ภาษากอกบอรอก ตรีปุรี, ตีปรา Kok Borok ประเทศที่มีการพูด อินเดีย และ บังกลาเทศ ภูมิภาค รัฐตริปุระ , รัฐอัสสัม , รัฐมิโซรัม , ประเทศพม่า , Chittagong hill tracts , Cumilla , Chadpur , สิเลฏ , Rajbari , Feni District , Noakhali District ชาติพันธุ์ ชาวตรีปุรี จำนวนผู้พูด 1,011,294 (อินเดีย ) (2011),[ 1] 400,000+ (บังกลาเทศ ) (2011)[ 2] ตระกูลภาษา รูปแบบก่อนหน้า ระบบการเขียน กอลอมา (เดิม ) อักษรเบงกอล–อัสสัม (ทางการ) อักษรละติน (ทางการ)สถานภาพทางการ ภาษาทางการ อินเดีย
รหัสภาษา ISO 639-3 มีหลากหลาย:trp
– Kokborokria
– reangtpe
– Tripuriusi
– Usuixtr
– Early Tripuri นักภาษาศาสตร์ xtr Early Tripuri ภูมิภาคที่มีผู้พูดภาษากอกบอรอกเป็นส่วนใหญ่
ภาษากอกบอรอก หรือ ภาษาตรีปุรี เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตรีปุระ ในรัฐตรีปุระ และบริเวณใกล้เคียงในบังกลาเทศ เป็นภาษาตระกูลทิเบต-พม่า คำว่า กอกบอรอก มาจาก “kok” แปลว่า “ภาษา” และ “borok” ที่แปลว่าผู้ชาย ซึ่งใช้แทนชาวตรีปุระทั้งหมดด้วย ดังนั้น กอกบอรอก จึงหมายถึง “ภาษาของชาวตรีปุระ”
ประวัติ
ภาษากอกบอรอกเริ่มปรากฏในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 เมื่อเริ่มมีพงศาวดารของกษัตริย์ตรีปุระ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าราชรัตนกิจ เขียนด้วยภาษากอกบอรอก อักษรที่ใช้เขียนภาษากอกบอรอกเรียกว่าอักษรกอลอมา ผู้เขียนคือ คุรลอเบนดรา ชอนไต
ในเวลาต่อมา มีพราหมณ์ 2 คน คือ สุเกรสวัร และวเนศวัร ได้แปลพงศาวดารนี้เป็นภาษาสันสกฤต และแปลต่อเป็นภาษาเบงกอล เมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ส่วนฉบับเดิมที่เขียนด้วยภาษากอกบอรอกสูญหายไป ภาษากอกบอรอกถูกลดฐานะเป็นเพียงภาษาทั่วไปของสามัญชนตลอดสมัยราชอาณาจักรตรีปุระ ในขณะที่ภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19-25 ภาษากอกบอรอกเป็นภาษาราชการของรัฐตรีปุระเมื่อ พ.ศ. 2522 ปัจจุบันถือเป็นภาษาประจำชาติภาษาหนึ่งของอินเดีย
ไวยากรณ์
บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษากอกบอรอก
การจัดจำแนกและภาษาใกล้เคียง
ภาษากอกบอรอกจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า มีความใกล้เคียงกับภาษาโบโด และภาษาดิมาซา ในรัฐอัสสัม รวมทั้งภาษากาโร ที่ใช้พูดในบังกลาเทศ
ระบบเสียง
โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ดังนี้
สระ
มี 6 เสียง คือ a e i o u และ w (อา เอ อี ออ อู และ อือ ตามลำดับ) เสียง w ใกล้เคียงกับเสียง ü ในภาษาเยอรมัน และเสียง u ในภาษาฝรั่งเศส
สระ [ 3]
หน้า
กลาง
หลัง
สูง
i [i]
ŵ [ə]
u [u]
สูง-กลาง
e [e]
ต่ำ-กลาง
o [ɔ]
ต่ำ
a [a]
พยัญชนะ
สระประสม
ได้แก ai wi ui oi (อัย อืย อุย และออย ตามลำดับ)
พยางค์
คำส่วนใหญ่เกิดจากการรวมรากศัพท์กับปัจจัยหรืออุปสรรค ตัวอย่างเช่น
kuchuk (กูชุก) มาจากรากศัพท์ chuk หมายถึงสูง รวมกับอุปสรรค ku
ไม่มีคำในภาษากอกบอรอกที่ขึ้นต้นด้วย ng ตำแหน่งท้ายพยางค์จะมีสระอะไรก็ได้ยกเว้น w พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ p k m n ng r l เสียง y ที่เป็นตัวสะกดมักพบในสระประสม เช่น ai wi
กลุ่มพยัญชนะ
กลุ่มของพยัญชนะที่พบในภาษากอกบอรอกมักเป็นเสียงควบกล้ำของ r หรือ l กับพยัญชนะอื่น เช่น p หรือ ph
วรรณยุกต์
มีสองเสียงคือเสียงสูงและเสียงต่ำ เสียงสูงแสดงโดยเติม h หลังสระ เช่น
Lai (ไล) = ง่าย laih (ไหล) = ข้าม
Cha (ชา) = ถูก Chah (ฉา) = กิน
สำเนียง
ชุมชนชาวตรีปุระประกอบด้วยเผ่าและเผ่าย่อยมากมายกระจายอยู่ในรัฐตรีปุระ อัสสัม ไมโซรัม และจังหวัดใกล้เคียงในบังกลาเทศโดยเฉพาะบริเวณจิตตะกอง เผ่าหลักๆจะมีสำเนียงเป็นของตนเอง ที่มีความแตกต่างระหว่างกันเล็กน้อย สำเนียงตะวันตกที่ใช้พูดบริเวณเมืองหลวงอาร์คาตาลาที่พูดโดยเผ่าเดบบาร์มาเป็นสำเนียงมาตรฐานที่ใช้ในโรงเรียนและการเขียนและเป็นที่เข้าใจโดยั่วไปในฐานะภาษากลางของชาวตรีปุระในระหวางหุบเขา มีการใช้ภาษานี้สอนในมหาวิทยาลัยในระดับบัณฑิตศึกษา
การเขียน
ภาษากอกบอรอกมีอักษรเป็นของตนเองเรียกกอลอมาซึ่งสาบสูญไปแล้ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ราชอาณาจักรตรีปุระใช้อักษรเบงกอลเขียนภาษากอกบอรอก ตั้งแต่อินเดียได้รับเอกราชและตรีปุระเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย มีการใช้อักษรโรมันโดยเฉพาะในองค์กรอกชน ปัญหาการใช้ตัวอักษรเป็นปัญหาการเมืองในตรีปุระ โดยฝ่ายซ้ายเสนอให้ใช้อักษรเบงกอล ในขณะที่ชาวคริสต์สนับสนุนให้ใช้อักษรโรมัน ปัจจุบันคงมีการใช้อักษรสองชนิดควบคู่กัน
ตัวเลข
มีทั้งเลขฐาน 10 และเลขฐาน 20 การนับเลขได้แก่
sa = 1; nwi = 2; tham = 3; brwi = 4; ba = 5; dok = 6; sni = 7; char = 8; chuku =9; chi = 10; rasa = 100; saisa = 1,000 rwjag = 100,000; chisa = 10 + 1 = 11
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
ระดับสหภาพ ตามรัฐธรรมนูญอินเดีย ระดับรัฐ