ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ |
---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
---|
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
---|
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์[1] (พ.ศ. 2296 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2328) พระนามเดิม บุญเมือง เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี กับพระอินทรรักษา (เสม) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2296[1] มีพระภราดาและพระภคินี 4 พระองค์ดังนี้
- สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ พระนามเดิม ทองอิน ได้รับการเฉลิมพระยศที่ "กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข"
- สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ พระนามเดิม บุญเมือง
- สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ พระนามเดิม ทองจีน เป็นต้นราชสกุลนรินทรางกูร
- สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ พระนามเดิม ทองคำ ได้เป็นเจ้านายฝ่ายในรวมอยู่ในกรมพระยาเทพสุดาวดี
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ได้เป็นพระอภัยสุริยาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้รับการเฉลิมพระยศให้เป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ พระองค์จึงไปอยู่ที่พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเส็งสัปตศก จ.ศ. 1147 ตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2328 พระชันษา 32 ปี[1]
ทรงมีพระโอรส 2 องค์ คือ
1.หม่อมเจ้าเลื่อน บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าเถื่อน (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2320 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2386)
2.หม่อมเจ้าบุนนาค (ภายหลังได้ถวายตัวเป็นหม่อมในสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขสิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2395)
พงศาวลี
พงศาวลีของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์
|
|
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 5.
|
---|
สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
กรมพระยา | |
---|
กรมพระ | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
- = สืบราชสมบัติ
- = สยามมกุฎราชกุมาร
- * = กรมพระราชวังบวร
- ตัวเอียง = ฝ่ายใน
- ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
- † = หลังสิ้นพระชนม์
- X = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
|
|