นวราตรี |
---|
|
ชื่ออื่น | - นวรถ
- เนาราตรี
- นวราถรี
- นวรัตระ
- นราเต
- นวรตัน
- เนารตะ
- เนาราต
- ทุรคาบูชา
|
---|
จัดขึ้นโดย | ชาวฮินดู |
---|
ประเภท | ศาสนาฮินดู |
---|
การเฉลิมฉลอง | 10 วัน (9 คืน) |
---|
การถือปฏิบัติ |
- ตั้งเวที
- สวดภาวนา
- การแสดง, นาฏศิลป์
- ถือพรต
- พิธีบูชา
- นำมูรติจุ่มลงน้ำ
- สวดภาวนารอบกองไฟ
|
---|
วันที่ | 9-10 วัน |
---|
วันที่ในปี 2024 | 3 ตุลาคม (พฤ.) - 12 ตุลาคม (ส.) |
---|
ความถี่ | รายปี |
---|
ส่วนเกี่ยวข้อง | วิชัยทัศมี, ดาเชน, ทุรคาบูชา |
---|
นวราตรี (อักษรโรมัน: Navaratri) เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูรายปีที่เฉลิมฉลองเทิดเกียรติแด่พระแม่ทุรคา กินระยะเวลาเก้าคืนในเดือนอัศวินตามปฏิทินฮินดู (กันยายน-ตุลาคม) ที่มาในการเฉลิมฉลองมีแตกต่างกันไปในแต่ละภาคส่วนของวัฒนธรรมฮินดูในอนุทวีปอินเดีย[3] คำว่า นวราตรี มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า นว แปลว่าเก้า และ ราตรี แปลว่าค่ำคืน จึงแปลรวมกันว่า "เก้าค่ำคืน"
ในแถบตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย นวราตรีมีความหมายเดียวกับทุรคาบูชา[4] ในฐานะการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระทุรคาเหนืออสูรควาย มหิษาสูร เพื่อกู้คืนมาซึ่งธรรมะ[3] ส่วนในแถบอินเดียใต้จะเฉลิมฉลองชัยชนะของพระทุรคาหรือพระกาลี ในรัฐคุชราต นวราตรีจะประกอบด้วยการประกอบอารตี ตามด้วยนาฏกรรม ครรพ์ ในทุกกรณีของการฉลองนวราตรี มีรูปแบบร่วมกันคือชัยชนะของความดีเหนือความชั่วร้าย โดยมีรากฐานมาจากมหากาพย์หรือตำนาน เช่น เทวีมหัตมยะ
อ้างอิง