ดวงจันทร์

ดวงจันทร์  ☾ หรือ

ภาพดวงจันทร์ถ่ายจากพื้นโลกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
ลักษณะของวงโคจร
ระยะจุดใกล้โลกที่สุด:363,104 กม.
0.0024 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะจุดไกลโลกที่สุด:405,696 กม.
0.0027 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก:384,399 กม.
(0.00257 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
2,413,402 กม.
(0.16 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.0549
เดือนทางดาราคติ:27.321582 วัน
(27 วัน 7 ชม. 43.1 นาที)
เดือนจันทรคติ:29.530588 วัน
(29 วัน 12 ชม. 44.0 นาที)
เดือนอะโนมาลิสติก:27.554550 วัน
เดือนดราโคนิก:27.212221 วัน
เดือนทรอปิคัล:27.321582 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
1.022 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
1.082 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
0.968 กม./วินาที
ความเอียง:5.145° กับสุริยวิถี (ระหว่าง 18.29°
และ 28.58° กับศูนย์สูตรโลก)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
ถอยหลัง 1 รอบใน 18.6 ปี
มุมของจุด
ใกล้โลกที่สุด
:
ไปข้างหน้า 1 รอบใน 8.85 ปี
ดาวบริวารของ:โลก
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย:3,474.206 กม.
(0.273×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
3,476.28 กม.
(0.273×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
3,471.94 กม.
(0.273×โลก)
ความแป้น:0.00125
เส้นรอบวงตามแนวศูนย์สูตร:10,916 กม.
พื้นที่ผิว:3.793×107 กม.²
(0.074×โลก)
ปริมาตร:2.1958×1010 กม.³
(0.020×โลก)
มวล:7.3477×1022กก.
(0.0123×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย:3,346.4 กก./เมตร³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
1.622 เมตร/วินาที²
(0.1654 จี)
ความเร็วหลุดพ้น:2.38 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
27.321582 วัน (การหมุนสมวาร)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
4.627 เมตร/วินาที
ความเอียงของแกน:1.5424° (กับสุริยวิถี)
ความเอียงแกน:6.687° (กับระนาบวงโคจร)
อัตราส่วนสะท้อน:0.12
อุณหภูมิพื้นผิว:
   ศูนย์สูตร
   85°N
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
100 K220 K390 K
70 K130 K230 K
ขนาดเชิงมุม:ตั้งแต่ 29′ถึง 33′
ลักษณะของบรรยากาศ
ความหนาแน่นบรรยากาศ:107 อนุภาคต่อ ซม.³ (กลางวัน)
105 อนุภาคต่อ ซม.³ (กลางคืน)

ดวงจันทร์ (อังกฤษ: Moon) เป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่นมากหรือน้อย

คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อ ธีอา (Theia)

ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย

มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1,700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วัน[nb 1] เมื่อเปรียบเทียบการแปรคาบโคจรตามมาตรภูมิศาสตร์ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์ ซึ่งจะซ้ำรอบทุกๆ ช่วง 29.5 วัน[nb 2] (เรียกว่า คาบไซโนดิก)

เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์มีค่าประมาณ 3,474 กิโลเมตร[1] หรือประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ดังนั้นพื้นผิวของดวงจันทร์มีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของพื้นผิวของโลก (ประมาณ 1 ใน 4 ของผืนทวีปของโลกเท่านั้น คิดเป็นขนาดใหญ่ประมาณรัสเซีย แคนาดา กับสหรัฐอเมริกา รวมกัน) มวลรวมของดวงจันทร์คิดเป็นประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก

สัญลักษณ์แทนดวงจันทร์คือ ☾ ปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน นักบินอวกาศขององค์การนาซา เป็นมนุษย์ 2 คนแรกที่เหยียบลงบนพื้นดินของดวงจันทร์ กฎหมายอวกาศถือว่าดวงจันทร์เป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ ตามสนธิสัญญาที่ใช้บังคับกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์ ดวงดาว และวัตถุอวกาศอื่น ๆ ค.ศ. 1979

ชื่อและศัพทมูลวิทยา

ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ แต่มีความแตกต่างจากดวงจันทร์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะ เพราะเมื่อเราพูดถึง "ดวงจันทร์" ก็จะหมายถึง ดาวบริวารที่โคจรรอบโลกของเรา

คำว่า จันทร์ นั้นเป็นคำศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต (चंद्र จํทฺร อ่านว่า จัน-ดฺระ หรือคนไทยเราเรียกว่า จัน-ทฺระ) ซึ่งหมายถึงพระจันทร์ ในภาษาไทยเดิมมักเรียกว่า เดือน หรือ ดวงเดือน (ลาว: ເດືອນ เดือน, ไทใหญ่: လိူၼ် เหฺลิน) สำหรับในภาษาอังกฤษ ดวงจันทร์ หรือ Moon (ภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นคำ) เป็นคำภาษาเจอร์แมนิก ตรงกับคำภาษาลาติน คือ mensis เป็นคำที่แยกออกมาจากรากภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม และเป็นตัวแทนของการนับเวลา ซึ่งรำลึกถึงความสำคัญของมัน คือ วันจันทร์ ในภาษาอังกฤษ การเรียกดวงจันทร์มีมาจนถึงปี ค.ศ. 1665 เมื่อมีการค้นพบดาวบริวารดวงใหม่ของดาวเคราะห์ดวงอื่น บางครั้งดวงจันทร์จึงถูกเลี่ยงไปใช้ชื่อในภาษาลาตินของมันแทน คือ luna เพื่อที่จะแยกมันออกจากดาวบริวารอื่น ๆ

พื้นผิวของดวงจันทร์

การหมุนสมวาร

ไลเบรชันของดวงจันทร์

ข้างขึ้นข้างแรม

ดวงจันทร์มีการหมุนรอบตัวเองแบบที่เรียกว่า การหมุนสมวาร (synchronous rotation) คือคาบการหมุนรอบตัวเองกับคาบการโคจรรอบโลกมีค่าเท่ากัน โดยดวงจันทร์ใช้เวลาโคจรรอบประมาณ 27.3 วัน เป็นผลให้ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก เรียกด้านที่หันเข้าหาเราว่า "ด้านใกล้" (near side) ส่วนด้านตรงข้าม คือ "ด้านไกล" (far side) เป็นด้านที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ อย่างไรก็ตาม ดวงจันทร์มีการแกว่งเล็กน้อย ทำให้เรามีโอกาสมองเห็นพื้นผิวดวงจันทร์ได้มากกว่า 50% อยู่เล็กน้อย ในอดีต ด้านไกลของดวงจันทร์เป็นด้านที่ลึกลับอยู่เสมอ จนกระทั่งถึงยุคที่เราสามารถส่งยานอวกาศออกไปถึงดวงจันทร์ได้ สิ่งหนึ่งที่แตกต่างระหว่างด้านใกล้กับด้านไกล คือ ด้านไกลไม่มีพื้นที่ราบคล้ำที่เรียกว่า "มาเร" (แปลว่าทะเล) กว้างขวางมากเหมือนอย่างด้านใกล้

ดวงจันทร์ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองที่ได้จังหวะพอดีกับวิถีการโคจรรอบโลก ซึ่งเมื่อเรามองดวงจันทร์จากพื้นโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวตลอดเวลา ในประวัติศาสตร์ยุคแรกของดวงจันทร์ การหมุนของมันช้าและกลายเป็นถูกล็อกอยู่ในลักษณะนี้ เป็นผลมาจากปรากฏการณ์ความฝืด และมีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงบนโลก

เมื่อนานมาแล้ว ขณะที่ดวงจันทร์ยังคงหมุนเร็วกว่าในปัจจุบัน รอบโป่งในปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงมาก่อนแนวโลก-ดวงจันทร์ เพราะว่ามันไม่สามารถดึงรอยโป่งของมันกลับคืนได้อย่างรวดเร็วพอที่จะรักษาระยะของรอยโป่งระหว่างมันกับโลก การหมุนของมันขจัดรอยโป่งนอกเหนือจากแนวโลก-ดวงจันทร์ รอยโป่งที่อยู่นอกเส้นโลก-ดวงจันทร์นี้ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวขอหนอน ซึ่งลดความเร็วของการหมุนของดวงจันทร์ลง เมื่อการหมุนของดวงจันทร์ช้าลงจนเหมาะสมกับการโคจรรอบโลก เมื่อนั้นรอยโป่งของมันจึงหันหน้าเข้าหาโลกเสมอ รอยโป่งอยู่ในแนวเดียวกับโลก และรอยบิดของมันก็จึงหายไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมดวงจันทร์จึงใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองพอๆ กับการโคจรรอบโลก

มีความผันผวนเล็กน้อย (ไลเบรชัน) ในมุมองศาของดวงจันทร์ซึ่งเราได้เห็น เราจึงมองเห็นพื้นผิวของดวงจันทร์ทั้งหมดประมาณ 59% ของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์

 
ดวงจันทร์ด้านใกล้ (ด้านที่มองเห็นจากโลก)   ดวงจันทร์ด้านไกล (ด้านที่มองไม่เห็นจากโลก)

ด้านที่มองเห็นจากโลกจะถูกเรียกว่า "ด้านใกล้" และด้านที่อยู่ตรงข้ามเรียกว่า "ด้านไกล" ด้านไกลของดวงจันทร์ต่างจากด้านมืดของดาวพุธคือ ด้านมืดของดาวพุธเป็นด้านที่ไม่ถูกแสงอาทิตย์ส่องเลย แต่ด้านไกลของดวงจันทร์นั้นบางครั้งก็เป็นด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์และหันหน้าเข้าหาโลก ด้านไกลของดวงจันทร์ได้ถูกถ่ายรูปโดยยานลูน่า 3 ของโซเวียตในปีค.ศ. 1959 หนึ่งในลักษณะภูมิประเทศที่ทำให้สังเกตได้ว่าเป็นดวงจันทร์ด้านไกลคือมันมีที่ราบคล้ำหรือ "มาเร" น้อยกว่าด้านใกล้มาก

ทะเลบนดวงจันทร์

พื้นผิวบนดวงจันทร์ที่มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นสีคล้ำ คือที่ราบบนดวงจันทร์หรือเรียกว่า "ทะเล" บนดวงจันทร์ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า "มาเรีย" หรือ "มาเร" มาจากศัพท์ภาษาละติน หมายถึง ทะเล) ทั้งนี้เนื่องจากนักดาราศาสตร์ยุคแรกๆ เชื่อว่าพื้นผิวสีคล้ำเหล่านั้นเป็นพื้นน้ำ แต่ปัจจุบันทราบกันแล้วว่าเป็นแอ่งที่ราบกว้างใหญ่เกิดจากลาวาในยุคโบราณ ลาวาที่ระเบิดพวยพุ่งเหล่านี้ไหลเข้าไปในหลุมที่เกิดจากการปะทะของอุกกาบาตหรือดาวหางที่พุ่งเข้าชนดวงจันทร์ (ยกเว้น โอเชียนัส โพรเซลลารัม ซึ่งบนด้านไกลของดวงจันทร์ เป็นแอ่งที่มิได้เกิดจากการปะทะใดๆ เท่าที่รู้จัก) เราพบทะเลบนดวงจันทร์มากบนด้านใกล้ของดวงจันทร์ ส่วนทางด้านไกลมีอยู่ประปรายเพียงประมาณ 2% ของพื้นที่ผิวทั้งหมดเท่านั้น[2] ขณะที่ทางด้านใกล้มีทะเลถึงประมาณ 31% ของพื้นที่ผิว[1] คำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการที่บรรยากาศด้านใกล้ของดวงจันทร์มีแหล่งกำเนิดความร้อนมากกว่า ซึ่งพบได้จากแผนที่ภูมิเคมีที่สร้างขึ้นจากสเปกโตรมิเตอร์รังสีแกมมาของ ลูนาร์โปรสเปกเตอร์[3][4]

ภูเขาบนดวงจันทร์

บริเวณที่มีสีอ่อนกว่าบนพื้นผิวดวงจันทร์นั้นเรียกว่า "ภูเขา" (terrae) หรือบางครั้งก็เรียกง่ายๆ เพียงว่า "ที่ราบสูง" เพราะมันเป็นบริเวณที่มีความสูงมากกว่าส่วนที่เป็นทะเล มีแนวเทือกเขาที่โดดเด่นอยู่มากมายบนด้านใกล้ของดวงจันทร์ตามแนวขอบของแอ่งปะทะขนาดใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยหินบะซอลต์ สันนิษฐานว่านี่เป็นซากที่หลงเหลืออยู่ของขอบนอกของแอ่งปะทะ[5] ไม่มีเทือกเขาใดของดวงจันทร์ที่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวดาวเหมือนอย่างการเกิดของภูเขาบนโลกเลย[6]

จากภาพที่ถ่ายไว้โดยปฏิบัติการคลีเมนไทน์ (Clementine mission) เมื่อปี ค.ศ. 1994 ทำให้พบว่าบริเวณเทือกเขา 4 แห่งตามขอบของแอ่งเพียรี (Peary crater) ซึ่งกว้าง 73 กิโลเมตร ใกล้ขั้วเหนือของดวงจันทร์ น่าจะถูกแสงอาทิตย์ตลอดช่วงวันอันยาวนานบนดวงจันทร์ เหตุที่ยอดเขาแห่งแสงนิรันดร์ (Peak of Eternal Light) นี้ถูกแสงอาทิตย์ตลอดเวลาน่าจะเป็นไปได้เพราะดวงจันทร์มีความเอียงของแกนเมื่อเทียบกับระนาบสุริยวิถีน้อยมาก ไม่พบว่ามีบริเวณที่ต้องแสงอย่างนิรันดร์ลักษณะเดียวกันนี้ที่บริเวณขั้วใต้ของดาว แม้ว่าจะมีบริเวณขอบของแอ่งแชคเคิลตัน (Shackleton crater) ที่สะท้อนแสงราว 80% ของวันของดวงจันทร์ ผลสืบเนื่องอีกประการหนึ่งจากการที่แกนเอียงของดวงจันทร์มีค่าน้อยมาก คือมีย่านที่อยู่ในเขตมืดนิรันดร์ที่บริเวณก้นแอ่งมากมายใกล้ขั้วดาว[7]

แอ่งบนดวงจันทร์

พื้นผิวของดวงจันทร์สามารถสังเกตตำแหน่งได้โดยดูจากแอ่งปะทะ[8] ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่อุกกาบาตและดาวหางพุ่งเข้าชนพื้นผิวของดวงจันทร์ มีแอ่งอยู่เป็นจำนวนราวครึ่งล้านแห่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 1 กิโลเมตร เนื่องจากลักษณะของแอ่งปะทะเกิดขึ้นในอัตราเกือบคงที่ จำนวนแอ่งต่อหน่วยพื้นที่จึงสามารถใช้ในการประมาณอายุของพื้นผิวได้ โดยที่ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศ ไม่มีอากาศและกระบวนการทางธรณีวิทยา จึงมั่นใจได้ว่าแอ่งเหล่านี้ดำรงคงอยู่ในลักษณะดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับแอ่งบนโลก

แอ่งที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์ และอาจจัดว่าเป็นแอ่งปะทะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันในระบบสุริยะ คือ แอ่งแอตเคนขั้วใต้ (South Pole-Aitken basin) [9] แอ่งนี้อยู่ทางฝั่งด้านไกลของดวงจันทร์ ระหว่างขั้วใต้ของดาวกับแนวศูนย์สูตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2,240 กิโลเมตร ลึก 13 กิโลเมตร ค้นพบโดยยานคลีเมนไทน์ ในปี พ.ศ.2537 เชื่อว่าแอ่งนี้มีอายุถึง 3,800 ถึง 4,300 ล้านปี เกิดจากอุกกาบาตที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 กิโลเมตร[10] สำหรับแอ่งปะทะที่โดดเด่นทางฝั่งด้านใกล้ของดวงจันทร์ ได้แก่ ทะเลอิมเบรียม ทะเลเซเรนิเททิส ทะเลคริเซียม และทะเลเนคทาริส

น้ำบนดวงจันทร์

วันที่ 9 ตุลาคม 2009 ครบ 100 วันการส่ง LCROSS ไปโคจรรอบดวงจันทร์ ทางนาซ่าก็ยิงจรวดที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมพร้อมกับปล่อยให้ตัว ดาวเทียมตกกระทบพื้นดวงจันทร์ นาซ่าก็แถลงผลวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนดาวเทียมว่า ฝุ่นที่กระจายขึ้นมานั้นมีน้ำประมาณ 90 ลิตร

การยืนยันนี้ได้มาจากเซ็นเซอร์ NIR (Near Infrared) โดยอาศัยการวัดค่า spectrum ของแสงก่อนการชน และหลังการชน เพื่อเทียบสัดส่วนของพลังงานในย่านต่างๆ พบว่าย่าน 300nm นั้นมีพลังงานสูงขึ้นมาเป็นการยืนยันว่ามี hydroxyl อยู่ในฝุ่นที่ลอยขึ้นมานั้น

ก่อนหน้านี้ข้อมูลจากกล้องฮับเบิลเคยแสดงข้อมูลเบื้องต้นว่าอาจจะมีไฮดรอกซิลในฝุ่นที่ลอยขึ้นมา แต่ช่วงเวลาที่แถลงข่าวนั้นยังไม่มีการยืนยัน

ขนาดหลุมที่เกิดขึ้นจากการพุ่งชนมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-30 เมตร (60-100 ฟุต)

สำหรับการสังเกตการพวยฝุ่นที่ทางนาซ่าคาดว่าน่าจะใช้อุปกรณ์สมัครเล่นทำ ได้นั้นกลับไม่สามารถทำได้เนื่องจากสภาพอากาศ แต่ทางนาซ่าก็ได้ถ่ายภาพไว้แล้ว

ลักษณะทางกายภาพ

หินจากดวงจันทร์ น้ำหนัก 253 กรัม ซึ่งได้มาจากบริเวณ มหาสมุทรแห่งพายุ (Oceanus Procellarum)ในภาระกิจอะพอลโล 12

ดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันหลากหลาย ที่มีความแตกต่างทางเคมีภูมิวิทยาอย่างชัดเจนระหว่างส่วนของพื้นผิว ส่วนของเปลือก และส่วนของแกน เชื่อว่าลักษณะทางโครงสร้างเช่นนี้เป็นผลมาจากการก่อตัวขึ้นเป็นส่วนๆ จากทะเลแมกม่าที่เกิดขึ้นหลังจากการกำเนิดดาวเคราะห์ไม่นานนัก คือราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว พลังงานที่ใช้ในการหลอมเหลวผิวชั้นนอกของดวงจันทร์เชื่อว่าเกิดจากการปะทะครั้งใหญ่ ซึ่งให้เกิดระบบการโคจรระหว่างโลกกับดวงจันทร์ขึ้น

โครงสร้างภายใน

สนามแรงโน้มถ่วง

สนามแม่เหล็ก

บรรยากาศ

อุณหภูมิพื้นผิว

แตกต่างอย่างชัดเจนเนื่องจากบนดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มเหมือนบนโลก

กำเนิดและการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา

การก่อตัว

ในยุคแรก ๆ คาดเดากันว่าดวงจันทร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกโลก แต่เปลือกโลกส่วนนั้นได้กระเด็นออกไปโดยมีสาเหตุจากแรงหนีศูนย์กลาง ทิ้งร่องรอยเป็นแอ่งของมหาสมุทรขนาดใหญ่บนโลก อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะโลกจะต้องหมุนรอบตัวเองเร็วมาก บางคนบอกว่าดวงจันทร์อาจก่อตัวขึ้นที่อื่น แต่พลัดหลงมาอยู่ใกล้โลกจึงถูกโลกจับไว้เป็นดาวบริวาร

บางคนเสนอว่า โลกและดวงจันทร์อาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันขณะที่ระบบสุริยะก่อตัว แต่ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหล็กในดวงจันทร์พร่องไปไหน อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า ดวงจันทร์อาจก่อตัวจากการสะสมหลอมรวมของดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็ก

ทฤษฎีที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่ กล่าวว่ามีวัตถุขนาดดาวอังคารโคจรมาชนโลก ในช่วงที่โลกกำลังก่อตัวขึ้นใหม่ ๆ ทำให้เนื้อโลกบางส่วนที่ยังร้อนอยู่กระเด็นออกไป และรวมตัวกันเป็นดวงจันทร์

แรงไทดัลทำให้ดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงรีอยู่เล็กน้อย โดยมีแกนหลัก (แกนด้านยาว) ของวงรีชี้มายังโลก

ทะเลแม็กม่า

การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา

หินดวงจันทร์

วงโคจรและความสัมพันธ์กับโลก

ดิถีของดวงจันทร์ในวันนี้
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ข้างแรม ตอนต้น

คิดเป็นร้อยละ 73 ของดวงจันทร์ทั้งดวง

การเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง

เกิดจากแรงดึงดูดตามกฎแรงดึงดูดระหว่างของนิวตันที่กล่าวไว้ว่า "วัตถุทุกชนิดในเอกภพ จะส่งแรงดึงดูดระหว่างกัน โดยขนาดของแรงดึงดูด จะแปรผันตรงกับผลคูณของมวลทั้งสอง และแปรผกผันกับระยะห่างระหว่างมวลยกกำลังสอง" ดังนั้นเมื่อพิจารณาโลกแล้วพบว่าโลกได้รับแรงดึงดูดจากดาวสองดวง คือ ดวงอาทิตย์ที่แม้อยู่ไกลแต่มีขนาดใหญ่ และดวงจันทร์ที่แม้ขนาดเล็กแต่อยู่ใกล้ โดยแต่ละตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เปลี่ยนไปทำให้ทิศทางของแรงกระทำเปลี่ยนด้วย ส่งผลให้ของไหล(น้ำและแก๊ส)บนโลก เคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงดึงดูดที่มากระทำต่อโลกเกิดเป็นปรากฏการ์ณคือ น้ำขึ้นและน้ำลง ซึ่งนอกจากน้ำบนผิวโลกแล้ว ดวงจันทร์ยังมีผลีต่อน้ำในร่างกายมนุษย์ กล่าวคือ มีผลต่อเลือดและของเหลวในสมอง ซึ่งเป็นคำอธิบายการคลุ้มคลั่งของผู้มีอาการทางจิตในช่วงพระจันทร์เต็มดวง

จันทรุปราคา

จันทรุปราคา เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ เรียงตัวในแนวเดียวกันตามลำดับ ทำให้เงาของโลก บดบังแสงอาทิตย์ที่จะส่องมายังดวงจันทร์ และทำให้ดวงจันทร์ค่อยๆหายไปทั้งหมด หรือบางส่วน ก่อนจะกลับมาปรากฏใหม่อีกครั้ง ซึ่งจันทรุปราคาที่ดวงจันทร์จะหายไปทั้งหมดเรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาที่ดวงจันทร์จะหายไปบางส่วนเรียกว่า จันทรุปราคาบางส่วน

การสังเกตดวงจันทร์

การสำรวจดวงจันทร์

ประเทศที่ส่งยานสำรวจอวกาศลงบนดวงจันทร์ คือ โซเวียต (ค.ศ. 1966 โดยปัจจุบันคือรัสเซีย), สหรัฐ (ค.ศ. 1966), จีน (ค.ศ. 2013), อินเดีย (ค.ศ. 2023), ญี่ปุ่น (ค.ศ. 2024)

ประเทศที่ส่งนักบินอวกาศลงเหยียบบนดวงจันทร์ คือ สหรัฐ (ค.ศ. 1969)

ความเชื่อของมนุษย์ต่อดวงจันทร์

ชาวตะวันตกมีเทพนิยายกรีก ที่มีอาร์ทิมิส (Artemis) และ เซลีนี เทพีแห่งดวงจันทร์ และชาวโรมันมี ไดแอนา เป็นเทพีแห่งดวงจันทร์เช่นกัน ส่วนทางตะวันออกเช่น จีน มีเทพธิดาฉางเอ๋อ เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ในโหราศาสตร์ไทยมี พระจันทร์ เป็นเทวดาประจำวันจันทร์ และชาวญี่ปุ่น มีการมองดวงจันทร์ว่ามีกระต่ายตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์ ในไทยมีความเชื่อเรื่องการอาบน้ำเพ็ญ คือการอาบน้ำในวันพระจันทร์เต็มดวงมีการทำพิธีในวันเพ็ญเดือน 12 โดยเชื่อว่าการอาบน้ำกลางแจ้งในช่วงของวันดังกล่าวจะทำให้ได้รับพลังจากดวงจันทร์เป็นความสิริมงคล[11]

สถานภาพทางกฎหมาย

ถึงแม้ว่าธงจำนวนมากของสหภาพโซเวียตจะถูกโปรยโดยยานลูน่า 2 ในปี 1959 และภายหลังภารกิจลงจอด และธงชาติสหรัฐอเมริกาก็ถูกปักไว้เป็นสัญลักษณ์บนดวงจันทร์ ไม่มีชาติใดได้ครอบครองความเป็นเจ้าของของส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นผิวดวงจันทร์เลย โซเวียตและสหรัฐต่างก็อยู่ร่วมกันในสนธิสัญญาอวกาศนอก ซึ่งให้ดวงจันทร์อยู่ภายใต้วงอำนาจเดียวกันกับเขตน่านน้ำสากล (สาธารณสมบัติ) สนธิสัญญานี้ยังจำกัดให้มีการใช้ดวงจันทร์เพื่อจุดประสงค์แห่งสันติภาพ ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นการห้ามการติดตั้งทหารและอาวุธอำนาจทำลายล้างสูงอีกด้วย (รวมไปถึงอาวุธนิวเคลียร์)

สนธิสัญญาฉบับที่ 2 สนธิสัญญาจันทรา มีจุดประสงค์เพื่อที่จะจำกัดการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนดวงจันทร์โดยชาติเพียงชาติเดียว แต่ก็ยังไม่มีชาติใดในกลุ่ม Space-faring nations เซ็นสนธิสัญญานี้เลย เอกชนหลายๆ แห่งได้ทำการครอบครองดวงจันทร์ทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีผู้ใดจะพิจารณาความน่าเชื่อถือก็ตาม

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. ตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).
  2. More accurately, the Moon's mean synodic period (between mean solar conjunctions) is 29.530589 days (29d 12h 44m 02.9s) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Spudis, P.D. (2004). "Moon". World Book Online Reference Center, NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-17. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  2. Gillis, J.J.; Spudis, P.D. (1996). "The Composition and Geologic Setting of Lunar Far Side Maria". Lunar and Planetary Science. 27: 413–404. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  3. Shearer, C.; และคณะ (2006). "Thermal and magmatic evolution of the Moon". Reviews in Mineralogy and Geochemistry. 60: 365–518. doi:10.2138/rmg.2006.60.4. ISSN 1529-6466.
  4. Taylor, G.J. (2000-08-31). "A New Moon for the Twenty-First Century". Planetary Science Research Discoveries, Hawai'i Institute of Geophysics and Planetology. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  5. Kiefer, W. (2000-10-03). "Lunar Orbiter: Impact Basin Geology". Lunar and Planetary Institute. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  6. Munsell, K. (2006-12-04). "Majestic Mountains". Solar System Exploration. NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  7. Martel, L.M.V. (2003-06-04). "The Moon's Dark, Icy Poles". Planetary Science Research Discoveries, Hawai'i Institute of Geophysics and Planetology. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  8. Melosh, H. J. (1989). Impact cratering: A geologic process. Oxford Univ. Press.
  9. "เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับดวงจันทร์".โดย วิมุติ วสะหลาย สมาคมดาราศาสตร์ไทย
  10. Taylor, G.J. (1998-07-17). "The Biggest Hole in the Solar System". Planetary Science Research Discoveries, Hawai'i Institute of Geophysics and Planetology. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  11. "เล่าสู่กันฟัง...เรื่อง "เรื่องราวของพระจันทร์"". culture.go.th. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023.[ลิงก์เสีย]

Read other articles:

2015 studio album by Brown Eyed GirlsBasicStudio album by Brown Eyed GirlsReleasedNovember 5, 2015GenreK-popdance-popelectropopLanguageKoreanLabelAPOPLOENBrown Eyed Girls chronology Black Box(2013) Basic(2015) Revive(2019) Singles from Basic Warm HoleReleased: November 4, 2015 Brave New WorldReleased: November 4, 2015 Basic is the sixth studio album by South Korean girl group Brown Eyed Girls, their first under their new label APOP Entertainment. It was released on November 5, 2015. R...

 

六六艦隊計画(ろくろくかんたいけいかく)は、大日本帝国海軍が1896年(明治29年)から1905年(明治38年)にかけて推進した海軍軍備計画。第一期拡張計画並びに第二期拡張計画により構成され、帝国海軍対露戦備の中核を為した。 背景 詳細は「日清戦争#財政・公共投資の膨張と経済発展」を参照 1895年(明治28年)4月の日清講和条約調印によって日清戦争が一段落つ...

 

أولاد لعروسي تقسيم إداري البلد المغرب  الجهة الدار البيضاء سطات الإقليم الجديدة الدائرة أزمور الجماعة القروية لغديرة المشيخة الغربية السكان التعداد السكاني 352 نسمة (إحصاء 2004)   • عدد الأسر 47 معلومات أخرى التوقيت ت ع م±00:00 (توقيت قياسي)[1]،  وت ع م+01:00 (توقيت صيفي)[...

Portuguese-controlled kingdom in Asia, 16th–17th century Portuguese CeylonCeilão Português (Portuguese)පෘතුගීසි ලංකාව (Sinhala)போர்த்துக்கேய இலங்கை (Tamil)1597[1]–1658 Flag Coat of arms   After the death of King Dharmapala (1597)   Portuguese Ceylon at its greatest extent 1594–1619StatusColony of PortugalCapitalColomboCommon languagesPortuguese (official)SinhalaTamilReligion...

 

This article is about the Pennsylvania federal judge. For the Pennsylvania Congressman and state court judge, see Joseph Buffington (congressman). American judge Joseph BuffingtonJoseph Buffington (1901)Senior Judge of the United States Court of Appeals for the Third CircuitIn officeJune 1, 1938 – October 21, 1947Judge of the United States Court of Appeals for the Third CircuitIn officeSeptember 25, 1906 – June 1, 1938Appointed byTheodore RooseveltPreceded byMarcus W. Ac...

 

Species of damselfly Leptobasis melinogaster Conservation status Vulnerable (IUCN 3.1)[1] Scientific classification Domain: Eukaryota Kingdom: Animalia Phylum: Arthropoda Class: Insecta Order: Odonata Suborder: Zygoptera Family: Coenagrionidae Genus: Leptobasis Species: L. melinogaster Binomial name Leptobasis melinogasterGonzalez-Soriano, 2002 Leptobasis melinogaster, the cream-tipped swampdamsel, is a species of damselfly in the family Coenagrionidae. It is found in Mexico...

2020 Spanish biographical television miniseries VenenoAlso known asVeneno: Vida y muerte de un iconoGenre Biographical Drama Created by Javier Ambrossi Javier Calvo Based on¡Digo! Ni puta ni santa. Las memorias de La Venenoby Valeria VegasDirected by Javier Ambrossi Javier Calvo Mikel Rueda Álex Rodrigo Starring Jedet Daniela Santiago Isabel Torres Lola Rodríguez Paca La Piraña Country of originSpainOriginal languageSpanishNo. of seasons1No. of episodes8ProductionRunning time44–65 minut...

 

Die Heilige Stiege (2009) Kupferstich von Ludwig Richter „Heilige Stiege bei Schmilka“ (um 1820) Die Heilige Stiege ist eine Steiganlage in der Sächsischen Schweiz. Sie führt aus dem Heringsgrund im Schmilkaer Gebiet zum Reitsteig auf dem Winterbergmassiv. Die Stiege verläuft dabei in der Gemarkung Ostrau und gehört somit zu Bad Schandau. Inhaltsverzeichnis 1 Geschichte 2 Literatur 3 Weblinks 4 Einzelnachweise Geschichte 1698 wurde im Heringsgrund eine „Steinerne Treppe“ erwähnt....

 

Series of automobiles manufactured by Nissan Motor vehicle Nissan SkylineNissan Skyline GT (V37)OverviewManufacturerNissanPrince (1957–1968)Also calledPrince Skyline (1957–1968)Datsun K Series (1968–1983)Infiniti G Line (2001–2014)Infiniti Q50 (2014–present)Production1957–presentBody and chassisClassCompact car (1957–1981)Mid-size car (1981–2002)Sports car (1968-2014) 2 Door Coupe OnlyCompact executive car (2001–present)LayoutFront-engine, rear-wheel-drive (1957–prese...

Bahrain at the multi-sports event Sporting event delegationBahrain at the2022 Asian GamesIOC codeBRNNOCBahrain Olympic Committeein Hangzhou19 September 2023 (2023-09-19) – 8 October 2023 (2023-10-08)Competitors143 in 17 sportsMedalsRanked 8th Gold 12 Silver 3 Bronze 5 Total 20 Asian Games appearances (overview)1974197819821986199019941998200220062010201420182022 Bahrain competed at the 2022 Asian Games in Hangzhou, China, from 23 September to 8 October 2023. ...

 

2013 film For other uses, see Love Punch (disambiguation). This article's lead section may be too short to adequately summarize the key points. Please consider expanding the lead to provide an accessible overview of all important aspects of the article. (March 2022) The Love PunchTheatrical release posterDirected byJoel HopkinsWritten byJoel HopkinsProduced byJean-Charles LevyClément MiserezTim PerellNicola UsborneStarringPierce BrosnanEmma ThompsonTimothy SpallCelia ImrieLouise BourgoinLaur...

 

2016 film by Henry Joost and Ariel Schulman ViralTheatrical release posterDirected by Henry Joost Ariel Schulman Written by Christopher Landon Barbara Marshall Produced by Jason Blum Sherryl Clark Starring Sofia Black-D'Elia Lio Tipton[a] Travis Tope Colson Baker Michael Kelly CinematographyMagdalena GorkaEdited by Ron Dulin William Yeh Music byRob SimonsenProductioncompanies Blumhouse Productions Busted Shark Productions IM Global Distributed byDimension FilmsRADiUS-TWCRelease date J...

Spring Cove CliffsSite of Special Scientific InterestLocation within SomersetLocationAvonGrid referenceST310625Coordinates51°21′26″N 2°59′32″W / 51.35736°N 2.99233°W / 51.35736; -2.99233InterestGeologicalArea2.0 hectares (0.020 km2; 0.0077 sq mi)Notification1952 (1952)Natural England website Spring Cove Cliffs (grid reference ST310625) is a 2.0 hectare geological Site of Special Scientific Interest near the town of Weston-super-Mare, Nor...

 

This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: West Bengal Socialist Party – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (December 2009) (Learn how and when to remove this template message) Indian political party Political party in India West Bengal Socialist Party LeaderKiranmoy Nanda, Manindra Chandra...

 

Pilgrims enroute 2011 The Chartres pilgrimage (French: pèlerinage de Chartres), also known in French as the pèlerinage de Chrétienté (English: pilgrimage of Christendom), is an annual pilgrimage from Notre-Dame de Paris to Notre-Dame de Chartres occurring around the Christian feast of Pentecost, organized by Notre-Dame de Chrétienté (English: Our Lady of Christendom), a Catholic lay non-profit organization based in Versailles, France. Although the pilgrimage has existed since 1983, the ...

Team sport in North America Indigenous North American stickballStickball tournament on the Kullihoma GroundsFirst playedBefore 18th centuryCharacteristicsTypeTeam sports, stick sport, ball sportPresenceCountry or regionNorth AmericaWorld ChampionshipsChoctaw Indian Fair World SeriesNot to be confused with Stickball (street game). Indigenous North American stickball is a team sport typically played on an open field where teams of players with two sticks each attempt to control and shoot a...

 

Philipp MelanchthonPhilipp Melanchthon, pada tahun 1532LahirPhilipp Schwartzerdt(1497-02-17)17 Februari 1497Bretten dekat Karlsruhe, JermanMeninggal19 April 1560(1560-04-19) (umur 63)Wittenberg, JermanPekerjaanProfesor, teologKiprah di bidang teologiTanda tangan Philipp Melanchthon (Philipp Schwartzerdt atau Philippus Melanchthon; 17 Februari 1497 – 19 April 1560) adalah seorang profesor dan teolog dari Jerman, dan berperan penting dalam Reformasi Protestan. Martin Luther...

 

Railway station in North Korea For the station in South Korea, see Galma station. Kalma갈마Korean nameHangul갈마역Hanja葛麻驛Revised RomanizationGalma-yeokMcCune–ReischauerKalma-yŏk General informationLocationKalma-dong,Wŏnsan-si,KangwŏnNorth KoreaCoordinates39°08′36″N 127°28′01″E / 39.1434°N 127.4670°E / 39.1434; 127.4670Owned byKorean State RailwayPlatforms3 (1 island)Tracks9 through,3 + 6 stubHistoryOpened16 August 1914ElectrifiedyesOriginal...

Several species of grass cultivated for sugar production For the EP by Tiwa Savage, see Sugarcane (EP). For the songs, see Sugarcane (Camidoh song) and Sugarcane (New Order song). Saccharum officinarum Sugarcane or sugar cane is a species of (often hybrid) tall, perennial grass (in the genus Saccharum, tribe Andropogoneae) that is used for sugar production. The plants are 2–6 m (6–20 ft) tall with stout, jointed, fibrous stalks that are rich in sucrose,[1] which accumulates i...

 

Peta Kabupaten Polewali Mandar di Sulawesi Barat Berikut adalah daftar kecamatan dan kelurahan di Kabupaten Polewali Mandar, Provinsi Sulawesi Barat, Indonesia. Kabupaten Polewali Mandar terdiri dari 16 kecamatan, 23 kelurahan, dan 173 desa. Pada tahun 2017, jumlah penduduknya mencapai 517.677 jiwa dengan luas wilayah 1.775,65 km² dan sebaran penduduk 291 jiwa/km².[1][2] Daftar kecamatan dan kelurahan di Kabupaten Polewali Mandar, adalah sebagai berikut: Kode Kemendagri Keca...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!