พรีเมียร์ลีก (อังกฤษ : Premier League ) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ โดยแข่งขันกัน 20 สโมสร มีระบบการเลื่อนชั้นและการตกชั้น กับอิงกลิชฟุตบอลลีก (อีเอฟแอล) ฤดูกาลการแข่งขันเริ่มต้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคม แต่ละทีมลงเล่นทั้งหมด 38 นัดจากการพบกันเหย้าและเยือน[ 1] โดยนัดการแข่งขันส่วนใหญ่มักจะแข่งขันในช่วงบ่ายวันเสาร์และวันอาทิตย์ (เวลาท้องถิ่น)[ 2]
การแข่งขันก่อตั้งในชื่อ เอฟเอพรีเมียร์ลีก (อังกฤษ : FA Premier League ) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 หลังการตัดสินใจของสโมสรใน ฟุตบอลลีกเฟิสต์ดิวิชัน (ลีกสูงสุดตั้งแต่ ค.ศ. 1888 ถึง 1992) ที่ต้องการจะแยกตัวออกจาก อิงกลิชฟุตบอลลีก อย่างไรก็ตาม ทีมต่าง ๆ ยังอาจตกชั้นหรือเลื่อนชั้นจาก อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ได้ พรีเมียร์ลีกได้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงลิขสิทธิ์การถ่ายทอดทางโทรทัศน์มูลค่า 5 พันล้านปอนด์ โดยที่ สกายและบีทีกรุป ได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดในประเทศ 128 นัดและ 32 นัด ตามลำดับ[ 3] [ 4] ข้อตกลงนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 พันล้านปอนด์สำหรับสี่ฤดูกาลตั้งแต่ ค.ศ. 2025 ถึง 2029[ 5] คาดว่าลีกจะได้รับรายได้จากลิขสิทธิ์การถ่ายทอดทางทีวีในต่างประเทศมูลค่า 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 2022 ถึงปี 2025[ 6] พรีเมียร์ลีกเป็นบริษัทที่ผู้บริหารระดับสูง ริชาร์ด มาสเตอส์ มีหน้าที่บริหารจัดการ ในขณะที่สโมสรสมาชิกทำหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้น[ 7] สโมสรได้รับรายได้จากเงินส่วนกลางจำนวน 2.4 พันล้านปอนด์ในฤดูกาล 2016–17 และอีก 343 ล้านปอนด์จ่ายให้กับสโมสรใน อิงกลิชฟุตบอลลีก (อีเอฟแอล)[ 8]
พรีเมียร์ลีกเป็นลีกกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก โดยมีการถ่ายทอดสดใน 212 ดินแดน ไปยังบ้าน 643 ล้านหลังและคาดว่ามีผู้ชมโทรทัศน์ 4.7 พันล้านคน[ 9] [ 10] มีผู้ชมในสนามเฉลี่ย 38,375 คน ในฤดูกาล 2023–24 [ 11] เป็นรองแค่ บุนเดิสลีกา ซึ่งมีผู้ชมในสนามเฉลี่ยที่ 39,512 คน[ 12] และมีผู้ชมในสนามสะสมในทุกนัดการแข่งขันที่สูงที่สุดมากกว่าลีกฟุตบอลอื่น[ 13] โดยเกือบทุกสนามมีผู้ชมเกือบเต็มความจุของสนาม[ 14] พรีเมียร์ลีกมีค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า เป็นอันดับที่หนึ่ง โดยค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่าคือการนำผลงานการแข่งขันในยุโรปจำนวนห้าฤดูกาลก่อนมาคำนวณ ณ ค.ศ. 2023[ 15] สโมสรจากลีกสูงสุดของอังกฤษชนะเลิศ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก / ยูโรเปียนคัพ เป็นอันดับสอง รองจากลีกสูงสุดของสเปน โดยมี 6 สโมสรจากอังกฤษคว้าถ้วยยุโรปทั้งหมด 15 ใบ[ 16]
มี 51 สโมสร ที่เคยแข่งขันในพรีเมียร์ลีกตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1992 โดยแบ่งเป็นสโมสรจากอังกฤษ 49 สโมสรและสโมสรจากเวลส์ 2 สโมสร มี 7 สโมสรจากทั้งหมดที่ชนะเลิศพรีเมียร์ลีก ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (13), แมนเชสเตอร์ซิตี (8), เชลซี (5), อาร์เซนอล (3), แบล็กเบิร์นโรเวอส์ (1), เลสเตอร์ซิตี (1) และ ลิเวอร์พูล (1)[ 17] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดครองสถิติชนะเลิศการแข่งขันมากที่สุดจำนวน 13 ครั้ง ในขณะที่แมนเชสเตอร์ซิตีเป็นเจ้าของสถิติชนะเลิศการแข่งขันติดต่อกันมากที่สุด 4 ฤดูกาล ในขณะที่มีเพียงหกสโมสรเท่านั้นที่ยังคงอยู่และยังไม่เคยตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก ได้แก่ อาร์เซนอล, เชลซี, เอฟเวอร์ตัน , ลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและทอตนัมฮอตสเปอร์ [ 18]
ประวัติ
ต้นกำเนิด
เมื่อทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980 สโมสรจากอังกฤษประสบความสำเร็จอย่างมากในยุโรป แต่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 เป็นช่วงที่ตกต่ำที่สุดของฟุตบอลอังกฤษ เนื่องจากสนามกีฬาเสื่อมสภาพ, ผู้สนับสนุนต้องทนกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ดี, เต็มไปด้วยฮูลิแกน และสโมสรอังกฤษถูกแบนจากการแข่งขันในยุโรปเป็นเวลาห้าปีหลังจากภัยพิบัติเฮย์เซล ในปี ค.ศ. 1985[ 19] ฟุตบอลลีกเฟิสต์ดิวิชัน เป็นการแข่งขันระดับสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1888 การแข่งขันดังกล่าวเป็นรอง เซเรียอา ของอิตาลีและลาลิกา ของสเปน ในแง่ของผู้ชมและรายได้และผู้เล่นชั้นนำของอังกฤษหลายคนย้ายไปเล่นในต่างประเทศ[ 20]
ภายในช่วงเปลี่ยนทศวรรษ 1990 แนวโน้มขาลงเริ่มกลับตัว เมื่อ ฟุตบอลโลก 1990 อังกฤษเข้ารอบรองชนะเลิศ, ยูฟ่า ซึ่งเป็นคณะปกครองของฟุตบอลยุโรป ยกเลิกการแบนห้าปีสำหรับสโมสรอังกฤษในการแข่งขันระดับยุโรปในปี ค.ศ. 1990 ทำให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะเลิศ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ในปี ค.ศ. 1991 รายงานเทย์เลอร์ เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของสนามกีฬา ซึ่งเสนอให้มีการปรับปรุงราคาแพงเพื่อสร้างสนามกีฬาแบบที่นั่งได้ทั้งหมดหลังภัยพิบัติฮิลส์โบโร ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990[ 21]
ในช่วงทศวรรษ 1980 สโมสรชั้นนำในอังกฤษได้เริ่มแปรสภาพเป็นธุรกิจร่วมทุน โดยใช้หลักการทางการค้าในการบริหารสโมสรเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงสุด มาร์ติน เอ็ดเวิร์ดส์ จาก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด , เออร์วิง สกอเลอร์ จาก ทอตนัมฮอตสเปอร์ และ เดวิด เดน จาก อาร์เซนอล เป็นหนึ่งในผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้[ 22] ความจำเป็นทางการค้านำไปสู่สโมสรชั้นนำที่ต้องการเพิ่มอำนาจและรายได้: สโมสรในเฟิสต์ดิวิชันขู่ว่าจะแยกตัวออกจากฟุตบอลลีก และด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงสามารถเพิ่มอำนาจการลงคะแนนและรับการจัดการทางการเงินที่ดีขึ้นได้ ส่วนแบ่งร้อยละ 50 ของรายได้โทรทัศน์และการสนับสนุนทั้งหมดในปี ค.ศ. 1986[ 22] พวกเขาเรียกร้องให้บริษัทโทรทัศน์จ่ายเงินมากขึ้นสำหรับการรายงานข่าวการแข่งขันฟุตบอล[ 23] และรายได้จากโทรทัศน์ก็มีความสำคัญเพิ่มขึ้น ฟุตบอลลีกได้รับ 6.3 ล้านปอนด์สำหรับข้อตกลงสองปีในปี ค.ศ. 1986 แต่ในปี ค.ศ. 1988 ในข้อตกลงที่ตกลงกับ ไอทีวี ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 44 ล้านปอนด์ในช่วงสี่ปีโดยสโมสรชั้นนำรับเงินสดร้อยละ 75[ 24] [ 25] สกอเลอร์ซึ่งมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงทางโทรทัศน์ระบุว่า แต่ละสโมสรในเฟิสต์ดิวิชัน ได้รับเงินเพียง 25,000 ปอนด์ต่อปีจากสิทธิ์ทางโทรทัศน์ก่อนปี ค.ศ. 1986 หลังการเจรจาในปี ค.ศ. 1986 สโมสรในเฟิสต์ดิวิชันได้รับเงินเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 50,000 ปอนด์ จากนั้นเพิ่มอีกเป็น 600,000 ปอนด์ในปี ค.ศ. 1988[ 26] การเจรจาในปี ค.ศ. 1988 ดำเนินไปภายใต้การคุกคามของ 10 สโมสรที่จะจากไปเพื่อก่อตั้ง "ซูเปอร์ลีก" แต่ในที่สุดพวกเขาก็ถูกเกลี้ยกล่อมให้อยู่ต่อ โดยที่สโมสรชั้นนำรับส่วนแบ่งจากข้อตกลงนี้[ 24] [ 27] [ 28] การเจรจายังทำให้สโมสรใหญ่ ๆ เชื่อมั่นว่าเพื่อให้ได้คะแนนโหวตเพียงพอ พวกเขาจำเป็นต้องนำทีมในเฟิสต์ดิวิชันทั้งหมดไปด้วย แทนที่จะเป็น "ซูเปอร์ลีก" ที่มีขนาดเล็กกว่า[ 29] ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 สโมสรใหญ่ได้พิจารณาที่จะแยกทางกันอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้ที่พวกเขาต้องระดมทุนเพื่อปรับปรุงสนามกีฬาตามที่รายงานเทย์เลอร์เสนอ[ 30]
เมื่อปี ค.ศ. 1990 เกร็ก ไดค์ กรรมการผู้จัดการของ ลอนดอนวีกเอนเทเลวิชัน (แอลดับเบิลยูที) ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับตัวแทนสโมสรฟุตบอล "บิกไฟว์" ในอังกฤษ (แมนเชอร์เตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล , ทอตนัมฮอตสเปอร์, เอฟเวอร์ตัน และอาร์เซนอล)[ 31] การประชุมครั้งนี้เป็นการปูทางให้สโมสรแยกตัวออกจากเดอะฟุตบอลลีก [ 32] ไดค์เชื่อว่าแอลดับเบิลยูทีจะมีกำไรมากขึ้น หากมีเพียงสโมสรขนาดใหญ่ในประเทศเท่านั้นที่ได้รับการนำเสนอทางโทรทัศน์ระดับชาติและต้องการพิสูจน์ว่าสโมสรจะสนใจในส่วนแบ่งเงินสิทธิ์ทางโทรทัศน์ที่มากขึ้นหรือไม่[ 33] สโมสรทั้งห้าเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะและตัดสินใจที่จะดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม ลีกจะไม่มีความน่าเชื่อถือหากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมฟุตบอล ดังนั้น เดวิด เดน จากอาร์เซนอล จึงได้มีการพูดคุยเพื่อดูว่าเอฟเอเปิดรับแนวคิดนี้หรือไม่ เอฟเอไม่ได้มีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับฟุตบอลลีกในขณะนั้น และคิดว่ามันเป็นหนทางที่จะทำให้ตำแหน่งของฟุตบอลลีกอ่อนแอลง[ 34] เอฟเอได้เผยแพร่รายงาน พิมพ์เขียวเพื่ออนาคตของฟุตบอล ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1991 ซึ่งสนับสนุนแผนสำหรับพรีเมียร์ลีก โดยเอฟเอมีอำนาจสูงสุดที่จะดูแลลีกที่แยกตัวออกมา[ 29]
การก่อตั้งและการครอบงำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ทศวรรษ 1990)
เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 1990–1991 มีการนำข้อเสนอสำหรับการจัดตั้งลีกใหม่ที่จะนำเงินมาสู่เกมการแข่งขันโดยรวมมากขึ้น ข้อตกลงสำหรับสมาชิกผู้ก่อตั้ง ลงนามเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 โดยสโมสรชั้นนำและได้กำหนดหลักการพื้นฐานสำหรับการก่อตั้งเอฟเอพรีเมียร์ลีก[ 35] ดิวิชันสูงสุดที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่จะต้องได้รับอิสรภาพทางการค้าจากสมาคมฟุตบอลและฟุตบอลลีก โดยให้ใบอนุญาตเอฟเอพรีเมียร์ลีกในการเจรจาข้อตกลงการออกอากาศ และการสนับสนุนของตนเอง ข้อตกลงที่ให้ไว้ในขณะนั้นคือรายได้เสริมจะช่วยให้สโมสรจากอังกฤษสามารถแข่งขันกับทีมต่าง ๆ ทั่วยุโรปได้[ 20] แม้ว่าไดค์จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างพรีเมียร์ลีก แต่เขาและไอทีวี (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอลดับเบิลยูที) แพ้การประมูลสิทธิ์ในการออกอากาศ บีสกายบี ชนะการประมูลด้วยการเสนอราคา 304 ล้านปอนด์ในระยะเวลาห้าปี กับ บีบีซี ได้รับรางวัลแพ็คเกจไฮไลต์ที่ออกอากาศใน แมตช์ออฟเดอะเดย์ [ 31] [ 33]
ลูตันทาวน์ , นอตส์เคาน์ตี และเวสต์แฮมยูไนเต็ด คือสามทีมที่ตกชั้นจากเฟิสต์ดิวิชันเดิมเมื่อจบฤดูกาล 1991–92 และไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันพรีเมียร์ลีกฤดูกาลแรก พวกเขาถูกแทนที่ด้วย อิปสวิชทาวน์, มิดเดิลส์เบรอและแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ที่เลื่อนชั้นจากเซกคันด์ดิวิชัน[ 36] 22 สโมสรในเฟิสต์ดิวิชันลาออกจากสมาคมฟุตบอลในปี ค.ศ. 1992 และเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมของปีเดียวกัน เอฟเอพรีเมียร์ลีกก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทจำกัด โดยทำงานในสำนักงานที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมฟุตบอลในขณะนั้นที่ประตูแลงคาสเตอร์ [ 20] สมาชิกเปิดตัว 22 สโมสรของพรีเมียร์ลีกใหม่ ได้แก่:[ 37]
การก่อตั้งพรีเมียร์ลีกหมายถึงการแยกตัวของฟุตบอลลีกอายุ 104 ปีที่แข่งขันกันมาจนถึงตอนนั้นด้วยสี่ดิวิชัน พรีเมียร์ลีกจะดำเนินการแข่งขันเป็นดิวิชันเดียวและฟุตบอลลีกอีกสามดิวิชัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขัน จำนวนทีมที่เข้าแข่งขันในลีกสูงสุด และการเลื่อนชั้นและการตกชั้นระหว่างพรีเมียร์ลีกและเฟิสต์ดิวิชันใหม่ยังคงเท่าเดิมกับเฟิสต์ดิวิชันและเซคันด์ดิวิชัน เก่าที่มีสามทีมตกชั้นจากลีกและสามทีมเลื่อนชั้น[ 28]
ลีกจัดการแข่งขันแรกในฤดูกาล 1992–93 ประกอบด้วย 22 สโมสร (ลดลงเหลือ 20 สโมสรในฤดูกาล 1995–96 ) ประตูแรกของพรีเมียร์ลีกโดย ไบรอัน ดีน จาก เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ชนะ 2–1 ในการแข่งขันพบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[ 38]
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะเลิศในลีกใหม่ครั้งแรก ถือเป็นการสิ้นสุดการรอคอย 26 ปี สำหรับการชนะเลิศในลีกสูงสุดของอังกฤษ ต่อมา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกลายเป็นทีมที่โดดเด่นในการแข่งขันทันที โดยการคว้าถ้วยรางวัลไปได้ 7 จาก 9 ถ้วยแรก ได้แก่ ชนะเลิศในลีกและเอฟเอคัพอย่างละ 2 สมัย และชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยยุโรป 3 สมัย ภายใต้การนำของนักเตะมากประสบการณ์อย่าง ไบรอัน ร็อบสัน , สตีฟ บรูซ , พอล อินซ์ , มาร์ก ฮิวจ์ส และเอริก ก็องโตนา ก่อนที่ก็องโตนา, บรูซและรอย คีน จะเป็นผู้นำทีมน้องใหม่ที่เต็มไปด้วยพลังและเปี่ยมด้วยพลัง ซึ่งเต็มไปด้วยผู้เล่นรุ่นคลาสออฟ 92 รวมถึง เดวิด เบคแคม จากศูนย์เยาวชนของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ระหว่าง ค.ศ. 1993 ถึง 1997 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ และนิวคาสเซิลยูไนเต็ด เกือบจะท้าทายการครอบงำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในช่วงแรกได้สำเร็จ แบล็กเบิร์นชนะเลิศเอฟเอพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1994–95 และนิวคาสเซิลเกือบชนะเลิศเหนือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ในช่วง ฤดูกาล 1995–96 ถึง 1996–97 อาร์เซนอล เลียนแบบการครอบงำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในปลายทศวรรษ ด้วยการชนะเลิศลีกและเอฟเอคัพในฤดูกาล 1997–98 และทั้งสองทีมก็ผูกขาดลีกร่วมกันระหว่าง ค.ศ. 1997 ถึง 2003
การอุบัติของ "ท็อปโฟร์" (ทศวรรษ 2000)
เมื่อทศวรรษ 2000 เห็นการครอบงำของสโมสรที่เรียกว่า "ท็อปโฟร์" ประกอบด้วย อาร์เซนอล, เชลซี, ลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[ 39] [ 40] ทั้งสี่ทีมจบในสิบอันดับแรกของตารางคะแนนอยู่หลายครั้งในทศวรรษนี้ จึงรับประกันการเข้าไปแข่งขันในรายการ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มีเพียงสี่สโมสรเท่านั้นที่สามารถผ่านเข้ารอบการแข่งขันดังกล่าวได้ในช่วงเวลานี้ ได้แก่ ลีดส์ยูไนเต็ด (2000–01 ), นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2001–02 และ 2002–03 ), เอฟเวอร์ตัน (2004–05 ) และ ทอตนัมฮอตสเปอร์ (2009–10 ) – แต่ละทีมครอบครองจุดสุดท้ายของแชมเปียนส์ลีก ยกเว้นนิวคาสเซิลในฤดูกาล 2002–03 ที่จบที่สาม
หลังฤดูกาล 2003–04 อาร์เซนอลได้รับฉายา "ดิอินวินซิเบิลส์" เนื่องจากเป็นสโมสรแรกที่แข่งขันในพรีเมียร์ลีกโดยไม่แพ้เกมใดเลย และเป็นครั้งเดียวที่เคยเกิดขึ้นในพรีเมียร์ลีก[ 41] [ 42]
เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 เควิน คีแกน กล่าวว่าการครอบงำของ "ท็อปโฟร์" คุกคามดิวิชัน: "ลีกนี้กำลังตกอยู่ในอันตรายจากการเป็นหนึ่งในลีกที่น่าเบื่อแต่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก"[ 43] ริชาร์ด สคูดามอร์ หัวหน้าผู้บริหารระดับสูงของพรีเมียร์ลีกกล่าวแก้ต่างว่า: "มีการแย่งชิงกันมากมายในพรีเมียร์ลีก ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ในอันดับต้น ๆ ตรงกลางหรือด้านล่างที่ทำให้มันน่าสนใจ"[ 44]
ระหว่างปี ค.ศ. 2005 ถึง 2012 มีสโมสรจากพรีเมียร์ลีกเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเจ็ดจากแปดครั้ง โดยมีเพียงสโมสร "ท็อปโฟร์" ที่ไปถึงรอบดังกล่าว ได้แก่ ลิเวอร์พูล (2005 ), แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (2008 ) และ เชลซี (2012 ) ชนะการแข่งขันในช่วงเวลานี้ ขณะที่ อาร์เซนอล (2006 ), ลิเวอร์พูล (2007 ), เชลซี (2008 ) และ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (2009 และ 2011 ) แพ้รอบชิงชนะเลิศทั้งหมด[ 45] ลีดส์ยูไนเต็ดเป็นทีมเดียวที่ไม่ใช่ท็อปโฟร์ที่เข้าถึงรอบรองชนะเลิศของแชมเปียนส์ลีกใน ฤดูกาล 2000–01 มีสามทีมจากพรีเมียร์ลีกที่เข้าถึงรอบรองชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาล 2006-07 , 2007-08 และ 2008-09 เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นห้าครั้ง (เช่นเดียวกับ เซเรียอา ใน 2002-03 และ ลาลิกา ใน 1999-2000 )
นอกจากนี้ ระหว่างฤดูกาล 1999–2000 และ 2009–10 มีทีมจากพรีเมียร์ลีกเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่าคัพหรือยูโรปาลีก มีเพียง ลิเวอร์พูล เท่านั้นที่ชนะเลิศรายการนี้ใน 2001 ขณะที่ อาร์เซนอล (2000 ), มิดเดิลส์เบรอ (2006 ) และ ฟูลัม (2010 ) แพ้รอบชิงชนะเลิศทั้งหมด[ 46]
แม้ว่าการครอบงำของกลุ่ม "ท็อปโฟร์" จะลดลงในระดับหนึ่งหลังจากช่วงเวลานี้ด้วยการมาของแมนเชสเตอร์ซิตีและทอตนัม แต่ในแง่ของคะแนนพรีเมียร์ลีกตลอดกาลนั้นยังคงมีระยะห่างที่ชัดเจน เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2018–19 – ฤดูกาลที่ 27 ของพรีเมียร์ลีก – ลิเวอร์พูล ซึ่งอยู่อันดับที่สี่ในตารางคะแนนตลอดกาล มีแต้มนำหน้าทีมต่อไปอย่างทอตนัมฮอตสเปอร์มากกว่า 250 แต้ม พวกเขายังเป็นทีมเดียวที่รักษาค่าเฉลี่ยการชนะได้มากกว่าร้อยละ 50 ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในพรีเมียร์ลีก[ 47]
การอุบัติของ "บิกซิกซ์" (ทศวรรษ 2010)
หลังปี ค.ศ. 2009 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ "ท็อปโฟร์" โดยมี ทอตนัมฮอตสเปอร์ และ แมนเชสเตอร์ซิตี แข่งขันจบสี่อันดับแรกเป็นประจำ ทำให้จาก "ท็อปโฟร์" กลายเป็น "บิกซิกซ์ "[ 48] ใน ฤดูกาล 2009–10 ทอตนัมจบอันดับสี่และกลายเป็นทีมแรกที่จบอันดับในท็อปโฟร์ ตั้งแต่ เอฟเวอร์ตัน ทำไว้เมื่อห้าปีก่อน[ 49] การวิพากษ์วิจารณ์ช่องว่างระหว่างกลุ่ม "สโมสรใหญ่" ชั้นนำและสโมสรส่วนใหญ่ของพรีเมียร์ลีกยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากความสามารถในการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าสโมสรอื่น ๆ ในพรีเมียร์ลีก[ 50] แมนเชสเตอร์ซิตี เป็นแชมป์ลีกใน ฤดูกาล 2011–12 กลายเป็นสโมสรแรกนอกเหนือจาก "บิกโฟร์" ที่ชนะเลิศตั้งแต่ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ใน ฤดูกาล 1994–95 นอกจากนี้ใน ฤดูกาล 2011–12 ยังเห็นสองสโมสรของ "ท็อปโฟร์" (เชลซีและลิเวอร์พูล) จบนอกสี่อันดับแรกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาลนั้น[ 48]
สำหรับการแข่งขันในลีก สโมสรที่จบสี่อันดับแรกสามารถเข้าไปแข่งขันในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทำให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น แม้ว่าจะมาจากฐานที่แคบของหกสโมสร ในห้าฤดูกาลหลังฤดูกาล 2011–12 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูลต่างพบว่าพวกเขาอยู่นอกสี่อันดับแรกสามครั้ง ในขณะที่เชลซีจบอันดับที่ 10 ในฤดูกาล 2015–16 อาร์เซนอลจบอันดับที่ 5 ในฤดูกาล 2016–17 หยุดสถิติการจบท็อปโฟร์ 20 ครั้งติดต่อกัน[ 51]
ในฤดูกาล 2015–16 เลสเตอร์ซิตี ชนะเลิศพรีเมียร์ลีกอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ไปแข่งขันในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และเป็นครั้งแรกที่สโมสรที่ไม่ใช่บิกซิกซ์นับตั้งแต่เอฟเวอร์ตันในปี ค.ศ. 2005 จบในสี่อันดับแรก[ 52]
นอกสนาม "บิกซิกส์" ใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเงินที่สำคัญ โดยสโมสรเหล่านี้โต้เถียงว่าพวกเขาควรได้รับส่วนแบ่งรายได้มากขึ้นเนื่องจากสโมสรของพวกเขาเติบโตขึ้นทั่วโลกและพวกเขาตั้งเป้าที่จะเล่นฟุตบอลที่น่าดึงดูด[ 53] ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าโครงสร้างรายได้ที่คุ้มทุนในพรีเมียร์ลีกช่วยรักษาลีกการแข่งขันซึ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต[ 54] ในฤดูกาล 2016–17 รายงานดีลอยต์ฟุตบอลมันนีลีก แสดงความเหลื่อมล้ำทางการเงินระหว่าง "บิกซิกซ์" และสโมสรในลีกที่เหลือ ทุกสโมสรของ "บิกซิกซ์" มีรายได้มากกว่า 350 ล้านยูโร แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด มีรายได้มากที่สุดในลีกอยู่ที่ 676.3 ล้านยูโร เลสเตอร์ซิตี เป็นสโมสรที่ใกล้เคียงกับ "บิกซิกซ์" มากที่สุดในแง่ของรายได้ โดยมีตัวเลขอยู่ที่ 271. ล้านยูโร ในฤดูกาลดังกล่าว ได้รับความช่วยเหลือจากการมีส่วนร่วมในแชมเปียนส์ลีก เวสต์แฮมมีรายได้มากที่สุดเป็นอันดับแปด ซึ่งไม่ได้เล่นในการแข่งขันระดับยุโรป โดยมีรายได้ 213.3 ล้านยูโร เกือบครึ่งหนึ่งของสโมสรที่มีรายได้มากเป็นอันดับห้าคือลิเวอร์พูล (424.2 ล้านยูโร)[ 55] รายได้ส่วนใหญ่ของสโมสรในขณะนั้นมาจากข้อตกลงการออกอากาศทางโทรทัศน์ โดยสโมสรที่ใหญ่ที่สุดแต่ละแห่งรับจากข้อตกลงดังกล่าวตั้งแต่ 150 ล้านปอนด์ถึงเกือบ 200 ล้านปอนด์ในฤดูกาล 2016–17[ 56] ในรายงานของดีลอยต์ เมื่อปี ค.ศ. 2019 ทุกสโมสรของ "บิกซิกซ์" อยู่ในสิบอันดับแรกของสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[ 57]
จำนวนครั้งที่สโมสรจบหกอันดับแรกในช่วงทศวรรษ 2010
สโมสร
จบหกอันดับแรก
แมนเชสเตอร์ซิตี
10 ครั้ง
ทอตนัมฮอตสเปอร์
10 ครั้ง
อาร์เซนอล
10 ครั้ง
เชลซี
9 ครั้ง
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
9 ครั้ง
ลิเวอร์พูล
6 ครั้ง
เอฟเวอร์ตัน
2 ครั้ง
เลสเตอร์ซิตี
1 ครั้ง
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
1 ครั้ง
เซาแทมป์ตัน
1 ครั้ง
แอสตันวิลลา
1 ครั้ง
การครอบงำของแมนเชสเตอร์ซิตี (ทศวรรษ 2020)
ผลการแข่งขันของ 'บิกซิกซ์' ในช่วงทศวรรษ 2020
ฤดูกาล
ARS
CHE
LIV
MCI
MUN
TOT
2019–20
8
4
1
2
3
6
2020–21
8
4
3
1
2
7
2021–22
5
3
2
1
6
4
2022–23
2
12
5
1
3
8
2023–24
2
6
3
1
8
5
ท็อปโฟร์
2
3
4
5
3
1
ท็อปซิกซ์
3
4
5
5
4
3
จาก 5
แชมป์ลีก แชมเปียนส์ลีก ยูโรปาลีก คอนเฟอเรนซ์ลีก
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ ถูกนำมาใช้ในลีกตั้งแต่ ฤดูกาล 2019–20 [ 58] ฤดูกาล 2019–20 เป็นฤดูกาลแรกที่ลิเวอร์พูลชนะเลิศพรีเมียร์ลีก พวกเขาชนะเลิศลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบ 30 ปี[ 59]
โปรเจกต์บิกพิกเจอร์ ได้รับการประกาศเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 โดยอธิบายถึงแผนการที่จะรวมสโมสรชั้นนำในพรีเมียร์ลีกกับ อิงกลิชฟุตบอลลีก เสนอโดย แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และลิเวอร์พูล สโมสรชั้นนำในพรีเมียร์ลีก[ 60] แผนการดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้นำพรีเมียร์ลีกและ กรมดิจิทัล, วัฒนธรรม, สื่อและการกีฬา ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร[ 61]
เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2021 การแข่งขันหยุดชั่วคราวในระหว่างนัดที่เลสเตอร์ซิตีพบกับคริสตัลพาเลซ เพื่อให้ผู้เล่น เวสลีย์ โฟฟานา และแชกู กูยาเต เพื่อพักไปละศีลอด เชื่อกันว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกที่การแข่งขันหยุดชั่วคราวเพื่อให้ผู้เล่นมุสลิมกินและดื่มหลังจากพระอาทิตย์ตกดินตามกฎของความเชื่อ[ 62]
ฤดูกาล 2022–23 จะเป็นฤดูกาลแรกที่มีพักเป็นเวลาหกสัปดาห์ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 2022 เพื่อให้ ฟุตบอลโลกฤดูหนาวครั้งแรก [ 63] กับการกลับมาของนัดการแข่งขันในวันเปิดกล่องของขวัญ [ 64] ผู้เล่นพรีเมียร์ลีกตัดสินใจคุกเข่าเฉพาะ "ช่วงเวลาสำคัญ" ที่เลือกไว้ แทนที่จะเป็นกิจวัตรก่อนการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม พวกเขายืนยันว่าจะ "ยังคงมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ในการขจัดอคติทางเชื้อชาติ"[ 65] ในฤดูกาลนี้ยังเห็นการจบอันดับหลังฤดูกาลด้วยทีมที่ไม่ใช่ "บิกซิกซ์" เดิม เมื่อ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด และไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน จบอันดับที่ 4 และ 6 ตามลำดับ ขณะที่ทีม "บิกซิกซ์" ทอตนัมฮอตสเปอร์ และเชลซี จบอันดับที่ 8 และ 12 ตามลำดับ[ 66] [ 67] ส่วน เลสเตอร์ซิตี แชมป์ลีกเมื่อฤดูกาล 2015–16 ตกชั้นในฤดูกาลนี้ กลายสโมสรที่สองที่เคยได้แชมป์ลีกแล้วตกชั้นตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ต่อจาก แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ในฤดูกาล 2010–11 [ 68]
ในฤดูกาล 2023–24 แมนเชสเตอร์ซิตีชนะเลิศพรีเมียร์ลีกเป็นสมัยที่หกในเจ็ดปี และกลายเป็นทีมแรกในลีกสูงสุดที่ชนะเลิศลีกสูงสุดสี่สมัยติดต่อกันในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ[ 69] ขณะที่ แอสตันวิลลา ซึ่งไม่ใช่ทีม "บิกซิกซ์" จบอันดับที่สี่และเข้าไปแข่งขันใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 [ 70]
จำนวนครั้งที่สโมสรจบหกอันดับแรกในช่วงทศวรรษ 2020
สโมสร
จบหกอันดับแรก
ลิเวอร์พูล
5 ครั้ง
แมนเชสเตอร์ซิตี
5 ครั้ง
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
4 ครั้ง
เชลซี
4 ครั้ง
อาร์เซนอล
3 ครั้ง
ทอตนัมฮอตสเปอร์
3 ครั้ง
เลสเตอร์ซิตี
2 ครั้ง
แอสตันวิลลา
1 ครั้ง
ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน
1 ครั้ง
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
1 ครั้ง
เวสต์แฮมยูไนเต็ด
1 ครั้ง
โครงสร้างองค์กร
บริษัท สมาคมฟุตบอลพรีเมียร์ลีก จำกัด (อังกฤษ : The Football Association Premier League Ltd (FAPL) )[ 71] [ 72] [ 73] ดำเนินการในฐานะองค์กรและเป็นเจ้าของโดย 20 สโมสรสมาชิก แต่ละสโมสรเป็น ผู้ถือหุ้น และมีสโมสรละหนึ่งเสียงในประเด็นต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงกฎและสัญญา สโมสรจะเลือกประธาน, ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริหารเพื่อดูแลการดำเนินงานประจำวันของลีก[ 74] สมาคมฟุตบอลไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานแบบวันต่อวันของพรีเมียร์ลีก แต่มีอำนาจยับยั้งในฐานะผู้ถือหุ้นพิเศษระหว่างการเลือกตั้งประธานและหัวหน้าผู้บริหารและเมื่อกฎใหม่ถูกนำมาใช้โดยลีก[ 75]
ผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบันคือ ริชาร์ด มาสเตอส์ โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019[ 76] และประธานคนปัจจุบันคือ อลิสัน บริตเทน ได้รับการแต่งตั้งเมื่อช่วงต้น ค.ศ. 2023[ 77]
พรีเมียร์ลีกส่งตัวแทนไปยังสมาคมสโมสรยุโรป ของยูฟ่า จำนวนสโมสรและสโมสรที่เลือกเองตามค่าสัมประสิทธิ์ของยูฟ่า สำหรับฤดูกาล 2023–24 พรีเมียร์ลีกมีตัวแทน 13 สโมสรในสมาคม ได้แก่ อาร์เซนอล, แอสตันวิลลา, ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน, เชลซี, เอฟเวอร์ตัน, ลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ซิตี, แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, นิวคาสเซิลยูไนเต็ด, นอตทิงแฮมฟอเรสต์, ทอตนัมฮอตสเปอร์, เวสต์แฮมยูไนเต็ดและวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์[ 78] สมาคมสโมสรยุโรปมีหน้าที่เลือกสมาชิกสามคนเข้าสู่คณะกรรมการการแข่งขันสโมสรของยูฟ่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของการแข่งขันยูฟ่า เช่น แชมเปียนส์ลีก และยูฟ่ายูโรปาลีก [ 79]
วิจารณ์การปกครอง
พรีเมียร์ลีกต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องวิธีการปกครอง เนื่องจากขาดความโปร่งใส และภาระรับผิดชอบ
หลังพรีเมียร์ลีกพยายามหยุดยั้งการเข้าซื้อกิจการนิวคาสเซิลยูไนเต็ดโดยสมาคมที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนรวมเพื่อการลงทุนสาธารณะ ผ่านการทดสอบของเจ้าของและกรรมการของลีก , ส.ส. หลายคน, แฟน ๆ ของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด และผู้ที่เกี่ยวข้องในข้อตกลง ประณามพรีเมียร์ลีกเนื่องจากขาดความโปร่งใสและภาระรับผิดชอบตลอดกระบวนการ[ 80] [ 81] [ 82] เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 อแมนดา สเตฟลีย์ สมาชิกกลุ่มสมาคมแห่งพีซีพีแคปิทัลพาร์ตเนอร์ส กล่าวว่า "แฟน ๆ สมควรได้รับความโปร่งใสอย่างแท้จริงจากหน่วยงานกำกับดูแลในทุกกระบวนการ - เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ พวกเขา (พรีเมียร์ลีก) กำลังทำหน้าที่เหมือนหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่มีระบบความรับผิดชอบแบบเดียวกัน"[ 82]
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ส.ส. เทรซีย์ เคราช์ – ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการบริหารฟุตบอลของสหราชอาณาจักรที่นำโดยแฟนบอล - ประกาศในผลการพิจารณาชั่วคราวของการพิจารณาว่าพรีเมียร์ลีกได้ "สูญเสียความไว้วางใจและความมั่นใจ" ของแฟน ๆ การตรวจสอบยังแนะนำให้สร้างหน่วยงานกำกับดูแลอิสระใหม่เพื่อดูแลเรื่องต่าง ๆ เช่น การเข้าซื้อกิจการของสโมสร[ 83] [ 84]
ริชาร์ด มาสเตอร์ หัวหน้าผู้บริหารของพรีเมียร์ลีก ได้กล่าวก่อนหน้านี้ถึงการบังคับใช้หน่วยงานกำกับดูแลอิสระ โดยกล่าวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 ว่า "ผมไม่คิดว่าหน่วยงานกำกับดูแลอิสระคือคำตอบสำหรับคำถาม ผมจะปกป้องบทบาทของพรีเมียร์ลีกในฐานะผู้กำกับดูแลสโมสรของลีกตลอด 30 ปีที่ผ่านมา"[ 85]
รูปแบบการแข่งขัน
[พรีเมียร์ลีก] ยากมากและแตกต่างออกไป ถ้าคุณเปรียบเทียบลีกนี้กับลีกอื่น มันเหมือนกับการเล่นกีฬาอื่น
อันโตนีโอ กอนเต , เกี่ยวกับการแข่งขันของพรีเมียร์ลีก[ 86]
การแข่งขัน
มีสโมสรร่วมกันแข่งขันในพรีเมียร์ลีก 20 ทีม ในช่วงระหว่างฤดูกาล (ตั้งแต่สิงหาคมถึงพฤษภาคม) โดยแต่ละทีมจะพบกันหมด เหย้าและเยือน ทีมชนะได้ 3 คะแนน ทีมเสมอได้ 1 คะแนน และทีมแพ้ไม่ได้คะแนน ตลอดฤดูกาลทุกทีมจะต้องแข่งขันทั้งสิ้น 38 นัด ทีมจะถูกจัดอันดับโดยเรียงจาก คะแนน, ผลประตูได้เสียและผลประตูรวม หากยังคงเท่ากันทีมจะถือว่าครองตำแหน่งเดียวกัน หากว่ายังเสมอกันเพื่อตกชั้นสู่การแข่งขันลีกแชมเปียนชิปหรือการคัดเลือกไปยังการแข่งขันอื่น ๆ ผลเฮดทูเฮดระหว่างทีมที่เสมอกันจะถูกนำมาพิจารณา (คะแนนที่ทำได้ในการแข่งขันระหว่างทีม ตามด้วยประตูเยือนในการแข่งขันเหล่านั้น) หากทั้งสองทีมยังคงเสมอกัน จะมีการแข่งขันเพลย์ออฟที่สนามกลางเพื่อตัดสินอันดับ[ 87]
การเลื่อนชั้นและการตกชั้น
มีระบบการเลื่อนชั้นและการตกชั้น ระหว่าง พรีเมียร์ลีก และ อีเอฟแอลแชมเปียนชิป โดยสามทีมที่ได้อันดับต่ำสุดในพรีเมียร์ลีก จะต้องตกชั้นไปเล่นใน แชมเปียนชิป และ ทีมที่อันดับสูงที่สุดสองทีมในแชมเปียนชิปจะเลื่อนชั้นไป พรีเมียร์ลีก พร้อมกับอีกหนึ่งทีมที่มาจากการชนะเลิศในการแข่งขันเพลย์-ออฟระหว่างอันดับที่ 3, 4, 5 และ 6[ 88] แต่เดิมพรีเมียร์ลีกมี 22 ทีมตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1992 แต่ลดลงเหลือ 20 ทีม เมื่อปี ค.ศ. 1995[ 89]
การคัดเลือกไปยังการแข่งขันอื่น
4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยสี่ทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม (ทีมชนะเลิศได้อยู่โถ 1) ส่วนอันดับ 5 จะได้เล่นยูฟ่ายูโรปาลีก (ยูฟ่า คัพ เดิม) และทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภายในประเทศก็จะได้สิทธิ์ไปเล่นในยูโรปาลีก โดยอัตโนมัติเช่นกัน ส่วนทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลอีเอฟแอลคัพก็จะได้สิทธิ์ไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก โดยอัตโนมัติเช่นกัน ในกรณีที่ทีมอันดับ 1-4 ชนะการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภายในประเทศและชนะการแข่งขันฟุตบอลลีกคัพ สิทธิ์การแข่งยูโรปาลีก จะได้แก่อันดับ 5 และ 6 ของพรีเมียร์ลีกแทน และสิทธิ์การแข่งคอนเฟอเรนซ์ลีก จะได้แก่อันดับ 7 ของพรีเมียร์ลีกแทน
ทีมพรีเมียร์ลีกที่ได้สิทธิไปแข่งฟุตบอลยุโรป มีเงื่อนไขดังนี้[ 90]
แชมป์พรีเมียร์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1
รองแชมป์พรีเมียร์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
อันดับที่ 3 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1
แชมป์ยูฟ่ายูโรปาลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
อันดับที่ 4 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
แชมป์เอฟเอคัพ : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
อันดับที่ 5 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
แชมป์อีเอฟแอลคัพ : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีกในรอบเพลย์ออฟ
สโมสร
มีห้าสิบเอ็ดสโมสรที่เคยเล่นในพรีเมียร์ลีกตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1992 และรวมถึงฤดูกาล 2023–24 [ 91]
ผู้ชนะเลิศ
สโมสร
ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
ฤดูกาลที่ชนะเลิศ
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
13
7
1992–93 , 1993–94 , 1995–96 , 1996–97 , 1998–99 , 1999–2000 , 2000–01 , 2002–03 , 2006–07 , 2007–08 , 2008–09 , 2010–11 , 2012–13
แมนเชสเตอร์ซิตี
8
3
2011–12 , 2013–14 , 2017–18 , 2018–19 , 2020–21 , 2021–22 , 2022–23 , 2023–24
เชลซี
5
4
2004–05 , 2005–06 , 2009–10 , 2014–15 , 2016–17
อาร์เซนอล
3
8
1997–98 , 2001–02 , 2003–04
ลิเวอร์พูล
1
5
2019–20
แบล็กเบิร์นโรเวอส์
1
1
1994–95
เลสเตอร์ซิตี
1
0
2015–16
ตัวอักษรเอียง หมายถึงอดีตแชมป์พรีเมียร์ลีกที่ปัจจุบันไม่ได้แข่งขันในพรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล 2024–25
ยี่สิบสโมสรที่แข่งขันใน พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2024–25 โดยมีสามสโมสรที่เลื่อนชั้นจากแชมเปียนชิป :
สโมสรในฤดูกาล 2024–25
อันดับใน 2023–24
ฤดูกาลแรกใน ดิวิชันสูงสุด
ฤดูกาลแรกใน พรีเมียร์ลีก
จำนวนฤดูกาล ที่อยู่ใน ดิวิชันสูงสุด
จำนวนฤดูกาล ที่อยู่ใน พรีเมียร์ลีก
ฤดูกาลแรกที่อยู่ใน ดิวิชันสูงสุดแล้ว ยังอยู่ถึงปัจจุบัน
จำนวนฤดูกาลที่อยู่ใน พรีเมียร์ลีก แล้วยังอยู่ถึงปัจจุบัน
จำนวนครั้ง ที่ชนะเลิศใน ดิวิชันสูงสุด
ชนะเลิศ ครั้งสุดท้ายใน ดิวิชันสูงสุด
อาร์เซนอล [ v 1] [ v 2]
&0000000000000002000000 2nd
1904–05
1992–93
108
33
1919–20 (99 ฤดูกาล[ v 3] )
33
13
2003–04
แอสตันวิลลา [ v 1] [ v 4]
&0000000000000004000000 4th
1888–89
1992–93
111
30
2019–20 (6 ฤดูกาล)
6
7
1980–81
บอร์นมัท
&0000000000000012000000 12th
2015–16
2015–16
8
8
2022–23 (3 ฤดูกาล)
3
0
–
เบรนต์ฟอร์ด [ v 2]
&0000000000000016000000 16th
1935–36
2021–22
9
4
2021–22 (4 ฤดูกาล)
4
0
–
ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน
&0000000000000011000000 11th
1979–80
2017–18
12
8
2017–18 (8 ฤดูกาล)
8
0
–
เชลซี [ v 1] [ v 2]
&0000000000000006000000 6th
1907–08
1992–93
90
33
1989–90 (36 ฤดูกาล)
33
6
2016–17
คริสตัลพาเลซ [ v 1]
&0000000000000010000000 10th
1969–70
1992–93
25
16
2013–14 (12 ฤดูกาล)
12
0
–
เอฟเวอร์ตัน [ v 1] [ v 2] [ v 4]
&0000000000000015000000 15th
1888–89
1992–93
122
33
1954–55 (71 ฤดูกาล)
33
9
1986–87
ฟูลัม
&0000000000000013000000 13th
1949–50
2001–02
30
18
2022–23 (3 ฤดูกาล)
3
0
–
อิปสวิชทาวน์ [ v 1]
&0000000000000022000000 2nd (EFL )
1961–62
1992–93
27
6
2024–25 (1 ฤดูกาล)
1
1
1961–62
เลสเตอร์ซิตี
&0000000000000021000000 1st (EFL )
1955–56
1994–95
56
18
2024–25 (1 ฤดูกาล)
1
1
2015–16
ลิเวอร์พูล [ v 1] [ v 2]
&0000000000000003000000 3rd
1894–95
1992–93
110
33
1962–63 (63 ฤดูกาล)
33
19
2019–20
แมนเชสเตอร์ซิตี [ v 1]
&0000000000000001000000 1st
1899–1900
1992–93
96
28
2002–03 (23 ฤดูกาล)
23
10
2023–24
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด [ v 1] [ v 2]
&0000000000000008000000 8th
1892–93
1992–93
100
33
1975–76 (50 ฤดูกาล)
33
20
2012–13
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
&0000000000000007000000 7th
1898–99
1993–94
93
30
2017–18 (8 ฤดูกาล)
8
4
1926–27
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ [ v 1]
&0000000000000017000000 17th
1892–93
1992–93
59
8
2022–23 (3 ฤดูกาล)
3
1
1977–78
เซาแทมป์ตัน [ v 1]
&0000000000000024000000 4th เพลย์ออฟ (EFL )
1893–94
1992–93
47
25
2024–25 (1 ฤดูกาล)
1
0
–
ทอตนัมฮอตสเปอร์ [ v 1] [ v 2]
&0000000000000005000000 5th
1909–10
1992–93
90
33
1978–79 (47 ฤดูกาล)
33
2
1960–61
เวสต์แฮมยูไนเต็ด
&0000000000000009000000 9th
1923–24
1993–94
67
29
2012–13 (13 ฤดูกาล)
13
0
–
วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ [ v 4]
&0000000000000014000000 14th
1888–89
2003–04
70
11
2018–19 (7 ฤดูกาล)
7
3
1958–59
ที่ตั้งของสโมสรในอังกฤษ สำหรับฤดูกาลพรีเมียร์ลีก 2024–25
ที่ตั้งของสโมสรรอบมหานครลอนดอน สำหรับพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2023–24
ผู้สนับสนุน
รายชื่อผู้สนับสนุนในรายการแข่งขันฤดูกาลต่าง ๆ
ช่วงปี
ผู้สนับสนุน
ชื่อลีก
1992–1993
ไม่มี
เอฟเอพรีเมียร์ลีก
1993–2001
คาร์ลิง
เอฟเอคาร์ลิงพรีเมียร์ชิป[ 20]
2001–2004
บาร์คลีการ์ด
เอฟเอบาร์คลีการ์ดพรีเมียร์ชิป[ 20]
2004–2007
บาร์คลีส์
เอฟเอบาร์คลีส์พรีเมียร์ชิป
2007–2016
บาร์คลีส์พรีเมียร์ลีก[ 20] [ 92]
2016–ปัจจุบัน
ไม่มี
พรีเมียร์ลีก
ความครอบคลุมของสื่อ
ในช่วงเวลาที่สโมสรใหญ่ต้องการเงินทุนมหาศาลนี้ เป็นโอกาสให้เจ้าของสถานีโทรทัศน์สกาย ยื่นข้อเสนอให้สโมสรในดิวิชันหนึ่งประจำฤดูกาล 1992−93 ให้ถอนตัวจากสมาชิกฟุตบอลลีกเพื่อมาจัดตั้งเอฟเอพรีเมียร์ลีก โดยทางสถานีขอซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันในราคาแพง ทำสัญญาฉบับแรกซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันเป็นเวลา 5 ปี (ฤดูกาล 1992−93 ถึง 1996−97) จ่ายค่าตอบแทนให้ 304 ล้านปอนด์ เทียบกับในอดีตที่ฟุตบอลลีกได้รายได้จากการขายสิทธิให้สถานีไอทีวีของอังกฤษ เพียง 44 ล้านปอนด์ ในช่วงเวลา 4 ปี เงื่อนไขตอบแทนทางธุรกิจเช่นนี้ ดึงดูดให้สโมสรทั้งหลายสนใจเป็นอย่างยิ่ง จนผู้บริหารสโมสรบางคน เช่น นายแอลัน ชูการ์ เจ้าของสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ แสดงตนเป็นแกนนำในการล็อบบี้ให้สโมสรอื่น ๆ ในดิวิชันหนึ่งที่จะเริ่มแข่งขันในฤดูกาล 1992−93 เห็นชอบกับการก่อตั้งลีกแห่งนี้
สำหรับลิขสิทธิ์ การเผยแพร่ในประเทศไทย ในช่วงฤดูกาล 2013−14, 2014−15 และ 2015−16 เป็นของบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) หน่วยงานกลางของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ระดับท้องถิ่น โดยต่อเนื่องมาจากบริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลทั่วประเทศ ในเครือบริษัท ทรูคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือลิขสิทธิ์ตั้งแต่ฤดูกาล 2007−08 จนถึง 2012−13 โดยต่อมาในปี 2016/2017 จนถึง 2018/2019 ช่องบีอินสปอตส์ ได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดดังกล่าว
ผู้จัดการทีม
ผมไม่เคยรู้จักระดับนี้มาก่อน แน่นอนว่ามีผู้จัดการทีมในเยอรมนี, อิตาลี และสเปน แต่ในพรีเมียร์ลีก พวกเขาคือผู้จัดการทีมที่ดีที่สุด ผู้จัดการทีมชั้นยอด, ด้านคุณภาพ, การเตรียมการ ระดับนั้นสูงมาก
แป็ป กวาร์ดิออลา , เกี่ยวกับคุณภาพของผู้จัดการทีมพรีเมียร์ลีก[ 93]
ผู้จัดการทีม ในพรีเมียร์ลีกมีส่วนร่วมในการทำงานประจำวันของทีม ได้แก่ การฝึกซ้อม, การคัดเลือกทีมและการจัดหาผู้เล่น อิทธิพลของพวกเขาแตกต่างกันไปในแต่ละสโมสรและเกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของสโมสรและความสัมพันธ์ของผู้จัดการกับแฟน ๆ[ 94] ผู้จัดการทีมต้องมี ยูฟ่าโปรไลเซนซ์ ซึ่งเป็นใบอนุญาตการฝึกสอนระดับสูงสุด ต่อจาก ยูฟ่า 'B' และ 'A' ไลเซนซ์[ 95] ยูฟ่าโปรไลเซนซ์นั้นจำเป็นสำหรับทุกคนที่ประสงค์จะจัดการสโมสรในพรีเมียร์ลีกเป็นการถาวร (เช่น คุมทีมมากกว่า 12 สัปดาห์, ระยะเวลาที่ผู้จัดการทีมชั่วคราวจะได้รับอนุญาตให้ควบคุมทีมได้)[ 96] การแต่งตั้งผู้จัดการทีมชั่วคราวคือการเติมช่องว่างระหว่างการออกจากตำแหน่งของผู้จัดการทีมและการแต่งตั้งใหม่ ผู้จัดการทีมชั่วคราวหลายคนได้ไปรับตำแหน่งผู้จัดการทีมถาวรหลังจากทำผลงานได้ดี เช่น พอล ฮาร์ต กับ พอร์ตสมัท , เดวิด พลีต กับ ทอตนัมฮอตสเปอร์ และ อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ กับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
อาร์แซน แวงแกร์ เป็นผู้จัดการทีมที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด โดยคุมทีมอาร์เซนอล ในพรีเมียร์ลีกตั้งแต่ ค.ศ. 1996 จนถึงสิ้นสุดฤดูกาล 2017–18 และครองสถิติคุมทีม 828 นัดกับอาร์เซนอล เขาทำลายสถิติของ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ซึ่งคุมทีม 810 นัดกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตั้งแต่พรีเมียร์ลีกเริ่มต้นจนถึงเกษียณเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2012–13 เฟอร์กูสันเป็นผู้จัดการทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1986 จนกระทั่งเกษียณอายุเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2012–13 หมายความว่าเขาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงห้าปีสุดท้ายของฟุตบอลลีกเฟิสต์ดิวิชันเก่าและ 21 ฤดูกาลแรกของพรีเมียร์ลีก[ 97]
มีการศึกษาหลายเรื่องเกี่ยวกับเหตุผลเบื้องหลังและผลกระทบของการไล่ผู้จัดการทีมออก การศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุดโดย ศาสตราจารย์ ซู บริดจ์วอเตอร์ จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล และ ดร.บาส เตอร์ วีล จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ได้ทำการศึกษาสองชิ้นแยกกัน ซึ่งช่วยอธิบายสถิติเบื้องหลังการไล่ผู้จัดการทีมออกจากตำแหน่ง การศึกษาของบริดจ์วอเตอร์พบว่าโดยทั่วไปแล้วสโมสรจะไล่ผู้จัดการทีมออกเมื่อทำคะแนนได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหนึ่งแต้มต่อนัด[ 98]
อาร์แซน แวงแกร์ อดีตผู้จัดการทีมอาร์เซนอลที่ทำหน้าที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก
ผู้เล่น
ลงเล่นมากที่สุด
แกเร็ท แบร์รี เป็นผู้เล่นที่ลงเล่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก รวม 653 นัด
ระเบียบการโอนและนักเตะต่างชาติ
การโอนย้ายผู้เล่น สามารถทำได้ในช่วงตลาดซื้อขายนักเตะ ซึ่งกำหนดโดยสมาคมฟุตบอล การโอนย้ายทั้งสองช่วงเริ่มตั้งแต่วันสุดท้ายของฤดูกาลจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม และตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคมถึง 31 มกราคม การลงทะเบียนผู้เล่นไม่สามารถแลกเปลี่ยนนอกกรอบเวลาเหล่านี้ได้ ยกเว้นภายใต้ใบอนุญาตเฉพาะจากสมาคมฟุตบอลซึ่งโดยปกติจะเป็นกรณีฉุกเฉิน[ 100] ตั้งแต่ฤดูกาล 2010–11 พรีเมียร์ลีกได้ออกกฎใหม่ที่กำหนดว่าแต่ละสโมสรจะต้องลงทะเบียนผู้เล่นจำนวนสูงสุด 25 คนที่มีอายุมากกว่า 21 ปี โดยรายชื่อทีมจะอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้เฉพาะตลาดซื้อขายนักเตะหรือในสถานการณ์พิเศษเท่านั้น[ 101] [ 102] ทั้งนี้เพื่อให้กฎ "โฮมโกรว์" มีผลบังคับใช้ โดยตั้งแต่ ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป พรีเมียร์ลีกจะกำหนดให้ผู้เล่นอย่างน้อยแปดคนในทีมที่มีชื่อ 25 คนเป็น "ผู้เล่นโฮมโกรว์"[ 101]
ในช่วงเริ่มต้นของพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 1992–93 มีผู้เล่นเพียง 11 คนที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อตัวจริงสำหรับการแข่งขันนัดแรกของงพรีเมียร์ลีกที่มาจากนอกสหราชอาณาจักรหรือไอร์แลนด์[ 103] ในฤดูกาล 2000–01 จำนวนผู้เล่นต่างชาติที่เข้าร่วมในพรีเมียร์ลีกคือร้อยละ 36 ของผู้เล่นทั้งหมด ในฤดูกาล 2004–05 ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เชลซีกลายเป็นทีมในพรีเมียร์ลีกทีมแรกที่ส่งผู้เล่นตัวจริงจากต่างประเทศทั้งหมด[ 104] และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 อาร์เซนอลเป็นทีมแรกที่มีชื่อผู้เล่นต่างชาติ 16 คนสำหรับนัดการแข่งขัน[ 105] ใน ค.ศ. 2009 ผู้เล่นต่ำกว่าร้อยละ 40 ในพรีเมียร์ลีกเป็นชาวอังกฤษ[ 106] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 มี 117 สัญชาติที่แตกต่างกันเล่นในพรีเมียร์ลีก และมี 101 สัญชาติที่ทำประตูได้ในการแข่งขัน[ 107]
ทำประตูสูงสุด
อลัน เชียเรอร์ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกด้วยจำนวน 260 ประตู
ณ วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2024 [ 108]
อันดับ
ผู้เล่น
ปี
ประตู
ลงเล่น
อัตราส่วน
1
เชียเรอร์, อลัน อลัน เชียเรอร์
1992–2006
260
441
0.59
2
เคน, แฮร์รี แฮร์รี เคน
2012–2023
213
320
0.67
3
รูนีย์, เวย์น เวย์น รูนีย์
2002–2018
208
491
0.42
4
โคล, แอนดี แอนดี โคล
1992–2008
187
414
0.45
5
อาเกวโร, เซร์ฆิโอ เซร์ฆิโอ อาเกวโร
2011–2021
184
275
0.67
6
แลมพาร์ด, แฟรงก์ แฟรงก์ แลมพาร์ด
1995–2015
177
609
0.29
7
อ็องรี, ตีแยรี ตีแยรี อ็องรี
1999–2007 2012
175
258
0.68
8
เศาะลาห์, มุฮัมมัด มุฮัมมัด เศาะลาห์
2014–2015 2017–
172
279
0.62
9
ฟาวเลอร์, ร็อบบี ร็อบบี ฟาวเลอร์
1993–2007 2008
163
379
0.43
10
เดโฟ, เจอร์เมน เจอร์เมน เดโฟ
2001–2003 2004–2014 2015–2019
162
496
0.33
ตัวเอียง หมายถึง ยังคงเล่นฟุตบอลอาชีพ,ตัวหนา ยังเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
↑ ระหว่าง ค.ศ. 2011 ถึง 2019 พรีเมียร์ลีกมีสองสโมสรจากเวลส์เข้าร่วม ได้แก่ คาร์ดิฟฟ์ซิตี และสวอนซีซิตี ซึ่งทั้งสองสโมสรแข่งขันอยู่ในระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ
↑ 22 ทีม ระหว่าง ค.ศ. 1992–1995
อ้างอิง
↑ "When will goal-line technology be introduced?" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 9 July 2013. จำนวนการแข่งขันทั้งหมดสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร n*(n-1) โดยที่ n คือจำนวนทีมทั้งหมด
↑ "Why is there a Saturday football blackout in the UK for live streams & TV broadcasts?" . Goal India . Mumbai . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 May 2022 .
↑ "English Premier League broadcast rights rise to $12 billion" . Sky News . Associated Press. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2021. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021 .
↑ "Sky and BT pay less in new £4.46bn Premier League football deal" . Sky News . London . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2021. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021 .
↑ "Premier League agrees record £6.7bn domestic TV rights deal" . BBC Sport . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023 .
↑ "U.S. Deal Vaults Premier League International Rights Over Domestic Rights" . Front Office Sports . 15 February 2022. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023 .
↑ Smith, Rory; Draper, Kevin; Panja, Tariq (9 February 2020). "The Long Search to Fill Soccer's Biggest, Toughest Job" . The New York Times . London. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021 .
↑ "Premier League value of central payments to Clubs" (Press release). London: The Football Association Premier League Limited. 1 June 2017. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2007. สืบค้นเมื่อ 6 June 2017 .
↑ "History and time are key to power of football, says Premier League chief" . The Times . 3 July 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2016. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013 .
↑ "Playing the game: The soft power of sport" . British Council . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2018. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018 .
↑ "English Premier League Performance Stats – 2023–24" . ESPN . สืบค้นเมื่อ 23 October 2024 .
↑ Bundesliga 2024/24 » Zuschauer (ในภาษาเยอรมัน) weltfussball.de, Spectator figures 2023–24 . Retrieved 23 October 2024
↑ "English Premier League Performance Stats – 2018–19" . ESPN. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2019. สืบค้นเมื่อ 16 August 2018 .
↑ Chard, Henry. "Your ground's too big for you! Which stadiums were closest to capacity in England last season?" . Sky Sports . Sky Sports . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2018. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016 .
↑ uefa.com (6 May 2021). "Member associations – Country coefficients – UEFA.com" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2019. สืบค้นเมื่อ 6 May 2021 .
↑ O, Gerard. "Champions League: What Country Has Been the Most Successful" . Bleacher Report . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 May 2022 .
↑ "Premier League Competition Format & History | Premier League" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2022. สืบค้นเมื่อ 24 July 2022 .
↑ "How long have Everton been in top-flight, which other clubs have never gone down" . 14 May 2023. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2023. สืบค้นเมื่อ 9 May 2023 .
↑ "1985: English teams banned after Heysel" . BBC News . 31 May 1985. สืบค้นเมื่อ 8 August 2006 .
↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 "A History of The Premier League" . Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 November 2011. สืบค้นเมื่อ 22 November 2007 .
↑ "The Taylor Report" . Football Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 16 October 2006. สืบค้นเมื่อ 22 November 2007 .
↑ 22.0 22.1 Taylor, Matthew (18 October 2013). The Association Game: A History of British Football . Routledge . p. 342. ISBN 9781317870081 .
↑ Tongue, Steve (2016). Turf Wars: A History of London Football . Pitch Publishing. ISBN 9781785312489 . [ลิงก์เสีย ]
↑ 24.0 24.1 Taylor, Matthew (18 October 2013). The Association Game: A History of British Football . Routledge. p. 343. ISBN 9781317870081 .
↑ Crawford, Gerry. "Fact Sheet 8: British Football on Television" . Centre for the Sociology of Sport, University of Leicester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 6 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 August 2006 .
↑ Lipton, Martin (5 October 2017). "Chapter 15: Mr Chairman". White Hart Lane: The Spurs Glory Years 1899–2017 . Weidenfeld & Nicolson. ISBN 9781409169284 .
↑ "Super Ten Losing Ground" . New Straits Times . 14 July 1988. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013 .
↑ 28.0 28.1 "The History of the Football League" . Football League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 11 April 2008. สืบค้นเมื่อ 12 September 2010 .
↑ 29.0 29.1 King, Anthony (2002). End of the Terraces: The Transformation of English Football . Leicester University Press. pp. 64–65. ISBN 978-0718502591 .
↑ King, Anthony (2002). End of the Terraces: The Transformation of English Football . Leicester University Press. p. 103. ISBN 978-0718502591 .
↑ 31.0 31.1 Conn, David (4 September 2013). "Greg Dyke seems to forget his role in the Premier League's formation" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 18 January 2018 .
↑ "The Men who Changed Football" . BBC News . 20 February 2001. สืบค้นเมื่อ 20 December 2018 .
↑ 33.0 33.1 Rodrigues, Jason (2 February 2012). "Premier League football at 20: 1992, the start of a whole new ball game" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 18 January 2018 .
↑ MacInnes, Paul (23 July 2017). "Deceit, determination and Murdoch's millions: how Premier League was born" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 18 January 2018 .
↑ "In the matter of an agreement between the Football Association Premier League Limited and the Football Association Limited and the Football League Limited and their respective member clubs" . HM Courts Service . 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 27 September 2007. สืบค้นเมื่อ 8 August 2006 .
↑ Lovejoy, Joe (2011). "3. The Big Kick-Off" . Glory, Goals and Greed: Twenty Years of the Premier League . Random House. ISBN 978-1-78057-144-7 .
↑ "Premiership 1992/93" . Soccerbase . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020 .
↑ Shaw, Phil (17 August 1992). "The Premier Kick-Off: Ferguson's false start" . The Independent . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2012. สืบค้นเมื่อ 24 August 2010 .
↑ Northcroft, Jonathan (11 May 2008). "Breaking up the Premier League's Big Four" . The Sunday Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011 .
↑ "The best of the rest" . Soccernet . ESPN. 29 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-12-23. สืบค้นเมื่อ 27 November 2007 .
↑ "Arsenal make history" . BBC Sport. 15 May 2004. สืบค้นเมื่อ 16 September 2015 .
↑ Platt, Oli (11 December 2018). "Arsenal Invincibles: How Wenger's 2003-04 Gunners went a season without defeat" . Goal . สืบค้นเมื่อ 10 January 2019 .
↑ "Power of top four concerns Keegan" . BBC Sport. 6 May 2008. สืบค้นเมื่อ 6 May 2008 .
↑ "Scudamore defends 'boring' League" . BBC Sport. 7 May 2008. สืบค้นเมื่อ 9 May 2008 .
↑ "UEFA Champions League – History: Finals by season" . UEFA. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018 .
↑ "UEFA Europa League – History: Finals by season" . UEFA. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018 .
↑ "Premier League All time – League Table" เก็บถาวร 2020-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Statbunker.com. Retrieved 1 February 2020
↑ 48.0 48.1 Jolly, Richard (11 August 2011). "Changing dynamics of the 'Big Six' in Premier League title race" . The National . สืบค้นเมื่อ 18 August 2013 .
↑ Smith, Rory. "Champions League defeat could ruin Tottenham's season says Vedran Corluka" . The Daily Telegraph . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014 .
↑ "Alex McLeish says Aston Villa struggle to compete with top clubs" . BBC Sport. 8 September 2011. สืบค้นเมื่อ 8 September 2011 .
↑ De Menezes, Jack (11 May 2016). "Arsenal secure top-four finish for 20th straight season to reach Champions League after Manchester United defeat" . The Independent . สืบค้นเมื่อ 1 June 2016 .
↑ "Leicester City win Premier League title after Tottenham draw at Chelsea" . BBC Sport . 2 May 2016.
↑ Conn, David (27 September 2017). "Premier League clubs aim to block rich six's bid for a bigger share of TV cash" . The Guardian .
↑ Tweedale, Alistair (2 October 2017). "The changing shape of the Premier League: how the 'big six' are pulling away" . The Daily Telegraph . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2022.
↑ Wilson, Bill (23 January 2018). "Manchester United remain football's top revenue-generator" . BBC News . สืบค้นเมื่อ 13 March 2018 .
↑ Conn, David (6 June 2018). "Premier League finances: the full club-by-club breakdown and verdict" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 9 December 2018 .
↑ "Deloitte Football Money League 2019: Real Madrid richest ahead of Barcelona and Manchester United" . Sky News . Sky UK . 24 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019 .
↑ MacInnes, Paul (9 August 2019). "VAR VAR voom! The Premier League gets set for video referees" . The Guardian . ISSN 0261-3077 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 16 November 2020 .
↑ "Liverpool win Premier League: Reds' 30-year wait for top-flight title ends" . BBC Sport . 25 June 2020.
↑ MacInnes, Paul; Hytner, David (11 October 2020). "Project Big Picture: leading clubs' plan to reshape game sparks anger" . The Guardian . ISSN 0261-3077 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020 .
↑ de Menezes, Jack (11 October 2020). " 'Project Big Picture' condemned by government as EFL chief launches defence of secret talks" . The Independent . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020 .
↑ Dorsett, Rob; Trehan, Dev (26 April 2021). "Wesley Fofana: Leicester defender thanks Premier League after being allowed to break Ramadan fast mid-game" . Sky Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 27 April 2021.
↑ "Premier League set for mid-season break" . BBC Sport . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 May 2022 .
↑ "How the 2022 World Cup will affect the 2022/23 Premier League season" . talkSPORT . 2 April 2022. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 May 2022 .
↑ "Premier League players agree to stop taking a knee before every game" . ESPN. 3 August 2022. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2022. สืบค้นเมื่อ 3 August 2022 .
↑ Thomas-Humphreys, Harry (23 May 2023). "The last time Newcastle United played in the Champions League" . Metro . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2023. สืบค้นเมื่อ 28 May 2023 .
↑ "Brighton qualify for Europa League: 'Special times at a club on the rise' " . BBC Sport. 24 May 2023. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2023. สืบค้นเมื่อ 29 May 2023 .
↑ Hafez, Shamoon (28 May 2023). "What went wrong for Leicester City?" . BBC Sport. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2023. สืบค้นเมื่อ 30 May 2023 .
↑ "Man City take greatness to new heights with fourth straight Premier League title" . ESPN.com . 19 May 2024.
↑ "Aston Villa qualify for Champions League: Unai Emery leads side into competition for first time since 1983" . Sky Sports .
↑ "C-403/08 – Football Association Premier League and Others" . curia.europa.eu . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2011.
↑ "Terms & Conditions" . Premier League . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 October 2015.
↑ "Privacy Policy" . Premier League . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 July 2015.
↑ "Our relationship with the clubs" . Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 14 November 2006. สืบค้นเมื่อ 8 August 2006 .
↑ "The Premier League and Other Football Bodies" . Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 March 2006. สืบค้นเมื่อ 12 September 2010 .
↑ "Premier League chief executive Richard Masters given job on permanent basis" . BBC Sport . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021 .
↑ "Clubs vote unanimously to appoint Whitbread PLC CEO to the position from early 2023" . Premier League. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2022. สืบค้นเมื่อ 27 October 2022 .
↑ "ECA Members" . European Club Association. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2018. สืบค้นเมื่อ 5 March 2024 .
↑ "European Club Association: General Presentation" . European Club Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 9 August 2010. สืบค้นเมื่อ 7 September 2010 .
↑ "Newcastle fans 'kept in the dark' by Premier League amid ongoing takeover" . Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021 .
↑ "Explained: the Premier League's letter about Newcastle's failed takeover" . The Athletic . สืบค้นเมื่อ 14 August 2020 .
↑ 82.0 82.1 "Newcastle takeover: Amanda Staveley wants UK Government and Premier League to make arbitration transparent" . Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021 .
↑ "Dangers to English football 'very real', says chair of fan-led review into game" . BBC. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021 .
↑ "English football needs independent regulator, says chair of fan-led review" . The Guardian . 22 July 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021 .
↑ " 'Time to act': Former players demand independent regulator for football" . The Guardian . 17 May 2021. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021 .
↑ "Antonio Conte calls Tottenham's January departures 'strange' and points to past mistakes made in the transfer window" . Sky Sports . UK. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2022. สืบค้นเมื่อ 4 February 2022 .
↑ "Premier League Rule C.17 p.107" (PDF) . Premier League Handbook Season 2021/22 . The Football Association Premier League Limited. สืบค้นเมื่อ 17 May 2022 .
↑ Fisher, Ben (9 May 2018). "Fulham lead march of heavyweights in £200m Championship play-offs" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 19 July 2018 .
↑ Miller, Nick (15 August 2017). "How the Premier League has evolved in 25 years to become what it is today" . ESPN. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018 .
↑ ไขปม ตีตั๋วลุยยุโรปทีมแดน ผู้ดี [ลิงก์เสีย ]
↑ "Clubs" . Premier League. สืบค้นเมื่อ 25 January 2018 .
↑ "Barclays renews Premier sponsorship" . premierleague.com . Premier League. 23 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 25 October 2009. สืบค้นเมื่อ 23 October 2009 .
↑ Bate, Adam (11 Feb 2022). "Pep Guardiola interview: 'Everyone wants to copy the winner but it is a big mistake,' says Man City head coach" . UK: Sky Sports. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2022. สืบค้นเมื่อ 11 February 2022 .
↑ Kelly, Seamus; Harris, John (2010). "Managers, directors and trust in professional football". Sport in Society: Cultures, Commerce, Media, Politics . 13 (3): 489–502. doi :10.1080/17430431003588150 . ISSN 1743-0437 . S2CID 144429767 .
↑ White, Duncan (5 December 2005). "The Knowledge" . The Daily Telegraph . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 13 October 2010 .
↑ Hughes, Matt; Samuel, Martin (22 September 2007). "Avram Grant's job under threat from lack of Uefa licence" . The Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010 .
↑ "Longest serving managers" . League Managers Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 7 February 2015. สืบค้นเมื่อ 14 September 2010 .
↑ "Soccernomics: Does sacking the manager actually make a difference?" . FourFourTwo . 13 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017 .
↑ "Premier League Statistics" . Premier League. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024 .
↑ "Premier League rules" (PDF) . Premier League. 2010. p. 150. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 6 March 2009. สืบค้นเมื่อ 7 September 2010 .
↑ 101.0 101.1 "Home Grown Player rules" . Premier League. 16 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 13 August 2010. สืบค้นเมื่อ 5 August 2010 .
↑ "New Premier League squad rules explained" . BBC Sport . 27 July 2010. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 5 August 2010 .
↑ Atkinson, Ron (23 August 2002). "England need to stem the foreign tide" . The Guardian . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 10 July 2012. สืบค้นเมื่อ 10 August 2006 .
↑ Ingle, Sean (12 June 2001). "Phil Neal: King of Europe?" . The Guardian . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2009. สืบค้นเมื่อ 10 August 2006 .
↑ "Wenger backs non-English line-up" . BBC Sport . 14 February 2005. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2013. สืบค้นเมื่อ 10 August 2006 .
↑ Williams, Ollie (17 August 2009). "Where the Premier League's players come from" . BBC Sport . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 3 October 2010 .
↑ "Samatta adds Tanzania to Premier League nations" . Premier League. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020 .
↑ "Premier League player stats" . Premier League. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ฤดูกาล สโมสร
การแข่งขัน สถิติและรางวัล การแข่งขัน ที่เกี่ยวข้อง
ลีกฟุตบอลชายสูงสุดของทวีปยุโรป (
ยูฟ่า )
ปัจจุบัน อดีต ไม่รับรอง
ทีมชาติ ลีก
ระดับ 1 ระดับ 2–4 ระดับ 5–6 ระดับ 7–8 ระดับ 9–10
ถ้วย
อื่น ๆ รายชื่อ