โธฬาวีรา (คุชราต: ધોળાવીરા; Dholavira) เป็นแหล่งโบราณคดีในหมู่บ้านขาทีรเพต ในตลุกะภจาว อำเภอกูตจ์ รัฐคุชราต เป็นซากของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ/ฮารัปปา[1] โธฬาวีราเป็นหนึ่งในห้าแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่[2] ที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่ง[3] และถือกันว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด[4] ในเวลานั้น เมืองรูปสี่เหลี่ยมขนาด 47 ha (120 เอเคอร์) นี้ ตั้งอยู่ขนาบระหว่างลำธารมันสาร์ (Mansar) ในทางเหนือ และมันหาร์ (Manhar) ในทางใต้[5] เข้าใจว่ามีประชากรอยู่อาศัยในระหว่างราว 2,650 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงในราว 2,100 ปีก่อน ค.ศ. และถูกทิ้งร้างเป็นช่วงสั้น ๆ ก่อนจะมีผู้กลับเข้ามาอยู่อาศัยในราว 1450 ปีก่อน ค.ศ.[6]
แหล่งนี้ขุดพบในปี 1967–1968 โดย เจ.พี.โชษี จากกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (เอเอสไอ) แหล่งนี้มีขนาดใหญ่สุดอันดับห้าในบรรดาแหล่งอารยธรรมฮารัปปาแปดแห่งที่พบ เอเอสไอดำเนินการขุดค้นตั้งแต่ปี 1990 พร้อมทั้งระบุว่า "โธฬาวีราเป็นแหล่งที่ช่วยในการเข้าใจอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ"[7] แหล่งสำคัญของฮารัปปาอื่น ๆ ที่ขุดค้นพบแล้วได้แก่ฮารัปปา, โมเฮนโจ-ดาโร, คเนรีวลา, รขีครหี, กาลีบังคัน, รูปนคร และโลถาล
อ้างอิง
|
---|
ทางวัฒนธรรม | | |
---|
ทางธรรมชาติ | |
---|
ผสม | |
---|
หมายเหตุ: ใช้ชื่อตามที่ได้เสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก |