จอร์จ ทาวลอน มันเนห์ ออปปง อุสมาน เวอาห์ (อังกฤษ : George Tawlon Manneh Oppong Ousman Weah ; เกิดวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1966) เป็นนักการเมืองและอดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวไลบีเรีย เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไลบีเรีย คนที่ 25 ตั้งแต่ ค.ศ. 2018 ถึง ค.ศ. 2024 ก่อนหน้าที่เขาจะได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี เขาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จากเทศมณฑลมอนต์เซอร์ราโด สำหรับอาชีพฟุตบอล เขาเคยเล่นในตำแหน่งกองหน้า โดยเริ่มเล่นในระดับอาชีพตั้งแต่อายุ 18 ปี จนกระทั่งเลิกเล่นใน ค.ศ. 2003[ 3] เขาเป็นนักฟุตบอลชาวแอฟริกันคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของรัฐ[ 4]
หลังจากที่เริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพในประเทศบ้านเกิดอย่างไลบีเรีย เวอาห์ได้เล่นให้กับหลายสโมสรในฝรั่งเศส อิตาลี และอังกฤษเป็นระยะเวลาถึง 14 ปี อาร์แซน แวงแกร์ เป็นผู้ที่นำพาเขาไปเล่นฟุตบอลในยุโรป โดยเขาได้เซ็นสัญญากับมอนาโก ของแวงแกร์ใน ค.ศ. 1988 เวอาห์ย้ายไปปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ใน ค.ศ. 1992 นอกจากเขาจะพาทีมชนะเลิศลีกเอิง ใน ค.ศ. 1994 แล้ว เขายังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 1994–95 อีกด้วย ต่อมาเขาเซ็นสัญญากับเอซี มิลาน ใน ค.ศ. 1995 เขามีช่วงเวลาที่ดีกับสโมสรถึงสี่ฤดูกาล โดยเขาพามิลานชนะเลิศเซเรียอา ได้ถึงสองสมัย[ 5] ต่อมาเขาได้ย้ายไปพรีเมียร์ลีก โดยได้เล่นให้กับเชลซี ซึ่งพาทีมชนะเลิศเอฟเอคัพ และยังได้เล่นให้กับแมนเชสเตอร์ซิตี เขากลับเป็นฝรั่งเศสอีกครั้งเพื่อเล่นให้กับมาร์แซย์ ใน ค.ศ. 2001 เขายุติอาชีพนักฟุตบอลกับอัลญะซีเราะฮ์ ใน ค.ศ. 2003 โฟร์โฟร์ทู จัดอันดับให้เวอาห์เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดที่ไม่เคยชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก [ 6]
ในระดับทีมชาติ เวอาห์ได้เล่นให้กับไลบีเรีย ในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ สองครั้ง เขาลงเล่นให้กับทีมชาติ 75 นัดและยิงได้ 18 ประตู เขากลับมาเล่นให้ทีมชาติอีกครั้งในนัดกระชับมิตรเมื่อ ค.ศ. 2018 ซึ่งนั่นทำให้เสื้อหมายเลข 14 ถูกยกเลิก เขาได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดที่ไม่เคยลงเล่นในฟุตบอลโลก [ 7] [ 8]
เวอาห์ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นชาวแอฟริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล โดยใน ค.ศ. 1995 เขาได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของฟีฟ่าและยังได้รับรางวัลบาลงดอร์ ทำให้เขาเป็นผู้เล่นชาวแอฟริกันคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ เขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของแอฟริกาในปี 1989, 1994 และ 1995 และได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของแอฟริกาแห่งศตวรรษในปี 1996 เขามีความโดดเด่นในด้านความเร่ง ความเร็ว และการเลี้ยงลูกบอล เช่นเดียวกันกับการยิงประตูและการจบสกอร์ ฟีฟ่า บรรยายถึงเวอาห์ว่าเป็น "ต้นแบบของกองหน้าสารพัดประโยชน์ในปัจจุบัน"[ 9] และใน ค.ศ. 2004 เปเล่ ใส่ชื่อเวอาห์ในฟีฟ่า 100 ซึ่งเป็นรายชื่อของนักฟุตบอลที่ยังมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก[ 10]
เวอาห์เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองหลังจากที่เขาประกาศเลิกเล่น เขาก่อตั้งสภาเพื่อการเปลี่ยนแปลงอันเป็นประชาธิปไตย แต่สุดท้ายเขาก็พ่ายแพ้ต่อเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ในการเลือกตั้งปี 2005 ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2011 เขาล้มเหลวอีกครั้งในการรับเลือกเป็นรองประธานาธิบดีร่วมกับวินสตัน ทับแมน ต่อมาเวอาห์ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา จากเทศมณฑลมอนต์เซอร์ราโด ในการเลือกตั้งปี 2014 สุดท้ายแล้ว เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีไลบีเรียในการเลือกตั้งปี 2017 ด้วยเอาชนะรองประธานาธิบดีในตอนนั้นอย่างโจเซฟ โบไค [ 11] [ 12] และเข้ารับพิธีปฏิญาณตนเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2018[ 13]
กำเนิดและเริ่มต้นอาชีพการค้าแข้ง
เวอาห์เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1966 ที่เมืองมอนโรเวีย ประเทศไลบีเรีย เขาเกิดมาในย่านสลัมของเมืองหลวงของประเทศกาฬทวีปแห่งนี้ ทำให้มีความยากจนข้นแค้นอย่างมาก แต่เขาเล่นฟุตบอลจนเตะตาสโมสรในไลบีเรียได้นำตัวเขามาร่วมทีมไมจ์ตี บาร์โรลล์ โดยกดไป 7 ประตูจาก 10 นัด จนได้เข้ามาร่วมทีมอินวินซิเบิล อิเลฟเว่น โดยกดไป 24 จากการลงเล่น 23 นัด จนได้เข้าร่วมทีมแอฟริกา สปอตส์ ถึงแม้จะลงเล่นแค่ 2 นัด แต่ก็ยิงได้ 1 ประตู ซึ่งถือว่าไม่น่าเกลียดนัก จึงได้เข้ามาร่วมทีมทอนเนอร์เร่ ยาอูนเด โดยยิงไป 14 ประตูจาก 18 นัดจนไปเตะตาอาร์แซน แวงแกร์ จนได้เข้าร่วมทีม โมนาโก และโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างมาก ทำให้เขาได้มาเล่นที่ปารีส แซ็ง-แชร์แม็ง และก็รักษามาตรฐานเดิมไว้ได้ จนได้ย้ายไปสโมสรฟุตบอลเอซีมิลาน และนั่นทำให้เขาโชว์ฟอร์มที่เรียกได้ว่าสุดยอดมากขึ้นมา จนได้บัลลงดอร์เลยทีเดียว ก่อนบั้นปลายชีวิตจะย้ายไปร่วมทีมสโมสรฟุตบอลเชลซี ,สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ,โอลิมปิกมาร์กเซย และ สโมสรฟุตบอลอัลจาซีรา ตามลำดับจนกระทั่งเลิกเล่นในปี 2003 หลังจากนั้นเขาก็เล่นการเมืองและลงเลือกตั้งในปี 2005 แต่แพ้ จนกระทั่ง 2017 เขาชนะการเลือกตั้งจนได้เป็นประธานาธิบดีของไลบีเรียได้สำเร็จ
เกียรติประวัติ
สโมสร
Mighty Barrolle
Invincible Eleven
ไลบีเรียนพรีเมียร์ลีก: 1986–87
มอนาโก
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
เอซี มิลาน
เชลซี
ทีมชาติ
ไลบีเรีย
CSSA Nations Cup รองชนะเลิศ: 1987[ 15]
รางวัลส่วนตัว
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
บาลงดอร์ (1956–2009) ฟีฟ่าบาลงดอร์ (2010–2015)บาลงดอร์ (2016–ปัจจุบัน)
ยูโรเปียนคัพ
1955–56: Milutinović
1956–57: ไวโอเลต
1957–58: ดิ เอสเตฟาโน
1958–59: ฟงแตน
1959–60: ปุชกาช
1960–61: J. Águas
1961–62: ดิ เอสเตฟาโน , Løfqvist , ปุชกาช , Strehl & Tejada
1962–63: Altafini
1963–64: Kovačević , Mazzola & ปุชกาช
1964–65: เอวแซบียู & Torres
1965–66: Albert & เอวแซบียู
1966–67: Piepenburg & Van Himst
1967–68: เอวแซบียู
1968–69: ลอว์
1969–70: Jones
1970–71: Antoniadis
1971–72: Dunai , Macari & Takač
1972–73: มึลเลอร์
1973–74: มึลเลอร์
1974–75: มึลเลอร์ & Markarov
1975–76: ไฮน์เคิส
1976–77: Cucinotta & มึลเลอร์
1977–78: Simonsen
1978–79: Sulser
1979–80: Lerby
1980–81: McDermott , Rummenigge & Souness
1981–82: Hoeneß
1982–83: รอสซี
1983–84: Sokol
1984–85: Nilsson & ปลาตีนี
1985–86: Nilsson
1986–87: Cvetković
1987–88: R. Águas , Ferreri , Hagi , Madjer , McCoist , Míchel & Novák
1988–89: ฟัน บัสเติน
1989–90: ปาแป็ง & โรมารีอู
1990–91: Pacult & ปาแป็ง
1991–92: ปาแป็ง & Yuran
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก