อาลิง เบราต์ โฮลัน (นอร์เวย์ : Erling Braut Haaland , เดิมสะกดว่า Håland , ออกเสียง: [ˈhòːlɑn] ; เกิด 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2000) เป็นนักฟุตบอลชาวนอร์เวย์ ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้า ให้แก่แมนเชสเตอร์ซิตี สโมสรในพรีเมียร์ลีก และทีมชาตินอร์เวย์ มีจุดเด่นในด้านการทำประตู และได้รับการยกย่องในด้านฝีเท้า การวิ่ง ความแข็งแรง การจ่ายบอล และการหาโอกาสเข้าทำในกรอบเขตโทษ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่ดีที่สุดในโลก[ 5]
โฮลันเริ่มต้นอาชีพกับสโมสรในบ้านเกิดอย่างบรีเนอ ใน ค.ศ. 2016 และย้ายไปม็อลเดอ ในปีถัดมา เขาลงเล่นให้กับม็อลเดอสองปีก่อนที่จะเซ็นสัญญากับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค ในออสเตรียเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2019[ 6] เขาพาทีมชนะเลิศออสเตรียนบุนเดิสลีกา สองสมัย และออสเตรียนคัพ หนึ่งสมัย และในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 เขาเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนแรกที่ทำประตูในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้ถึงห้านัดติดต่อกัน[ 7] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 โฮลันย้ายไปโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ซึ่งเขาประสบความสำเร็จกับการทำประตูในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2019–20 จนกลายเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนที่สองที่ทำ 10 ประตูในรายการนี้ เขาชนะเลิศการแข่งขันเดเอ็ฟเบ-โพคาล ฤดูกาล 2020–21 และได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของบุนเดิสลีกา ก่อนจะย้ายไปแมนเชสเตอร์ซิตีใน ค.ศ. 2022 ด้วยค่าตัว 60 ล้านยูโรซึ่งเขาทำสถิติเป็นผู้เล่นที่ใช้เวลาน้อยที่สุดที่ทำแฮตทริกได้สองครั้ง, สามครั้ง, สี่ครั้ง และห้าครั้งในพรีเมียร์ลีก และเป็นผู้เล่นคนแรกในลีกที่ทำแฮตทริกในเกมเหย้าสามนัดติดต่อกัน โฮลันพาแมนเชสเตอร์ซิตีคว้าสามถ้วยรางวัลใหญ่ซึ่งรวมถึงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสมัยแรก รวมทั้งเป็นผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก เขาทำไปถึง 52 ประตูจากการลงสนาม 53 นัดทุกรายการซึ่งเป็นสถิติตลอดกาลของผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก เขายังเป็นผู้เล่นคนแรกของพรีเมียร์ลีกที่ได้รับทั้งรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยม และผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลในฤดูกาลเดียวกัน เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลอีกครั้งในฤดูกาลต่อมา และพาทีมชนะเลิศสามถ้วยรางวัลในพรีเมียร์ลีก, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ต่อมาใน ค.ศ. 2024 เขากลายเป็นผู้เล่นที่ทำครบ 75 ประตูเร็วที่สุดในพรีเมียร์ลีกจากการลงสนามเพียง 77 นัด
โฮลันได้รับรางวัลเกียรติประวัติส่วนตัว และทำลายสถิติในการทำประตูหลายรายการ เขาคว้ารางวัลโกลเดินบอยประจำปี 2020 และมีชื่อติดทีมยอดเยี่ยม 11 คนจากการประกาศรางวัลขององค์กรฟิฟโปรสองปีติดต่อกันใน ค.ศ. 2021–22 ต่อมาใน ค.ศ. 2023 โฮลันทำสถิติยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้มากที่สุดต่อหนึ่งฤดูกาล (36 ประตู) เขายังได้รับรางวัลผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก, รางวัลรองเท้าทองคำยุโรป และถ้วยรางวัลแกร์ท มึลเลอร์ ตามด้วยรางวัลนักฟุตบอลชายแห่งปีของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป และคว้าอันดับสองในการประกาศรางวัลบาลงดอร์ 2023
แม้จะมีสิทธิ์เลือกเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษ แต่โฮลันเลือกเล่นให้กับนอร์เวย์ หลังจากฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2019 ที่เขาได้รับรางวัลรองเท้าทองคำจากการทำคนเดียวเก้าประตูในหนึ่งนัดจนสร้างสถิติใหม่ โฮลันลงเล่นให้กับทีมชาตินอร์เวย์ชุดใหญ่ครั้งแรกใน ค.ศ. 2019[ 8] ปัจจุบันเขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของนอร์เวย์
ชีวิตช่วงต้น
โฮลันเกิดในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 ที่ลีดส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งอัลฟ์-อิงเก้ โฮลัน บิดาของเขา เป็นนักฟุตบอลที่กำลังลงเล่นในพรีเมียร์ลีก ในตอนนั้น[ 9] ต่อมาใน ค.ศ. 2004 เขาย้ายไปบ้านเกิดของพ่อแม่ที่บรีเนอ ประเทศนอร์เวย์ ตอนอายุ 3 ขวบ[ 10] [ 11]
สโมสรอาชีพ
บรีเนอ
โฮลันเริ่มเล่นให้กับทีมเยาวชนของบรีเนอ ในวัยห้าขวบ[ 12] [ 13] ในบทสัมภาษณ์ของ โกล Alf Ingve Berntsen อดีตผู้ฝึกสอนทีมเยาวชนของโฮลัน พูดถึงพรสวรรค์ในวัยเด็กของเขาว่า:
“
ผมเห็นโฮลันครั้งแรกตอนเขาอายุห้าขวบ เมื่อเขาเข้าร่วมทีมและฝึกซ้อมกับกลุ่มเพื่อนที่อายุมากกว่าหนึ่งปี สองสัมผัสของเขานำไปสู่ประตู เขาเล่นได้ดีมาก ๆ ในช่วงแรกของเขา แม้ว่าตอนนั้นเขาจะยังไม่เคยเล่นในสโมสรมาก่อน เขาเริ่มเล่นในกลุ่มอายุของเขา แต่เป็นเพราะเขาดีกว่าคนอื่นมาก ๆ เราจึงต้องดึงเขาขึ้นไปเล่นในรุ่นอายุไม่เกิน 6 ปี[ 14]
”
ระหว่างฤดูกาล 2015–16 โฮลันได้เล่นให้กับทีมสำรองของบรีเนอ เขาทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจโดยยิง 18 ประตูจาก 14 นัด[ 15] เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2016 Gaute Larsen ถูกไล่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมบรีเนอ และ Berntsen ผู้ฝึกสอนทีมเยาวชนได้เลื่อนขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการ เนื่องจาก Berntsen ได้ทำงานร่วมกับโฮลันในชุดเยาวชนหลายรุ่นอายุ ผู้จัดการทีมชั่วคราวคนนี้จึงดึงโฮลันขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่แม้ว่าเขาจะมีอายุเพียง 15 ปี 9 เดือนก็ตาม[ 14] [ 13] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชุดใหญ่ในลีกระดับสองนัดที่พบกับ Ranheim เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2016[ 16]
หลังจากที่วางตำแหน่งปีกให้กับโฮลันในช่วงแรก Berntsen ได้ย้ายเขาไปเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าในอีกไม่กี่นัดถัดมา โฮลันลงเล่นให้กับบรีเนอทั้งสิ้น 16 นัด[ 15] แม้ว่าเขาจะยังไม่ประสบความสำเร็จในด้านการทำประตูในฤดูกาลกับบรีเนอ แต่เขาก็ได้รับข้อเสนอจากเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ จากเยอรมนี ก่อนที่จะย้ายไปม็อลเดอ ซึ่งอยู่ภายใต้การคุมทีมของอดีตผู้เล่นชาวนอร์เวย์ อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ [ 14]
ม็อลเดอ
ฤดูกาล 2017
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 ม็อลเดอ ประกาศว่าได้เซ็นสัญญากับโฮลัน[ 17] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2017 ในนอร์เวเจียนคัพ นัดที่พบกับโวลดา ซึ่งเขาสามารถทำประตูแรกให้กับสโมสร ช่วยให้ทีมชนะ 3–2[ 18] เขาลงเล่นนัดแรกในลีกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2017 โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 71 ในการพบกับซาร์ปสเบิร์ก 08 เขาได้รับใบเหลืองหลังจากที่ลงสนามเพียง 65 วินาที[ 19] อย่างไรก็ตาม เขาสามารถทำประตูชัยในนาทีที่ 77 ซึ่งเป็นประตูแรกที่เขาทำได้ในเอลีเตอเซเรียน ต่อมา เขาทำประตูที่สองในลีกของฤดูกาลเมื่อวันที่ 17 กันยายน โดยเป็นประตูชัยช่วยให้ทีมเอาชนะไวกิง 3–2 แต่เขาถูกวิพากย์วิจารณ์จากเพื่อนร่วมทีม Björn Bergmann Sigurðarson ถึงการฉลองการทำประตูต่อหน้าผู้สนับสนุนไวกิง[ 20] โฮลันจบฤดูกาลแรกกับม็อลเดอด้วยการทำ 4 ประตูจากการลงเล่น 20 นัด[ 21]
ฤดูกาล 2018
โฮลันลงเล่นให้กับม็อลเดอใน ค.ศ. 2018
วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 โฮลันทำคนเดียวสี่ประตูภายใน 21 นาทีแรกของเกม ช่วยให้ทีมบุกเอาชนะบรันน์ 4–0 ทำลายสถิติไร้พ่ายในลีกของเจ้าบ้าน ในนัดนั้น เขาทำแฮตทริก ภายในเวลา 11 นาที 2 วินาที และทำครบสี่ประตูภายในเวลา 17 นาที 4 วินาที ทีมงานแมวมองของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ก็มารับชมเกมนัดนี้ด้วย[ 22] ผู้จัดการทีมม็อลเดอ อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ เปรียบเทียบรูปแบบการเล่นของโฮลันว่าคล้ายกับของโรเมลู ลูกากู และเปิดเผยว่า สโมสรได้ปฏิเสธข้อเสนอซื้อตัวโฮลันจากสโมสรต่าง ๆ[ 23]
นัดถัดมา วันที่ 8 กรกฎาคม โฮลันทำสองประตูและหนึ่งแอสซิสต์ช่วยให้ทีมเอาชนะโบเลเรงกา 5–1[ 24] เขาทำประตูในยูฟ่ายูโรปาลีก ช่วยให้ม็อลเดอเอาชนะลาชี 3–0 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม[ 25] โฮลันพลาดการลงเล่นในลีกสามนัดสุดท้ายเนื่องจากอาการข้อเท้าแพลง[ 26] ผลงานของเขาในลีกฤดูกาล 2018 ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปีของเอลีเตอเซเรียน[ 27] เขาจบฤดูกาล 2018 ด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของม็อลเดอจากการทำ 16 ประตูจากการลงเล่น 30 นัดจากทุกรายการ[ 28]
ฟิล เฮย์ จากดิแอธเลติก เปิดเผยว่า ก่อนที่โฮลันจะย้ายไปเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค เขาเคยได้รับข้อเสนอจากลีดส์ยูไนเต็ด ในแชมเปียนชิป ของอังกฤษ[ 29]
เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค
โฮลันเล่นให้กับซัลทซ์บวร์คในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2019
วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2018 สโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค ในออสเตรียนบุนเดิสลีกา ประกาศว่าโฮลันจะย้ายมาร่วมทีมในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 โดยจะเซ็นสัญญาห้าปี[ 6] วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 โฮลันทำแฮตทริกแรกให้กับสโมสรในออสเตรียนคัพ นัดที่เอาชนะ SC-ESV Parndorf 7–1[ 30] ต่อมาในวันที่ 10 สิงหาคม เขาทำแฮตทริกแรกในออสเตรียนบุนเดิสลีกาช่วยให้ทีมเอาชนะ Wolfsberger AC 5–2[ 31] ต่อมาเขาทำแฮตทริกที่สามให้กับสโมสรเมื่อวันที่ 14 กันยายน ช่วยให้ทีมเอาชนะ TSV Hartberg 7–2 เขาทำ 11 ประตูจากการลงเล่นเพียง 7 นัด ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในฤดูกาลนั้น[ 32] สามวันถัดมา เขาลงเล่นครั้งแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 และทำแฮตทริกที่สี่กับสโมสร ช่วยให้เอาชนะเคงก์ [ 33]
ฮาลันเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนที่สองในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ที่ทำประตูในสามนัดแรกที่ได้ลงเล่นในรายการนี้ครบทุกนัด ต่อจากการีม แบนเซมา โดยฮาลันทำหนึ่งประตูใส่ลิเวอร์พูล และทำสองประตูใส่นาโปลี [ 34] หกประตูของเขาในสามนัดแรกที่ลงเล่นนับเป็นสถิติสูงสุดของแชมเปียนส์ลีก[ 34] ต่อมาเมื่อเขาทำหนึ่งประตูในนาโปลี เขากลายเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนแรกที่ทำประตูครบทั้งสี่นัดแรกที่ลงเล่นในรายการแข่งขัน และเป็นผู้เล่นคนที่สี่ทำสถิตินี้ได้หากนับรวมทุกอายุ ต่อจากเซการ์ลูส , อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร และดิเอโก โกสตา [ 7] วันที่ 27 พฤศจิกายน เขาทำอีกหนึ่งประตูใส่เคงก์ ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นคนที่หกที่ทำประตูในรายการนี้ได้ถึงห้านัดติดต่อกัน ต่อจาก เดล ปีเอโร, เซอร์ฮิว เรบรอฟ , เนย์มาร์ , คริสเตียโน โรนัลโด และรอแบร์ต แลวันดอฟสกี [ 35] [ 36]
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
โฮลันขณะลงเล่นให้กับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ในปี ค.ศ. 2020
โฮลันย้ายไปโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ในบุนเดิสลีกา ของเยอรมนีเมื่อสองวันก่อนที่ตลาดซื้อ-ขายฤดูหนาวประจำเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 จะเปิด ค่าตัวที่ได้รับรายงานอยู่ที่ 20 ล้านยูโร เขาเซ็นสัญญากับสโมสรสี่ปีครึ่ง[ 37] [ 38] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรในนัดที่พบกับเอาคส์บวร์ค เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2020 โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 56 และทำแฮตทริกภายในเวลาเพียง 23 นาที ช่วยให้ทีมชนะ 5–3[ 39] เขากลายเป็นผู้เล่นคนที่สองของดอร์ทมุนท์ที่ทำสามประตูในนัดแรกที่ลงเล่นในบุนเดิสลีกา ต่อจากปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์ [ 40] ในนัดที่สองที่ลงเล่นให้กับดอร์ทมมุนท์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พบกับแอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ โฮลันลงเล่นเป็นตัวสำรองอีกครั้งในนาทีที่ 65 และทำประตูแรกหลังจากที่ลงสนามเพียง 12 นาที ก่อนที่จะทำประตูที่สองในอีก 10 นาทีถัดมา ช่วยให้ทีมของเขาเอาชนะ 5–1[ 41] โฮลันกลายเป็นผู้เล่นคนแรกในบุนเดิสลีกาที่ทำ 5 ประตูจากการลงเล่นในสองนัดแรก เช่นเดียวกันกับผู้เล่นที่ทำถึง 5 ประตูในรายการนี้ได้เร็วที่สุด (56 นาที)[ 42] วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 โฮลันทำสองประตูช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 2–1 ในเลกแรกของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย ดาวรุ่งชาวนอร์เวย์ทำ 10 ประตูในแชมเปียนส์ลีกจากการลงเล่นเพียง 8 นัด แบ่งเป็น 8 ประตูกับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค และ 2 ประตูกับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[ 43]
เมื่อบุนเดิสลีกากลับมาแข่งใหม่อีกครั้ง หลังจากหยุดพักไปเนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา โฮลันทำประตูแรกหลังพักลีก ช่วยให้ทีมเอาชนะชัลเคอ 04 4–0 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม[ 44] ประตูนี้เป็นประตูที่ 10 ของเขาในบุนเดิสลีกา วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2020 โฮลันทำสองประตูช่วยให้ทีมเอาชนะแอร์เบ ไลพ์ซิช 2–0 ทำให้ดอร์ทมุนท์ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกฤดูกาลถัดไป [ 45]
แมนเชสเตอร์ซิตี
ฤดูกาล 2022–23: ทำลายสถิติหลายรายการ และคว้าแชมป์ 3 ถ้วยใหญ่
โฮลัน (กลาง) ขณะลงเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ซิตี ในเกมที่พบกับวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ในปี ค.ศ. 2022
ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ทางสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ประกาศว่าได้ทำการเซ็นสัญญาโฮลันด้วยค่าฉีกสัญญา 60 ล้านยูโร[ 46] จากนั้นในวันที่ 13 มิถุนายน ทางสโมสรประกาศอย่างเป็นทางการว่าโฮลันจะเข้าร่วมสโมสรในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยมีระยะเวลาสัญญาจ้าง 5 ปี[ 47]
โฮลันลงสนามนัดแรกในการแข่งขันเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2022 ซึ่งเขาลงเล่นครบ 90 นาที และแมนเชสเตอร์ซิตีแพ้ลิเวอร์พูล 1–3[ 48] ในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2022 เขาลงสนามนัดแรกในพรีเมียร์ลีกและทำสองประตูในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีบุกไปชนะเวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–0[ 49] ถัดมา ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2022 เขาทำแฮตทริกครั้งแรกในพรีเมียร์ลีกได้ ในนัดที่ทีมเอาชนะคริสตัลพาเลซ 4–2 ตามด้วยการทำแฮตทริกอีกครั้งในอีกสี่วันถัดมา ในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีเอาชนะนอตทิงแฮมฟอเรสต์ 6–0[ 50] ส่งผลให้โฮลันกลายเป็นนักเตะที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกที่ทำแฮตทริกได้สองครั้ง[ 51] ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2022 โฮลันทำสองประตูช่วยให้ทีมบุกไปชนะเซบิยา 4–0 ในรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ ส่งผลให้เขาเป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำ 25 ประตูจากการลงสนาม 20 นัดในรายการนี้[ 52] [ 53] ก่อนจะคว้ารางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมของพรีเมียร์ลีกประจำเดือนสิงหาคมในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022[ 54] ต่อมา ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2022 โฮลันสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นนักเตะคนแรกในยุคพรีเมียร์ลีกที่ทำแฮตทริกจากการแข่งขันเกมเหย้า 3 นัดติดต่อกัน ในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีเปิดบ้านเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 6–3[ 55] รวมทั้งเป็นผู้เล่นที่ใช้เวลาน้อยที่สุดที่ทำแฮตทริกได้สามครั้งในพรีเมียร์ลีก โดยลงสนามไปเพียงแปดนัดทำลายสถิติเดิมของ ไมเคิล โอเวน ที่ใช้เวลาถึง 48 นัดใน ค.ศ. 1998[ 56]
ต่อมา ในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2022 โฮลันทำสองประตูช่วยทีมบุกเอาชนะลีดส์ยูไนเต็ด 3–1 ถือเป็นประตูที่ 20 จากการลงสนามเพียง 14 นัด ส่งผลให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการทำ 20 ประตูในพรีเมียร์ลีก ทำลายสถิตของ เควิน ฟิลลิปส์ [ 57] เขาทำแฮตทริกได้อีกครั้งในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2023 นัดที่พบกับ วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ทำให้เขาทำไปถึง 25 ประตูจากการลงสนาม 19 นัด ซึ่งมากกว่าจำนวน 23 ประตูที่สองผู้เล่นอย่าง มุฮัมมัด เศาะลาห์ และ ซน ฮึง-มิน ทำได้ตลอดทั้งฤดูกาล 2021–22
ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2023 โฮลันยิงห้าประตูในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบ 16 ทีมสุดท้ายนัดที่เอาชนะแอร์เบ ไลพ์ซิช 7–0 ทาบสถิติของ ลิโอเนล เมสซิ และ ลุยซ์ อาเดรียโน ในการทำประตูมากที่สุดในหนึ่งนัด[ 58] ส่งผลให้เขาทำประตูรวมทุกรายการในฤดูกาลนี้ให้แมนเชสเตอร์ซิตีไป 39 ประตู ทำลายสถิติตลอดกาลของ ทอมมี จอห์นสัน จำนวน 38 ประตูในฤดูกาล 1928–29[ 59] นอกจากนี้ เขายังทำสถิติเป็นผู้เล่นคนที่สาม ต่อจากเมสซิ และ คริสเตียโน โรนัลโด ที่ทำอย่างน้อย 10 ประตูในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกมากกว่า 1 ฤดูกาล ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2023 โฮลันทำหนึ่งประตูในนัดที่ทีมเอาชนะไบเอิร์นมิวนิกในรอบก่อนรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ถือเป็นประตูที่ 45 รวมทุกรายการ ทำลายสถิติจำนวน 44 ประตูของผู้เล่นในพรีเมียร์ลีกที่ทำไว้โดย รืด ฟัน นิสเติลโรย และ เศาะลาห์ ถัดมาอีกสองสัปดาห์ โฮลันทำสองประตูและอีกหนึ่งแอสซิสต์ในนัดที่แมนเชสเตอร์ซิตีเปิดบ้านเอาชนะทีมนำของลีกอย่างอาร์เซนอล 4–1 ลดจำนวนช่องว่างในตารางเหลือเพียงสองคะแนนและซิตียังแข่งน้อยกว่าอีกสองนัด[ 60] ตามด้วยการทำประตูที่ 50 รวมทุกรายการในนัดที่พบฟูลัม และเขาคว้ารางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำเดือนเมษายนจากผลงานหกประตูและสองแอสซิสต์[ 61]
ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 โฮลันทำประตูที่ 35 ในลีกนัดที่พบเวสต์แฮม ทำลายสถิติเดิมของแอนดรูว์ โคล และเชียเรอร์ที่ทำไว้ 34 ประตู หนึ่งสัปดาห์ถัดมา เขาได้รับรางวัลชนะเลิศนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล ด้วยคะแนนโหวตกว่า 82% เหนือสองผู้เล่นของอาร์เซนอลย่างบูกาโย ซากา และมัตติน เออเดอโกร์ โฮลันเป็นเพียงผู้เล่นคนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลในฤดูกาลแรกที่ลงเล่นในพรีเมียร์ลีก[ 62] [ 63] โฮลันคว้าแชมป์ใบแรกจากการที่ซิตีชนะเลิศพรีเมียร์ลีกวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2023[ 64] ต่อมา ในวันที่ 24 พฤษภาคม เขาทำได้หนึ่งแอสซิสต์ซึ่งทำให้เขามีผลงานทำประตูและแอสสิสต์ในพรีเมียร์ลีกรวมกันจำนวน 44 ครั้ง ทาบสถิติของกองหน้าตำนานอย่างตีแยรี อ็องรี เขาจบฤดูกาลด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดที่ 36 ประตู และยังคว้ารางวัลรองเท้าทองคำยุโรป[ 65] พร้อมทั้งทำสถิติใหม่ในการทำประตูสูงสุดต่อหนึ่งฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก[ 66]
โฮลันคว้าถ้วยรางวัลใบที่สองจากการพาทีมเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 2–1 วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2023[ 67] ตามด้วยการพาทีมเอาชนะอินเตอร์มิลานในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2023 ด้วยผลประตู 1–0 แมนเชสเตอร์ซิตีทำสถิติเป็นสโมสรที่สองของอังกฤษที่ชนะเลิศการแข่งขันสามรายการหลักในฤดูกาลเดียวกัน[ 68] เขายังจบฤดูกาลด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในฤดูกาลของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งที่สอง[ 69] และทำสถิติเป็นหนึ่งในสองผู้เล่นร่วมกับลิโอเนล เมสซิ ในการทำประตูสูงสุดในรายการดังกล่าวสองครั้งก่อนอายุครบ 23 ปี[ 70] เขาคว้ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของยูฟ่าในเดือนสิงหาคม โดยมีคะแนนชนะเพื่อนร่วมทีมอย่างเกฟิน เดอ เบรยเนอ [ 71]
ฤดูกาล 2023–24: ฤดูกาลที่สองในอังกฤษ
โฮลันกับแมนเชสเตอร์ซิตีในฤดูกาล 2023–24
โฮลันเริ่มต้นพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2023–24 ด้วยการทำสองประตูพาทีมบุกชนะทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาอย่างเบิร์นลีย์[ 72] หนึ่งวันต่อมา เขาคว้าแชมป์แรกของฤดูกาล และเป็นถ้วยรางวัลใบที่สี่กับซิตี ด้วยการเอาชนะจุดโทษเซบิยาในรายการยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2023 โดยโฮลันเป็นผู้ยิงลูกโทษคนแรก[ 73] ถัดมาในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2023 เขาคว้ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ หลังจากทำแฮตทริกเป็นครั้งที่เจ็ดให้กับซิตี และทำอีกหนึ่งแอสซิสต์ให้เกมที่พบฟูลัมวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2023 โฮลันสร้างสถิติใหม่ด้วยการเป็นผู้เล่นที่มีส่วนกับประตูของทีมจำนวน 50 ประตู (นับรวมการทำประตูและแอสซิสต์) ด้วยการลงสนามเพียง 39 นัด ทำสถิติเหนือกว่าแอนดรูว์ โคลถึง 4 นัด[ 74] โฮลันทำไปถึงสิบประตูจากการลงสนาม 11 นัดในลีก รวมถึงการทำสองประตูในนัดที่ซิตีบุกไปชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยผลประตู 3–0 วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2023
ในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2023 ในงานประกาศรางวัลบาลงดอร์ 2023 โฮลันได้รับถ้วยรางวัลแกร์ท มึลเลอร์ [ 75] ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 โฮลันกลายเป็นผู้เล่นที่ทำครบ 50 ประตูในพรีเมียร์ลีกได้เร็วที่สุด จากการทำประตูในนัดที่ซิตีเปิดบ้านเสมอลิเวอร์พูล 1–1 โดยโฮลันลงสนามในลีกไปเพียง 48 นัด ทำลายสถิติเดิมของแอนดรูว์ โคล ที่ลงเล่นไป 65 นัด[ 76] โฮลันได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกข้อเท้า และต้องพักการลงสนามเป็นเวลาเกือบสองเดือน ทำให้เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2023 ก่อนจะกลับมาลงสนามในช่วงปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 2024[ 77] ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 โฮลันทำประตูให้ทีมเปิดบ้านชนะเบรนต์ฟอร์ด 1–0 ส่งผลให้เขากลายเป็นผู้เล่นคนที่สองในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก ที่ยิงประตูครบทุกสโมสรที่เขาเคยลงแข่งขันด้วย[ 78] สัปดาห์ต่อมา โฮลันทำ 5 ประตูช่วยให้ทีมบุกไปชนะลูตันทาวน์ 6–2 ในเอฟเอคัพรอบที่ 5 ทำสถิติเป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำห้าประตูในหนึ่งนัดให้แก่สโมสรได้ถึงสองครั้ง[ 79] และกลายเป็นผู้เล่นคนที่สามของแมนเชสเตอร์ซิตีทำที่ทำ 5 ประตูในเอฟเอฟคัพ ต่อจาก แฟรงค์ โรเบิร์ต ใน ค.ศ. 1926 และ บ็อบบี มาร์แชลล์ ใน ค.ศ. 1930 และถือเป็นผู้เล่นคนแรกนับตั้งแต่จอร์จ เบสต์ ใน ค.ศ. 1970 ที่ทำห้าประตูในการแข่งขันเอฟเอคัพ
ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 โฮลันทำ 4 ประตูช่วยให้สโมสรเปิดบ้านเอาชนะวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 5–1 โดยเป็นการทำแฮตทริกครั้งที่สองในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลนี้ และเป็นครั้งแรกของปี 2024[ 80] ต่อมา เขาทำสองประตูสำคัญให้ทีมบุกไปชนะสเปอร์ 2–0 ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ช่วยให้ซิตีกลับขึ้นไปเป็นทีมนำในตารางโดยเหลือการแข่งขันอีกหนึ่งนัด และเขาคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกร่วมกับสโมสรเป็นฤดูกาลที่สองติดต่อกันในอีก 5 วันถัดมา[ 81] เขายังมีส่วนร่วมในเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2024 ซึ่งซิตีพบกับยูไนเต็ดเป็นปีที่สองติดต่อกัน ก่อนที่ซิตีจะแพ้ด้วยผลประตู 1–2 ผลงานโดยรวมในฤดูกาลนี้ของโฮลันคือการทำ 27 ประตูในลีก และ 38 ประตูรวมทุกรายการ
ฤดูกาล 2024–25: ลงสนามนัดที่ 100 และ ประตูที่ 100
โฮลันคว้าแชมป์เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2024 ร่วมกับสโมสรจากการชนะจุดโทษแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ภายหลังเสมอกันในเวลาปกติ 1–1 และเขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยิงจุดโทษเข้า โฮลันลงสนามให้แมนเชสเตอร์ซิตีครบ 100 นัดในการแข่งขันพรีเมียร์ลีกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2024 และทำได้หนึ่งประตูช่วยให้ทีมบุกไปเอาชนะเชลซีด้วยผลประตู 2–0 ในสัปดาห์ต่อมา เขาทำแฮตทริกครั้งแรกของฤดูกาลในนัดที่ซิตีเปิดบ้านเอาชนะทีมน้องใหม่อย่างอิปสวิชทาวน์ 4–1 ซึ่งถือเป็นแฮตทริกครั้งที่เจ็ดในพรีเมียร์ลีก[ 82] ตามด้วยการทำแฮตทริกได้อีกครั้งในสัปดาห์ต่อมา ในนัดที่ซิตีบุกไปชนะเวสต์แฮม 3–1 ส่งผลให้แมนเชสเตอร์ซิตีแซงหน้าลิเวอร์พูลในการเป็นสโมสรที่ทำแฮตทริกได้มากที่สุดในยุคพรีเมียร์ลีก[ 83] นอกจากนี้ การทำถึงเจ็ดประตูจากการลงเล่นเพียงสามนัดแรก ส่งผลให้โฮลันแซงหน้าเอดิน เจกอ ในการทำประตูมากที่สุดจากการลงเล่นสามนัดแรกในพรีเมียร์ลีก และเขากลายเป็นผู้เล่นคนแรกนับตั้งแต่พอล จีเวลล์ ของแบรดฟอร์ดซิตี ใน ค.ศ. 1994 ที่ทำแฮตทริกได้ถึงสองครั้งจากการลงแข่งขันในสามนัดแรกของพรีเมียร์ลีก ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2024 โฮลันทำอีกสองประตูช่วยให้ทีมชนะเบรนท์ฟอร์ด 2–1 ทำให้เขายิงครบ 9 ประตู ทำลายสถิติของเวย์น รูนีย์ ในการทำประตูมากที่สุดในสี่นัดแรกของพรีเมียร์ลีก[ 84]
โฮลันทำครบ 100 ประตูในฐานะนักเตะซิตีเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2024 ในนัดที่เสมออาร์เซนอล 2–2 และยังเป็นประตูที่ 10 ในลีกจากการลงเล่น 5 นัด นอกจากนี้ เขายังทาบสถิติของคริสเตียโน โรนัลโด ในการทำ 100 ประตูจากการลงสนาม 105 นัดแรกให้แก่สโมสรในห้าลีกใหญ่ของยุโรป[ 85] ต่อมา วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2024 เขาทำสองประตูในนัดที่ซิตีบ้านชนะสปาร์ตา ปราก 5–0 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และทำหนึ่งประตูในนัดที่ซิติบุกไปแพ้ไบร์ทตัน 1–2 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 และจากการลงสนามไปเพียง 75 นัด ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่ทำครบ 75 ประตูได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก[ 86] โฮลันทำสองประตูในนัดที่ซิตีเปิดบ้านเสมอไฟเยอโนร์ด ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 ถือเป็นประตูที่ 50 ในการแข่งขันฟุตบอลยุโรปของเจ้าตัว
ทีมชาติ
แม้ว่าจะสามารถเลือกเล่นให้กับอังกฤษ แต่โฮลันเลือกเล่นให้กับนอร์เวย์ และเป็นตัวแทนของทีมชาตินอร์เวย์ในหลายรุ่นอายุ ตอนที่เล่นให้กับทีมชาตินอร์เวย์รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี[ 87] เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2018 เขาทำแฮตทริกช่วยให้ทีมเอาชนะสกอตแลนด์ 5–4 ทำให้นอร์เวย์ผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี 2018 [ 88] ต่อมาในรอบสุดท้าย วันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 โฮลันทำประตูให้กับทีมชาตินอร์เวย์รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปีในนัดที่เสมอกับอิตาลี 1–1[ 89]
วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 โฮลันทำ 9 ประตูช่วยให้นอร์เวย์เอาชนะฮอนดูรัส 12–0 ในการแข่งขันฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2019 ที่ลูบลิน ในโปแลนด์[ 90] [ 91] ทำให้เป็นชัยชนะที่ขาดลอยที่สุดของทีมชาตินอร์เวย์รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี และเป็นความพ่ายแพ้ขาดลอยที่สุดของทีมชาติฮอนดูรัสรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี นอกจากนี้ เขายังทำสถิติทำประตูมากที่สุดต่อหนึ่งนัดในฟุตบอลโลกเยาวชน[ 92] และนัดนี้ก็เป็นนัดที่มีทีมชนะขาดลอยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกเยาวชน[ 93] อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์ตกรอบแบ่งกลุ่มและโฮลันไม่ได้ทำประตูในนัดที่เหลือ แต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เขาได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ[ 94]
หลังจากที่ทำผลงานอันยอดเยี่ยมในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2019 ประกอบด้วยกับผลงานที่ดีกับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คที่เขาทำ 6 ประตูจากการลงเล่นในลีก 4 วันแรก ทำให้ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2019 โฮลันจึงถูก Lars Lagerbäck เรียกติดทีมชาตินอร์เวย์ชุดใหญ่ ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบคัดเลือก นัดที่จะพบกับมอลตา และสวีเดน เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชาติชุดใหญ่เมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2019 ในนัดที่พบกับมอลตา[ 8] วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2020 โฮลันทำประตูแรกในนามทีมชาติในนัดที่แพ้ออสเตรีย 1–2 ในยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี [ 95] ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2020 เขาทำสองประตูในนัดที่พบกับนอร์เทิร์นไอร์แลนด์ [ 96]
รูปแบบการเล่น
โฮลันกระโดดข้ามแนวรับฝั่งตรงข้ามสมัยที่เล่นให้กับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในปี 2019
โฮลันได้รับการยอมรับในด้านการวิ่งและก้าวที่ทรงพลัง ความเป็นนักกีฬา ความแข็งแรง และการจ่ายลูกบอลที่แม่นยำ การวิ่งของโฮลันในแนวรับฝั่งตรงข้ามทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งที่ดีต่อการทำประตู[ 97] โฮลันมีความเร็วจนเป็นที่ยอมรับว่าผู้เล่นทีมคู่แข่งมัวแต่สนใจลูกบอลจนเขาได้โอกาสสอดแทรกในช่องว่างระหว่างแนวรับคู่แข่งเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับเพื่อนร่วมกัมของเขา[ 97] ในช่วงอาชีพเพียงระยะสั้น ๆ โฮลันกลายเป็นผู้เล่นที่ถนัดการทำประตู โดยเขาสามารถทำประตูได้ผ่านการยิงไกลอันทรงพลัง การยิงในตำแหน่งที่ดี การดวลตัวต่อตัวกับผู้รักษาประตู และการโหม่ง[ 97]
ในฐานะผู้เล่นที่เล่นกันเป็นทีม โฮลันเป็นผู้ที่อ่านเกมได้อย่างมีสัญชาตญาณและรวดเร็ว จนกระทั่งว่าความเร็วในการกระโจนทำให้เขามีกรอบผู้เล่นที่กว้าง เขาสามารถเอาชนะการครอบครองบอลหรือจ่ายบอลยาวย้อนหลังให้กับเพื่อนร่วมทีมได้[ 97] ช่วงที่เล่นให้กับดอร์ทมุนท์ การเล่นเชิงกลยุทธ์ของเขาช่วยให้เพื่อนร่วมทีมอย่างเจดอน แซนโช , อัชร็อฟ ฮะกีมี และตอร์กาน อาซาร์ มีพื้นที่สำหรับทำประตูหรือแอสซิสต์ได้[ 97] เมื่อโฮลันกำลังจะเชื่อมเกม เขาจะอยู่ในตำแหน่งอ้างอิงและใช้ความแข็งแกร่งป้องกันบอลจากคู่แข่งได้[ 98]
โฮลันสามารถวิ่งผ่านและหลอกกองหลังฝั่งตรงข้าม ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนทิศทางการวิ่งไปด้วย[ 97] นอกจากนี้ เขายังเรียกฟาล์วได้กลายครั้ง[ 97] ความแม่นยำในการวิ่งทำให้เขากระโจนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ และการเคลื่อนไหวที่เฉียบคมอย่างการวิ่งซิกแซ็กและการเคลื่อนที่สองจังหวะ ทำให้เขาเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหล[ 97] สิ่งนี้เป็นผลดีเมื่อเขาอยู่ในกรอบเขตโทษและมีโอกาสในการทำประตูหรือโจมตีกองหลังหรือตัดบอลเข้าใน [ 99]
ชีวิตส่วนตัว
โฮลันเป็นบุตรของ Alf-Inge Håland อดีตนักฟุตบอลของนอตทิงแฮมฟอเรสต์ ลีดส์ยูไนเต็ด และแมนเชสเตอร์ซิตี และ Gry Marita Braut อดีตนักสัตตกรีฑาหญิง[ 100] เขาเกิดที่ลีดส์และสนับสนุนลีดส์ยูไนเต็ด ในบทความสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์นอร์เวย์ Aftenposten เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 โฮลันกล่าวว่าอยากคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกกับลีดส์[ 101]
โฮลันกล่าวถึงคริสเตียโน โรนัลโด, มิชู , เจมี วาร์ดี และโรบิน ฟัน แปร์ซี เป็นแรงบันดาลใจ และยกให้เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ กับเซร์ฆิโอ ราโมส เป็นสองกองหลังที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เขาเคยเผชิญหน้าในสนาม[ 102] [ 103]
สถิติอาชีพ
สโมสร
ณ วันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2024
ทีมชาติ
ณ วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2024 [ 109]
การลงเล่นและประตูในนามทีมชาติต่อปี
ทีมชาติ
ปี
ลงเล่น
ประตู
นอร์เวย์
2019
2
0
2020
5
6
2021
8
6
2022
8
9
2023
6
6
2024
4
4
รวมทั้งหมด
33
31
ประตูในนามทีมชาติ
ณ วันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2022
รายการประตูที่อาลิง โฮลันทำ
ลำดับ
วันที่
สนาม
คู่แข่ง
ประตู
ผล
รายการแข่งขัน
อ้างอิง
1
4 กันยายน ค.ศ. 2020
Ullevaal Stadion , ออสโล , ประเทศนอร์เวย์
ออสเตรีย
1–2
1–2
ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี
[ 110]
2
7 กันยายน ค.ศ. 2020
วินด์เซอร์พาร์ก เบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ
ไอร์แลนด์เหนือ
2–1
5–1
ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี
[ 111]
3
5–1
4
11 ตุลาคม ค.ศ. 2020
Ullevaal Stadion , ออสโล , ประเทศนอร์เวย์
โรมาเนีย
1–0
4–0
ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ลีกบี
[ 112]
5
3–0
6
4–0
7
2 มิถุนายน ค.ศ. 2021
สนามกีฬาลาโรซาเลดา , มาลากา , ประเทศสเปน
ลักเซมเบิร์ก
1–0
1–0
กระชับมิตร
[ 113]
8
1 กันยายน ค.ศ. 2021
Ullevaal Stadion , ออสโล , ประเทศนอร์เวย์
เนเธอร์แลนด์
1–0
1–1
ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
[ 114]
9
4 กันยายน ค.ศ. 2021
สนามกีฬาเดากาวา , รีกา , ประเทศลัตเวีย
ลัตเวีย
1–0
2–0
ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
[ 115]
10
7 กันยายน ค.ศ. 2021
Ullevaal Stadion , ออสโล , ประเทศนอร์เวย์
ยิบรอลตาร์
2–0
5–1
ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
[ 116]
11
3–0
12
5–1
13
25 มีนาคม ค.ศ. 2022
Ullevaal Stadion , ออสโล , ประเทศนอร์เวย์
สโลวาเกีย
1–0
2–0
กระชับมิตร
[ 117]
14
29 มีนาคม ค.ศ. 2022
Ullevaal Stadion , ออสโล , ประเทศนอร์เวย์
อาร์มีเนีย
1–0
9–0
กระชับมิตร
[ 118]
15
5–0
เกียรติประวัติ
เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
แมนเชสเตอร์ซิตี
นอร์เวย์ อายุไม่เกิน 17 ปี
รางวัลส่วนตัว
อ้างอิง
↑ "Derfor byttet han fra Håland til Haaland" [The reason he changed from Håland to Haaland]. Dagbladet (ภาษานอร์เวย์). 19 September 2019. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019 .
↑ "FIFA U-20 World Cup Poland 2019: List of Players: Norway" (PDF) . FIFA. 13 June 2019. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 6 February 2020.
↑ "Erling Haaland: Overview" . ESPN. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020 .
↑ "Erling Haaland" . Borussia Dortmund. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020 .
↑ "Is Erling Haaland the best striker in the world?" . Optus Sport. 25 November 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021 .
↑ 6.0 6.1 "Servus in Salzburg Erling Halend" (ภาษาเยอรมัน). FC Red Bull Salzburg. 19 August 2018. สืบค้นเมื่อ 19 August 2018 .
↑ 7.0 7.1 "Haaland ballert sich zum Rekord" (ภาษาเยอรมัน). Sport1. 5 November 2019.
↑ 8.0 8.1 "Her er Norges landslagstropp mot Malta og Sverige" (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Football Federation. 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019 .
↑ Cross, Beren (9 July 2018). "Wonderkid Haaland would pick Leeds United over Man Utd every time" . Leeds Live . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 22 November 2019 . Erling Braut Haaland was born in Leeds in July 2000, a short time after his father, Alf-Inge, departed Elland Road for Manchester City after three years in West Yorkshire.
↑ Hansen, Ole Jonny Eriksrud (29 November 2018). "Erling Braut Haaland: - Har sagt til meg selv at jeg vil bli verdens beste spiller" . Nettavisen (ภาษานอร์เวย์). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020 .
↑ Rose, Gary (2 October 2019). "Erling Braut Haaland: Is Red Bull Salzburg striker really 'the next Zlatan Ibrahimovic'?" . BBC Sport . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2019. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019 .
↑ Godø, Øyvind (30 January 2020). "Slik ble Erling Braut Haaland en av heteste fotballspillere - Han kunne ikke løpe skikkelig" . www.dagbladet.no . Dagbladet . สืบค้นเมื่อ 2 September 2020 .
↑ 13.0 13.1 "Erling Haaland's journey: from Bryne to Borussia Dortmund" . www.bundesliga.com . Bundesliga . สืบค้นเมื่อ 2 September 2020 .
↑ 14.0 14.1 14.2 König, Nicklas; Schmeckel, Maximilian. "Behind Haaland's Unstoppable Rise" . www.goal.com . GOAL . สืบค้นเมื่อ 2 September 2020 .
↑ 15.0 15.1 "In Profile: Erling Braut Håland" . FOTBALLBEN . 13 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018 .
↑ "Rødt kort og tap da Håland debuterte" . Jærbladet (ภาษานอร์เวย์). 12 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018 .
↑ "HÅLAND KLAR FOR MOLDE FK" (ภาษานอร์เวย์). Molde FK. 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018 .
↑ "Solskjær hyller stortalentet Erling Braut Håland (17): – Ekkel å spille mot" [Solskjær praises huge talent Erling Braut Håland (17): – Hard to play against]. Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 6 August 2018. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018 .
↑ "Alfies sønn (16) fikk Molde-debut: Gult kort etter 65 sekunder" [Alfie's son (16) got his Molde debut: Yellow card after 65 seconds]. Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018 .
↑ Ould-Saada, Arilas Berg (18 September 2017). "Molde-helten (17) refses av lagkamerat: – Det får han ikke gjøre igjen" . Verdens Gang .
↑ "alyomfotball.no: Erling Braut Haaland - Tipico Bundesliga" . alt om fotball. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020 .
↑ Hansen, Jonathan Simchai (1 July 2018). "Haaland (17) herjet foran Manchester United-speider – scoret fire mål" . NRK.
↑ "Manchester United scout watches wonderkid Erling Haaland score FOUR goals" [Manchester United scout watches wonderkid Erling Haaland score FOUR goals]. Manchester Evening News . 2 July 2018. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018 .
↑ "LEKESTUE!" [LEKESTUE!]. Molde FK. 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018 .
↑ "Håland-scoring da Molde dominerte mot albanske Laci" . Eurosport. 26 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018 .
↑ Ould-Saada, Arilas Berg (1 November 2018). "Skadet Håland trolig ferdigspilt i Molde" . Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์).
↑ 27.0 27.1 "Alle vinnerne på fotballfesten" . eliteserien.no (ภาษานอร์เวย์). Eliteserien. 25 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019 .
↑ "Erling Braut Haaland: - Har sagt til meg selv at jeg vil bli verdens beste spiller" [Erling Braut Haaland: - Told myself I want to become the world's best player] (ภาษานอร์เวย์). Nettavisen . 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020 .
↑ "Phil Hay says Leeds United attempted to sign Erling Haaland last year" . Sportslens.com . 18 September 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020 .
↑ "Parndorf vs. Salzburg 1–7" . Soccerway . สืบค้นเมื่อ 17 September 2019 .
↑ "Salzburg vs. Wolfsberger AC 5–2" . Soccerway . สืบค้นเมื่อ 17 September 2019 .
↑ "Salzburg vs. Hartberg 7–2" . Soccerway . สืบค้นเมื่อ 17 September 2019 .
↑ "Champions League roundup: Håland makes history in Salzburg romp as Barça are held" . The Guardian . 17 September 2019.
↑ 34.0 34.1 "Salzburg's Haaland matches Drogba's Champions League record" . Goal.com . 24 October 2019.
↑ "Erling Haaland makes Champions League history" . Diario AS . 27 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-09-06 .
↑ "Genk 1–4 Red Bull Salzburg: Erling Braut Haaland breaks more scoring records" . BBC Sport . 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019 .
↑ "BVB verplichtet Erling Haaland" (ภาษาเยอรมัน). Borussia Dortmund. 29 December 2019. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019 .
↑ "Erling Braut Haaland: Borussia Dortmund sign striker from Red Bull Salzburg" . BBC Sport . 29 December 2019. สืบค้นเมื่อ 31 December 2019 .
↑ "FC Augsburg 3–5 Borussia Dortmund: Erling Braut Haaland scores hat-trick on debut" . BBC Sport . 18 January 2020. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020 .
↑ Grez, Matias (18 January 2020). "Teen sensation Erling Braut Håland scores debut hat-trick to save Borussia Dortmund" . CNN. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020 .
↑ "Haaland glänzt auch beim Heimdebüt: BVB schießt Köln ab" . kicker (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 25 January 2020 .
↑ "Haaland's Bundesliga record – five goals in 56 minutes" . Borussia Dortmund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020 .
↑ Dawkes, Phil (18 February 2020). "Borussia Dortmund 2–1 Paris St-Germain: Erling Braut Haaland scores twice" . BBC Sport . สืบค้นเมื่อ 19 February 2020 .
↑ "Dortmund's Haaland scores Bundesliga's first goal upon league's return" . ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020 .
↑ "Haaland goals secure Bundesliga runner-up spot for Dortmund" . AP NEWS . 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26 .
↑ "Erling Haaland: Manchester City agree to sign Norway striker from Borussia Dortmund for £51.2m" . BBC Sport . 10 May 2022. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022 .
↑ "City Complete Haaland Transfer" . Manchester City . 13 June 2022.
↑ "BREAKING: Darwin Nunez silences his doubters as Erling Haaland misses sitter in Community Shield" . GiveMeSport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-07-30.
↑ "Erling Haaland 'born to score goals', says Pep Guardiola after City victory" . the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-07.
↑ "Erling Haaland scores perfect hat-trick against Nottingham Forest" . SkySports (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Haaland scores hat-trick as Manchester City hit Nottingham Forest for six" . the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-31.
↑ "Haaland scores twice as Man City thrash Sevilla" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02 .
↑ "Haaland, Man City off to a flying start in Champions League with big win over Sevilla" . ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-06.
↑ "Haaland voted August EA SPORTS Player of the Month" . www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ Gastelum, Andrew. "Erling Haaland Nets Hat Trick in First Manchester Derby" . Sports Illustrated (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
↑ "Premier League records beware: Erling Haaland has landed" . the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-06.
↑ " 'Hungry' Haaland driven by World Cup absence" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-02-26 .
↑ "Record-breaking Haaland hits five in City rout" . ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-03-14.
↑ "Manchester City vs. RB Leipzig - Football Match Report - March 14, 2023 - ESPN" . ESPN.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Man City hammer Arsenal to move two points off top" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ "Haaland wins EA SPORTS Player of the Month award" . www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ Jackson, Jamie (2023-05-12). "Haaland and Kerr win Football Writers' Association player of the year awards" . The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077 . สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ "Haaland wins FWA award by biggest margin ever" . ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-05-12.
↑ Unwin, Will (2023-05-20). "Manchester City win Premier League title for fifth time in six seasons" . The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712 . สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ "European Sports Magazines" . www.eusm.eu . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-03-18. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ "Haaland claims 2022/23 Golden Boot" . www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Man City beat Man Utd to win cup with Gundogan double" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ "The big numbers behind Manchester City's Treble" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ UEFA.com (2023-06-09). "Champions League top scorers 2022/23: Erling Haaland finishes top | UEFA Champions League" . UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "UCL Final Stats: Haaland joins Messi, Ronaldo as Guardiola and Man City create history" . ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-11.
↑ UEFA.com (2023-08-31). "Erling Haaland wins UEFA Men's Player of the Year award | UEFA Champions League" . UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Haaland scores twice as Man City beat Burnley" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ Jackson, Jamie (2023-08-16). "Manchester City secure Uefa Super Cup with shootout win over Sevilla" . The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077 . สืบค้นเมื่อ 2023-10-29 .
↑ "Haaland makes more Premier League history" . www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Ballon d'Or 2023: 'It's what I'm good at' - Erling Haaland on 'his job' to score after picking up award" . Eurosport (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-30.
↑ "Haaland makes history - but Man City miss record bid" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-02 .
↑ "Haaland to return for Man City after nearly 2 months out with foot injury" . AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-30.
↑ "Erling Haaland sets another record! Man City superstar completes Premier League feat only previously accomplished by Harry Kane following Brentford winner | Goal.com United Arab Emirates" . www.goal.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-20.
↑ "Haaland scores five as Man City thrash Luton" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-03-01 .
↑ Bray, Joe (2024-05-04). "Man City vs Wolves live highlights as Haaland hits four" . Manchester Evening News (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Haaland double takes Man City top ahead of final day" . www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ https://www.skysports.com/football/news/11661/13200584/man-city-4-1-ipswich-town-erling-haaland-hat-trick-puts-town-to-the-sword
↑ Ibarra, Diego Mayel; Roche, Calum (2024-08-31). "How many hat-tricks has Haaland scored in the Premier League? Where is he on all-time list?" . AS USA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
↑ Jackson, Jamie (2024-09-14). "Erling Haaland double sinks Brentford after Yoane Wissa jolts Manchester City" . The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712 . สืบค้นเมื่อ 2024-09-16 .
↑ "Haaland nets 100th City goal, ties Ronaldo record" . ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-22.
↑ "Erling Haaland career goals, Premier League records, stats, 2024-25 season video highlights" . NBC Sports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-11-09.
↑ "UEFA European Under-19 Championship" . UEFA. 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018 .
↑ "Scotland U19s miss out on Euro 2019 qualification after incredible defeat to Norway" . Daily Record . 27 March 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018 .
↑ "Kean fires Italy level after Håland's penalty" . UEFA.com . Union of European Football Associations. 22 July 2018. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018 .
↑ "Erling Braut Haaland: Norway player scores nine goals in U20 World Cup win" . BBC Sport . 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 28 August 2019 .
↑ "Nine-goal Haland and Norway make history" . FIFA.com . Fédération Internationale de Football Association. 30 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 31 May 2019 .
↑ "Erling Braut Håland breaks U-20 World Cup record with nine goals in one match" . The Guardian . 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020 .
↑ "FIFA U-20 World Cup 2019: Erling Haaland scores record triple hat-trick as Norway thrash Honduras 12–0" . Fox Sports Asia . 31 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-05-31. สืบค้นเมื่อ 31 May 2019 .
↑ 94.0 94.1 "Lee, Lunin headline award winners at Poland 2019" . FIFA.com . Fédération Internationale de Football Association. 15 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2020-09-06 .
↑ "Norway 1–2 Austria" . UEFA . 4 September 2020.
↑ Atkinson, Guy (7 September 2020). "Northern Ireland 1-5 Norway: Two-goal Haaland stars in emphatic win" . goal.com . สืบค้นเมื่อ 8 September 2020 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ 97.0 97.1 97.2 97.3 97.4 97.5 97.6 97.7 "A tactical look at how Erling Haaland has added to Borussia Dortmund's attack" . bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 May 2020 .
↑ "A tactical look at how Erling Haaland has added to Borussia Dortmund's attack" . bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 May 2020 .
↑ "A tactical look at how Erling Haaland has added to Borussia Dortmund's attack" . bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 May 2020 .
↑ "Molde starlet Erling Braut Haland wants to follow father Alf-Inge and play for Leeds United" . Talksport. 10 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-01-04. สืบค้นเมื่อ 3 January 2018 .
↑ "Vraket utlandet for å spille under Solskjær" . Aftenposten (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 17 September 2019 .
↑ "Erling Braut Haaland has an unusual footballing hero in ex-Swansea star Michu" . BBC Sport . 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022 .
↑ "Erling Haaland: Borussia Dortmund striker on Jamie Vardy inspiration, Flow Kingz reunion and more" . Sky Sports . 27 Jan 2022. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11 .
↑ 104.0 104.1 104.2 104.3 104.4 104.5 "Erling Braut Haaland: Klubbstatistikk" [Erling Braut Haaland: Club statistics] (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Football Federation. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020 .
↑ 105.0 105.1 105.2 105.3 105.4 105.5 105.6 "E. Haaland: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022 .
↑ "Games played by อาลิง โฮลัน in 2022/2023" . Soccerbase . Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 7 August 2022 .
↑ "Games played by อาลิง โฮลัน in 2023/2024" . Soccerbase . Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 25 May 2024 .
↑ "Games played by อาลิง โฮลัน in 2024/2025" . Soccerbase . Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 24 August 2024 .
↑ "Erling Håland" . National Football Teams . Benjamin Strack-Zimmermann. สืบค้นเมื่อ 14 May 2022 .
↑ "Norway vs. Austria 1–2: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Northern Ireland vs. Norway 1–5: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Norway vs. Romania 4–0: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Norway vs. Luxembourg 1–0: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Norway vs. Netherlands 1–1: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Latvia vs. Norway 0–2: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Norway vs. Gibraltar 5–1: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Norway vs. Slovakia 2–0: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "Norway vs. Armenia 9–0: Summary" . Soccerway . Perform Group. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ "DFB-Pokal 2020/21, Finale in Berlin: RB Leipzig 1:4 Borussia Dortmund: Takt. aufstellung" [DFB-Pokal 2020/21, Final in Berlin: RB Leipzig 1:4 Borussia Dortmund: Tactical lineup]. kicker (ภาษาเยอรมัน). Olympia-Verlag. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021 .
↑ "Erling Haaland Manchester City Forward, Profile & Stats | Premier League" . www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Manchester City 2-1 Manchester United: Ilkay Gundogan double settles 2023 FA Cup final" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-06-02. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27 .
↑ "FA Cup Final 2024 LIVE: Watch Man City vs Man Utd stream plus score, line-ups, commentary & latest updates from Wembley" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
↑ "Man City beat Inter Milan 1-0 in Champions League final to claim Treble" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27 .
↑ "Manchester City 1-1 Sevilla: Pep Guardiola's side win Super Cup on penalties" . BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-08-15. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27 .
↑ "G16: Historisk finaleseier" . fotball.no (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Football Association. 3 September 2016. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020 .
↑ "Erling Haaland ist Österreichs Fußballer des Jahres" (ภาษาเยอรมัน). Sky Sport Austria. 18 December 2019. สืบค้นเมื่อ 25 May 2020 .
↑ "Champions League breakthrough team of 2019" . UEFA. 30 December 2019. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020 .
↑ "BVB: Erling Haaland zum Spieler der Saison in der Bundesliga gekürt" . Goal.com (ภาษาเยอรมัน). 25 May 2021.
↑ "Bundesliga Player of the Month" . Bundesliga. สืบค้นเมื่อ 14 February 2020 .
↑ "Erling Haaland named Bundesliga Player of the Month for November" . BuliNews.com . 18 December 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020 .
↑ "Erling Haaland named April Player of the Month!" . Bundesliga. 5 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "Bundesliga Rookie Award" . Bundesliga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-11-03. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020 .
↑ "The 2020/21 Bundesliga Team of the Season!" . Bundesliga. 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021 .
↑ "ESM reveal Team of the Year for 2019/20" . Marca . 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020 .
↑ "Erling Haaland beats Sancho, Ansu Fati to the 2020 Golden Boy award" . futaa. 21 November 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2020. สืบค้นเมื่อ 21 November 2020 .
↑ "THE FIFA FIFPRO MEN'S WORLD 11 OF 2019-2020" . FIFPro World Players' Union . 17 December 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020 .
↑ "Erling Braut Haaland ha sido galardonado con el Balón de Oro noruego 2020" (ภาษาสเปน). AS. 20 December 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2020. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020 .
↑ "Kniksens hederspris til Erling Braut Haaland" (ภาษานอร์เวย์). NFF. 23 December 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2020. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020 .
↑ "Champions League top scorer: Haaland finishes out in front" . UEFA. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 December 2021 .
↑ "UEFA Champions League Squad of the Season" . UEFA. 31 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021 .
↑ "Ballon d'Or 2023 : Erling Haaland (Manchester City) remporte le Trophée Gerd Müller" . L'Équipe (ภาษาฝรั่งเศส).
แหล่งข้อมูลอื่น
รางวัล
ยูโรเปียนคัพ
1955–56: Milutinović
1956–57: ไวโอเลต
1957–58: ดิ เอสเตฟาโน
1958–59: ฟงแตน
1959–60: ปุชกาช
1960–61: J. Águas
1961–62: ดิ เอสเตฟาโน , Løfqvist , ปุชกาช , Strehl & Tejada
1962–63: Altafini
1963–64: Kovačević , Mazzola & ปุชกาช
1964–65: เอวแซบียู & Torres
1965–66: Albert & เอวแซบียู
1966–67: Piepenburg & Van Himst
1967–68: เอวแซบียู
1968–69: ลอว์
1969–70: Jones
1970–71: Antoniadis
1971–72: Dunai , Macari & Takač
1972–73: มึลเลอร์
1973–74: มึลเลอร์
1974–75: มึลเลอร์ & Markarov
1975–76: ไฮน์เคิส
1976–77: Cucinotta & มึลเลอร์
1977–78: Simonsen
1978–79: Sulser
1979–80: Lerby
1980–81: McDermott , Rummenigge & Souness
1981–82: Hoeneß
1982–83: รอสซี
1983–84: Sokol
1984–85: Nilsson & ปลาตีนี
1985–86: Nilsson
1986–87: Cvetković
1987–88: R. Águas , Ferreri , Hagi , Madjer , McCoist , Míchel & Novák
1988–89: ฟัน บัสเติน
1989–90: ปาแป็ง & โรมารีอู
1990–91: Pacult & ปาแป็ง
1991–92: ปาแป็ง & Yuran
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ อื่น ๆ