ภาษาพม่า

ภาษาพม่า
ภาษาเมียนมา
မြန်မာစာ (ภาษาเขียน);
မြန်မာစာစကား (ภาษาพูด)
ออกเสียง[mjəmàzà];
[mjəmà zəɡá]
ประเทศที่มีการพูดพม่า บังกลาเทศ ไทย
ชาติพันธุ์ชาวพม่า
จำนวนผู้พูด33 ล้านคน  (2007)
ภาษาที่สอง: 10 ล้านคน (ไม่ทราบปี)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรพม่า
อักษรเบรลล์พม่า
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ พม่า
 อาเซียน
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน บังกลาเทศ
ผู้วางระเบียบคณะกรรมการภาษาพม่า
รหัสภาษา
ISO 639-1my
ISO 639-2bur (B)
mya (T)
ISO 639-3myaรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
int – ภาษาอี้นต้า
tvn – กลุ่มภาษาย่อยทวาย
tco – กลุ่มภาษาย่อยตองโย่
rki – ภาษายะไข่
rmz – มะระมา
Linguasphere77-AAA-a
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาพม่า บันทึกในประเทศไต้หวัน

ภาษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (พม่า: မြန်မာဘာသာ, ออกเสียง: [mjəmà bàðà]) เป็นภาษาตระกูลจีน-ทิเบตที่พูดกันในประเทศพม่า มีสถานะเป็นภาษาทางการและภาษาของชาวพม่าซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศ ใน ค.ศ. 2007 มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 33 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้ชิด และมีผู้พูดเป็นภาษาที่สอง 10 ล้านคน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่าและประเทศเพื่อนบ้าน ใน ค.ศ. 2014 ประชากรพม่ามี 36.39 ล้านคน และในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 มีประชากรประมาณ 38.2 ล้านคน

ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ลักษณะน้ำเสียง (รวมถึงทำเนียบภาษา) และเป็นภาษาเน้นพยางค์[2]

การจำแนก

ภาษาพม่าอยู่ในกลุ่มภาษาพม่าใต้ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต โดยภาษาพม่าเป็นภาษานอกกลุ่มภาษาจีนที่มีผู้พูดมากที่สุดในตระกูล[3] ภาษานี้เป็นภาษาลำดับที่ 5 ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบตที่พัฒนาระบบการเขียนของตน ถัดจากอักษรจีน, อักษรปยู, อักษรทิเบต และอักษรตันกุต[4]

ภาษาถิ่นและสำเนียง

ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง ภาษาถิ่นในรัฐยะไข่ยังมีเสียง /ร/ แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียง ระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและกับเพื่อน พระภิกษุชาวพม่ามักพูดกันเองด้วยภาษาบาลี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ

ระบบเสียง

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาพม่ามีดังต่อไปนี้

เสียงพยัญชนะ[5][6]
ริมฝีปาก ฟัน ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก/
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก ก้อง m n ɲ [ŋ]
ไม่ก้อง ɲ̊ [ŋ̊]
หยุด/
กักเสียดแทรก
ก้อง b d ɡ
ธรรมดา p t k ʔ
พ่นลม tʃʰ
เสียดแทรก ก้อง ð ([d̪ð~d̪]) z
ไม่ก้อง θ ([t̪θ~t̪]) s ʃ
พ่นลม h
เปิด ก้อง l j w
ไม่ก้อง ʍ

สระ

หน่วยเสียงสระในภาษาพม่ามีดังต่อไปนี้

เสียงสระ
สระเดี่ยว สระประสมสองเสียง
หน้า กลาง หลัง เสียงหลังเป็นสระหน้า เสียงหลังเป็นสระหลัง
ปิด i u
กึ่งปิด e ə o ei ou
กึ่งเปิด ɛ ɔ
เปิด a ai au

วรรณยุกต์

โดยทั่วไปถือว่าภาษาพม่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง ในตารางข้างล่างนี้ สัญลักษณ์แทนวรรณยุกต์จะแสดงไว้เหนือสระ /a/ ดังตัวอย่าง

วรรณยุกต์ ภาษาพม่า สัทอักษรสากล
(กำกับสระ a)
สัญลักษณ์
(แสดงเหนือสระ a)
การทำงานของเส้นเสียง ความสั้นยาว ความเข้ม ระดับเสียง
ต่ำ နိမ့်သံ [aː˧˧˦] à ปกติ ปกติ ต่ำ ต่ำ มักเลื่อนขึ้นเล็กน้อย[7]
สูง တက်သံ [aː˥˥˦] á บางครั้งมีลมแทรกเล็กน้อย ยาว สูง สูง มักเลื่อนตกก่อนการหยุดเปล่งเสียงพูด[7]
ต่ำลึก သက်သံ [aˀ˥˧] เกร็งหรือต่ำลึก บางครั้งมีการบีบที่เส้นเสียง ปานกลาง สูง สูง มักเลื่อนตกเล็กน้อย[7]
กัก တိုင်သံ [ăʔ˥˧] สระค่อนกลาง มีการปิดเส้นเสียง สั้น สูง สูง (ในคำเดี่ยว; อาจแปรไปตามสัทบริบท)[7]

การถอดเป็นอักษรโรมัน

ภาษาพม่าไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน คำหลายคำสะกดต่างจากที่ออกเสียง เช่น คำว่าพระพุทธเจ้า ออกเสียงว่า pha-ya แต่เขียนว่า bu-ya การถอดภาษาพม่าเป็นอักษรโรมันจึงทำได้ยาก แต่พอจะใช้การถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาบาลีมาเทียบเคียงได้ หรือบางครั้งอาจใช้ระบบเอ็มแอลซีทีเอส

ไวยากรณ์

การเรียงคำเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ยกเว้นคำว่า ga (เป็น) ซึ่งจะวางต่อจากประธาน คำสรรพนามเปลี่ยนตามเพศและสถานะของผู้ฟัง เป็นภาษาพยางค์เดี่ยว แต่มีรากศัพท์และการเติมคำอุปสรรค การเรียงคำในประโยคไม่มีบุพบท สันธานแต่ใช้การเติมปัจจัย

คำคุณศัพท์

คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม เช่น chuo-dé lu (สวยงาม + dé + คน = คนสวย) หรือตามหลังนาม เช่น lu chuo (คนสวย) การเปรียบเทียบใช้คำอุปสรรค à-คำคุณศัพท์-ปัจจัย zon คำคุณศัพท์บอกจำนวน ตามหลังคำนาม

คำกริยา

รากศัพท์ของคำกริยามักเติมปัจจัยอย่างน้อย 1 ตัว เพื่อบอกกาล ความสุภาพ รูปแบบกริยา เป็นต้น ไม่มีการใช้คำสันธาน รูปกริยาไม่เปลี่ยนตามบุคคล จำนวน หรือเพศของประธาน ตัวอย่างเช่น คำกริยา sá (กิน) เป็น

  • sá-dè = กิน ปัจจัย dè ใช้แสดงปัจจุบันกาลหรือใช้เน้นย้ำ
  • sá-gè-dè = กินแล้ว ปัจจัย gè/kè แสดงอดีตแต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ปัจจัย dè ในที่นี้เป็นการเน้นย้ำ
  • sá-nei-dè = กำลังกิน nei เป็นอนุภาคแสดงว่าการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น
  • sá-bi = กำลังกินอยู่ ปัจจัย bi นี้ใช้กับการกระทำที่ประธานเริ่มกระทำและยังไม่เสร็จสิ้น
  • sá-mè = จะกิน อนุภาค mè นี้ใช้แสดงอนาคตและยังไม่เกิดขึ้น
  • sá-daw-mè = จะกิน (ในไม่ช้า) อนุภาค daw ใช้กับเหตุการณ์ที่ใกล้จะเกิดขึ้น

คำนาม

คำนามภาษาพม่าทำให้เป็นพหูพจน์โดยเติมปัจจัย dei (หรือ tei ถ้ามีเสียงตัวสะกด) อาจใช้ปัจจัย myà ที่แปลว่ามากได้ด้วย ตัวอย่างเช่น nwá = วัว nwá- dei = วัวหลายตัว จะไม่ใช้ปัจจัยแสดงพหูพจน์เมื่อมีการแสดงการนับคำนาม เช่น เด็ก 5 คน ใช้ว่า kelei (เด็ก) ngá (5) yauk (คน)

ลักษณนาม

ภาษาพม่ามีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาจีน ภาษาไทย และภาษามลายู คำลักษณนามที่ใช้ทั่วไปได้แก่

  • bá ใช้กับคน (เฉพาะพระสงฆ์และแม่ชี)
  • hli ใช้กับสิ่งที่เป็นชิ้น เช่น ขนมปัง
  • kaung ใช้กับสัตว์
  • ku ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตโดยทั่วไป
  • kwet ใช้กับสิ่งที่บรรจุของเหลวเช่น ถ้วย
  • lóun ใช้กับวัตถุรุปกลม
  • pyá ใช้กับวัตถุแบน
  • sin หรือ zín ใช้กับสิ่งที่มีล้อ เช่นรถ
  • su ใช้กับกลุ่ม
  • ú ใช้กับคน (เป็นทางการ)
  • yauk ใช้กับคน (ไม่เป็นทางการ)

คำสรรพนาม

คำสรรพนามที่เป็นรูปประธานใช้ขึ้นต้นประโยค รูปกรรมจะมีปัจจัย –go ต่อท้าย ตัวอย่างคำสรพนาม เช่น

  • ฉัน เป็นทางการ ผู้ชายใช้ kyaw-naw ผู้หญิงใช้ kyaw-myaไม่เป็นทางการใช้ nga พูดกับพระสงฆ์ใช้ da-ga หรือ da-be-daw (หมายถึง นักเรียน)
  • เธอ ไม่เป็นทางการใช้ nei หรือ min เป็นทางการใช้ a-shin หรือ ka-mya
  • เรา ใช้ nga-do
  • พวกคุณ ใช้ nei-do
  • เขา ใช้ thu
  • พวกเขา ใช้ thu-do
  • มัน หรือ นั่น ใช้ (ai) ha

คำศัพท์

คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ศัพท์เกี่ยวกับศาสนา การศึกษา ปรัชญา รัฐบาลและศิลปะ ได้มาจากภาษาบาลีเป็นส่วนใหญ่ คำยืมจากภาษาอังกฤษมักเกี่ยวกับธุรกิจหรือการปกครองสมัยใหม่ คำยืมจากภาษาฮินดีมักเกี่ยวกับอาหารและการปรุงอาหาร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Burmese ที่ Ethnologue (15th ed., 2005) Closed access
  2. Chang 2003.
  3. Sinley 1993, p. 147.
  4. Bradley 1993, p. 147.
  5. Chang 2003, p. 63.
  6. Watkins 2001.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Wheatley 1987.

อ่านเพิ่ม

บรรณานุกรม

  • Becker, Alton L. (1984). "Biography of a sentence: A Burmese proverb". ใน E. M. Bruner (บ.ก.). Text, play, and story: The construction and reconstruction of self and society. Washington, D.C.: American Ethnological Society. pp. 135–55. ISBN 9780942976052.
  • Bernot, Denise (1980). Le prédicat en birman parlé (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: SELAF. ISBN 978-2-85297-072-4.
  • Cornyn, William Stewart (1944). Outline of Burmese grammar. Baltimore: Linguistic Society of America.
  • Cornyn, William Stewart; D. Haigh Roop (1968). Beginning Burmese. New Haven: Yale University Press.
  • Cooper, Lisa; Beau Cooper; Sigrid Lew (2012). "A phonetic description of Burmese obstruents". 45th International Conference on Sino-Tibetan Languages and Linguistics. Nanyang Technological University, Singapore.
  • Green, Antony D. (2005). "Word, foot, and syllable structure in Burmese". ใน J. Watkins (บ.ก.). Studies in Burmese linguistics. Canberra: Pacific Linguistics. pp. 1–25. ISBN 978-0-85883-559-7.
  • Okell, John (1969). A reference grammar of colloquial Burmese. London: Oxford University Press. ISBN 978-0-7007-1136-9.
  • Roop, D. Haigh (1972). An introduction to the Burmese writing system. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-01528-7.
  • Taw Sein Ko (1924). Elementary handbook of the Burmese language. Rangoon: American Baptist Mission Press.
  • Waxman, Nathan; Aung, Soe Tun (2014). "The Naturalization of Indic Loan-Words into Burmese: Adoption and Lexical Transformation". Journal of Burma Studies. 18 (2): 259–290. doi:10.1353/jbs.2014.0016. S2CID 110774660.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!