สุริยุปราคา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
---|
แผนที่ |
ประเภท |
---|
ประเภท | เต็มดวง |
---|
แกมมา | -0.9526 |
---|
ความส่องสว่าง | 1.0367 |
---|
บดบังมากที่สุด |
---|
ระยะเวลา | 114 วินาที (1 นาที 54 วินาที) |
---|
พิกัด | 76°48′S 46°12′W / 76.8°S 46.2°W / -76.8; -46.2 |
---|
ความกว้างของเงามืด | 419 กิโลเมตร |
---|
เวลา (UTC) |
---|
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน | 05:29:11 |
---|
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด | 07:00:01 |
---|
บดบังมากที่สุด | 07:34:38 |
---|
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด | 08:06:29 |
---|
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน | 09:37:23 |
---|
แหล่งอ้างอิง |
---|
แซรอส | 152 (13 จาก 70) |
---|
บัญชี # (SE5000) | 9556 |
---|
สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร สุริยุปราคาครั้งนี้มีเส้นทางที่ผิดปกติ คือ เคลื่อนจากตะวันออกไปทางตะวันตก ตามขวางในแอนตาร์กติกา ขณะที่อุปราคาส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่จากตะวันตกไปทางตะวันออก การเปลี่ยนให้กลับกันนี้เกิดขึ้นได้ในเฉพาะภูมิภาคขั้วโลกเท่านั้น
ภาพ
อุปราคาที่เกี่ยวข้อง
อุปราคาในปี พ.ศ. 2564
สุริยุปราคา พ.ศ. 2561–2564
อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[1]
หมายเหตุ: สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 และ 11 สิงหาคม 2561 เกิดขึ้นระหว่างชุดเทอมก่อนหน้า
แซรอส 152
อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 152 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 70 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2348 (ค.ศ. 1805) สุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) จนถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 3033 (ค.ศ. 2490) สุริยุปราคาผสมเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 3051 (ค.ศ. 2508) จนถึงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 3087 (ค.ศ. 2544) สุริยุปราคาวงแหวนเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 3105 (ค.ศ. 2562) จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 3484 (ค.ศ. 2941) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 3592 (ค.ศ. 3049) ซึ่งเป็นเหตุการณ์อุปราคาครั้งที่ 70 ของชุดแซรอสนี้ คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2871 (ค.ศ. 2328) ที่ระยะเวลา 5 นาที 15 วินาที ส่วนคราสวงแหวนนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 3286 (ค.ศ. 2743) ที่ระยะเวลา 5 นาที 20 วินาที[2]
ชุดเมตอน
ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน) ทุกอุปราคาในตารางนี้เกิดขึ้นที่โหนดลงของดวงจันทร์
อ้างอิง
|
---|
รายชื่อของอุปราคา | ตามศตวรรษ | |
---|
แซรอส | |
---|
การสังเกต | |
---|
ในประวัติศาสตร์ | |
---|
|
---|
อุปราคาแบบเต็มดวง/ผสม
สัญลักษณ์ → แสดงถึง อุปราคาแบบเต็มดวง/ผสมครั้งต่อไป | |
---|
อุปราคาแบบวงแหวน
สัญลักษณ์ → แสดงถึง อุปราคาแบบวงแหวนครั้งต่อไป | |
---|
อุปราคาแบบบางส่วน
สัญลักษณ์ → แสดงถึง อุปราคาแบบบางส่วนครั้งต่อไป | |
---|
บนดาวอื่น | |
---|
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง | |
---|
|