การบูชาในเรือน ในภาพคือ "สรัสวดีบูชา " (การบูชาพระสรัสวดี )
บูชา หรือ ปูชา (สันสกฤต : pūjā; เทวนาครี : पूजा) คือพิธีกรรมสวดภาวนาของศาสนาฮินดู เพื่อถวายการบูชาแด่เทพฮินดู , รับขวัญและให้การต้อนรับแขกผู้มาเยือน หรือ เพื่อเฉลิมฉลองในเชิงศาสนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิต[ 1] [ 2] บูชา เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า "ให้เกียรติ" หรือ "แสดงความเคารพ"[ 3] บูชาเป็นพิธีกรรมจำเป็นในฮินดู ประกอบด้วยการถวายบุปผชาติ (ดอกไม้) น้ำสะอาดและอาหาร ต่อผู้ที่จะรับการบูชา ทั้งองค์เทพ บุคคล หรือวิญญาณผู้ล่วงลับ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับองค์เทพ หรือกับคุรุ เรียกว่า ทรรศน แปลว่า การมองเห็น (seeing)[ 4]
บูชา สามารถพบได้ในพระพุทธศาสนา (ดูเพิ่มที่: บูชาในพระพุทธศาสนา ) และในศาสนาเชน (ดูเพิ่มที่: ทราวยบูชา ; Dravya Puja)
บูชาสามารถประกอบได้หลากหลายโอกาส และสถานที่ ตั้งแต่ที่เรือนของผู้ประกอบพิธีกรรมไปจนถึงในโบสถ์พราหมณ์ และในเทศกาลต่าง ๆ บูชายังใช้จัดเพื่อฉลองเหตุการณ์สำคัญของชีวิต เช่น การคลอดบุตร, พิธีมงคลสมรส และการขึ้นบ้านใหม่หรือเปลี่ยนอาชีพ[ 5] ส่วนบูชาที่จัดเพื่อบูชาเทพเช่น ทุรคาบูชา ลักษมีบูชา เป็นต้น[ 6] บูชาไม่ใช่พิธี "บังคับ" ในศาสนา สำหรับศาสนิกชนบางกลุ่มอาจเป็นพิธีประจำ, นาน ๆ ครั้ง, ประจำปี หรือไม่เคยประกอบเลยก็มี เช่นเดียวกับในโบสถ์พราหมณ์ที่บางแห่งมีการจัดเป็นประจำจนไปถึงแทบจะไม่เคยจัดเลย[ 7] [ 8]
บูชาแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ นิคมบูชา (Nigama Puja) เป็นบูชาที่ไม่ต้องใช้เทวรูปหรือรูปเคารพ ของเทพเจ้า เช่น ในการบูชาพระอัคนี เทพแห่งไฟ จะใช้การจุดไฟแทนการใช้ภาพขององค์เทพ ตรงข้ามกับใน อาคมบูชา (Āgama Puja) ซึ่งต้องมีรูปเคารพ การบูชานั้นสามารถประกอบด้วยตัวศาสนิกชนเองผ่านการสวดบทสวดและเพลงสวด อาจมีการจุดตะเกียง (diya) และธูป ประกอบไปด้วย ในขณะที่บางโอกาสอาจมีนักบวช (บูชารี ) มาช่วยสวดในกรณีที่เป็นบทและพิธีกรรมที่ซับซ้อน เครื่องเสวยเช่นอาหาร ผลไม้ และขนมหวาน สำหรับพิธีที่ประกอบในโบสถ์พราหมณ์หรือมีบูชารีประกอบพิธีกรรม หลังเสร็จการบูชาแล้วจะกลายเป็น "ประสาท " (Prasada)[ 9] ซึ่งจะถูกนำมาแจกจ่ายระหว่างผู้ที่มาร่วมการบูชา[ 7] [ 8]
ทั้งนิคมบูชาและอาคมบูชานั้นพบโดยทั่วไปในอินเดีย ในขณะที่ศาสนาฮินดูแบบบาหลี ที่อินโดนีเซีย พบแบบอาคมบูชาเป็นหลัก ทั้งในเรือนและในวัด (ปูรา ) การบูชานี้จะเรียกว่า "ฮียัง " (Hyang) หรือ "เซ็มบาฮียัง" (Sembahyang)[ 10] [ 11]
องค์ประกอบ
การประกอบพิธีบูชานั้นแตกต่าง กันไปตามท้องที่และลัทธิ นักภารตวิทยา Jan Gonda สรุปขั้นตอน 16 ขั้นสำหรับพิธีบูชาเต็มรูปแบบ ที่พบในบูชาต่าง ๆ เรียกว่า โศทษะอุปัชรา (shodasha upachara) ได้แก่[ 12]
อวาหนะ (Avahana) - อัญเชิญองค์เทพมาจุติ
อาสนะ (Asana) - อัญเชิญองค์เทพจุติบนที่นั่ง (อาสนะ) ที่จัดไว้
ปาทยะ (Padya) - การชำระล้างพระบาท (เท้า) ขององค์เทพ ในกรณีที่มีเทวรูปจะใช้การรดน้ำสะอาดลงบนเท้าหรือฐานของเทวรูป
ใช้น้ำชำระล้างองค์เทพ ในกรณีที่มีเทวรูป มีทั้งการใช้ผ้าชุบย้ำเช็ด รดน้ำ พรมน้ำ เป็นต้น
อารคยะ (Arghya) - ถวายน้ำดื่มแด่องค์เทพ หรือบ้างว่าเป็นน้ำล้างพระโอษฐ์ (ปาก)
สนานะ (Snana) หรือ อภิเษก (abhisekha) - ถวายน้ำเพื่อการสรงน้ำ
วัสตระ (Vastra) - การถวายผ้า เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ ในกรณีที่มีเทวรูปอาจนำผ้ามาพันหรือนำเครื่องประดับมาตกแต่งเทวรูป
อุปวีตะ (Upaveeda) หรือ มงคลสูตร (Mangalsutra) - การพันสายสิญจน์
อนุเลปนา (Anulepana) หรือ คันธา (gandha) - การประพรมหรือละเลงน้ำหอม เครื่องหอม หรือไม้หอม เช่น ผงSandalwood บด หรือ kumkum
ปุษปาญชลี (Pushpanjali) หรือ บุษบา (Pushpa) - การถวายดอกไม้ หรือพวงมาลัย คล้องพระศอ (คอ) ของเทวรูป
ธูป (Dhupa) - การจุดธูป
ทีป (Dipa) หรือ อารตี (Aarti) - การนำตะเกียงจุดเพลิงหรือประทีปมาปัดแกว่งโดยรอบองค์เทวรูป
ไนเวทยะ (Naivedya) - การถวายภัตตาหาร ผลไม้ ของหวาน (เรียกรวมว่า "โภคะ" - Bhoga)
นมัสการ (Namaskara) หรือ ปรนัม (pranama) - การกราบราบลงไปกับพื้นเพื่อถวายความเคารพ
ปริกรรม (Parikrama) หรือ ปรทักษินา (Pradakshina) - การ Circumambulation รอบองค์เทพ
หยิบใบไม้ขึ้นมา
ในบางครั้งมีการเพิ่มขั้นตอนอื่น ๆ ด้วย เช่น
ธยานะ (Dhyana) - คือการนั่งสมาธิ เป็นการจุติองค์เทพในจิตใจของผู้ประกอบการบูชา
Acamanıya - น้ำสำหรับซดเบา ๆ
Aabaran - การประดับตกแต่งเทวรูป
ฉัตร (Chatra) - การถวายร่ม (ฉัตร)
ฉมารา (Chamara) - การถวายการพัดหรือ fly-whisk ที่เรียกว่า "ฉมารา"
Visarjana หรือ Udvasana คือการเคลื่อนย้ายองค์เทพจากจุดหนึ่งไปอีกจุด
นอกเหนือจากพิธีกรรม 16 ขั้นนี้แล้ว ยังพบพิธีกรรมรูปแบบอื่น ๆ อีก เช่น
ปัญจอุปชรา (Pancha upachara) คือมีห้าขั้น
ฉตุศาสตีอุปชรา (Chatushasti upachara) คือมีหกสิบสี่ขั้น[ 13]
อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบ ขั้นตอน โครงสร้างของการบูชา แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ภูมิภาค วัดที่จัด หรือแม้แต่บุคคล[ 14]
อ้างอิง
↑ James Lochtefeld, The Illustrated Encyclopedia of Hinduism , Vol. 2, ISBN 0-8239-2287-1 , pp. 529–530.
↑ Paul Courtright, in Gods of Flesh/Gods of Stone (Joanne Punzo Waghorne, Norman Cutler, and Vasudha Narayanan, eds), ISBN 978-0231107778 , Columbia University Press, see Chapter 2.
↑ पूजा Sanskrit Dictionary , Germany (2009)
↑ Religions in the Modern World, 3rd Edition, David Smith, p. 45
↑ Lindsay Jones, บ.ก. (2005). Gale Encyclopedia of Religion . Vol. 11. Thompson UGale. pp. 7493–7495. ISBN 978-0-02-865980-0 .
↑ Flood, Gavin D. (2002). The Blackwell Companion to Hinduism . Wiley-Blackwell. ISBN 978-0-631-21535-6 .
↑ 7.0 7.1 Puja , Encyclopædia Britannica .
↑ 8.0 8.1 Hiro G. Badlani (2008), Hinduism: A path of ancient wisdom , ISBN 978-0595436361 , pp. 315-318.
↑ "Prasada" , Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2023-01-28, สืบค้นเมื่อ 2023-02-04
↑ How Balinese Worship their God The Bali Times (January 4, 2008), Pedoman Sembahyang Bali Indonesia (2009).
↑ Yves Bonnefoy (ed.), Asian Mythologies , ISBN 978-0226064567 , University of Chicago Press, pages 161–162
↑ Fuller, C. J. (2004), The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India (PDF) , Princeton, NJ: Princeton University Press, p. 67, ISBN 978-0-691-12048-5 , คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2013-12-26
↑ "upacharas" . salagram.net . 2004. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012 . Sixty four Upacharas
↑ Stella Kramrisch (1976), The Hindu Temple , Vols 1 and 2, Motilal Banarsidass; see also her publications on Shiva Temple pujas, Princeton University Press.