัยสุโขทัย

สมัยอยุธยา

ในช่วงรัชสมัยกรุงศรีอยุธยา การศึกษาสำหรับราษฏร ยังจำกัดอยู่แค่ในวัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคำสอนของพุทธศาสนา ในเตรียมตัวสำหรับการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ราษฏรนิยมนำบุตรชายมาถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อเล่าเรียนหนังสือ และ ศึกษาเกี่ยวกับ พุทธศาสนาและ ภาษาบาลี ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้มีการแต่งหนังสือ จินดามณี โดย พระโหราธิบดี ถวายแด่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นแบบเรียนภาษาไทยฉบับแรก มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับ การใช้ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์[32]

สมัยรัตนโกสินทร์

ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีชาวตะวันตกเข้ามามีบทบาทต่อราชสำนักสยาม รวมไปถึง คณะมิชชั่นนารีจากอเมริกา(คณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน)เข้ามาเผยคำสอนศาสนา ผ่านการศึกษา และมีบทบาทก่อตั้งสถานศึกษาแห่งแรกของสยาม ได้แก่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน [33]ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเมื่อมีการปฏิรูปในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนขึ้นในราชอาณาจักรตามแบบตะวันตกที่แยกวัดและสถานศึกษาไว้คนล่ะส่วน

การอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538

การอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538 [34]ส่งผลให้ประเทศไทย ได้รับรางวัลยูเนสโกด้านการบริหารการศึกษาเป็นเลิศ[35]ในปี2540

การศึกษาร่วมสมัย

การจัดการและการบริหาร

โครงสร้างพื้นฐาน

การบริหารจัดการ

งบประมาณ

การวิจัย

หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในปี 2565 มีการเสนอให้แยกวิชาประวัติศาสตร์ออกจากกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามนโยบายของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจและรักชาติไทย แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าประวัติศาสตร์ที่สอนกันอยู่ปัจจุบันเน้นการปลูกฝังให้รักชาติและมีอคติเกลียดชังประเทศเพื่อนบ้าน[36] ทั้งนี้ ก่อนการแยกวิชาดังกล่าว พบว่าการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ของไทยคิดเป็น 1,200 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก[37]

อาชีวศึกษา

อุดมศึกษา

การศึกษานอกระบบ

การเรียนกวดวิชา

โรงเรียนนานาชาติ

ครูผู้สอน

ในปี พ.ศ. 2556 มีครูไทยปฏิบัติการสอนทั้งสิ้นประมาณ 660,000 คน โดยเป็นครูในภาครัฐจำนวน 538,563 คน และครูภาคเอกชน จำนวน 139,392 คน[38] โดยมีการกำหนดอัตราส่วนมากที่สุดของครูหนึ่งคนต่อนักเรียนหนึ่งห้องไว้ที่ 1:50[39]

การฝึกหัดครู

การพัฒนาครู

ข้อวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาไทยในปัจจุบัน

การศึกษาไทยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาและความล้มเหลวที่เกิดขึ้น จากการจัดอันดับตามรายงานของ World Economic Forum ในปี พ.ศ. 2555 - 2556 ระบุว่าประเทศไทยมีอันดับคุณภาพทางการศึกษาลำดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ[40] โดยคนไทยกว่าร้อยละ 87 เชื่อว่าการศึกษาไทยอยู่อันดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนจริง[41] ซึ่งมูลเหตุที่สำคัญมาจากปัญหาที่สะสมมานานหลายประการอันเกิดมาจากระบบการเรียนการสอน หลักสูตร ครูผู้สอน โอกาสการเข้าถึงการศึกษา รวมไปถึงคุณภาพของนักเรียนไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางการศึกษาสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[42] พบว่างบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มเทไปที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน มากกว่าอาชีวศึกษาค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของอาชีวศึกษา[42] นอกจากนี้แม้จะจัดสรรงบประมาณให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นจำนวนมาก แต่ยังพบปัญหาโอกาสการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มีฐานะและผู้ไม่มีฐานะ[43] โดยหลักสูตรของไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพที่ตรงตามความสามารถของผู้เรียน เมื่อรวมเข้ากับค่านิยมของสังคมทำให้การจัดหลักสูตรของไทยไม่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน

ในระบบการศึกษาไทย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน​หลายอย่าง เช่นการลงโทษด้วยการตีในระดับชั้นอนุบาล ประถม มัธยม ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งห้ามไม่ให้ครูตีนักเรียน แต่โดยพฤตินัยยังมีการลงโทษด้วยวิธีนี้อยู่ทั่วไป[44] และในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษาบางส่วน มีการรับน้องโดยใช้ระบบโซตัส ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทุกปี

ในปี 2566 มีการเปิดเผยว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนจ่ายเงินเพื่อให้ตนเองมีชื่ออยู่ในงานวิจัยที่ตนเองไม่ได้ทำ[45]

การศึกษาหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

ในเดือนกันยายน 2557 มีข่าวว่า ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ถูกลบออกจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ วินัย รอดจ่าย เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง แบบเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ไม่กล่าวถึงรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ระบุว่ามีรัฐบาลหนึ่งที่ "ได้ความนิยมจากประชาชนผ่านงบประมาณมหาศาล" แต่กล่าวถึงการคัดค้านการปกครองของทักษิณ โดยอธิบายการประท้วงซึ่งเกิดก่อนการโค่นอำนาจเขาว่าเป็น "ขบวนการประชาชนต่ออำนาจเผด็จการ การทุจริตและการยักยอก"[46]

ภายใต้หลักสูตรใหม่ นักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับความหมายและสัญลักษณ์นิยมของธงไตรรงค์ และจะเปิดเพลงอย่างสรรเสริญพระบารมีในโรงเรียน เด็กนักเรียนจะถูกฝึกให้เป็นทูตจิตวิญญาณรักชาติ โดยยกตัวอย่างนักเรียนตักเตือนผู้ใหญ่ที่ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ จะมีการติดป้ายขนาดใหญ่ซึ่งมีค่านิยม 12 ข้อของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั่วประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังริเริ่ม "พาสปอร์ตความดี" ซึ่งนักเรียนต้องบันทึกพฤติกรรมและเจตคติ[46] และ การสอบยูเน็ตในระดับอุดมศึกษาด้วย

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 บริษัท เอสไอบีไอ จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นบริษัทแรก ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา โดยเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนในระบบ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน ประเภท โรงเรียนนานาชาติ[47]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" (PDF). กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 "The World Factbook". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "จำนวนและร้อยละของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามชั้นและระดับการศึกษา ในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ปีการศึกษา 2551". ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  4. "พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  5. "กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕". สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-30. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  6. "นิยามทางการศึกษา". สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  7. "นโยบายเรียนฟรี 15 ปี". กระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  8. สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน (17 มิถุนายน 2555). "เปลี่ยน..รัฐมนตรีศึกษาฯทุก 6 เดือน "สุชาติ"สอบผ่าน แต่..." มติชน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 1 October 2012.
  9. The Nation (8 July 2011). "Thai students found below global average". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-25. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  10. "หลักสูตรและการปฏิรูปการศึกษา". กรมวิชาการ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  11. "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีวะและเทคนิคศึกษา". มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  12. "เรียนต่อ ม.1 เด็ก 15% สอบเข้าไม่ได้". ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  13. "ตารางสอบ O-NET ป.6 ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2556". สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  14. "แผ่นพับองค์ประกอบและค่าร้อยละ Admissions 2557" (PDF). การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-29. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  15. "Types of School". angloinfo. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  16. "พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔" (PDF). media.wix.com. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  17. อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. "ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา: เมืองและชนบท". Institute for Population and Social Research (IPSR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  18. "เผยพฤติกรรมเลือก ร.ร.พ่อแม่ยึดคุณภาพ-ฐานะครอบครัวเป็นหลัก". Unigang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  19. 19.0 19.1 "ข้อสรุปใหม่กระทรวงศึกษาธิการ "ไม่เลื่อนเปิดเทอม" สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา". Eduzone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  20. "ระบบการศึกษา-ไทย". สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  21. นิยามทางการศึกษา[ลิงก์เสีย]
  22. "การศึกษาต่อสายสามัญ (ม.4-ม.6)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-08-18.
  23. "การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา (ปวช.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2015-08-18.
  24. อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/politics/news_537283
  25. 25.0 25.1 "พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551" (PDF). ราชกิจจานุบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  26. "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551". Longdo Law. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-11. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  27. "ชุดนักเรียนไทยอยู่ตรงไหน?". ประเทศไทยอยู่ตรงไหน?. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  28. กานดา นาคน้อย. "ปลดเปลื้องเครื่องแบบนักศึกษา". สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  29. "สวนดุสิต การันตี 94% ชี้เครื่องแบบ "ชุดนักศึกษา"จำเป็น!". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  30. "Changes proposed to dress codes, haircuts and gender identity for Thai students". The Thaiger. 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 8 November 2020.
  31. "'ตรีนุช' ยกเลิกระเบียบทรงผม ให้อำนาจ ร.ร.กำหนดทรงผมไว้สั้น-ยาวได้". มติชนออนไลน์. 24 January 2023. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
  32. บุญเตือน ศรีวรพจน์, "จินดามณี ฉบับหลวงวงษาธิราชสนิท", นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ 11 กันยายน พ.ศ. 2552 หน้า 62-66 แม่มณีคุณหลวง
  33. "โรงเรียนเก่าแก่ที่สุดของไทย ชาย-หญิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2016-01-18.
  34. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000113535
  35. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000114483
  36. "แยกวิชาประวัติศาสตร์ ให้เด็กรักชาติ ความผิดปกติ แฝงประเด็นซ่อนเร้น หรือไม่?". ไทยรัฐ. 29 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
  37. "วิวาทะดราม่า แยกวิชาประวัติศาสตร์ สอนหรือยัดเยียดเด็กรักชาติ?". มติชนสุดสัปดาห์. 2 December 2022. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
  38. "การพัฒนาครูจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน". ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  39. "สพฐ.เสียงแข็ง! ไม่เพิ่มจำนวน นร.ต่อห้อง ยัน 50 คน ครูดูแลทั่วถึง". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  40. "อึ้ง!การศึกษาไทยรั้งท้ายอาเซียน". คมชัดลึกออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  41. "โพลชี้คนมองการศึกษาไทยรั้งท้ายอาเซียน". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  42. 42.0 42.1 "ส่องงบการศึกษาไทยบนเวทีอาเซียน". posttoday. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.[ลิงก์เสีย]
  43. "อึ้ง!!เด็กหลุดจากระบบการศึกษามีมากกว่า 7 แสนคนต่อปี เพราะไม่รู้เรียนไปเพื่ออะไร". matichon. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.[ลิงก์เสีย]
  44. "การศึกษาไทยลง "เหว" เพราะหลักสูตร "เลว" รังแกเด็ก ตอนที่ 1 : กว่าจะรู้จัก (ตัวตน) ก็สายเสียแล้ว!". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.[ลิงก์เสีย]
  45. "สรุปดราม่า ช้อปปิ้งงานวิจัย จ่ายเงินแล้วใส่ชื่อ เอาไปเคลม-เบิกเงินได้ ไม่ต้องทำเอง". ข่าวสด. 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 30 January 2023.
  46. 46.0 46.1 Loved and Hated, Former Premier of Thailand Is Erased From Textbook
  47. 8 เรื่องน่ารู้หุ้น เอสไอเอสบี (SISB)

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!