ภาษาโภชปุระ

ภาษาโภชปุระ
  • 𑂦𑂷𑂔𑂣𑂳𑂩𑂲
[[File:
|150px]]
ประเทศที่มีการพูดอินเดียและเนปาล
ภูมิภาคโภชปุระ-Purvanchal
ชาติพันธุ์โภชปุระ
จำนวนผู้พูด51 ล้านคน นับเพียงบางส่วน  (2011 census)[1]
(จำนวนผู้พูดเพิ่มเติมถูกรวมเข้ากับภาษาฮินดี)
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
เหนือ (Gorakhpuri, Sarawaria, Basti)
ตะวันตก (Purbi, Benarsi)
ใต้ (Kharwari)
Tharu Bhojpuri
Madheshi
Domra
Musahari
ภาษาฮินดูสตานีแคริบเบียน
 · ฮินดูสตานีตรินิแดด
 · ฮินดูสตานีกายอานา
 · ฮินดูสตานี Sarnami
โภชปุระมอริเชียส[2]
โภชปุระแอฟริกาใต้ (Naitali)[3]
Banjjika
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ฟีจี (ในฐานะภาษาฮินดีฟีจี)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-2bho
ISO 639-3bhoรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
hns – ภาษาฮินดูสตานีแคริบเบียน
hif – ภาษาฮินดีฟีจี
Linguasphere59-AAF-sa
พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาโภชปุระในประเทศอินเดีย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาโภชปุระ (भोजपुरी) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่มีผู้พูดส่วนใหญ่ในโภชปุระ-PurvanchalในประเทศอินเดียและภูมิภาคTeraiในประเทศเนปาล[6] โดยมีผู้พูดหลักในรัฐพิหารตะวันตก, รัฐอุตตรประเทศตะวันออก และรัฐฌาร์ขันท์ตะวันตกเฉียงเหนือ[7][8] ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาโภชปุระเคยเป็นหนึ่งในสำเนียงฮินดีเนื่องจากความเอนเอียงทางการเมือง ถึงแม้ว่าภาษานี้จะมีคำศัพท์จำนวนมาก ไวยากรณ์ และสำเนียงบางส่วนเป็นของตนเอง ซึ่งคล้ายกับภาษาฮินดี[9] ภาษานี้ถือเป็นภาษาชนกลุ่นน้อยในประเทศฟีจี, กายอานา, มอริเชียส, แอฟริกาใต้, ซูรินาม และตรินิแดดและโตเบโก[10][11]

ภาษาฮินดีฟีจี ภาษาทางการของประเทศฟีจี เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาอวัธและโภชปุระ ส่วนภาษาฮินดูสตานีแคริบเบียน อีกสำเนียงหนึ่งของภาษาอวัธและโภชปุระ มีผู้พูดเป็นชาวอินโด-แคริบเบียน[12] ภาษาในบริเวณนี้มีอิทธิพลทางภาษาจากภาษาอังกฤษแคริบเบียนในตรินิแดดและโตเบโกและกายอานา ในซูรินาม ภาษานี้ได้รับอิทธิพลทางภาษาจากSranan Tongo Creole, ภาษาดัตช์ซูรินามและอังกฤษ แต่มีผู้ใช้ภาษานี้น้อยลง ข้อมูลเมื่อ 2000 มีผู้พูดภาษานี้ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรประเทศ[13]

จำนวนผู้พูด

แคว้นที่มีผู้พูดภาษาโภชปุระกินพื้นที่ 73,000 ตารางกิโลเมตรในอินเดียและเนปาล[14] ในประเทศเนปาล ภาษาโภชปุระเป็นภาษาหลัก[11]

การมาของผู้พูดภาษาโภชปุระในแคริบเบียน

ลูกหลานของแรงงานผูกมัดจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อทำงานในไร่นาของอาณานิคมอังกฤษ พูดภาษาโภชปุระ ผู้พูดเหล่านี้อาศัยอยู่ในมอริเชียส, ตรินิแดดและโตเบโก, กายอานา, ซูรินาม, ฟีจี, จาเมกา, แอฟริกาใต้ และส่วนอื่น ๆ ของแคริบเบียน[10][11][15]

สัทวิทยา

สระ[16]
หน้า กลาง หลัง
ปิด [i] [ɪ] [u]
กลาง-ปิด [e] [ə] [o]
กลาง-เปิด [ɛ] [ɔ]
เปิด [æ] [ɑ]
พยัญชนะ[16]
ริมฝีปาก ฟัน ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน (ปุ่มเหงือก-)
เพดานปาก
เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก [m] [n] [ɳ] [ɲ] [ŋ]
หยุด/
กักเสียดแทรก
ไร้เสียง [p] [t] [ʈ] [] [k]
ออกเสียง [b] [d] [ɖ] [] [ɡ]
ธนิต [] [] [ʈʰ] [tɕʰ] []
เสียงลมหายใจ [] [] [ɖʱ] [dʑʱ] [ɡʱ]
เสียดแทรก [s] [h]
โรติก เรียบ [ɾ] [ɽ]
เสียงลมหายใจ [ɾʱ] [ɽʱ]
เปิด [w] ~ [ʋ] [l] [j]

ระบบการเขียน

การเขียนภาษาโภชปุระมีความแตกต่างไปในแต่ละกลุ่มชน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรไกถิและอักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย

  • อักษรไกถี เป็นอักษรที่ใช้ในการปกครองสมัยราชวงศ์โมกุล สำหรับเขียนภาษาโภชปุระ ภาษาไมธิลี ภาษาเบงกอล ภาษาอูรดู ภาษามคธี และภาษาฮินดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 25 อักษรไกถิใช้ในบางตำบลของรัฐพิหารจนถึง พ.ศ. และอาจจะมีที่ใช้เหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ในพื้นที่ชนบทห่างไกลของอินเดียเหนือ ความสำคัญของอักษรไกถิเมื่อรัฐบาลอินเดียภายใต้อาณานิคมอังกฤษแห่งเบงกอลซึ่งรัฐพิหารและบางตำบลทางใต้ของเนปาลขึ้นต่อเขตนี้ด้วย และรัฐจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเอาช์ เลือกใช้อักษรนี้ในการบริหารและการศึกษา มีการจัดมาตรฐานอักษรไกถิเมื่อ พ.ศ. 2418 โดยจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเอาช์เพื่อใช้ในการศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐพิหารเลือกอักษรไกถิเป็นอักษรทางการ ในศาลและการบริหารเมื่อ พ.ศ. 2423 อักษรไกถิเข้าไปแทนที่อักษรอาหรับแบบเปอร์เซียที่เคยใช้มาก่อนในพิหาร
  • อักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย ก่อน พ.ศ. 2423 งานบริหารทุกอย่างในพิหารใช้อักษรนี้ และอาจจะใช้ในการศึกษาแบบไม่เป็นทางการของชาวมุสลิมที่พูดภาษาโภชปุระทั้งหมด
  • อักษรเทวนาครี ใน พ.ศ. 2437 งานราชการในรัฐพิหารใช้อักษรไกถิและอักษรเทวนาครีซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ในการแทนที่อักษรไกถิด้วยอักษรเทวนาครีในที่สุด ปัจจุบันงานเขียนภาษาโภชปุระใช้อักษรเทวนาครีเท่านั้น

การออกเสียง

ภาษาโภชปุระมีวิธีการออกเสียงที่ต่างกัน เช่น मैं कहता हूँ ออกเสียงในภาษาฮินดีเป็น मै कैहता हूँ แต่ในภาษาโภชปุระเป็น मैं कःहःता हूँ คำว่าความสมบูรณ์ทั้งภาษาโภชปุระและฮินดีเขียนว่า बहुत ภาษาฮินดีออกเสียงเป็น बहौत ส่วนโภชปุระเป็น बहुत ในความเห็นของผู้พูดภาษาฮินดีมักมองว่าผู้พูดภาษาโภชปุระออกเสียงผิด ซึ่งเป็นผลมาจากวิวัฒนาการที่ต่างกันของภาษาที่ใกล้เคียงกันเช่น

  • ฝรั่ง ฮินดีเป็น अमरुद โภชปุระเป็น अमरूद
  • साइकिल เป็นภาษาฮินดีที่มาจากภาษาอังกฤษ cycle ส่วนโภชปุระเป็น साइकिल, सैकिलिया
  • มาถึง ฮินดีเป็น पहुँचना โภชปุระเป็น चहुँपना

วรรณคดี

ในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาโภชปุระมีผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างชาติอินเดียและได้รับเอกราชอยู่มากเช่นประธานาธิบดีคนแรก ดร. ราเชนทรา ประสาท ตามด้วยนักการเมืองและนักสิทธิมนุษยชน ดร. กฤษณะ เทพ อุปัธยยา

ภาษาโภชปุระเป็นหนึ่งในพื้นฐานของการพัฒนาภาษาราชการของอินเดียหลังได้รับเอกราชคือภาษาฮินดี ในศตวรรษที่ผ่านมา ภารเตนฑุ หริสจันทรา ผู้เป็นบิดาของภาษาฮินดีที่เป็นภาษาเขียนได้รับอิทธิพลจากน้ำเสียงและรูปแบบของภาษาโภชปุระในบริเวณที่เป็นบ้านเกิดของเขา การพัฒนาต่อมาของภาษาฮินดีเกิดขึ้นโดยผู้ที่มีบ้านเกิดในเขตที่มีผู้พูดภาษาโภชปุระอีกหลายคน

วรรณคดีภาษาโภชปุระส่วนใหญ่อยู่ในรูปเพลงและดนตรีพื้นบ้าน และกวีนิพนธ์ วรรณคดีที่เป็นภาษาเขียนเริ่มต้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ภาษาโภชปุระเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาของจังหวัดชายแดนภาคเหนือ หลังจากได้รับเอกราช ภาษาโภชปุระได้มีการปรับเปลี่ยนน้ำเสียงและปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของชุมชน

คำศัพท์

ตามข้อมูลจากSwadesh List คำศัพท์ในภาษาโภชปุระเกือบมากกว่าร้อยละ 90 มีความคล้ายกับภาษาฮินดี และมีบางคำ (ไม่รวมคำยิมจากเปอร์เซีย/อาหรับ/เตอร์กิก) ที่แสดงถึงความคล้ายในกลุ่มภาษาอินเดียตะวันตก เช่นภาษาพรัช ภาษาหริยนวี ภาษาปัญจาบ และภาษาเบงกอล ตัวอย่างศัพท์ในภาษานี้ มีดังนี้.

ภาษาไทย ภาษาโภชปุระ เทียบกับภาษาใกล้เคียง
ใกล้ Niyare Nere (ปัญจาบ)
ความเจ็บปวด Baatha Batha (เบงกอล)
ร้อน Tatal Tato (ราชสถาน)
แสงแดด Ghaam Ghaam (หริยนวี)
ข้างใน Bheetar Bheetar (หริยนวี)
แตงโม Hinwana Indwana (โดกรี)
เพื่อนำออกไป Kadhna Kadhna (หริยนวี, ราชสถาน)

สัปดาห์

ภาษาไทย ภาษาโภชปุระ (อักษรละติน) 𑂦𑂷𑂔𑂣𑂳𑂩𑂲 (𑂍𑂰𑂨𑂟𑂲 𑂪𑂱𑂎𑂰𑂆; อักษรไกถี) भोजपुरी (देवनागरी लिपि; อักษรเทวนาครี)
วันอาทิตย์ Eitwaar 𑂉𑂞𑂫𑂰𑂩 एतवार
วันจันทร์ Somaar 𑂮𑂷𑂧𑂰𑂩 सोमार
วันอังคาร Mangar 𑂧𑂁𑂏𑂩 मंगर
วันพุธ Budhh 𑂥𑂳𑂡 बुध
วันพฤหัสบดี Bifey 𑂥𑂱𑂨𑂤𑂵 बियफे
วันศุกร์ Sook 𑂮𑂴𑂍 सूक
วันเสาร์ Sanichar 𑂮𑂢𑂱𑂒𑂩 सनिचर

ประโยคทั่วไป

ภาษาไทย ภาษาโภชปุระ 𑂦𑂷𑂔𑂣𑂳𑂩𑂲 (อักษรไกถี) भोजपुरी
สวัสดี Raam Raam/Parnaam 𑂩𑂰𑂧 𑂩𑂰𑂧/𑂣𑂩𑂝𑂰𑂧 राम राम/परणाम
ยินดีต้อนรับ/เข้ามาข้างใน Aain na 𑂄𑂆𑂁 𑂢𑂰 आईं ना
เป็นอย่างไร? Ka haal ba?/Kaisan hava? 𑂍𑂰 𑂯𑂰𑂪 𑂥𑂰?/𑂍𑂆𑂮𑂢 𑂯𑂫ऽ? का हाल बा?/कइसन हवऽ?
สบายดี แล้วคุณหล่ะ? Hum theek baani. Aur rauwa? 𑂯𑂧 𑂘𑂱𑂍 𑂥𑂰𑂢𑂲𑃀 𑂃𑂇𑂩 𑂩𑂈𑂫𑂰?/𑂯𑂧 𑂘𑂱𑂍 𑂯𑂖𑂱𑃀 𑂃𑂇𑂩 𑂄𑂣? हम ठीक बानी। अउर रउवा?/हम ठीक हञि। अउर आप?
คุณชื่ออะไร? Tohaar naav ka ha?/Raur naav ka ha? 𑂞𑂷𑂯𑂰𑂩 𑂢𑂰𑂀𑂫 𑂍𑂰 𑂯ऽ?/𑂩𑂰𑂈𑂩 𑂢𑂰𑂀𑂫 𑂍𑂰 𑂯ऽ? तोहार नाँव का ह?/राउर नाँव का ह?
ผม/ฉันชื่อ ... Hamar naav ... ha 𑂯𑂧𑂰𑂩 𑂢𑂰𑂀𑂫 ... 𑂯ऽ हमार नाँव ... ह
เกิดอะไรขึ้น? Kaa hot aa? 𑂍𑂰 𑂯𑂷𑂞𑂰? का होताऽ?
ฉัน/ผมรักคุณ Hum tohse pyaar kareni/Hum tohra se pyaar kareni 𑂯𑂧 𑂞𑂷𑂯 𑂮𑂵 𑂣𑂹𑂨𑂰𑂩 𑂍𑂩𑂵𑂢𑂲/𑂯𑂧 𑂞𑂷𑂯𑂩𑂰 𑂮𑂵 𑂣𑂹𑂨𑂰𑂩 𑂍𑂩𑂵𑂢𑂲 हम तोहसे प्यार करेनी/हम तोहरा से प्यार करेनी

ตัวเลข

ไทย। โภชปุระ

1 - หนึ่ง १= ek - एक

2= สอง २= du - दु

3= สาม ३= teen =तीन

4= สี่ ४= char= चार

5= ห้า ५= pan = पान

6= หก ६= chhav= छव

7= เจ็ด। ७= sat= सात

8=แปด ८= aath= आठ

9= เก้า ९= nav = नव

10= สิบ १०= das= दस

100= หนึ่งร้อย १००= ek say = एक सव

500= ห้าร้อย ५००= pan say = पान सव

1000= หนึ่งพัน १०००= ek hajar = एक हजार

ตัวอย่าง

ตัวอย่างข้างล่างมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ใน 4 ภาษา:

  • ภาษาโภชปุระ (อักษรไกถี) – 𑂃𑂢𑂳𑂒𑂹𑂓𑂵𑂠 १: 𑂮𑂥𑂯𑂱 𑂪𑂷𑂍𑂰𑂢𑂱 𑂄𑂔𑂰𑂠𑂵 𑂔𑂢𑂹𑂧𑂵𑂪𑂰 𑂄𑂇𑂩 𑂋𑂎𑂱𑂢𑂱𑂨𑂷 𑂍𑂵 𑂥𑂩𑂰𑂥𑂩 𑂮𑂧𑂹𑂧𑂰𑂢 𑂄𑂋𑂩 𑂃𑂡𑂱𑂍𑂰𑂩 𑂣𑂹𑂩𑂰𑂣𑂹𑂞 𑂯𑂫𑂵𑂾 𑂋𑂎𑂱𑂢𑂱𑂨𑂷 𑂍𑂵 𑂣𑂰𑂮 𑂮𑂧𑂕-𑂥𑂴𑂕 𑂄𑂇𑂩 𑂃𑂁𑂞:𑂍𑂩𑂝 𑂍𑂵 𑂄𑂫𑂰𑂔 𑂯𑂷𑂎𑂞𑂰 𑂄𑂋𑂩 𑂯𑂳𑂢𑂍𑂷 𑂍𑂵 𑂠𑂷𑂮𑂩𑂰 𑂍𑂵 𑂮𑂰𑂟 𑂦𑂰𑂆𑂒𑂰𑂩𑂵 𑂍𑂵 𑂥𑂵𑂫𑂯𑂰𑂩 𑂍𑂩𑂵 𑂍𑂵 𑂯𑂷𑂎𑂪𑂰𑂿
  • ภาษาโภชปุระ (อักษรเทวนาครี) – अनुच्छेद १: सबहि लोकानि आजादे जन्मेला आउर ओखिनियो के बराबर सम्मान आओर अधिकार प्राप्त हवे। ओखिनियो के पास समझ-बूझ आउर अंत:करण के आवाज होखता आओर हुनको के दोसरा के साथ भाईचारे के बेवहार करे के होखला।[17]
  • ภาษาฮินดี – अनुच्छेद १: सभी मनुष्यों को गौरव और अधिकारों के मामले में जन्मजात स्वतन्त्रता और समानता प्राप्त हैं। उन्हें बुद्धि और अन्तरात्मा की देन प्राप्त है और परस्पर उन्हें भाईचारे के भाव से बर्ताव करना चाहिये।[18]
  • ภาษาฮินดูสตานี Sarnámi (สำเนียงของภาษาฮินดูสตานีแคริบเบียน) – Aadhiaai 1: Sab djanne aadjádi aur barabar paidaa bhailèn, iddjat aur hak mê. Ohi djanne ke lage sab ke samadj-boedj aur hierdaai hai aur doesare se sab soemmat sè, djaane-maane ke chaahin.[19]
  • ภาษาไทย – ข้อ 1: มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ[20]

อ้างอิง

  1. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  2. Oozeerally, Shameem (March 2013). "The Evolution of Mauritian Bhojpuri: an Ecological Analysis - Mauritius Institute of Education". สืบค้นเมื่อ 1 September 2020. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Rambilass, B. "NAITALI - SOUTH AFRICAN BHOJPURI" (PDF). indiandiasporacouncil.org. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  4. Sudhir Kumar Mishra (22 March 2018). "Bhojpuri, 3 more to get official tag". The Telegraph.
  5. "New chairman of Bhojpuri Academy | Patna News - Times of India". The Times of India.
  6. Bhojpuri Ethnologue World Languages (2009)[การอ้างอิงวกเวียน]
  7. Bhojpuri entry, Oxford Dictionaries เก็บถาวร 8 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Oxford University Press
  8. Ethnologue's detailed language map เก็บถาวร 16 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of western Madhesh; see the disjunct enclaves of language #9 in SE.
  9. Diwakar Mishra and Kalika Bali, A COMPARATIVE PHONOLOGICAL STUDY OF THE DIALECTS OF HINDI เก็บถาวร 1 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ICPhS XVII, Hong Kong, 17–21 August 2011, pp 1390
  10. 10.0 10.1 Rajend Mesthrie, Language in indenture: a sociolinguistic history of Bhojpuri-Hindi in South Africa, Routledge, 1992, ISBN 978-0415064040, pages 30–32
  11. 11.0 11.1 11.2 Bhojpuri เก็บถาวร 25 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Language Materials Project, University of California, Los Angeles, United States
  12. Hindustani, Caribbean เก็บถาวร 13 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ethnologue (2013)
  13. William J. Frawley, International Encyclopedia of Linguistics, Volume 1, ISBN 0-19-513977-1, Oxford University Press, Bhojpuri, page 481
  14. Jain, Dinesh (2007). The Indo-Aryan Languages. Routledge. ISBN 978-1135797102.
  15. "Forced Labour". The National Archives, Government of the United Kingdom. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2016.
  16. 16.0 16.1 Trammell, Robert L. (1971). "The Phonology of the Northern Standard Dialect of Bhojpuri". Anthropological Linguistics. 13 (4): 126–141. JSTOR 30029290.
  17. "Universal Declaration of Human Rights – Bhojpuri" (PDF). United Nations (ภาษาโภชปุรี). 23 April 2019. p. 1. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  18. "Universal Declaration of Human Rights – Hindi" (PDF). United Nations (ภาษาฮินดี). 1 July 2015. p. 1 (orig p. 2). สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  19. "Universal Declaration of Human Rights – Sarnámi Hindustani" (PDF). United Nations. (in Sarnámi Hindustani). 9 December 2013. p. 2. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  20. "Universal Declaration of Human Rights – Thai" (PDF). United Nations. 6 November 2019. p. 2. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!