พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย ร่างขึ้นโดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร โดยในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับพระนคร และในวันเดียวกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาสมาชิกคณะราษฎร นอกจากนี้คณะราษฎรยังถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามด้วย แต่พระองค์ทรงขอตรวจร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุ่งขึ้น โดยทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า "ชั่วคราว" โดยรับสั่งว่าให้ใช้ไปพลางก่อนแล้วจึงตั้งกรรมการและให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้เป็นรัฐธรรมนูญถาวรขึ้น
สาระสำคัญ
1. รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีทั้งหมด 39 มาตรา. มีการจัดวางโครงสร้างอำนาจ ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ อำนาจของกษัตริย์, อำนาจของสภาผู้แทนราษฎร, อำนาจของคณะกรรมการราษฎร, และ อำนาจศาล.
2. อำนาจของกษัตริย์ คือ เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัติ และการวินิจฉัยคดีของศาล จะกระทำในนามของกษัตริย์. แต่ถ้ากษัตริย์ไม่สามารถจะทำหน้าที่ได้ หรือ ไม่อยู่ในพระนคร ให้เป็นอำนาจของ คณะกรรมการราษฎร ที่จะทำหน้าที่แทน. การกระทำใดๆของกษัตริย์ ต้องได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎร และมีกรรมการราษฎร ผู้หนึ่งผู้ใด ลงนามด้วย.
3. อำนาจของสภาผู้แทนราษฎร คือ มีอำนาจออกพระราชบัญญัติ ซึ่งหากกษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้แล้ว เป็นอันบังคับใช้ได้ แต่หากกษัตริย์ มิได้ประกาศใช้พระราชบัญญัตินั้นใน 7 วัน และสภาผู้แทนราษฎร ลงมติยืนตามมติเดิม ให้ถือว่าพระราชบัญญัตินั้น ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้. อนึ่ง สภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจถอดถอน กรรมการราษฎร หรือ พนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใด ก็ได้.
4. นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไปจนกว่า จำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาเขต ได้สอบไล่ระดับประถมศึกษา เกินกว่าครึ่ง และไม่เกิน10 ปี จึงจะมีสมาชิกสภาผู้แทน ที่ราษฎร ได้เลือกตั้งขึ้นเอง แต่ในระยะเวลา 6 เดือน หรือ จนกว่าการจัดประเทศ เป็นปกติเรียบร้อย ให้ "คณะราษฎร" จัดตั้ง "ผู้แทนราษฎรชั่วคราว" จำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภา หลังจากนั้น ให้ราษฎรเลือกผู้แทน จังหวัดละ1 คน เว้นแต่ จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้มีผู้แทน เพิ่มขึ้นอีก 1 คน และถ้ามีเศษเกินครึ่ง ก็ให้มีผู้แทน เพิ่มขึ้นอีก 1. ทั้งนี้ ให้ "สมาชิกสภา" ที่เป็นอยู่ก่อนหน้า 70 คนนั้น เป็น "สมาชิกประเภทที่ 2" และให้มีจำนวนเท่ากับ "สมาชิกสภาที่ราษฎรได้เลือกมา" กล่าวคือถ้าจำนวนเกิน ให้เลือกกันเอง ว่าผู้ใดจะได้อยู่ต่อ แต่ถ้าจำนวนขาด ให้เลือกบุคคลใดๆเข้าแทนจนครบ. ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งโดยราษฎร เพื่อเข้ามาเป็น "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1" ต้อง สอบไล่วิชาการเมืองตามหลักสูตรที่สภา (700 คน) จะได้ตั้งขึ้น, มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์, ไม่เป็นผู้ไร้ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ, ไม่ถูกศาลเพิกถอนสิทธิในการรับเลือก, มีสัญชาติไทย, และได้รับการเห็นชอบจาก "สภา 70" ว่า จะไม่นำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อย. ทั้งนี้ ให้ราษฎรในหมู่บ้าน เลือก ผู้แทน เพื่อออกเสียง เลือกผู้แทนตำบล แล้วให้ผู้แทนตำบล เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ เป็นการ "เลือกตั้งทางอ้อม". สมาชิกสภา "ประเภทที่ 1" ที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมนี้ ให้อยู่ในตำแหน่ง คราวละ 4 ปี และจะเป็นได้แค่ 2 สมัย. ส่วนผู้ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์, ไม่เป็นผู้ไร้ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ, ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เสียสิทธิในการออกเสียง และ มีสัญชาติไทย.
5. คณะกรรมการราษฎร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสภา. ทั้งนี้ ให้เสนาบดีกระทรวงต่างๆ รับผิดชอบต่อ คณะกรรมการราษฎร. คณะกรรมการราษฎร จะมีประธาน 1 คน และมีกรรมการอีก 14 คน. ทั้งนี้ ให้สภา เลือกสมาชิกในสภา เพื่อมาทำหน้าที่ประธารกรรมการราษฎร และให้ประธานกรรมการ เลือกกรรมการราษฎร อีก 14 คน.
[1]
ในวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2475 เวลา 14:00 น. ได้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ของ"คณะราษฎร" ได้แต่งตั้ง "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" จำนวน 70 นาย, จากนั้น "สภาผู้แทนฯ" ได้เลือก "ประธาน" และ "รองประธานสภาผู้แทนฯ" รวมทั้ง "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ซึ่งก็ได้เลือก " คณะกรรมการราษฎร" อีก 14 นาย, และได้มีการตั้ง "คณะอนุกรรมการ" ที่มีจำนวนรวม 7 นาย ขึ้นมาทำหน้าที่ร่าง "รัฐธรรมนูญใหม่" แทนรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้. รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 จึงแล้วเสร็จในอีก 6 เดือนถัดมา, ทำให้ไม่มีการ"เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ ประเภทที่ 1" แต่ปะรการใด. [2]
สาเหตุการสิ้นสุดการใช้
สาเหตุการสิ้นสุดการใช้รัฐธรรมนูญอันเนื่องมาจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแทน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
อ้างอิง
- ↑ อ้างอิง : ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552), น. 501-507.
- ↑ อ้างอิง : ไพโรจน์ ไชยนาม, รัฐธรรมนูญ : บทกฎหมายและเอกสารสำคัญในทางการเมือง ของประเทศไทย (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519), น. 111-112.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2475–2516 |
---|
|
|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2516–2544 |
---|
|
|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน |
---|
ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน แถวแรก: = รัฐประหาร (คลิกเพื่อดูบทความ), การเลือกตั้งทั่วไป (คลิกเพื่อดูบทความ); แถวสอง: รายชื่อนายกรัฐมนตรี; แถวสาม: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่)
นายกรัฐมนตรีจากรัฐประหาร |
|
|
---|
| | ตัวเอียง หมายถึง ฉบับชั่วคราว |
|
|
|
เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง |
---|
|
|
|
---|
การเมือง | ระบอบการปกครอง | |
---|
อุดมการณ์ | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
| |
---|
ศิลปะ-วัฒธรรม | |
---|
สถานที่ และสิ่งปลูกสร้าง | อนุสาวรีย์ | |
---|
ผังเมือง | |
---|
การศึกษา-กีฬา | |
---|
ศูนย์ราชการ | |
---|
การทหาร | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
คมนาคม | |
---|
ศาสนสถาน | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
|
---|
อื่น ๆ | |
---|
- (✗) = ไม่ปรากฏแล้ว, ถูกรื้อถอน, สูญหาย, ยกเลิก
- (∇) = เปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนแปลงความหมาย
|