น้ำแข็งไส |
ชื่ออื่น | หวานเย็น, จ้ำบ๊ะ |
---|
ประเภท | ของว่าง |
---|
แหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
---|
|
ในประเทศไทย น้ำแข็งไส, หวานเย็น หรือ จ้ำบ๊ะ[1] (มักเขียนผิดเป็น น้ำแข็งใส)[2] คืออาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่ใช้น้ำแข็งก้อนใหญ่ไสจนเป็นเกล็ด แล้วอัดลงในถ้วยให้เป็นแท่ง ราดด้วยน้ำหวาน รวมไปถึงการนำมาผสมปรับปรุงรับประทานพร้อมกับขนมอื่น ๆ อาทิ ลอดช่อง เผือก ลูกชิด ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ ฟักทองเชื่อม เฉาก๊วย ข้าวโพด ถั่วแดง ลูกชิด ลูกบัว วุ้น ขนมปังหั่นก้อน เป็นต้น ราดน้ำกะทิลอยดอกมะลิ หรือขนุนในน้ำเชื่อม มีขายตั้งแต่รถเข็น แผงลอย ไปถึงห้างสรรพสินค้า[3]
น้ำแข็งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ที่สั่งมาจากสิงค์โปร์ จะส่งตรงเข้าไปในวัง จนกระทั่งมีการตั้งโรงน้ำแข็งสยามขึ้นมา สิ่งที่นิยมคือ นำน้ำแข็งมาทำให้เป็นเกล็ด อัดเป็นแท่งเสียบไม้ ราดด้วยน้ำหวาน ส่วนจ้ำบ๊ะ มีต้นกำเนิดจากชาวจีนในจังหวัดเพชรบุรี คิดค้นจากการนำของกินที่เหลือตอนเช้า คือ ปาท่องโก๋ ไปทอดกรอบแล้วใส่น้ำแข็งไสลงไป เทน้ำหวานสีแดง โดยยังไม่เรียกว่า จ้ำบ๊ะ จนปี พ.ศ. 2490 มีการบริโภคนมข้นหวานอย่างแพร่หลาย จึงมีการราดนมข้นหวานลงไป มีลำดับองค์ประกอบคือ ชั้นฐานประกอบด้วย ปาท่องโก๋ทอด/ขนมปังหัวกะโหลก หั่นเป็นชิ้นพอคำ ต่อมาคือชั้นน้ำแข็งไสในลักษณะพูนคล้ายทรงภูเขาหรือกะลาครอบ และชั้นที่ 3 คือ ชั้นน้ำเชื่อม และชั้นยอด โรยนมข้นหวาน จากนั้นจ้ำบ๊ะมีความแพร่หลายในจังหวัดขอนแก่นราวปี พ.ศ. 2525 จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม ที่มาของชื่อ จ้ำบ๊ะ น่าจะมาจาก น้ำแข็งไสสีขาวที่พูนขึ้นคล้ายหน้าอกของนางระบำจ้ำบ๊ะ[4]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
|
---|
อาหารจานเดียว | |
---|
กับข้าว | |
---|
อาหารว่าง | |
---|
ของหวาน | |
---|
ส่วนประกอบ/เครื่องปรุงรส/ เบ็ดเตล็ด | |
---|
เครื่องดื่ม | |
---|
|