สุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ด้วยแมกนิจูด 1.0459 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร แนวคราสจะมองเห็นได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกของนิวซีแลนด์ ไปจนถึงแคว้นโกกิมโบในชิลีและอาร์เจนตินาขณะดวงอาทิตย์ตก ซึ่งจุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยจะเห็นเป็นเวลา 4 นาที 32 วินาที
ภาพ
มุมมองการเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้จากดาวเทียม
วงโคจรค้างฟ้า โดยดาวเทียม
GOES-16 ของ NOAA นอกจากนั้นยังมีพายุเฮอริเคนบาร์บาราซึ่งปรากฏบริเวณซีกโลกเหนือด้วย
สภาพมองเห็นได้
สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร
สืบเนื่องจากสุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในทวีปอเมริกาเหนือ องค์กรนักดาราศาสตร์ไร้พรมแดน (Astronomers Without Borders) ได้รวบรวมแว่นสำหรับการสังเกตการณ์อุปราคาเพื่อแจกจ่ายไปยังละตินอเมริกาและเอเชียสำหรับสุริยุปราคาในปี 2562[1]
คราสเต็มดวงเดินทางผ่านในพื้นที่ที่มีความชื้นและมลภาวะทางแสงในระดับต่ำ ซึ่งทำให้เอื้อต่อการสังเกตการณ์อย่างดีเยี่ยม หอดูดาวหลายขนาดใหญ่แห่งอยู่ในแนวคราสเต็มดวง รวมไปถึงหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปด้วย[2][3]
เกาะโออีโน
พื้นผิวแผ่นดินแรกและแห่งเดียวในบรรดาเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่สามารถสังเกตคราสเต็มดวงได้ คือ เกาะโออีโน ซึ่งเป็นอะทอลล์ไม่มีคนอยู่อาศัยในหมู่เกาะพิตแคร์น[3]
ชิลี
คราสเต็มดวงส่วนใหญ่สามารถสังเกตเห็นได้ในแคว้นโกกิมโบและส่วนเล็ก ๆ ของแค้วนอาตากามา เมืองในแนวเส้นทางประกอบด้วยลาเซเรนาและลาอีเกรา โดยมีผู้เข้าร่วมชมปรากฏการณ์ในเมืองลาเซเรนาถึงประมาณ 300,000 คน[2] ขณะที่หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปจำหน่ายตั๋วสำหรับเข้าชมสุริยุปราคาในราคา 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน[3]
อาร์เจนตินา
คราสเต็มดวงสามารถมองเห็นได้ในรัฐซานฆวน รัฐลาริโอฆา รัฐซานลุยส์ รัฐกอร์โดบา รัฐซานตาเฟ รัฐบัวโนสไอเรส[3]
อุปราคาที่เกี่ยวข้อง
สุริยุปราคา พ.ศ. 2561–2564
อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[4]
หมายเหตุ: สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 และ 11 สิงหาคม 2561 เกิดขึ้นระหว่างชุดเทอมก่อนหน้า
ซารอส 127
อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 127 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 82 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1534 (ค.ศ. 991) ชุดแซรอสนี้มีสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 1895 (ค.ศ. 1352) จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2634 (ค.ศ. 2091) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2995 (ค.ศ. 2452) คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2075 (ค.ศ. 1532) ที่เวลา 5 นาที 40 วินาที[5]
ชุดเมตอน
ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน)
อ้างอิง
|
---|
รายชื่อของอุปราคา | ตามศตวรรษ | |
---|
แซรอส | |
---|
การสังเกต | |
---|
ในประวัติศาสตร์ | |
---|
|
---|
อุปราคาแบบเต็มดวง/ผสม
สัญลักษณ์ → แสดงถึง อุปราคาแบบเต็มดวง/ผสมครั้งต่อไป | |
---|
อุปราคาแบบวงแหวน
สัญลักษณ์ → แสดงถึง อุปราคาแบบวงแหวนครั้งต่อไป | |
---|
อุปราคาแบบบางส่วน
สัญลักษณ์ → แสดงถึง อุปราคาแบบบางส่วนครั้งต่อไป | |
---|
บนดาวอื่น | |
---|
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง | |
---|
|