พระอินทร์

พระอินทร์
เทพแห่งสายฟ้า ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฝน น้ำตก ธรรมชาติ
พระอินทร์ประทับบนช้างเอราวัณ บนพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ชื่อในอักษรเทวนาครีइन्द्र / इंद
เป็นที่บูชาในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน
ส่วนเกี่ยวข้องเทวราช สวรรคาธิบดี เทพโลกบาล และเทพคณะอาทิตย์
ที่ประทับเวชยันต์วิมาน ในเมืองสุทัสสนะ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เมืองอมราวดี ในอินทรโลก (สวรรค์)
อาวุธวัชระ, ศักรธนู, ศรอินทราสตร์, ดาบปรัญชะ, ขอช้าง, คทา, หอกวาสวีศักติ, จักร, สังข์ ฯลฯ
พาหนะช้างเอราวัณ
ม้าอุจไจศรพ
เวชยันตราชรถ เทียมม้าสีขาว มีพระมาตุลีเป็นสารถี
เป็นที่นับถือใน อินเดีย
 ไทย
 ลาว
 กัมพูชา
 จีน
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระอินทราณี, พระแม่สุธรรมา, พระแม่สุจิตรา, พระแม่สุนันทา, พระแม่สุชาดา, นางอหัลยา, นางกาลอัจนา, พระนางกุนตี, นางอัปสร 25 ล้านตน[1]
บุตร - ธิดาพระชยันต์, พระนางชยันตี, พระนางเทวเสนา, พาลี, อรชุน ฯลฯ
บิดา-มารดา

ตามคติศาสนาฮินดูสมัยฤคเวท ศาสนาเชน และศาสนาพุทธ พระอินทร์ (สันสกฤต: इन्द्र, อินฺทฺร; บาลี: อินฺท) เป็นเทวราช[2] ผู้ปกครองสวรรค์และอภิบาลโลก ต่อมาในสมัยปุราณะ พระอินทร์ก็ถูกลดบทบาทลงและเริ่มมีพฤติกรรมทางเพศมากขึ้น กระทั่งกลายเป็นเทวดาชั้นรองจากมหาเทพตรีมูรติในปัจจุบัน

ในรามเกียรติ์ พระอินทร์กับนางกาลอัจนามีบุตรชื่อพาลี

ศาสนาฮินดู

ความสำคัญ

คัมภีร์ฤคเวทว่า[3]

ในยุคเริ่มแรกตามคัมภีร์ฤคเวท พระอินทร์เป็นประมุขแห่งทวยเทพ เป็นเจ้าแห่งสภาพภูมิอากาศ และเป็นเจ้าแห่งการสงคราม มีอุปนิสัยชอบช่วยเหลือสรรพสัตว์ สมัยแรกมักเรียกพระอินทร์ว่า ศักระ (แปล: ผู้องอาจเป็นเลิศ) ซึ่งขณะนั้นมีจำนวนเทวดาทั้งสิ้นสามสิบสามพระองค์ อันได้แก่ เทพคณะอาทิตย์ 12 พระองค์ เทพคณะวสุ 8 พระองค์ พระรุทระ 11 พระองค์ และพระอัศวิน 2 พระองค์ โดยมีพระอินทร์เป็นประมุขของเทวดาเหล่านี้ คัมภีร์ส่วนใหญ่กล่าวถึงวีรกรรมของพระอินทร์ในการปราบอสูรชื่อวฤตระ (Vritra) และวีรกรรมในการอภิบาลจักรวาลนานัปการ

พระอินทร์ปราบวฤตราสูร

ในฤคเวท วฤตราสูร หรือ อหิ เป็นบุตรของพระแม่ทนุ เป็นอสูรทานพ มีกายเป็นงูใหญ่ หรือ นาค ได้ขึ้นไปลักน้ำบนสวรรค์ และไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำ ทำให้ไม่มีน้ำฝนตกลงสู่โลก พระพิรุณได้ขอให้พระอินทร์ไปปราบ พระอินทร์ได้ใช้กระบองทำลายถ้ำ และ ใช้วัชระผ่าท้องวฤตราสูร ทำให้น้ำฝนตกลงสู่โลก

ต่อมาการนับถือพระอินทร์ทวีขึ้นเรื่อย ๆ พระอินทร์กลายเป็นต้นแบบแห่งกษัตริย์ของทั้งมนุษย์และเทวดาทั้งปวง ในภควัทคีตามีบทอธิบายถึงความสำคัญของพระอินทร์ว่า[3]

สถานะและอำนาจหน้าที่

(ซ้าย) พระอินทร์กายสีทอง มีพันตา 4 กร ทรงช้างเอราวัณ, (ขวา) พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พร้อมกับพระนางศจี และขบวนแห่ของเหล่าเทวดา (ซ้าย) พระอินทร์กายสีทอง มีพันตา 4 กร ทรงช้างเอราวัณ, (ขวา) พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พร้อมกับพระนางศจี และขบวนแห่ของเหล่าเทวดา
(ซ้าย) พระอินทร์กายสีทอง มีพันตา 4 กร ทรงช้างเอราวัณ, (ขวา) พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พร้อมกับพระนางศจี และขบวนแห่ของเหล่าเทวดา

พระอินทร์เป็นเทวดาองค์สำคัญของศาสนาพราหมณ์ โดยเป็นประมุขแห่งทวยเทพ และเป็นประธานเทวสภา มีอำนาจหน้าที่ปกครอง ควบคุม ธำรง รักษา และบำรุงสวรรคโลกและมนุษยโลก ปรากฏมากในปรัมปราของศาสนาพราหมณ์ซึ่งสงครามระหว่างพระอินทร์และความชั่วร้ายบรรดามี

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ พระอินทร์มีบทบาทลดลงโดยเป็นเทวดาชั้นรองและมีหน้าที่รองจากตรีมูรติ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม อำนาจหน้าที่บางประการของพระอินทร์ถูกโอนไปให้ตรีมูรติ เช่น พระอิศวรกลายเป็นประมุขสูงสุดแห่งทวยเทพและเป็นประธานเทวสภา พระนารายณ์มีอำนาจหน้าที่อภิบาลมนุษยโลกแทน กับทั้งพลังอำนาจของพระอินทร์ยังเป็นรองตรีมูรติ เป็นต้นว่า ในคราวที่พระนารายณ์แบ่งภาคลงไปเป็นพระกฤษณะ พระกฤษณะสามารถสำแดงเดชยกเขาบังห่าฝนที่พระอินทร์บันดาลให้เกิดขึ้นมา เพื่อทรมานเหล่าผู้คน เพราะเสื่อมศรัทธาในพระอินทร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พวกพรหมณ์ของไวษณพนิกาย แต่งขึ้นภายหลังแล้วนำไปเพิ่มเติมในเรื่องราวของ พระกฤษณะเจ้าภายหลัง เพื่อลดความเชื่อถือในองค์อินทร์ ทุกศาสนาล้วนมีเทพหรือเทวดาที่วนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนมีอายุขัยดับไปและเกิดใหม่ มีแต่ศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าที่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่อยู่ในรูปพรหมและอรูปพรหม

นอกจากนี้แล้วยังมีความเชื่อว่า พระอินทร์เป็นเทพประจำทิศตะวันออก หรือ บูรพา อีกด้วย[4]

ลักษณะของพระอินทร์

พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (จิตรกรรมลายรดน้ำ วัดสุทศนเทพวราราม)

สมัยฤคเวท พระอินทร์มีร่างกายกำยำ ผม เครา และเล็บสีทอง มีตาทั่วตัว มี 4 กร ในสมัยต่อมา พระอินทร์เริ่มมีหน้าตาและรูปร่างสวยขึ้น โดยมีร่างกายสีแดง สีขาวนวล และกลายเป็นสีเขียวในปัจจุบัน คัมภีร์ฤคเวทมีว่า[5]

พระอินทร์ ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระเทวราช,พระสวรรคาธิบดี,พระวัชรหัสต์,พระวัชรปาณี,พระศักระ,พระเทเวนทร์,พระวฤษัน,พระวฤตรหัน,พระสุเรนทร์,พระโกสีย์,พระสหัสนัยน์,พระสหัสเนตร,พระสหัสรากษะ,พระปุรันทร,พระชิษณุ,พระอมรินทร์,พระศักรินทร์,พระมัฆวาน ฯลฯ

อาวุธประจำกายของพระอินทร์ได้แก่วชิราวุธ คือ วัชระ (สายฟ้า), พระขรรค์ชื่อ "ปรัญชะ," ศักรธนู, บ่วงบาศ, จักร, สังข์ ตะขอ แหตาข่าย ฯลฯ.

พระอินทร์มีพาหนะคือช้างเอราวัณ ซึ่งปรกติเป็นเทวดาองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ประสงค์จะเดินทางไปในที่ใด เทวดาเอราวัณก็จะกลายร่างเป็นช้างพาหนะ

พระอินทร์มีหนึ่งหน้า สี่มือ แต่โดยปรกติแล้วในจิตรกรรมต่าง ๆ มักปรากฏเพียงสองมือ มือหนึ่งถือวชิราวุธ[6]

ที่พักของพระอินทร์เรียก "ไวชยนต์" ตั้งอยู่ในเมืองอมราวดี บนเขาพระสุเมรุ เขาพระสุเมรุนี้เป็นที่ตั้งของชั้นฟ้าหรือสวรรคโลก บรรดาเทวดาในอมราวดีนครไร้ทุกข์ทุกประเภท วันหนึ่ง ๆ ชื่นชมและสมสู่กับอัปสร และเล่นสนุกบรรดามี[7]

ความสัมพันธ์กับเทพองค์อื่น

พระอินทร์ทรงวัชระ

พระอินทร์ วิวาห์กับพระนางศจี บุตรีของท้าวปุโลมัน ราชาทานพ มีบุตรด้วยกัน ได้แก่ พระชยันต์ อุปราชแห่งสวรรค์ พระนางชยันตี ชายาของพระศุกร์ พระนางเทวเสนา ชายาของพระขันทกุมาร

ความเจ้าชู้ของพระอินทร์

กาลอัจนา

ในเรื่องรามเกียรติ์ กาลอัจนา[8] เป็นเด็กสาวที่มีความน่ารักเป็นเลิศซึ่งฤๅษีโคดมสร้างขึ้นมาจากกองไฟเพื่อเป็นคู่สมรสของตน เนื่องจากได้รับคำสบประมาทจากนกกระจาบผัวเมียที่เกาะอยู่ข้างอาศรมว่าฤๅษีมีบาปเพราะไร้ผู้สืบสกุล ฤๅษีโคดมและกาลอัจนามีธิดาด้วยกันหนึ่งคนชื่อว่า สวาหะ

ภายหลังจากที่พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์ พระอินทร์คิดสนับสนุนพระราม และเผอิญมองลงมาจากวิมานเห็นกาลอัจนามีความน่ารักจับใจก็เกิดรักขึ้น เหาะลงมาหาในระหว่างที่ฤๅษีออกจากอาศรมเข้าป่าไปหาอาหาร ฝ่ายกาลอัจนาเห็นพระอินทร์รูปร่างหน้าตาสะสวยองอาจก็เกิดรักเช่นเดียวกัน ทั้งสองลักลอบได้เสียกันในคราวนั้นโดยไม่ทราบว่านางสวาหะแอบดูอยู่ภายนอก กาลอัจนาตั้งท้องกับพระอินทร์ ให้กำเนิดบุตรชายมีร่างกายสีเขียว ฤๅษีโคดมซึ่งไม่ทราบความจริงก็คิดว่าเป็นลูกของตน ให้ชื่อว่า กากาศ

ต่อมาเมื่อคราวที่ฤๅษีออกจากอาศรมเข้าป่าไปอีกครั้ง กาลอัจนานั่งอยู่ชานอาศรมมองขึ้นไปเห็นพระอาทิตย์มีรูปร่างหน้าตางดงามผึ่งผายก็หลงรัก ฝ่ายพระอาทิตย์ซึ่งรู้ว่ากาลอัจนาหลงรักก็เหาะลงมาสมสู่ด้วย โดยไม่ทราบว่านางสวาหะแอบดูอยู่ภายนอก กาลอัจนาตั้งท้องกับพระอาทิตย์ ให้กำเนิดบุตรชายมีร่างกายสีแดง ฤๅษีโคดมซึ่งไม่ทราบความจริงก็คิดว่าเป็นลูกของตน ให้ชื่อว่า สุครีพ

ต่อมานางสวาหะน้อยใจที่ฤๅษีโคดมเอาใจใส่บุตรชายทั้งสองมากกว่าตน จึงตัดพ้อเชิงว่ารักลูกคนอื่นมากกว่าลูกตน ฤๅษีโคดมเกิดสงสัยขึ้น เสี่ยงอธิษฐานโยนบุตรทั้งสามลงไปในน้ำ ผู้ใดเป็นบุตรที่แท้ที่จริงขอให้สามารถว่ายน้ำกลับมาหาตนได้โดยปลอดภัย ผู้ใดไม่ใช่ขอให้กลายเป็นลิง ซึ่งมีแต่นางสวาหะว่ายกลับมาหา ส่วนกากาศและสุครีพกลายเป็นลิงวิ่งเข้าป่าอีกฝั่งหายไป

ครั้นกลับถึงอาศรม ฤๅษีโคดมเดือดดาลยิ่งนัก กล่าวผรุสวาทแก่กาลอัจนา แล้วสาปให้กลายเป็นหินไปเสียจนกว่าพระรามจะผ่านมาและถอนคำสาปให้กลายเป็นคนดังเดิม คำสาปมีว่า

ก่อนจะกลายร่างเป็นก้อนหินนั้น กาลอัจฉาเห็นว่านางสวาหะปากดี จึงสาปให้ไปยืนขาเดียวอ้าปากกินลมอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล จนกว่าจะมีบุตร ต่อมาเมื่อพระรามและกองทัพผ่านมาบริเวณนี้ ก็ได้ถอนคำสาปให้กาลอัจฉากลายเป็นคนดังเดิม

อหัลยา

นางอหัลยา[9][10] (สันสกฤต: अहल्या, Ahalyā; แปล: ผู้หญิงสมบูรณ์แบบ[11]) เป็นเด็กสาวที่พระพรหมสร้างขึ้นด้วยเวทมนตร์ มีความน่ารักเป็นเลิศ บรรดาเทวดาชายทั้งปวงต่างใคร่ได้มาครอง พระพรหมตั้งเงื่อนไขไว้ว่าจะมอบอหลยาให้แก่บุคคลใดก็ตามที่สามารถท่องทั้งสามโลกได้ทั่วถึงเป็นบุคคลแรก พระอินทร์จึงเร่งเดินทางไปทั่วสามโลกเพื่อการนี้

ด้วยพลังอำนาจแห่งเทพระดับพระอินทร์จึงใช้เวลาพริบตาเดียวในการดังกล่าว ในขณะที่มาขอรับนางอหัลยาไปนั้น ฤๅษีนารทซึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุมของพระพรหมด้วยท้วงว่า ความจริงแล้วยังมีมหาฤๅษีชื่อโคตมะ (เคาตม มหาฤษิ) เคยเดินทางไปตลอดสามโลกก่อนพระอินทร์เสียอีก สมควรมอบนางอหัลยาให้แก่มหาฤๅษีโคตมะ พระพรหมเห็นชอบด้วยก็ดำเนินการตามนั้น

นางอหัลยาซึ่งหลงใหลในความงามของพระอินทร์จึงผิดหวัง และลักลอบร่วมรักกับพระอินทร์อยู่สม่ำเสมอ กระทั่งครั้งหนึ่งมหาฤๅษีจับได้คาหนังคาเขา จึงสาปให้มีอวัยวะเพศหญิงผุดขึ้นเต็มร่างกายพระอินทร์ พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสโยนี

ต่อมามหาฤๅษีโคตมะบรรเทาคำสาปให้อวัยวะเพศหญิงกลายเป็นดวงตาเสีย พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสนัยน์ อันแปลว่า ผู้มีดวงตานับพัน[12]

ศาสนาพุทธ

ในเอกสารทางพุทธศาสนาและศาสนาเชน มักเรียกพระอินทร์โดยทั่วไปในชื่อท้าวสักกะหรือท้าวศักระ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะนั้นในบางครั้งมักถูกเรียกด้วยชื่อ "อินทระ" หรือในชื่อที่เรียกขานทั่วไปอีกชื่อว่า "เทวานัม อินทระ" อันหมายถึง "จอมเทพ" หรือ "หัวหน้าแห่งเทพทั้งหลาย" พระอินทร์เป็นเทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา และเป็นพระโสดาบัน ในอดีตชาติ พระอินทร์ เกิดเป็นมฆมานพ เขาและสหายอีก 32 คน ได้ร่วมกันทำทานและสร้างศาลาที่พัก สระน้ำ และสวนสาธารณะ ไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เมื่อตายไป มฆมานพและสหาย 32 คน ได้ไปเกิดเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ท้าวสักกะเทวราชดีดพิณสามสายเพื่อเตือนสติเจ้าชายสิทธัตถะให้เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา

ในพม่า

เทวรูปนะตะจ้ามี่นที่พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง

ในพม่า ที่มีความเชื่อพื้นเมืองเรื่องของนะ ซึ่งมีลักษณะกึ่งผีกึ่งเทพารักษ์ มีกันอยู่หลายระดับทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติหรือนะหลวง ที่มีอยู่ทั้งหมด 37 ตน พระอินทร์ได้รับการยกให้เป็นประธานของนะหลวงทั้งหมด โดยมีชื่อเรียกว่า ตะจ้ามี่น (พม่า: သိကြားမင်း, ออกเสียง: [ðə.d͡ʑá.mɪ́ɰ̃]; จากภาษาสันสกฤต ၐကြ ศกฺร) การที่พระอินทร์ได้กลายเป็นประธานของนะหลวงนั้นเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธาแห่งราชวงศ์พุกามในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่นำเอาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากอาณาจักรสุธรรมวดีของชาวมอญมาเผยแพร่ให้แก่ชาวพม่า โดยนำมาผสมกับความเชื่อเรื่องนะซึ่งเป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มาก่อนหน้านี้[13]

ศาสนาเชน

ศาสนาเชน พระอินทร์เป็นที่รู้จักในชื่อ "เสาธรรเมนทระ" (Saudharmendra) และคอยรับใช้พระตีรถังกร (ผู้รู้แจ้งในธรรมในศาสนาเชน) อยู่เป็นนิจ เรื่องราวของพระอินทร์ส่วนมากปรากฏโดยทั่วไปในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสดามหาวีระ

อ้างอิง

  1. "พระอินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-15.
  2. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
  3. 3.0 3.1 "Indra and Shiva" by KOENRAAD ELST". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-15.
  4. "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง". บ้านจอมยุทธ์. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  5. Hymn XXX, P. 407 The Hymns of the Atharvaveda
  6. (Masson-Oursel and Morin, 326).
  7. Rig Veda: Rig-Veda, Book 3: HYMN XXX. Indra
  8. "ประหวัดหนุมาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-15.
  9. นางกาลอัจนา[ลิงก์เสีย]
  10. ทนต์ (นามแฝง). เทวาลัย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทพริ้นติ้ง, 2535.
  11. "Ahalya" The Concise Oxford Dictionary of World Religions. John Bowker (Ed.) Oxford University Press, 2000.
  12. Dictionary of Hindu Lore and Legend (ISBN 0-500-51088-1) by Anna Dhallapiccola
  13. "Hla Tha Mein. "Thirty-Seven Nats".Retrieved 2006-07-03". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-24. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือและบทความ

  • ชาตรี ประกิตนนทการ. (2552, เมษายน). คติพระอินทร์สมัยรัชกาลที่ 1: อุดมการณ์รัฐ พุทธศาสนา และสถาปัตยกรรม. ศิลปวัฒนธรรม. 30(6): 79-103.
  • วรพร ภู่พงศ์พันธุ์. (2565). ทิพภาวะของกษัตริย์ในสมัยอยุธยา: กษัตริย์ในฐานะพระอินทร์. ใน ถักทอความคิด มิตรและศิษย์มอบให้ วินัย พงศ์ศรีเพียร. บรรณาธิการโดย ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, อรพินท์ คำสอน และธิษณา วีรเกียรติสุนทร. หน้า 142-162. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เว็บไซด์

Read other articles:

Seri Pahlawan Gagah PerkasaDianugerahkan oleh Yang di-Pertuan AgongTipeTanda kehormatanDibentuk29 Juli 1960Negara MalaysiaPitaKuning dengan pinggir merahKelayakanRakyat MalaysiaDianugerahkan kepadaKeberanian tertinggi dalam keadaan yang luar biasa dan sangat berbahayaStatusMasih dianugerahkanPenguasaYang di-Pertuan AgongGelar akhiranS.P.StatistikPenganugerahan pertama1963[1]Penganugerahan terakhir2014Jumlah penerima30PrioritasTingkat lebih tinggitidak ada[2]Tingkat lebih ...

 

Artikel ini sebatang kara, artinya tidak ada artikel lain yang memiliki pranala balik ke halaman ini.Bantulah menambah pranala ke artikel ini dari artikel yang berhubungan atau coba peralatan pencari pranala.Tag ini diberikan pada Oktober 2022. Parlemen Negara Indonesia Timur adalah Parlemen yang dibentuk dan hadir ketika Negara Indonesia berbentuk serikat, tepatnya pada tahun 1946. Parlemen Negara Indonesia Timur terbentuk setelah dilaksanakannya Konferensi Malino dan Konferensi Denpasar. Ko...

 

Tendency for particles in suspension to settle down Part of a series onSediments By origin Terrigenous (lithogenous) Biogenous Cosmogenous Hydrogenous By texture Roundness Sorting Grain size boulder cobble gravel pebble granule sand silt clay colloid Other oolite scree till By composition Manganese nodules Oolitic aragonite sand Tektites By process Sedimentation Sedimentary budget Sediment transport coastal Weathering Erosion Aeolian (windborne) transport Biomineralization Bioturbation Compac...

Pour les articles homonymes, voir HEC. HEC LausanneHistoireFondation 1911StatutType Faculté de business & économieNom officiel École des hautes études commercialesRégime linguistique Français et anglaisSite web www.unil.ch/hecChiffres-clésÉtudiants 3 000[1] étudiants.LocalisationPays SuisseCampus Lausanne, ChamberonneVille Lausannemodifier - modifier le code - modifier Wikidata La Faculté des hautes études commerciales de l'université de Lausanne ou HEC Lausanne form...

 

Human settlement in India 12°36′58″N 79°45′11″E / 12.616°N 79.753°E / 12.616; 79.753 Uthiramerur Taluk is a taluk in Kanchipuram district of the Indian state of Tamil Nadu. The headquarters of the taluk is the town of Uthiramerur. Demographics According to the 2011 census, the taluk of Uthiramerur had a population of 145,376 with 72,828 males and 72,548 females. There were 996 women for every 1000 men. The taluk had a literacy rate of 67.75. Child populatio...

 

Beach in Kerala, India Entrance to the Snehatheeram Beach Snehatheeram Beach or Love Shore is beach in Thalikulam of Thrissur District in Kerala State of India. It lies on the coast of Arabian Sea and attracts domestic tourists in every season. The beach was selected as the best beach tourism destination by the Department of Tourism (Kerala) during the year 2010. The beach is maintained by the Department of Tourism (Kerala).[1] Facilities There is children's park located near to the b...

Clothing style associated with people of the Punjab region Punjabi clothing of Lahore, 1890s Part of a series onPunjabis History Folklore Language Dialects Punjab Punjabis Nationalism DiasporaAsia Afghanistan Europe United Kingdom North America United States Canada Oceania Australia New Zealand Culture Clothing Cuisine Dance Festivals (India • Pakistan) Literature Media Music Religion (Folk religion) Sport Television Regions Majha Malwa Doaba Puadh Bagar Pothwar Derajat Bhatiore Bhattiana C...

 

Multinational law firm Freshfields Bruckhaus Deringer LLPHeadquarters100 BishopsgateLondon, United KingdomNo. of offices28No. of lawyers Partners: 427 Associates: 1,611[1] No. of employees4,959Major practice areas Banking & Finance Capital Markets Competition/Antitrust Corporate/M&A International Arbitration Litigation Private Equity Projects & Energy Real Estate Tax Key people Georgia Dawson(Senior Partner) [2]Revenue £1.472 billion ...

 

Fulham Baths Fulham Baths is a Grade II listed building at 368 North End Road, Fulham, London SW6.[1] It was built in 1902 by the architect E. Deighton Pearson.[1] It is now the Dance Attic Rehearsal Studios.[2] References ^ a b Historic England, Fulham Baths (1192468), National Heritage List for England, retrieved 4 September 2014 ^ Home: Dance Attic Rehearsal Studios | Home, accessdate: 04/09/2014 Wikimedia Commons has media related to Fulham Baths. 51°28′52″N 0...

Human settlement in GreeceLakki, Leroshuman settlementLakki, LerosCoordinates: 37°07′54″N 26°51′07″E / 37.1317°N 26.8519°E / 37.1317; 26.8519 CountryGreecePopulation (2011) • Total2,058 Lakki (Greek: Λακκί), population 1990, also known by its former name Portolago (Πόρτο Λάγο), is a community on the Greek island of Leros, in the Dodecanese, at the head of Lakki Bay. The area was built up as the main base of the Italian Royal N...

 

Artikel ini tidak memiliki referensi atau sumber tepercaya sehingga isinya tidak bisa dipastikan. Tolong bantu perbaiki artikel ini dengan menambahkan referensi yang layak. Tulisan tanpa sumber dapat dipertanyakan dan dihapus sewaktu-waktu.Cari sumber: Budaya Filipina – berita · surat kabar · buku · cendekiawan · JSTOR Budaya Filipina adalah seluruh kebudayaan yang ada di Filipina. Filipina memiliki beragam warisan budaya seni tradisi dan bahasa yang d...

 

Чемпионат России по лёгкой атлетике 2002 Город-организатор  Чебоксары Участников более 800 Медалей 42 Открытие 11 июля 2002 Закрытие 14 июля 2002 Дата 2002 Стадион «Олимпийский» Тула 2001Тула 2003 Чемпионат России по лёгкой атлетике 2002 года проводился 11—14 июля в Чебоксарах на Респуб...

Combined military forces of Bolivia This article was imported from the CIA's World Factbook. Please help rewrite this article. Armed Forces of BoliviaFuerzas Armadas de BoliviaMottoSubordinacion y Constancia, ¡Viva Bolivia! (Subordination and Steadfastness. Long Live Bolivia!)Founded7 August 1826; 197 years ago (1826-08-07)Service branches Bolivian Army Bolivian Naval Force Bolivian Air ForceLeadershipCaptain General of the Armed ForcesLuis Arce (President of...

 

Ophthalmology institute in Odesa, Ukraine The Filatov Institute of Eye Diseases and Tissue Therapy of the National Academy of Medical Sciences of UkraineДержавна установа Інститут очних хвороб і тканинної терапії ім. В.П.Філатова Національної академії медичних наук України.MottoQuilibet debet, solem videre!Motto in EnglishEveryone should see the sun!Established1936RectorNatalia Volodymy...

 

Corregimiento in Panamá Oeste, PanamaLa TrinidadCorregimientoLa TrinidadCoordinates: 8°07′41″N 81°14′13″W / 8.128°N 81.237°W / 8.128; -81.237Country PanamaProvincePanamá OesteDistrictCapiraArea[1] • Land107 km2 (41 sq mi)Population (2010)[1] • Total2,572 • Density24/km2 (60/sq mi) Population density calculated based on land area.Time zoneUTC−5 (EST) La Trinidad is a c...

Ивано-Франковский богословский университет имени Иоанна Златоуста(ИФБУ)укр. Івано-Франківський богословський унiверситет iменi Iвана Золотоустого Прежнее название Ивано-Франковский теологически-катехитический духовный институтИвано-Франковская теологическая академ...

 

Aeropuerto Internacional de Ciudad del Cabo Kaapstad Internasionale LughaweCape Town International Airport IATA: CPT OACI: FACT FAA: LocalizaciónUbicación Ciudad del Cabo, SudáfricaElevación 46Sirve a Ciudad del Cabo, SudáfricaDetalles del aeropuertoTipo Civil y militarOperador Airports Company South AfricaPistas DirecciónLargoSuperficie01/193.201x61Asfalto16/341.701x46AsfaltoMapa CPT / FACT Ubicación en SudáfricaSitio web http://www.airports.co.za/airports/cape-town-international...

 

QuanrongInformación históricaPeriodo 1046–221 a. C.Información geográficaÁrea cultural Wēiróng en Jingning (provincia Gansu) Información antropológicaIdioma Rama tibeto-birmana de la familia lingüística sino-tibetanaAsentamientos importantes [editar datos en Wikidata] Los quanrong (en chino, 犬 戎; pinyin, Quǎn Róng), también conocidos como los dog rong, fueron un grupo étnico activo en el noroeste de China en la época Zhou (1046-221 a....

Imperial Patrianovist GuardGuarda Imperial PatrianovistaPatrianovist red arrow crossAlso known asCamisas BrancasLeaders Arlindo Veiga dos Santos Carlos Guedes[1] Foundation1932Dissolved1937Country BrazilAllegianceHouse of Orleans-BraganzaMotivesDefend Brazil from CommunismHeadquartersSão PauloIdeologyPatrianovismAlliesIntegralistsOpponentsCommunists and RepublicansFlagColorsWhite, and red   The Imperial Patrianovist Guard (Portuguese: Guard Imperial Patrianovista, GUIP...

 

2022  TV series or program Janet JacksonPromotional posterGenreDocumentaryDirected byBenjamin HirschStarringJanet JacksonCountry of origin United Kingdom United States Original languageEnglishNo. of seasons1No. of episodes4ProductionExecutive producers Janet Jackson Randy Jackson Kevin Macdonald Rick Murray Cinematography Marcus Durian Allen Ho Nick Avery Running time44 minutesProduction companyWorkerbeeOriginal releaseNetwork A&E and Lifetime (United States) Sky Documentaries a...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!