สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ดำรงพระยศ5 ธันวาคม พ.ศ. 2453 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2464 (10 ปี 241 วัน)
สมณุตตมาภิเษก5 ธันวาคม พ.ศ. 2453
ก่อนหน้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)
ถัดไปพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ประสูติ12 เมษายน พ.ศ. 2403
สิ้นพระชนม์2 สิงหาคม พ.ศ. 2464 (61 ปี)
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (12 เมษายน พ.ศ. 2403 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2464) เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระอิสริยยศ 11 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระชันษา 61 ปี 112 วัน

พระประวัติ

พระกำเนิด

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2403 ในวันที่พระองค์ประสูตินั้นฝนตกหนักมากราวกับฟ้ารั่ว เหมือนนาคให้น้ำบริเวณนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ต่อมา เจ้าจอมมารดาแพถึงแก่กรรมลงในขณะที่พระองค์มีพระชันษาเพียง 1 ปี พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉา จึงทรงรับไปเลี้ยงดู[1] เมื่อทรงเจริญวัยทรงพระดำเนินได้ รับสั่งได้คล่องแคล่ว จึงเสด็จพำนักอยู่กับท้าวทรงกันดาล (สี) ซึ่งเป็นยายแท้ ๆ[2]

ผนวช

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ก่อนทรงผนวชเป็นพระภิกษุ

เมื่อพระชันษาได้ 8 ปีทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนผนวชเป็นสามเณร นอกจากนี้ยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษและโหราศาสตร์ อีกด้วย ถึงปี พ.ศ. 2416 เมื่อพระชันษาได้ 13 ปี ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และหม่อมเจ้าพระธรรมมุณหิศธาดา (สีขเรศ วุฑฺฒิสฺสโร) ทรงเป็นผู้ประทานศีล 10 หลังจากทรงบรรพชาแล้วได้ประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ประมาณ 2 เดือน จึงทรงลาผนวช[3]

ครั้นครบปีบวช (พระชันษา 20 ปี) ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2422 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ 1 พรรษา จึงย้ายไปประทับที่วัดมกุฏกษัตริยารามเพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของพระจันทรโคจรคุณผู้เป็นพระอาจารย์ ในระหว่างนั้นได้ทรงทำทัฬหีกรรมหรือการบวชซ้ำ ที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร โดยมีพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเดช ฐานจาโร วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ [4]

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพะยะค่ะ/เพคะ
พระรูปทรงฉายที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ราว พ.ศ. 2436

เมื่อผนวชได้ 3 พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมหน้าพระที่นั่ง ทรงแปลได้เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองในธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2424 พระองค์ได้ครองวัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ เมื่อปี พ.ศ. 2434 และในปี พ.ศ. 2436 ได้รับโปรดเกล้าเพิ่มพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต มีราชทินนามว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์วรธรรมยุตติ์ ศรีวิสุทธิคณะนายก สาสนดิลกธรรมานุวาทย์ บริสัษยนารถสมณุดมบรมบพิตร[5]

วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 พระองค์ได้รับสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์ธรรมวรยุต ศรีวิสุทธิคณนายก สาสนดิลกธรรมานุวาทย์ บริสัษยนารถสมณุดมบรมบพิตร[6] และเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก แต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ ทั้งกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขต[7] และเลื่อนพระอิสริยยศจากกรมหลวงขึ้นเป็นกรมพระยา มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังศีกัลยาณวากย์ มนุษยนาคอเนญชาริยวงษ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถประนับดา มหามกุฏกษัตรราชวรางกูร จุฬาลงกรณ์ปรมินทรสูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์ ศุภศีลสารมหาวิมลมงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฏกาทิโกศล เบญจปฎลเศวตฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเษกาภิษิต วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน มโหฬารเมตตาภิธยาศรัย พุทธาทิรัตนตรัยสรณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิปัตยพุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนาถบพิตร[8]

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า การเรียกพระนามพระราชวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลแต่เดิมนั้นเรียกตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์ ไม่ได้เรียกตามสมณศักดิ์ของพระประมุขแห่งสังฆมณฑล คือ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" พระองค์จึงเปลี่ยนคำนำพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลว่า "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" เพื่อให้ปรากฏพระนามในส่วนสมณศักดิ์ด้วย โดยพระองค์ได้เปลี่ยนคำนำพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อเฉลิมพระเกียรติเป็นพระองค์แรก[9]

ในปีต่อมาคือ ปี พ.ศ. 2454 พระองค์ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีความว่า ควรถวายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์แก่พระองค์ ในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชให้เด็ดขาด เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เรียบร้อย หลังจากนั้นอีก 6 เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมอบการทั้งปวงซึ่งเป็นกิจธุระพระศาสนา ถวายแด่พระองค์ผู้เป็นมหาสังฆปริณายก ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2455[10]

สิ้นพระชนม์

ที่ประดิษฐานพระอังคารในฐานพระพุทธไสยา มุขหลังวิหารพระศรีศาสดา

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าประชวรด้วยวัณโรค มีพระอาการเรื้อรังมานานนับสิบปี จนกำเริบรุนแรงเกินกว่าความสามารถของแพทย์หลวง ในที่สุดสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2464[11] สิริรวมพระชันษาได้ 61 ปี ครองวัดบวรนิเวศวิหารนาน 30 ปี ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ 10 ปี 7 เดือน[12]

งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เริ่มในวันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2465[13] โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบำเพ็ญพระราชกุศลที่ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทุกวันตั้งแต่วันดังกล่าว จนถึงวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน เวลา 16:00 น. จึงโปรดให้เคลื่อนพระศพไปประดิษฐานยังพระจิตกาธาน ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง แล้วพระราชทานเพลิงพระศพ[14] เช้าวันต่อมาเจ้าพนักงานภูษามาลาดับพระเพลิงแล้วประมวลพระอัฐิ เวลา 07:00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเก็บพระอัฐิประมวลลงในพระโกศทองลงยา แล้วให้เจ้าพนักงานเชิญพระโกศไปประดิษฐานในบุษบก ณ พระที่นั่งทรงธรรม ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเสร็จแล้ว จึงโปรดให้เจ้าพนักงงานเชิญพระโกศไปประดิษฐานที่พระตำหนักเพ็ชร ช่วงบ่ายเสด็จฯ มาทรงสดับพระพุทธมนต์และพระธรรมเทศนา[15] จากนั้นในวันอังคารที่ 11 เมษายน ได้เสด็จฯ มาบำเพ็ญพระราชกุศลอีกครั้ง แล้วบรรจุพระอังคารเข้าในฐานพระพุทธไสยา มุขหลังวิหารพระศรีศาสดา แล้วเสด็จฯ กลับ[16]

พระกรณียกิจ

ทรงเริ่มพัฒนาการพระศาสนา โดยเริ่มต้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่ริเริ่มให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่ เรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทย มีการสอบความรู้ด้วยวิธีเขียน ต่อมาจึงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ เรียกว่า นักธรรม ทรงจัดตั้ง มหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นการริเริ่มจัดการศึกษาของพระภิกษุ สามเณรแบบใหม่ คือ เรียนพระปริยัติธรรม ประกอบกับวิชาการอื่น ที่เอื้ออำนวยต่อการสอนพระพุทธศาสนา ผู้ที่สอบได้จะได้เป็นเปรียญเช่นเดียวกับที่สอบได้ในสนามหลวง เรียกว่า เปรียญมหามงกุฎ แต่ได้เลิกไปในอีก 8 ปีต่อมา ทรงออกนิตยสาร ธรรมจักษุ ซึ่งเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนา ฉบับแรกของไทย

ทรงอำนวยการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่วราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ. 2441 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังประชาชนทั่วราชอาณาจักร ทรงเห็นว่า วัดเป็นแหล่งให้การศึกษาแก่คนไทยมาแต่โบราณกาล เป็นการขยายการศึกษาได้เร็วและทั่วถึง เพราะมีวัดอยู่ทั่วไปในพระราชอาณาจักร ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน งานนี้มีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยสนับสนุน พระองค์ดำเนินการอยู่ 5 ปี ก็สามารถขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ ชั้นประถมศึกษา ออกไปได้ทั่วประเทศ จากนั้นจึงให้กระทรวงธรรมการ ดำเนินการต่อไป

ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยดี เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเอง และประเทศชาติ จึงเกิด พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ขึ้น ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้จัดคณะสงฆ์ออกเป็น 4 คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุติกา มีสมเด็จพระราชาคณะเป็นเจ้าคณะ และมีพระราชาคณะรอง คณะละหนึ่งรูป รวมเป็น 8 รูป ทั้ง 8 รูปนี้ยกขึ้นเป็น มหาเถรสมาคม เป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ และเป็นที่ปรึกษาในการพระศาสนา และการคณะสงฆ์ของพระมหากษัตริย์ มีเจ้าคณะปกครองลดหลั่นไปตามลำดับคือ เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และเจ้าอาวาส มีเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มหาเถรสมาคมเป็นเพียง ที่ทรงปรึกษา ขององค์พระมหากษัตริย์ ดังนั้นกระทรวงธรรมการ จึงต้องทำหน้าที่สังฆราชโดยปริยาย

พระองค์ได้ทรงปรับปรุงการพระพุทธศาสนา และทางคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ เป็นอันมากโดยเริ่มงานตั้งแต่เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ในหัวเมืองต่าง ๆ เกือบทั่วราชอาณาจักร โดยกระทำอย่างต่อเนื่องทุกปีเกือบ ตลอดพระชนม์ชีพ ทำให้ทรงทราบความเป็นไปของคณะสงฆ์ และของประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ เป็นอย่างดี และนำข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ มาปรับปรุง แก้ไขในทุก ๆ ด้าน พอประมวลได้ดังนี้[17]

  1. ด้านการพระศาสนา พระองค์ได้พัฒนาภิกษุสามเณร ให้มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัย เพื่อจะได้แนะนำสั่งสอนประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทรงผลิตตำราและหนังสือทางพระพุทธศาสนา ที่คนทั่วไปสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ง่าย
  2. ด้านการคณะสงฆ์ ทรงออกพระมหาสมณาณัติ ประทานพระวินิจฉัยและทรงวางระเบียบ แบบแผน เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรในด้านต่าง ๆ ให้ถูกต้องเป็นมาตรฐาน เช่น ระเบียบเกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์ การบรรพชาอุปสมบท การปกครองภิกษุสามเณรและศิษย์วัด การวินิจฉัยอธิกรณ์ ระเบียบเกี่ยวกับ สมณศักดิ์ พัดยศ นิตยภัต ดวงตราประจำตำแหน่ง เป็นต้น
  3. ด้านการศึกษา ทรงปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันสมัย ทรงจัดการศึกษาพระปริยัติ ธรรมเพิ่มขึ้นจากแบบเดิมที่ศึกษาภาษาบาลี โดยให้ศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทยเรียกว่า หลักสูตร นักธรรม
  4. งานพระนิพนธ์ พระองค์ทรงรอบรู้ภาษาต่าง ๆ หลายภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เช่น พระประวัติตรัสเล่า หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี โท เอก หลักสูตรบาลี ไวยากรณ์ทั้งชุด รวมพระนิพนธ์ทั้งหมดมีมากกว่า 200 เรื่อง นอกจากนี้ยังทรงชำระ คัมภีร์บาลีไว้กว่า 20 คัมภีร์[18]

พงศาวลี

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. พระประวัติตรัสเล่า, หน้า 9
  2. 19 สมเด็จพระสังฆราชกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 143
  3. 19 สมเด็จพระสังฆราชกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 144
  4. พระประวัติตรัสเล่า, หน้า 67
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 10, หน้า 391
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามกรม, เล่ม 23, หน้า 848-850
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเศก สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง , ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๕๖๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาสมณุตมาภิเศก, เล่ม 27, หน้า 2579-2587
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า, เล่ม ๓๘, ตอน ๐ ก ,๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๑๐
  10. พระเกียรติคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ), หน้า 37
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, เล่ม ๓๘, ตอน ง, ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๑๒๓๙
  12. 19 สมเด็จพระสังฆราชกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 151
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันศุกร์ที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๕, เล่ม ๓๙, ตอน ๐ ง, ๑๖ เมษายน ๒๔๖๕, หน้า ๑๒๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอาทิตย์ที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๕, เล่ม ๓๙, ตอน ๐ ง, ๑๖ เมษายน ๒๔๖๕, หน้า ๑๒๒-๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ที่ ๑๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๕, เล่ม ๓๙, ตอน ๐ ง, ๑๖ เมษายน ๒๔๖๕, หน้า ๑๒๓-๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๕, เล่ม ๓๙, ตอน ๐ ง, ๑๖ เมษายน ๒๔๖๕, หน้า ๑๒๔
  17. พระเกียรติคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ), หน้า 53-55
  18. พระเกียรติคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ), หน้า 58
  19. "ประวัติเจ้าจอมมารดาแพ". ราชสกุลเกษมสันต์. 26 มกราคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-14. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • โกวิท ตั้งตรงจิตร. 19 สมเด็จพระสังฆราชกรุงรัตนโกสินทร์. --กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2554.
  • วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พระประวัติตรัสเล่า. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2544. 107 หน้า. ISBN 974-399-407-6
  • สุเชาวน์ พลอยชุมพระเกียรติคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ). กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541. 165 หน้า. ISBN 974-580-851-2
ก่อนหน้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ถัดไป
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สา ปุสฺสเทโว)

สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2464)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
(พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2464)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
(พ.ศ. 2435–พ.ศ. 2464)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

Read other articles:

В Википедии есть статьи о других людях с фамилией Бруцкус. Юдель Давидович Бруцкуслит. Julius Bruckusивр. יהודה ברוצקוס‎[1] Имя при рождении Юдель-Лейб Давидович Бруцкус Дата рождения 1 января 1870(1870-01-01) Место рождения Поланген, Гробинский уезд, Курляндская губерния, Росси...

 

Better Days Ahead: Solo Guitar Takes on Pat Metheny Studioalbum von John Pizzarelli Veröffent-lichung(en) 16. April 2021 Aufnahme 2020 Label(s) Ghostlight Format(e) CD, Download Genre(s) Jazz Titel (Anzahl) 13 Länge 57:43 Besetzung Siebensaitige Gitarre: John Pizzarelli Produktion John Pizzarelli, Rick Haydon Chronologie For Centennial Reasons: 100 Year Salute to Nat King Cole(2019) Better Days Ahead: Solo Guitar Takes on Pat Metheny — Better Days Ahead: Solo Guitar Takes on Pat Meth...

 

  لمعانٍ أخرى، طالع إباحية (توضيح). إباحيةمعلومات عامةصنف فرعي من عمل إبداعيerotic product (en) يدرس بواسطة porn studies (en) النقيض الحركة المضادة للإباحية يمارسها pornographer (en) نظام تصنيف حوسبة رابطة مكائن الحوسبة (2012) 10003481 تعديل - تعديل مصدري - تعديل ويكي بيانات الجنس والقانون القضايا ال

T-37 Spähpanzer Amphibischer leichter Spähpanzer T-37 Allgemeine Eigenschaften Besatzung 2 Länge 3,73 m Breite 1,94 m Höhe 1,84 m Masse 3,2 Tonnen Panzerung und Bewaffnung Panzerung ca. 4–8 mm Hauptbewaffnung 1 × 7,62-mm-MG DT Beweglichkeit Antrieb 4-Zylinder-Ottomotor aus Lkw GAZ-AA29 kW (40 PS) Federung Schraubenfeder Geschwindigkeit 55 km/h Leistung/Gewicht 9,06 kW/t (12,5 PS/t) Reichweite 185 km Der T-37 war ein sowjetischer amphibischer Spähpanzer, der ab Herbst 1933 hergestellt ...

 

Iranian writer This article has multiple issues. Please help improve it or discuss these issues on the talk page. (Learn how and when to remove these template messages) The topic of this article may not meet Wikipedia's notability guideline for biographies. Please help to demonstrate the notability of the topic by citing reliable secondary sources that are independent of the topic and provide significant coverage of it beyond a mere trivial mention. If notability cannot be shown, the article ...

 

Polska na zimowych igrzyskach olimpijskich Kod MKOl POL Klasyfikacja wszech czasów MedalePozycja: 23. Złoto7 Srebro7 Brąz9 Razem23 Oficjalnie Polacy biorą udział w zimowych igrzyskach olimpijskich, od początku ich istnienia, czyli od 1924 roku. Polska jest jednym z dwunastu krajów, które wzięły udział we wszystkich zimowych igrzyskach olimpijskich. Pierwszy medal na zimowych igrzyskach olimpijskich dla Polski zdobył Franciszek Gąsienica Groń (brązowy) w kombinacji norweski...

American businesswoman and journalist (1871–1940) Florence M. SterlingBorn(1871-10-13)October 13, 1871Anahuac, TexasDiedMarch 24, 1940(1940-03-24) (aged 68)Houston, TexasNationalityAmericanOccupation(s)Businesswoman, Journalist Florence M. Sterling (October 13, 1871 – March 24, 1940) was an American businesswoman, journalist and early feminist. Sterling served as treasurer and secretary of her family's business venture, Humble Oil, and also for various community services in Houston. ...

 

Kementerian Keuangan Negara Pasundan adalah salah satu kementerian yang terdapat di Negara Pasundan. Kementerian Keuangan Negara Pasundan, resmi mengatur dan memegang kekuasaan berdasarkan keputusan dari Pemerintah tanggal 17 November 1948 Nomor 6. Kantor Kementerian Keuangan bertempat Negara Pasundan di Gedung Sate yang dahulunya bernama Gedung V & W. Kantor ini digunakan ketika penyerahan resmi kekuasaan belum dilaksanakan. Walau kewenangan Kementerian Keuangan telah resmi diserahkan da...

 

This article may rely excessively on sources too closely associated with the subject, potentially preventing the article from being verifiable and neutral. Please help improve it by replacing them with more appropriate citations to reliable, independent, third-party sources. (April 2019) (Learn how and when to remove this template message) SENTRI program logo SENTRI lanes at San Ysidro border crossing/port of entry, 2015. Tijuana, Mexico to San Diego, California. The Secure Electronic Network...

17th episode of the 13th season of Family Guy Fighting IrishFamily Guy episodePromotional imageEpisode no.Season 13Episode 17Directed byBrian IlesWritten byJaydi SamuelsProduction codeCACX15Original air dateMay 3, 2015 (2015-05-03)Guest appearance Liam Neeson as himself Episode chronology ← PreviousRoasted Guy Next →Take My Wife Family Guy (season 13)List of episodes Fighting Irish is the seventeenth episode of the thirteenth season of the animated sitcom Fam...

 

Bahasa EtruriaCippus Perusinus, sebuah papan batu yang bertuliskan 46 baris teks Etruska, salah satu prasasti Etruska yang masih ada. Abad ke-3 atau ke-2 SM.Dituturkan diEtruria KunoWilayahSemenanjung ItaliaKepunahan>20 AD[1]Rumpun bahasaTirenia ? Bahasa Etruria Sistem penulisanAlfabet Italik KunoKode bahasaISO 639-3ettGlottologetru1241[2] Status konservasi Punah EXSingkatan dari Extinct (Punah)Terancam CRSingkatan dari Critically endangered (Terancam Kritis) SESi...

 

Short story collection by Steven Millhauser For other articles with similar names, see Barnum Museum (disambiguation). The Barnum Museum First editionAuthorSteven MillhauserCover artistPaul CozzolinoCountryUnited StatesLanguageEnglishGenreShort storiesPublisherPoseidon PressPublication dateJune 1990Media typePrint (hardback & paperback)Pages237 ppISBN978-0-671-68640-6OCLC21154589Dewey Decimal813/.54 20LC ClassPS3563.I422 B37 1990 The Barnum Museum is a 1990 collection of fa...

This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: CBD Belapur – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (October 2017) (Learn how and when to remove this template message) Business District of Navi Mumbai in Maharashtra, IndiaCBD BelapurBusiness District of Navi MumbaiCBD BelapurCoordinates: 19°1′1″N ...

 

Tennis tournamentKošice OpenATP Challenger TourEvent nameKošiceLocationKošice, SlovakiaCategoryATP Challenger TourSurfaceClayDraw32S/32Q/16DPrize money€30,000+HWebsiteWebsite Fabio Fognini on 2010 Košice OpenYuri Schukin on 2010 Košice Open Tournament was part of the Association of Tennis Professionals (ATP) Challenger Tour. It took place annually in Košice, Slovakia from 2003 to 2014 and then was moved to Poprad. Past finals Singles Year Champion Runner-up Score 2014 Frank ...

 

Hospital in Greater Manchester, EnglandBlair HospitalBlair HospitalShown in Greater ManchesterGeographyLocationBolton, Greater Manchester, EnglandCoordinates53°37′12″N 2°25′23″W / 53.620°N 2.423°W / 53.620; -2.423OrganisationCare systemNHSServicesEmergency departmentNoHistoryOpened1887LinksListsHospitals in England Blair Hospital was a health facility at Bromley Cross near Bolton, Greater Manchester. It was a very distinctive building, perhaps one of Bolton...

48th Binibining Pilipinas pageant Binibining Pilipinas 2011DateApril 10, 2011PresentersDerek RamsayKC ConcepcionLara QuigamanMiriam QuiambaoEntertainmentMatteo GuidicelliSam MilbyMarie DigbySittiPrincess VelascoKarylleVenueSmart Araneta Coliseum, Quezon City, Metro Manila, PhilippinesBroadcasterABS-CBNThe Filipino ChannelEntrants40Placements15WinnerShamcey SupsupGeneral SantosCongenialitySamantha Neville PurvorQuezon CityBest National CostumeElizabeth ClenciNasipit, Agusan del NortePhotogenic...

 

1950 film by Gordon Douglas Rogues of Sherwood ForestTheatrical release posterDirected byGordon DouglasWritten byGeorge BruceRalph Gilbert BettisonProduced byFred M. PackardStarringJohn DerekDiana LynnGeorge MacreadyAlan Hale, Sr.CinematographyCharles Lawton Jr.Edited byGene HavlickMusic byMario Castelnuovo-TedescoHeinz RoemheldArthur MortonProductioncompanyColumbia PicturesDistributed byColumbia PicturesRelease date June 21, 1950 (1950-06-21) Running time79 minutesCountryUnite...

 

بيزو تامبو   الموقع كانتون غراوبوندن، سويسرا المنطقة ماديسيمو  إحداثيات 46°29′49″N 9°17′00″E / 46.497047222222°N 9.2834166666667°E / 46.497047222222; 9.2834166666667  الارتفاع 3,279 متر (10,758 قدم) السلسلة جبال الألب ليبونتيني النتوء 1,164 متر (3,819 قدم) الوصول الأول 1828 قائمة جبال الألب تعد...

Gereja Santa MariaBazylika MariackaAgamaAfiliasiKatolik RomaProvinsiKeuskupan Agung Katolik Roma di GdańskLokasiLokasiGdańsk, PolandiaArsitekturArsitekHeinrich Ungeradin, Hans Brandt, Heinrich Haetzl, Tylman van Gameren (Tylman Gamerski) (Royal Chapel)Gaya arsitekturGotik Batu BataRampung1502Puncak menara1 menara lonceng, 5 menara yang lebih kecil Gereja Santa Maria (Polandia: Bazylika Mariackacode: pl is deprecated ) adalah sebuah gereja Katolik Roma di Gdańsk, Polandia. Pembangunannya di...

 

Tari Kathak, salah satu tari klasik India. Tari klasik India adalah tarian klasik yang berasal dari variasi berdasarkan daerah-daerah di India antara lain Bharatanatyam dari Tamil Nadu, Kuchipudi dari Andhra Pradesh, Manipuri dari India timur laut, Odissi dari Orissa, serta Kathak dari India dan Pakistan.[1] India memiliki seni tari klasik yang beragam dan telah lama tercatat ke dalam teks tertua di dunia yang menuliskan tentang pertunjukkan, Natya Shastra (400 SM).[1][2&#...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!