เจนนเกศวเทวสถาน (โสมนาถปุระ)

เจนนเกศวเทวสถาน
เจนนเกศวเทวสถาน โสมนาถปุระ
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระเกศวะ (พระวิษณุ)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งโสมนาถปุระ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวสถาน (โสมนาถปุระ)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวสถาน (โสมนาถปุระ)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวสถาน (โสมนาถปุระ)ตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
เจนนเกศวเทวสถาน (โสมนาถปุระ)
เจนนเกศวเทวสถาน (โสมนาถปุระ) (รัฐกรณาฏกะ)
พิกัดภูมิศาสตร์12°16′32.49″N 76°52′53.95″E / 12.2756917°N 76.8816528°E / 12.2756917; 76.8816528
สถาปัตยกรรม
ประเภทโหยสฬะ
ผู้สร้างโสมนาถ ทันทนายก
เสร็จสมบูรณ์1258[1]

เจนนเกศวเทวสถาน (กันนาดา: ಚೆನ್ನಕೇಶವ ದೇವಸ್ಥಾನ; Chennakesava Temple หรือ Chennakeshava Temple) หรือ เกศวเทวสถาน (กันนาดา: ಕೇಶವ ದೇವಸ್ಥಾನ; Keshava Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไวษณวะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกาเวรี ในโสมนาถปุระ อำเภอไมสูรุ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย สร้างแล้วเสร็จในปี 1258 โดย โสมนาถ ทันทนายก (Somanatha Dandanayaka) นายพลในรัชสมัยของกษัตริย์นรสิงหที่สามแห่งจักรวรรดิโหยสฬะ เทวสถานนี้ตั้งอยู่ห่างไป 38 กิโลเมตร (24 ไมล์) ทางตะวันออกของนครไมสูรุ[2]

เทวสถานนี้สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบโหยสฬะ เทวาลัยหลักตั้งอยู่ตรงกลาง ประกอบด้วยครรภคฤห์สามห้องที่สมมาตรกัน วางในทิศเหนือ-ใต้-ตะวันออก-ตะวันตก[3] ครรภคฤห์นี้ประกอบด้วยห้องตะวันตกซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเทวรูปพระเกศวะ (Kesava) ซึ่งสูญหายไปแล้ว ครรภคฤห์เหนือเป็นพระชนรรธนะ (Janardhana) และครรภคฤห์ทางใต้เป็นพระเวนุโคปาล (Venugopala) ทั้งสามองค์เป็นปาวอวตารของพระวิษณุ[4] ทั้งสามห้องครรภคฤห์มีโถงกลางร่วมกันคือ สภามณฑป (sabha-mandapa) ซึ่งมีหลายเสา ผนังด้านนอก ผนังด้านใน เสา และเพดาน ของทั้งเทวสถานล้วนแกะสลักอย่างวิจิตรด้วยภาพทางเทววิทยาของศาสนาฮินดู รวมถึงยังมีงานแกะสลักภาพจากคัมภีร์ของฮินดู เช่น รามายณะ ทางใต้, มหาภารตะ ทางเหนือ และ ภาควตปุราณะ ทางตะวันตก[1]

จอร์จ มีเชล (George Michell) ระบุว่าเจนนเกศวรเทวสถานแห่งโสมนาถปุระถือเป็นจุดสูงสุดของการพัฒนาสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบโหยสฬะ และมีความโดดเด่นพิเศษในหลายแง่มุม[5]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Kirsti Evans (1997). Epic Narratives in the Hoysaḷa Temples: The Rāmāyaṇa, Mahābhārata, and Bhāgavata Purāṇa in Haḷebīd, Belūr, and Amṛtapura. BRILL Academic. pp. 10–11. ISBN 90-04-10575-1.
  2. Keshava Temple, Somnathpura, Karnataka เก็บถาวร 23 ตุลาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Government of Karnataka, India
  3. Margaret Prosser Allen (1991). Ornament in Indian Architecture. University of Delaware Press. p. 217. ISBN 978-0-87413-399-8.
  4. Fredrick W. Bunce (2002). The Iconography of Architectural Plans: A Study of the Influence of Buddhism and Hinduism on Plans of South and Southeast Asia. DK. pp. 118–120. ISBN 978-81-246-0200-3.
  5. George Michell (1977). The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms. University of Chicago Press. pp. 146–148. ISBN 978-0-226-53230-1.

บรรณานุกรม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!