เพิงหินภีมเพฏกา

หมู่เพิงหินที่ภีมเพฏกา
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
งานจิตรกรรมฝาผนังบนผนังหินทีทพีมเพฏกา ในภาพคือเพิงหมายเลข 8
ที่ตั้งอำเภอไรเสน, รัฐมัธยประเทศ, ประเทศอินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: 
อ้างอิง925
ขึ้นทะเบียน2003 (สมัยที่ 27th)
พื้นที่1,893 ha (7.31 sq mi)
พื้นที่กันชน10,280 ha (39.7 sq mi)
พิกัด22°56′18″N 77°36′47″E / 22.938415°N 77.613085°E / 22.938415; 77.613085
เพิงหินภีมเพฏกาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เพิงหินภีมเพฏกา
ที่ตั้งเพิงหินภีมเพฏกา ในประเทศอินเดีย
เพิงหินภีมเพฏกาตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
เพิงหินภีมเพฏกา
เพิงหินภีมเพฏกา (รัฐมัธยประเทศ)

หมู่เพิงหินภีมเพฏกา (อังกฤษ: Bhimbetka rock shelters) เป็นแหล่งโบราณคดีในรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งมาจากยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคพาเลโอลิธิก ถึง เมโซลิธิก และยุคประวัติศาสตร์[1][2] เพิงหินนี้เป็นหลักฐานถึงการมีอยูของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย และเป็นหลักฐานของยุคหินปรากฏ เริ่มตั้งแต่ยุคเอชูเลียน[3][4][5] แหล่งโบราณคดีนี้ได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก โดยประกอบด้วยเพิงหินจำนวน 750 แห่ง กระจายในพื้นที่กว้างกว่า 10 km (6.2 mi) ในอำเภอไรเสน[2][6] เพิงหินบางส่วนมีอายุเก่าแก่กว่า 100,000 ปี[2][7]

เพิงหินบางส่วนปรากฏหลักฐานจิตรกรรมถ้ำ ชิ้นที่เก่าแก่ที่สุดนั้นอายุราว 10,000 ปี (ตั้งแต่ราว 8,000 ปี ก่อน ค.ศ.) ตรงกับยุคเมโซลิธิกของอินเดีย[8][9][10][11][12] ภาพเขียนที่ปรากฏนั้นเป็นรูปคนและสัตว์[13][14] นอกจากนี้ยังพบภาพเขียนจากยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยอื่น ๆ เรื่อยมาจนถึงยุคกลาง และมีปรากฏในเพิงหินเดี่ยว ๆ พบภาพวาดจาง ๆ แสดงภาพมนุษย์ถือสามง่ามกำลังเต้นระบำ นักโบราณคดี วี เอส วกันการ์ตั้งชื่อเล่นให้กับภาพเขียนนี้ว่า "นาฏราช"[15][16] และประมาณว่าภาพเขียนสีในราว 100 เพิงหินได้จางหายไปหมดแล้ว[17] งานศิลปะบนหินเหล่านี้เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย[18] และหมู่เพิงหินเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดียเช่นกัน[19][20]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 มีการค้นพบฟอสซิลของดิกินซอเนียที่ภีมเพฏกา[21]

อ้างอิง

  1. Peter N. Peregrine; Melvin Ember (2003). Encyclopedia of Prehistory: Volume 8: South and Southwest Asia. Springer Science. pp. 315–317. ISBN 978-0-306-46262-7.
  2. 2.0 2.1 2.2 Javid, Ali and Javeed, Tabassum (2008), World Heritage Monuments and Related Edifices in India, Algora Publishing, 2008, pages 15–19
  3. Agrawal, D.P.; Krishnamurthy, R.V.; Kusumgar, Sheela; Pant, R.K. (1978). "Chronology of Indian prehistory from the Mesolithic period to the Iron Age". Journal of Human Evolution. 7: 37–44. doi:10.1016/S0047-2484 (78) 80034-7. The microlithic occupation there is the last one, as the Stone Age started there with Acheulian times. These rock shelters have been used to light fires even up to recent times by the tribals. This is re-fleeted in the scatter of 14C dates from Bhimbetka {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help)
  4. Kerr, Gordon (2017-05-25). A Short History of India: From the Earliest Civilisations to Today's Economic Powerhouse. Oldcastle Books Ltd. p. 17. ISBN 9781843449232.
  5. Neda Hosse in Tehrani; Shahida Ansari; Kamyar Abdi (2016). "Anthropogenic Processes in Caves/Rock Shelters in Izeh Plain (Iran) and Bhimbetka Region (India)". Bulletin of the Deccan College Research Institute. 76: 237–248. JSTOR 26264790. the rock shelter site of Bhimbetka in Madhya Pradesh exhibits the earliest traces of human life
  6. Rock Shelters of Bhimbetka: Advisory Body Evaluation, UNESCO, pages 43–44
  7. Rock Shelters of Bhimbetka: Advisory Body Evaluation, UNESCO, pages 14–15
  8. Mathpal, Yashodhar (1984). Prehistoric Painting Of Bhimbetka (ภาษาอังกฤษ). Abhinav Publications. p. 220. ISBN 9788170171935.
  9. Tiwari, Shiv Kumar (2000). Riddles of Indian Rockshelter Paintings (ภาษาอังกฤษ). Sarup & Sons. p. 189. ISBN 9788176250863.
  10. Rock Shelters of Bhimbetka (PDF). UNESCO. 2003. p. 16.
  11. Mithen, Steven (2011). After the Ice: A Global Human History, 20,000 - 5000 BC (ภาษาอังกฤษ). Orion. p. 524. ISBN 9781780222592.
  12. Javid, Ali; Jāvīd, ʻAlī; Javeed, Tabassum (2008). World Heritage Monuments and Related Edifices in India (ภาษาอังกฤษ). Algora Publishing. p. 19. ISBN 9780875864846.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bhim3
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bhim1
  15. Chakravarty, Kalyan Kumar. Rock-art of India: Paintings and Engravings. Arnold-Heinemann. p. 123. Nataraj figures from BHIM III E-19 and one from III F −16 are well decorated in fierce mood. Probably they represent conception of a fierce deity like Vedic Rudra. (Wa.kankar, op. cit) '.
  16. Shiv Kumar Tiwari. Riddles of Indian Rockshelter Paintings. Sarup & Sons. p. 245.
  17. Mithen, Steven (2006). After the Ice: A Global Human History, 20,000–5000 BC. Harvard University Press. p. 401. ISBN 9780674019997.
  18. Deborah M. Pearsall (2008). Encyclopedia of archaeology. Elsevier Academic Press. pp. 1949–1951. ISBN 978-0-12-373643-7.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ britannicabhimbetka
  20. Jo McDonald; Peter Veth (2012). A Companion to Rock Art. John Wiley & Sons. pp. 291–293. ISBN 978-1-118-25392-2.
  21. "Dickinsonia discovered in India and late Ediacaran biogeography" (ภาษาอังกฤษ). 2021. doi:10.1016/j.gr.2020.11.008.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!