สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559
แผนที่
ประเภท
ประเภทเต็มดวง
แกมมา0.2609
ความส่องสว่าง1.045
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา249 วินาที (4 นาที 9 วินาที)
พิกัด10°06′N 148°48′E / 10.1°N 148.8°E / 10.1; 148.8
ความกว้างของเงามืด155 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน23:19:20
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด00:15:57
บดบังมากที่สุด01:58:19
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด03:38:20
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน04:34:55
แหล่งอ้างอิง
แซรอส130 (52 จาก 73)
บัญชี # (SE5000)9543

เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 เกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตร

มีความส่องสว่าง 1.0450 ช่วงเวลาคราสเต็มดวงนานที่สุด คือ 4 นาที 9 วินาที เห็นได้ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเริ่มต้นจากอินโดนีเซีย และไปจบที่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ[1]

ถ้าสังเกตจากทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล เช่น ฮาวาย จะมองเห็นอุปราคาครั้งนี้ในวันที่ 8 มีนาคม (ตามเวลาท้องถิ่น), ส่วนอินโดนีเซียโชคไม่ดีนัก เพราะในเดือนมีนาคม กว่า 60-70% ของพื้นที่มักมีเมฆปกคลุมในเดือนมีนาคม ท้องฟ้าที่แจ่มใสเป็นไปได้ว่าจะอยู่ทางตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิก[2] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 สำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ได้พยากรณ์ว่าส่วนตะวันตกของอินโดนีเซีย มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปกคลุมของเมฆน้อย และมีโอกาสเกิดฝนตก 20 เปอร์เซ็นต์ในเมืองทางตะวันตก เช่น เบิงกูลู ปาเล็มบัง ปาลังการายา และปาลู ซึ่งน้อยกว่าทางตะวันออก ซึ่งมีโอกาสเกิดฝนตกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในเตอร์นาตี และมาบา ด้วยความแม่นยำที่ 65 เปอร์เซ็นต์[3]

สำหรับประเทศไทยจะสังเกตเห็นอุปราคาครั้งนี้ได้ทั่วประเทศ โดยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในเวลาเช้า โดยเริ่มสังเกตได้เวลา 06:38 น. ดวงจันทร์บังลึกที่สุดเวลา 07:32 น. และสิ้นสุดในเวลา 08:32 น. รวมระยะเวลา 1 ชั่วโมง 54 นาที[4]

เส้นทางของอุปราคา

ตารางเวลาในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย สามารถสังเกตอุปราคาครั้งนี้ได้ในเวลาเช้าของวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทั่วประเทศในลักษณะสุริยุปราคาบางส่วน โดยดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์มากที่สุดที่อำเภอเบตง, จังหวัดยะลา ที่ประมาณร้อยละ 69 ในขณะที่กรุงเทพมหานครจะเห็นดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ประมาณร้อยละ 66[5]

ตารางเวลาในหลายสถานที่

ตารางเวลาในหลายสถานที่[6]
เมือง เริ่มอุปราคาบางส่วน เริ่มเต็มดวง สิ้นสุดเต็มดวง สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน เขตเวลา
ปาเล็มบัง สุมาตรา อินโดนีเซีย 06:20:29 07:20:48 07:22:41 08:31:27 UTC+7
จาการ์ตา ชวา อินโดนีเซีย 06:19:51 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 08:43:41 UTC+7
กรุงเทพมหานคร ไทย 06:39:03 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 08:32:39 UTC+7
ปาลู ซูลาเวซี อินโดนีเซีย 07:27:51 08:37:47 08:39:52 10:00:34 UTC+8
เตอร์นาตี โมลุกกะเหนือ อินโดนีเซีย 07:36:03 08:51:40 08:54:19 10:20:50 UTC+9
กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย 07:24:22 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 09:31:00 UTC+8
สิงคโปร์ 07:23:01 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 09:32:54 UTC+8
มะนิลา ฟิลิปปินส์ 07:51:14 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 10:14:20 UTC+8
กึ่งกลางอุปราคาเต็มดวง, มหาสมุทรแปซิฟิก (ระยะเวลา 4:09) 0:02:41 01:55:06 01:59:16 03:30:25 UTC
ดาร์วิน ออสเตรเลีย 09:07:29 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 11:35:00 UTC+9.5
เกาะยาป ไมโครนีเซีย, 9 มีนาคม 10:02:49 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 13:01:48 UTC+10
ฮาวาย สหรัฐอเมริกา, 8 มีนาคม 16:36:52 เฉพาะอุปราคาบางส่วน เฉพาะอุปราคาบางส่วน 18:30:06 UTC-10

แผนที่


ภาพเคลื่อนไหวประกอบจากภาพ 13 ภาพ จากกล้องถ่ายภาพโลกหลายความยาวคลื่นของนาซา

เส้นทางของอุปราคาบนโลก

เส้นทางของอุปราคาในประเทศอินโดนีเซีย

ระเบียงภาพ

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง

สุริยุปราคา พ.ศ. 2558–2561

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[7]

ซารอส 130

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 130 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 73 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 1639 (ค.ศ. 1096) ชุดแซรอสนี้มีสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2018 (ค.ศ. 1475) จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2775 (ค.ศ. 2232) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2937 (ค.ศ. 2394) คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2162 (ค.ศ. 1619) ด้วยเวลา 6 นาที 41 วินาที[8]

ชุดเมตอน

อุปราคาเหล่านี้เป็นสมาชิกของชุดออคตอนอุปราคา ประกอบด้วยอุปราคา 21 ครั้ง เกิดขึ้นประมาณทุก ๆ 4 ปี ตั้งแต่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ถึง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2608[9]

อ้างอิง

  1. Espenak, Fred. "Google Maps and Solar Eclipse Paths: 2001 - 2020". Eclipse Predictions by Fred Espenak, NASA's GSFC. NASA. สืบค้นเมื่อ 11 April 2009.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-31.
  3. Media, Kompas Cyber. "Dari Sisi Cuaca, Inilah 4 Kota Terbaik untuk Pengamatan Gerhana Matahari Total - Kompas.com". KOMPAS.com. สืบค้นเมื่อ 2016-02-13.
  4. http://www.timeanddate.com/eclipse/in/thailand/bangkok?iso=20160309
  5. "ตื่นตา! อย่าพลาด! สดร. ชวนส่องสุริยุปราคาบางส่วน เช้า 9 มีนาคมนี้ ตั้งกล้อง 5 จังหวัด พร้อมเครือข่ายดาราศาสตร์อีกกว่า 100 จุด ทั่วประเทศ สมเด็จพระเทพ ฯ เสด็จ ฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวงที่อินโดนีเซีย สดร. ตั้งกล้องถวาย พร้อมถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์". สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. Harrington: Sonnen- und Mondfinsternisse beobachten, Spektrum Verlag, ISBN 3-8274-1329-X
  7. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  8. http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros130.html
  9. Freeth, Tony. "Note S1: Eclipses & Predictions". plos.org. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
13 กันยายน 2558
(สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาบางส่วน)

สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559
สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
1 กันยายน 2559
(สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวน)
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า:
20 มีนาคม 2558
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป:
21 สิงหาคม 2560

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!