ภาษากันนาดา หรือ ภาษากันนะฑะ (กันนาดา : ಕನ್ನಡ ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤต เช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ วรรณคดีรุ่นแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กวิราชมารค (ಕವಿರಾಜಮಾರ್ಗ ) โดยจักรพรรดิอโมฆวรรษที่ 1 (นฤปตุงคะ)
ประวัติและพัฒนาการ
จารึกหัลมิที ที่หมู่บ้าน หัลมิที เขียนด้วยอักษรกันนาดาโบราณ สมัยราชวงศ์กทัมพะ
จารึกภาษากันนาดาโบราณที่ Gomateshwara monolith ในShravanabelagola (981 AD. ราชวงศ์คันคะตะวันตก )
ภาษากันนาดาเป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เก่าที่สุด มีประวัติย้อนหลังไปได้ถึง 2,000 ปี [ 3] [ 4] [ 5] [ 6] ภาษาในรูปแบบภาษาพูดได้แยกอออกจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมก่อนภาษาทมิฬและเป็นเวลาใกล้เคียงกับภาษาตูลู จากหลักฐานทางโบราณคดี การเขียนทางการค้าของภาษานี้เริ่มเมื่อราว 1500-1600 ปีมาแล้ว การพัฒนาในระยะแรกเป็นเช่นเดียวกับภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ และเป็นอิสระจากภาษาสันสกฤต ในยุคต่อมาจึงได้อิทธิพลทางด้านคำศัพท์และวรรณคดีจากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษาเตลุกุ ภาษามลยาฬัม และอื่น ๆ
จารึกภาษากันนาดาพบครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อราว พ.ศ. 313 [ 7] [ 8] ศิลาจารึกภาษากันนาดาที่สมบูรณ์ชิ้นแรกคือ ศิลาศาสนะ เขียนด้วยภาษากันนาดาโบราณ รวมทั้งจารึกหัลมิที , อายุราว พ.ศ. 93 [ 9] จารึกภาษากันนาดาพบในอินเดียราว 40,000 ชิ้น และพบนอกรัฐกรณาฏกะด้วย เช่นที่ รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระ รัฐทมิฬนาดู รวมทั้งในรัฐมัธยประเทศ และรัฐอุตตรประเทศ ด้วย
เหรียญกษาปณ์
เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะ บางส่วนมีจารึกภาษากันนาดา "วิระ" และ "สกันธะ" .[ 10] เหรียญทองมีคำจารึกว่า "ศรี" และคำย่อของชื่อกษัตริย์ภาคิระกะว่า "ภาคิ" [ 11] ทั้งหมดนี้ใช้อักษรกันนาดาโบราณ การค้นพบล่าสุดเป็นเหรียญทองแดง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 ในพนวาสี ตำบลอุตรกันนาดา ซึ่งมีจารึกศรีมนราคี ใช้อักษรกันนาดาแสดงว่าภาษากันนาดาเป็นภาษาราชการในสมัยราชวงส์กทัมพะแห่งพนวาสี [ 12] เหรียญที่มีจารึกภาษากันนาดาพบแพร่กระจายทั่วไปในเขตปกครองของราชวงศ์คันคะตะวันตก จลุกยะตะวันตก อลุปัส รัศตรกุตัส โหสาลัส จักรวรรดิวิชัยนคร และอาณาจักรไมซอร์ [ 13] [ 14] [ 15] เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะที่พบในกัวมีลักษณะพิเศษคือมีทั้งอักษรกันนาดาและอักษรเทวนาครี [ 16]
พัฒนาการ
การเขียนภาษากันนาดาเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลทางศาสนาและสังคมที่หลากหลายในช่วง 1,600 ปีที่ผ่านมา นักภาษาศาสตร์แบ่งการพัฒนาการเขียนเป็น 4 ยุคด้วยกัน คือ
ยุคก่อนกันนาดาโบราณ (โปร์วทะ หาเลคันนทะ) เป็นภาษาที่พบในจารึกหัลมิที อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 จากหลักฐานที่พบสรุปได้ว่า ภาษากันนาดาที่เป็นภาษาพูดพัฒนาไปเร็วกว่าภาษาที่พบในจารึกหัลมิที โดยภาษาในจารึกมีลักษระของภาษาสันสกฤตอยู่มาก
ยุคกันนาดาโบราณ (หาเลคันนทะ) อยู่ในชาวงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 -19 ในช่วงนี้ภาษากันนาดาเป็นภาษาที่มีพัฒนาการพร้อมที่จะเป็นภาษาทางวรรณคดี กวีของพวกเชน และไสวิเตเริ่มปรากฏในช่วงนี้ งานทางศาสนาพราหมณ์ เริ่มปรากฏในพุทธศตวรรษที่ 12 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ภาษษกันนาดามีบทกวีมากซึ่งเป็นยุคก่อนสมัยกวีรชมรรคาราว 200 - 300 ปี และเริ่มมีตำราไวยากรณ์ภาษากันนาดา
ยุคกันนาดากลาง (นทุคันนทะ) เป็นช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 - 23 ศาสนาฮินดู มีอิทธิพลต่อวรรณคดีและภาษากันนาดามาก
ยุคกันนาดาใหม่ (โหลาคันนทะ) เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา
อิทธิพลต่อภาษาและวัฒนธรรมอื่น
อิทธิพลของภาษากันนาดาโบราณต่อภาษาในจารึกอักษรทมิฬ-พราหมี ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 343 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 11 มีทั้งด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ การเขียนในพุทธศตวรรษที่ 14 ในเขตกวิราชมรรคาซึ่งเป็นบริเวณระหว่างแม่น้ำกาเวรี และแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนกันนาดาแสดงให้ถึงความนิยมใช้ภาษานี้ ภาษากันนาดามีอิทธิพลต่อภาษาคุชราต ซึ่งเป็นภาษาเพื่อนบ้านในขณะนั้นด้วย ก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 บริเวณที่มีผู้พูดภาษากันนาดาอยู่ในเส้นทางการค้าของจักรวรรดิกรีก-โรมัน ทำให้ภาษานี้มีการแพร่กระจายไปในวงกว้าง ภาษาที่ปรากฏร่วมกับภาษากันนาดาเช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ ภาษาสันเกถิ และภาษากอนกานี จึงมีคำยืมจากภาษากันนาดาจำนวนมาก
วรรณคดีและกวี
บทกวีภาษากันนาดาที่เก่าที่สุดคือ กัปเป อรภัตตะ เขียนเมื่อ พ.ศ. 1243 กวิราชมรรคา เขียนโดยกษัตริย์หริปตุระ อโมฆวรรษาที่ 1 เป็นวรรณคดีชิ้นแรกของภาษากันนาดา
สำเนียง
มีความแตกต่างของรูปแบบภาษาที่ใช้ในการพูดและเขียน ภาษาพูดของภาษากันนาดามีแนโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามบริเวณ โดยที่ภาษาเขียนในรัฐกรณาฏกะมีความคงตัวกว่า มีภาษากันนาดาสำเนียงต่าง ๆ กันถึง 20 สำเนียงซึ่งได้รับอิทธิพลจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ภาษากันนาดาใช้พูดในรัฐกรณาฏกะในอินเดียเป็นหลักและแพร่กระจายไปในรัฐใกล้เคียงเช่น รัฐอันธรประเทศ รัฐมหาราษฎระ รัฐทมิฬนาฑู รัฐเกระละ และกัว และมีชุมชนที่ใช้ภาษานี้ในสหรัฐ อังกฤษ และสิงคโปร์
สถานะการเป็นภาษาราชการ
ภาษากันนาดาเป็น 1 ในภาษาราชการ 22 ภาษาของอินเดียและเป็นภาษาประจำรัฐกรณาฏกะ
ไวยากรณ์
ภาษากันนาดามีการผันคำ คำนามมี 3 เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง และไม่มีเพศ การผันคำจะผันตามเพศ จำนวน และกาล
ระบบการเขียน
วิกิพีเดียภาษากันนาดา
ป้ายภาษากันนาดาในอินเดีย
อักษรกันนาดามี 41 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ สวรคลุ (สระมี13 ตัว) โยควาหกคลุ (เครื่องหมายมี 2 ตัวคือ ಂ และ ಃ) และ วยันชนคลุ (พยัญชนะมี 34 ตัว) อักษรแต่ละตัวออกเสียงต่างจากกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ อักษรกันนาดายังใช้เขียนอักษรอื่น เช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานี
อักษรที่เลิกใช้แล้ว
ในวรรณคดีภาษากันนาดา มีอักษร ಱ (ṟ หรือ rh) และ ೞ (ḻ, lh หรือ zh) ซึ่งใกล้เคียงกับเสียงที่คล้ายกันที่ยังใช้อยู่ในภาษาทมิฬ และภาษาตูลู อักษร 2 ตัวนี้เลิกใช้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 และ 23 ตามลำดับ งานเขียนภาษากันนาดารุ่นหลังแทนที่เสียง rh และ lh ด้วย ರ (r) และ ಳ (l) ตามลำดับ[ 17]
อักษรอีกตัวที่กำลังจะเลิกใช้คือ nh ซึ่งมีเสียงที่คล้ายกันนี้ในภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัม การใช้อักษรตัวนี้ลดลงหลัง พ.ศ. 2523 และมักจะแทนที่ด้วย ನ್ (n)
อ้างอิง
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-03-09. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-12-03. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02 .
↑ Kamath (2001), p. 5–6
↑ (Wilks in Rice, B.L. (1897), p490)
↑ Pai and Narasimhachar in Bhat (1993), p103
↑ Iravatham Mahadevan. "Early Tamil Epigraphy from the Earliest Times to the Sixth Century AD" . Harvard University Press . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-09-04. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12 .
↑ คำว่าIsila พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศก หมายถึง "ขว้างลูกศร" เป็นคำภาษากันนาดา แสดงว่าภาษากันนาดามีใช้ในช่วงเวลานั้น (Dr. D.L. Narasimhachar in Kamath 2001, p5)
↑ Staff reporter. "Declare Kannada a classical language" . The Hindu, Friday, May 27, 2005 ข้อมูลวันที่ 2006-11-25 . The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08 .
↑ A report on Halmidi inscription, Muralidhara Khajane. "Halmidi village finally on the road to recognition" . The Hindu, Monday, Nov 03, 2003 ข้อมูลวันที่ 2006-11-25 . The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2003-11-24. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08 .
↑ Moraes (1931), p382
↑ Moraes (1931), p 382
↑ Dr Gopal, director, Department of Archaeology and Ancient History (2006-02-06). "5th century copper coin discovered at Banavasi" . Hindu, Monday, February 6, 2006 . Chennai, India: The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18 . {{cite news }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Kamath (2001), p12, p57
↑ Govindaraya Prabhu, S. "Indian coins-Dynasties of South" . Prabhu's Web Page On Indian Coinage, November 1, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2006-11-27 .
↑ Harihariah Oruganti-Vice-President, Madras Coin Society. "Vijayanagar Coins-Catalogue" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2005-10-25. สืบค้นเมื่อ 2006-11-27 .
↑ This shows that the native vernacular of the Goa Kadambas was Kannada – Moraes (1931), p384
↑ Rice, Edward. P (1921), "A History of Kanarese Literature", Oxford University Press, 1921: 14–15
ระดับสหภาพ ตามรัฐธรรมนูญอินเดีย ระดับรัฐ