ข้าวแช่ เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่น้ำเย็น ซึ่งมักเป็นน้ำดอกไม้ แล้วกินกับเครื่องกับข้าวต่าง ๆ เช่น ลูกกะปิ พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้ง และเครื่องผัดหวานต่าง ๆ นิยมรับประทานในหน้าร้อน ปัจจุบันอาจใส่น้ำแข็งในข้าวแช่ด้วย
ข้าวแช่เดิมเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวมอญ เรียกว่า เปิงด้าจก์ [1] (ပုၚ် ဍာ်) แปลว่า ข้าวน้ำ หรือ เปิงซังกราน (ပုၚ် သၚ်ကြာန်) แปลว่า ข้าวสงกรานต์ [2] นิยมทำสังเวยเทวดาและถวายพระสงฆ์ในตรุษสงกรานต์ ข้าวแช่เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากครั้นเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น เจ้าจอมเชื้อสายมอญทางเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ได้ติดตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวายราชการที่พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี และได้ถ่ายทอดการทำข้าวแช่แก่บ่าวไพร่จนแพร่หลายในจังหวัดเพชรบุรีและในราชสำนัก เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2453 แล้ว ข้าวแช่จึงได้เผยแพร่ไปนอกวังและถูกปรับปรุงเพิ่มจนกลายที่นิยม[3][4][5]
เครื่องเคียงข้าวแช่
- ลูกกะปิ ประกอบด้วยปลาช่อนย่าง, ตะไคร้, กระชาย, หัวหอม, กะปิ, หัวกะทิ นำมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ขนาดพอดีคำ ชุบไข่และแป้งสาลีทอดในกะทะจนสีเหลืองทอง[6]
- หอมแดงยัดไส้ ส่วนผสมของไส้คล้าย ๆ กับส่วนผสมของลูกกะปิ นำหัวหอมแดงมาคว้านเนื้อออก แล้วยัดไส้เข้าไป จากนั้นชุบไข่และแป้งแล้วนำไปทอด
- พริกหยวกสอดไส้
- หมูฝอย หรือ เนื้อฝอย
- ไชโป๊ผัดไข่
- ผักสด
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ข้าวแช่
|
---|
อาหารจานเดียว | |
---|
กับข้าว | |
---|
อาหารว่าง | |
---|
ของหวาน | |
---|
ส่วนประกอบ/เครื่องปรุงรส/ เบ็ดเตล็ด | |
---|
เครื่องดื่ม | |
---|
|