เตลูกู (เตลูกู : తెలుగు , แม่แบบ:IPA-te ) เป็นภาษาดราวิเดียน คลาสสิก ที่พูดโดยชาวเตลูกู ใน รัฐอานธรประเทศ กับรัฐเตลังคานา ซึ่งเป็นรัฐที่มีภาษานี้เป็นภาษาราชการ ถือเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในตระกูลภาษาดราวิเดียน และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาในกำหนดของสาธารณรัฐอินเดีย [ 5] [ 6] ภาษานี้ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่มีสถานะทางการมากกว่าหนึ่งรัฐของอินเดีย ร่วมกับภาษาฮินดี และภาษาเบงกอล [ 7] [ 8] ภาษาเตลูกูเป็นหนึ่งในหกภาษาที่รัฐบาลอินเดีย เลือกเป็นภาษาคลาสสิก (ของอินเดีย)[ 9] [ 10]
ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลี ของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ด้วยจำนวนผู้พูดภาษาแม่ เกือบ 81 ล้านคนตามสำมะโน ค.ศ. 2011 ทำให้ภาษาเตลูกูเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศอินเดีย และอันดับที่ 15 ของโลกตามรายการภาษาตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ ของ Ethnologue [ 11] [ 12] [ 13] ภาษานี้ยังเป็นภาษาที่ได้รับการคุ้มครองในประเทศแอฟริกาใต้ และถูกเสนอเป็นภาษาทางเลือกที่สามในโรงเรียนที่จังหวัด KwaZulu-Natal [ 4] [ 14] มีจารึกก่อนสมัยอาณานิคมที่เขียนในภาษาเตลูกูเกือบ 10,000 ชิ้น[ 15]
จุดกำเนิด
ภาษาเตลูกูมีจุดกำเนิดจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม และอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนกลาง-ใต้ โดยผู้พูดมีจุดกำเนิดมาจากกลุ่มชนที่อยู่ตอนกลางของที่ราบสูงเดกคาน และได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤต มาก จารึกภาษาเตลูกูมีอายุย้อนหลังไปได้ถึง พ.ศ. 143 พบที่ตำบลกูร์นูล
รากศัพท์
รากศัพท์ที่แน่นอนของคำว่า "เตลุกู"หรือ "เตลุคุ" ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยทั่วไปอธิบายว่ามาจากคำว่าไตรลิงกะ ในไตรลิงกะ เทศา ในศาสนาฮินดู คำว่า ไตรลิงกะ เทศา หมายถึงดินแดนที่อยู่ระหว่างวิหารของพระศิวะ 3 แห่ง คือ กาละหัตถี ศรีศัยลัม และทรักศรมัม ไตรลิงกะ เทศานี้อยู่ที่แนวชายแดนดั้งเดิมของบริเวณเตลูกู รูปแบบอื่นๆของคำนี้ เช่น เตลุงกะ เตลิงคะ เตลังกนะ และเตนุงกะพบได้เช่นกัน มีคำกล่าวว่าไตรลิงกะในรูปของไตรลิกกอนปรากฏในงานของปโตเลมี ในฐานะชื่อของดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำคงคา นักวิชาการอื่นๆเปรียบเทียบไตรลิงคะกับชื่อพื้นเมืองอื่นๆที่กำหนดโดยพลินี เช่น โบลิงเก มักโดคาลิงเก และโมโด กาลิงกัม โดยชื่อหลังนั้นระบุว่าเป็นเกาะในแม่น้ำคงคา A.D. Campbell ได้กล่าวไว้ในบทนำของตำราไวยากรณ์ภาษาเตลูกูของเขาว่าโมโด กาลิงกัมอาจจะอธิบายได้ด้วยการแปลภาษาเตลูกูคำว่าตรีสินงกัมและเปรียบเทียบส่วนแรกของคำ โมโด กับมุดุกะซึ่งเป็นรูปคำที่ใช้ในวรรณคดีภาษาเตลูกู โดยมุดุแปลว่าสาม
Bishop Caldwell อธิบายว่าโมโด กาลิงกัมมาจากภาษาเตลูกู มุดุ กาลิงกัมหมายถึงกาลิงกัสทั้งสามซึ่งเป็นชื่อพ้องกับที่พบในจารึกภาษาสันสกฤต และกาลิงกะปรากฏในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชและเริ่มปรากฏรูปคำว่ากลิงก์ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มาจากอินเดียตอนใต้ในมาเลเซีย K.L. Ranjanam เห็นว่าคำว่ากลิงก์มาจากตะละดิง ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขตอันธระ M.R. Shastri เห็นว่ามาจากคำว่าเตลุงคะที่มาจากภาษาโกณฑี เตลู แปลว่าขาว แล้วทำให้อยู่ในรูปพหูพจน์โดยเดิม –unga ซึ่งอาจจะเป็นการอ้างอิงถึงคนผิวขาว G.J. Sumayaji อธิบายว่า ten- หมายถึงใต้ ในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม และอาจจะมาจากเตนุงกู หมายถึงผู้คนทางใต้
ชื่อเดิมของแผ่นดินเตลูกูคือเตลิงกะ/เตลิงกะเทศะ ซึ่งดูคล้ายกับว่ามาจากรากศัพท์ เตลิ- และเติม –nga ซึ่งเป็นหน่วยสร้างคำทั่วไปในภาษาตระกูลดราวิเดียน คำว่าเตลิปรากฏในภาษาเตลูกูแปลว่าสว่าง คำว่ากลิงก์อาจจะมีพื้นฐานเดียวกับคำในภาษาเตลูกู กาลูกูตะหมายถึงอยู่รอดและมีชีวิต และความหมายโดยนัยคือความเป็นคน
ประวัติ
แบ่งยุคในประวัติศาสตร์ของภาษาเตลูกูออกเป็น 4 ยุค ดังนี้
พ.ศ. 943 – 1053
การค้นพบป้ายจารึกอักษรพราหมีอ่านได้ว่า ทัมภยา ธานัม พบบนหินสบู่เมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่าภาษาเตลูกูเป็นที่รู้จักก่อนแนวคิดที่รับรู้กันทั่วไปในรัฐอันธรประเทศ หลักฐานปฐมภูมิคือจารึกภาษาสันสกฤต/ปรากฤตที่พบในบริเวณนั้นซึ่งมีชื่อบุคคลและสถานที่เป็นภาษาเตลูกูแทรกอยู่ในยุคนี้ ซึ่งมีการใช้ภาษาเตลูกูในสมัยที่มีการปกครองของราชวงศ์ศตวหนะ ซึ่งพูดภาษาปรากฤต คำในภาษาเตลูกูปรากฏในบทกวีภาษามหาราษฏรีที่เป็นภาษาปรากฤตที่รวบรวมเมื่อ 457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยกษัตริย์ทละในราชวงศ์ศตวหนะ ผู้พูดภาษาเตลูกูอาจจะเป็นกลุ่มคนที่เก่าแก่ที่สุดที่อาศัยในแผ่นดินบริเวณแม่น้ำกฤษณาและโคทาวารี
พ.ศ. 1053- 1643
จารึกชิ้นแรกที่ใช้ภาษาเตลูกูทั้งหมดพบในช่วงที่สองของประวัติศาสตร์เตลูกู จารึกนี้มีอายุราว พ.ศ. 1118 พบที่ตำบลกจปะ กุร์โนล และตำยลใกล้เคียง โดยใช้ภาษาสันสกฤตควบคู่ไปกับภาษาท้องถิ่น ในอีก 50 ปีต่อมา พบจารึกภาษาเตลูกูในอนันตปุรัมและบริเวณใกล้เคียง จารึกภาษาเตลูกูล้วนชิ้นแรกพบที่ชายฝั่งของรัฐอันธรประเทศ อายุราว พ.ศ. 1176 ในช่วงเวลาเดียวกัน กษัตริย์จาลุกยะแห่งเตลังกนะเนิ่มใช้ภาษาเตลูกู โดยภาษาเตลูกูในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมาก และเป็นยุคที่เริ่มมีวรรณคดีภาษาเตลูกู ยุคนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษาศาสตร์ของภาษาพูดด้วย
พ.ศ. 1643 – 1943
เป็นยุคที่วรรณกรรมมีความก้าวหน้ามากขึ้น และเริ่มนำคำที่เป็นภาษาพูดเข้าไปใช้ในบทกวี ยุคนี้ยังเป็นยุคที่ศาสนาอิสลามแผ่มาถึงเตลังกนะและเกิดอักษรเตลูกู-กันนาดาขึ้น
พ.ศ. 1943 - 2443
ในยุคนี้ ภาษาเตลูกูมีการเปลี่ยนแปลงมาก ภาษาในเตลังกนะเริ่มแตกเป็นสำเนียงต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากบทบาทของศาสนาอิสลาม จากการถูกปกครองโดยสุลต่านราชวงศ์ตุกลิกที่ก่อตั้งขึ้นในเดกคาน ตอนเหนือราวพุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ตาม จักวรรดิวิชัยนครมีความโดดเด่นใน พ.ศ. 1875 จนถึงราว พ.ศ. 2143 ทำให้เกิดยุคทองของวรรณคดีเตลูกูเมื่อถึงพุทธสตวรรษที่ 22 การปกครองของมุสลิมเริ่มขยายตัวลงทางใต้จนเกิดการก่อตั้งราชรัฐไฮเดอราบัด โดยราชวงศ์อาซาฟ ยะห์ ใน พ.ศง 2267 ทำให้ภาษาเตลูกูได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมากในยุคนี้
พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน
ยุคนี้เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ การสื่อสารสมัยใหม่ สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปกครองของอังกฤษ เริ่มมีสื่อสมัยใหม่เช่นโทรทัศน์ วิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 มีการกำหนดรูปแบบมาตรฐานของภาษาเพื่อการสอนในโรงเรียน
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ภาษาเตลูกูส่วนใหญ่จะใช้พูดในรัฐอานธรประเทศ และรัฐใกล้เคียง เช่น รัฐทมิฬนาฑู พอนดิเชอร์รี รัฐกรณาฏกะ รัฐมหาราษฏระ รัฐโอริศา และรัฐฉัตตีสครห์ นอกจากนี้ยังใช้พูดในบาห์เรน ฟิจิ มาเลเซีย มอริเชียส แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ และเป็นภาษาที่ใช้พูดเป็นอันดับสองในอินเดีย รองจากภาษาฮินดี
การเป็นภาษาราชการ
ภาษาเตลูกูเป็นหนึ่งในภาษาราชการ 22 ภาษาของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศตั้งแต่การสถาปนารัฐเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2496 และยังเป็นภาษาราชการในตำบลยานัม ของสหภาพพอนดิเชอร์รี
สำเนียง
ภาษาเตลูกูมีสำเนียงต่างกันมากมาย สำเนียงมาตรฐานของภาษาเตลูกูเรียกสุทธภาษา
ไวยากรณ์
ในภาษาเตลูกูจะเรียงประโยคจาก กรรตะ కర్త (ประธาน), กรรมะ కర్మ (กรรม) และ กริยะ క్రియ (กริยา) ภาษาเตลูกูมีการใช้ วิภักถิ విభక్తి (บุพบท) ด้วย
Telugu
రాముడు (ระมุทุ ) బంతిని (พันตินิ ) కొట్టాడు (โกทตะทุ )
ตรงตัว
รามะ ลูกบอล ตี
ความหมาย
"รามะตีลูกบอล"
การผันคำ
ภาษาเตลูกูเป็นภาษารูปคำติดต่อซึ่งมีการเติมพยางค์ที่แน่นอนที่ท้ายคำเพื่อแสดงการก
การกเครื่องมือ
Ramunito
రామునితో
(తో; to)
การกกรรมรอง
Ramuniki
రామునికి
(కి; ki or కు; ku)
การกคำนาม
Ramudininchi
రాముడినుంచి
(నుంచి; nunchi)
การกแสดงความเป็นเจ้าของ
Ramuni
రాముని
(ని; ni)
การต่อคำเช่นนี้ใช้กับคำนามทุกชนิดทั้งในรูปเอกพจน์และพหูพจน์ ตารางต่อไปนี้แสดงการกอื่น ๆ ในภาษาเตลูกู
การกแสดงตำแหน่ง
การก
การใช้
ภาษาไทย
ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงความใกล้เคียง
ตำแหน่งใกล้เคียง
ใกล้/ที่/โดย บ้าน
ఇంటి/పక్క /ɪŋʈɪprakːa/
แสดงการอยู่ข้างใน
อยู่ข้างในบางสิ่ง
ข้างในบ้าน
ఇంట్లో /ɪŋʈloː/
แสดงตำแหน่ง
ตำแหน่ง
ที่/บน/ใน บ้าน
ఇంటిదగ్గర /ɪŋʈɪd̪agːara/
แสดงการอยู่ข้างบน
บนพื้นผิว
บนด้านบนของบ้าน
ఇంటిపై /ɪŋʈɪpaj/
การกแสดงการเคลื่อนที่
การก
การใช้
ภาษาไทย
ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงการเข้าหา
เคลื่อนเข้าไปใกล้บางสิ่ง
ไปที่บ้าน
ఇంటికి /ɪŋʈɪkɪ/ , ఇంటివైపు /ɪŋʈɪvajpu/
แสดงการออกจาก
เคลื่อนจากพื้นผิว
จากด้านบนของบ้าน
ఇంటిపైనుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/
แสดงการเริ่มต้น
แสดงจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่
เริ่มจากบ้าน
ఇంటినుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/ (ఇంటికెల్లి /ɪŋʈɪkelːɪ/ ในบางสำเนียง)
แสดงการอยู่ข้างนอก
อยู่ข้างนอกบางสิ่ง
อยู่นอกบ้าน
ఇంటిలోనుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/ (ఇంట్లకెల్లి /ɪŋʈlakelːɪ/ ในบางสำเนียง)
แสดงการเข้าไป
เคลื่อนที่เข้าไปในบางสิ่ง
เข้าไปในบ้าน
ఇంటిలోనికి /ɪŋʈɪloːnɪkɪ/ (ఇంట్లోకి /ɪŋʈloːkɪ/ )
แสดงการเคลื่อนที่ข้างบน
เคลื่อนที่บนพื้นผิว
ไปบนบ้าน
ఇంటిపైకి /ɪŋʈɪpajkɪ/
แสดงการสิ้นสุด
แสดงจุดสิ้นสุดของการเคลื่อนที่
ไกลเท่ากับบ้าน
ఇంటివరకు /ɪŋʈɪvaraku/
แสดงการจัดเรียงประโยค
การก
การใช้
ภาษาไทย
ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงแนวโน้ม
กรณีทั่วไป ทุกสถานการณ์ ยกเว้นเป็นประธาน
กังวลเกี่ยวกับบ้าน
ఇంటిగురించి /ɪŋʈɪgurɪɲcɪ/
การกความสัมพันธ์
การก
การใช้
ภาษาไทย
ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงการใช้ประโยชน์
สำหรับ
สำหรับบ้าน
ఇంటికోసం /ɪŋʈɪkoːsam/ (ఇంటికొరకు /ɪŋʈɪkoraku/ )
แสดงเหตุผล
เพราะ เพราะว่า
เพราะบ้าน
ఇంటివలన /ɪŋʈɪvalana/
แสดงส่วนร่วม
เป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่ง
กับบ้าน
ఇంటితో /ɪŋʈɪt̪oː/
แสดงการครอบครอง
การครอบครองบางสิ่งโดยตรง
ถูกเป็นเจ้าของโดยบ้าน
ఇంటియొక్క /ɪŋʈɪjokːa/
การเชื่อมคำอย่างซับซ้อน
ตัวอย่างที่แสดงมาทั้งหมดเป็นการเชื่อคำเพียงระดับเดียว ภาษาเตลูกูมีการเชื่อมคำโดยใช้ปัจจัยหลายตัวเชื่อมต่อกับตำเพื่อให้เกิดคำที่ซับซ้อนขึ้นได้
ตัวอย่างเช่น อาจเติมทั้ง "నుంచి; นินชิ - จาก" และ "లో; โล - ใน" เข้ากับคำนามเพื่อหมายถึงภายใน เช่น "రాములోనుంచి; รามุโลนินชิ - จากข้างในของรามะ" หรือตัวอย่างการเชื่อมต่อ 3 ระดับ: "వాటిమధ్యలోనుంచి; vāṭimadʰyalōninchi - จากในระหว่างพวกเขา"
คำสรรพนามที่ครอบคลุม/ไม่ครอบคลุม
ภาษาเตลูกูมีสรรพนาม "เรา" 2 คำ คือรวมผู้ฟัง (మనము; มะนะมุ ) กับไม่รวมผู้ฟัง (మేము; เมมุ ) เช่นเดียวกับภาษาทมิฬ และภาษามลยาฬัม แต่ลักษณะนี้ไม่พบในภาษากันนาดา สมัยใหม่
คำศัพท์
ภาษาเตลูกูมีรากศัพท์ที่มาจากภาษาในกลุ่มดราวิเดียนเอง โดยมากเป็นศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับเรื่องทั่วไปหรือในชีวิตประจำวัน เช่น తల; ตะละ (หัว), పులి; ปุลิ (เสือ), ఊరు; อูรุ (เมือง) อย่างไรก็ตาม ภาษาเตลูกูมีศัพท์จากภาษาสันสกฤต และภาษาปรากฤต ปนอยู่มาก อิทธิพลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่กษัตริย์ศตวหนะให้ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาราชการแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะพูดภาษาเตลูกู
ระบบการเขียน
บทความหลัก:อักษรเตลูกู
เชื่อกันว่าอักษรเตลูกูได้รับอิทธิพลจากอักษรพราหมีสมัยอโศก และใกล้เยงกับอักษรจาลุกยะที่พ่อค้าจากอินเดียนำไปเผยแพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นต้นแบบของอักษรในบริเวณดังกล่าวรวมทั้งอักษรไทย อักษรจามและอักษรบาหลี ความคล้ายคลึงระหว่างอักษรเตลูกูกับอักษรเหล่านี้ยังพบได้ในปัจจุบัน
อักษรเตลูกูเขียนจากซ้ายไปขวา หน่วยย่อยของการเขียนคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบด้วยสระ (อัชชุหรือสวระ) และพยัญชนะ (หัลลุหรือวยันชัน) พยัญชนะที่เรียงกันเป็นกลุ่ม บางตัวมีรูปต่างไปจากเดิม พยัญชนะมีทั้งรูปบริสุทธิ์ที่ไม่มีเสียงสระและรูปที่มีเสียงอะ เมื่อรวมสระกับพยัญชนะ สระจะเป็นเครื่องหมายติดกับพยัญชนะเรียก มาตรัส ซึ่งมีรูปร่างต่างจากสระปกติ
อักษรเตลูกูมีทั้งหมด 60 เครื่องหมาย เป็นสระ 16 ตัว ตัวเปลี่ยนสระ 3 ตัว พยัญชนะ 41 ตัว มีการเว้นช่องว่างระหว่างคำ เมื่อจบประโยคจะจบด้วยเส้นเดี่ยว (ปุรนา วิรมะ) หรือเส้นคู่ (กีรฆา วิรมะ)
อ้างอิง
บรรณานุกรม
Albert Henry Arden, A Progressive Grammar of the Telugu Language (1873).
Charles Philip Brown, English–Telugu dictionary (1852; revised ed. 1903);
The Linguistic Legacy of Indo-Guyanese The Linguistic Legacy of Indian-Guyanese
Languages of Mauritius Languages of Mauritius – Mauritius Attractions
Charles Philip Brown, A Grammar of the Telugu Language (1857)
P. Percival, Telugu–English dictionary: with the Telugu words printed in the Roman as well as in the Telugu Character (1862, Internet Archive edition )
Gwynn, J. P. L. (John Peter Lucius). A Telugu–English Dictionary Delhi; New York: Oxford University Press (1991; online edition ).
Uwe Gustafsson, An Adiwasi Oriya–Telugu–English dictionary , Central Institute of Indian Languages Dictionary Series, 6. Mysore: Central Institute of Indian Language (1989).
Rao, Velcheru Narayana; Shulman, David (2002), Classical Telugu Poetry: An Anthology , University of California Press
Callā Rādhākr̥ṣṇaśarma, Landmarks in Telugu Literature: A Short Survey of Telugu Literature (1975).
Wilkinson, Robert W. (1974). "Tense/lax vowel harmony in Telugu: The influence of derived contrast on rule application" . Linguistic Inquiry . 5 (2): 251–270.
แหล่งข้อมูลอื่น
ระดับสหภาพ ตามรัฐธรรมนูญอินเดีย ระดับรัฐ