ชินวัฒน์ หาบุญพาด (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] นายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ ที่ชื่นชอบ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งและผู้จัดรายการของสถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เอฟเอ็ม 92.75 เมกกะเฮิร์ทซ์ และเอฟเอ็ม 107.5 เมกกะเฮิร์ทซ์ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รุ่นที่ 2
ประวัติ
ชินวัฒน์ หาบุญพาด เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นนายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท๊กซี่ เป็นนักจัดรายการคลื่นวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเข้ามาสนับสนุน ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 รวมทั้งร่วมกับกลุ่มคาราวานคนจนที่สวนจตุจักร และร่วมเข้าปิดล้อมอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ที่ตั้งบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จากนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ร่วมกับพวก 10 คนเข้ารื้อเต๊นท์ เวที และเครื่องขยายเสียงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อาคารศรีจุลทรัพย์[2] โดยนอกจากจะเป็นแกนนำกลุ่มคาราวานคนจนแล้ว ยังมีบทบาทอยู่ใน"ชมรมคนรักชาติ" ของประยูร ครองยศ เจ้าของรายการวิทยุ"เมืองไทยรายวัน" ด้วย
วิทยุชุมชนคนแท็กซี่ของชินวัฒน์เฟื่องฟูอย่างมากในสมัยเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหน้าที่แก้ปัญหาจราจร ช่วงที่ ยูนิตี้เรดิโอ เอฟเอ็ม 89.75 วิทยุชุมชนเพื่อความสมานฉันท์ของคนในชาติ เปิดดำเนินการชูพงศ์และชินวัฒน์ ก็มีชื่อเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับ จตุพร พรหมพันธุ์ และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ[3]
งานการเมือง
ในช่วงการต้านรัฐประหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ชินวัฒน์เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในแกนนำรุ่นที่ 2 และได้รับเลือกให้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 72 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กลุ่มเคลื่อนไหวในช่วงปี พ.ศ. 2550–2553 และ พ.ศ. 2556–2557 |
|
|
|
ผู้เป็นแนวร่วมที่มีชื่อเสียง |
---|
การเมือง | |
---|
ศิลปินและดารา | |
---|
ทหาร/ตำรวจ | |
---|
นักธุรกิจ | |
---|
นักวิชาการ | |
---|
สื่อมวลชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|
|
|
|
|