อาหารข้างถนนในประเทศไทย มีอาหารหลากหลายประเภททั้งอาหารคาว, ของหวาน, ผลไม้ และเครื่องดื่ม ร้านขายอาหารอาจจะเป็นหาบเร่ หรือรถเข็นขายอาหาร ซึ่งสามารถเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย อาหารข้างถนนในประเทศไทยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถหาอาหารไทยรับประทานได้โดยง่าย[1] ในปี พ.ศ. 2561 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้จัดอันดับว่ากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่มีอาหารข้างถนนที่ดีที่สุดในโลก [2]
ลักษณะของร้านขายอาหาร
อาจจะมีอาหารไทยบางชนิดที่ไม่สามารถหาซื้อได้จากตลาดในประเทศไทย ซึ่งแม่ค้าหรือพ่อค้าอาจจะเชี่ยวชาญในการทำอาหารเพียงแค่ 1 หรือ 2 จานเท่านั้น โดยทำอาหารแข่งกับร้านอาหารต่าง ๆ บางร้านอาจจะขายอาหารสำหรับนำไปปรุงที่บ้าน หรือบางร้านอาจจะเป็นร้านอาหารตามสั่ง โดยร้านอาหารตามสั่งนั้นจะมีรายการอาหารที่สามารถทำอาหารได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้าวผัดกะเพราหมู[3] หรือ ข้าวผัดคะน้า ส่วนแกงในร้านอาหารริมถนน เช่น ปลาดุกผัดเผ็ด
ส่วนอาหารที่ขายในตลาดสด ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารสำหรับนำไปปรุงที่บ้าน เช่นเดียวกันกับร้านข้างถนน ผู้คนจะซื้อไปรับประทานที่ที่ทำงาน หรือ อาจจะซื้อกลับบ้าน เป็นภาพที่ชินตาหากเห็นผู้คนถือถุงอาหาร ของหวาน หรือผลไม้อยู่เต็มมือ โดยอาหารจะอยู่ในรูปแบบของถุงพลาสติกหรือกล่องโฟม ซึ่งจะนำไปรับประทานร่วมกันที่บ้านหรือที่ทำงาน โดยอาหารหลากหลายชนิดมีรสชาติเหมือนการปรุงเองที่บ้าน อาหารข้างถนนจึงเป็นที่ที่ดีสำหรับการหาซื้ออาหารท้องถิ่นที่มีรสชาติที่ดี
ตลาดสดในประเทศไทยจะเป็นตลาดเปิดขนาดใหญ่และร้านค้าแบบตั้งถาวร ผู้ขายจะมีโต๊ะของตนเองไว้บริการ แม้ว่าในบางตลาดจะมีลักษณะคล้ายกับศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ที่มีร้านอาหารและโต๊ะรวม ศูนย์อาหารและตลาดสดมีร้านอาหารมากมายเหมือนกับร้านอาหารข้างถนน เช่นเดียวกัน จะมีทั้งแบบที่ซื้อสำหรับนำกลับไปปรุง และแบบที่เป็นอาหารตามสั่ง ส่วนตลาดกลางคืนจะเป็นรูปแบบของร้านค้าข้างถนน และร้านค้าชั่วคราว ส่วนใหญ่จะวางขายกันในลานจอดรถขนาดใหญ่ หรือในเทศกาลงานวัดช่วงตอนเย็น เพราะอากาศจะไม่ร้อนเท่าตอนกลางวันและผู้คนกลับจากการทำงานแล้ว
อ้างอิง