เซอร์ วินสตัน เลนเนิร์ด สเปนเซอร์ เชอร์ชิล (อังกฤษ : Winston Leonard Spencer Churchill ;[ a] 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1874 – 24 มกราคม ค.ศ. 1965) เป็นรัฐบุรุษ นายทหาร และนักเขียนชาวบริติช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และอีกครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 ถึง ค.ศ. 1955 นอกเหนือจากสองปี ระหว่างปี ค.ศ. 1922 และ ค.ศ. 1924 เชอร์ชิลล์ยังคงเป็นสมาชิกแห่งรัฐสภา (MP) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ถึง ค.ศ. 1964 และเป็นผู้แทนทั้งหมดของห้าเขตเลือกตั้ง ด้วยอุดมการณ์คือ เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม และลัทธิจักรวรรดินิยม เขาเป็นสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมในอาชีพการงานส่วนใหญ่ในตำแหน่งผู้นำ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1955 เขาเป็นสมาชิกพรรคเสรีนิยม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904 ถึง ค.ศ. 1924
ด้วยบรรพบุรษที่มีสายเลือดทั้งอังกฤษและอเมริกันผสมกัน เชอร์ชิลเกิดในออกซฟอร์ดเชอร์ ในครอบครัวชนชั้นสูงที่มั่นคั่งร่ำรวย เขาได้เข้าร่วมกองทัพบกบริติช ในปี ค.ศ. 1895 และแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติหน้าที่ในบริติชอินเดีย สงครามอังกฤษ-ซูดาน และสงครามบัวร์ครั้งที่สอง ซึ่งได้รับชื่อเสียงในฐานะผู้เขียนข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับการทัพของเขา เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาฝ่ายอนุรักษ์นิยมในปี ค.ศ. 1900 เขาได้พ่ายแพ้ให้กับฝ่ายเสรีนิยมในปี ค.ศ. 1904 ในรัฐบาลเสรีนิยมของเฮอร์เบิร์ท เฮนรี แอสควิธ เชอร์ชิลได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการการค้า และรัฐมนตรีมหาดไทย ได้สนับสนุนในการปฏิรูปเรือนจำและความมั่นคงทางสังคมของแรงงาน ในฐานะที่เป็นลอร์ดเอกแห่งกระทรวงทหารเรือ (First Lord of the Admiralty) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้ควบคุมการทัพกัลลิโพลี แต่ภายหลังจากนั้นก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นความหายนะ เขาได้ถูกลดตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งดัชชีแลงแคสเตอร์ เขาได้ลาออกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1915 และเข้าร่วมกับรอยัล สเกาตส์ ฟูซิเลียส (Royal Scots Fusiliers) บนแนวรบด้านตะวันตก เป็นเวลาหกเดือน ในปี ค.ศ. 1918 เขาได้กลับคืนสู่รัฐบาลภายใต้การนำโดยเดวิด ลอยด์ จอร์จ และดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทโธปกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดินแดนอาณานิคม คอยดูแลสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอริชและนโยบายการต่างประเทศของอังกฤษในตะวันออกกลาง ภายหลังสองปี ได้ออกจากรัฐสภา เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหพระคลัง ในรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยมของสแตนลีย์ บอลดวิน ได้คืนค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงในปี ค.ศ. 1926 เพื่อให้เป็นมาตรฐานทองคำในระดับความเท่าเทียมกันในช่วงก่อนสงคราม ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ทั่วไปว่า ได้สร้างแรงกดดันเงินฝืดและกดดันเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร
เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1930 เชอร์ชิลล์ได้เป็นผู้นำในการเรียกร้องให้อังกฤษทำการฟื้นฟูแสนยานุภาพเพื่อต่อต้านภัยคุกคามทางทหารที่เพิ่มมากขึ้นในนาซีเยอรมนี ในขณะที่การประทุของสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นลอร์ดเอกแห่งกระทรวงทหารเรืออีกครั้ง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 เขาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี เข้ามาแทนที่เนวิล เชมเบอร์ลิน เชอร์ชิลล์ได้คอยควบคุมการมีส่วนร่วมของบริติชในความพยายามทำสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร ในการต่อกรกับฝ่ายอักษะ ซึ่งส่งผลให้ได้รับชัยชนะในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังจากฝ่ายอนุรักษนิยมพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี ค.ศ. 1945 เขาก็กลายเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ท่ามกลางสงครามเย็น ที่กำลังก่อตัวขึ้นกับสหภาพโซเวียต เขาได้ประกาศเตือนต่อสาธารณชนถึง "ม่านเหล็ก " ของอิทธิพลสหภาพโซเวียตในยุโรปและส่งเสริมความเป็นเอกภาพของยุโรป เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปี ค.ศ. 1951 ในวาระที่สองของเขานั้นเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการต่างประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์อังกฤษ-อเมริกา และแม้ว่าจะมีการแบ่งแยกดินแดนอาณานิคมอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงรักษาจักรวรรดิบริติชเอาไว้ได้ ภายในประเทศ รัฐบาลของเชาได้เน้นย้ำต่อการสร้างตึกรามบ้านช่องและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เชอร์ชิลล์ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1955 แม้ว่าเขาจะยังคงเป็นสมาชิกรัฐสภา จนถึงปี ค.ศ. 1964 เมื่อเขาได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1965 เขาได้รับการจัดงานศพแบบพิธีรัฐ
เชอร์ชิลล์ยังคงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักรและโลกตะวันตก ซึ่งเขาถูกมองว่าเป็นผู้นำในช่วงยามสงครามที่นำมาซึ่งชัยชนะ ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องประชาธิปไตยเสรีนิยม ของยุโรป จากการแพร่กระจายของลัทธิฟาสซิสต์ ยังได้รับการยกย่องในฐานะนักปฏิรูปสังคม นักประวัติศาสตร์ จิตรกร และนักเขียน อีกทั้งรางวัลมากมายของเขาคือ รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม อย่างไรก็ตาม เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การทิ้งระเบิดที่เดรสเดิน ปี ค.ศ. 1945 และสำหรับมุมมองของเขาและความคิดเห็นเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมของเขาเกี่ยวกับเชื้อชาติ
ในปี ค.ศ.2020 รูปปั้นของเขาถูกทำให้เสียหาย โดยผู้ประท้วง ต่อต้านการเหยียดสีผิว ผู้ประท้วงกล่าวว่าเขาเป็นพวกเหยียดผิว[ 2] [ 3]
ชีวิตวัยเยาว์
วินสตันเกิดเมื่อ 30 พฤศจิกายน 1874 ที่วังเบลนิม [ 5] เกิดมาในครอบครัวชนชั้นสูงซึ่งสืบทอดบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งมาร์ลบะระ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ [ 6] ตระกูลขุนนางเก่าแก่ ด้วยเหตุนี้บิดาเขาและตัวเขาจึงใช้นามสกุลว่า "สเปนเซอร์-เชอร์ชิล"[ 7]
วินสตัน เชอร์ชิล ในวัยเจ็ดขวบ
บรรพบุรุษของเขา จอร์จ สเปนเซอร์ ได้เปลี่ยนไปใช้นามสกุล สเปนเซอร์-เชอร์ชิล เมื่อได้ขึ้นเป็นดยุกแห่งมาร์ลบะระในปี 1817 โดยบิดาของวินสตันคือ ลอร์ด รันดอล์ฟ เชอร์ชิล นั้นเป็นนักการเมืองซึ่งเป็นบุตรของจอห์น สเปนเซอร์-เชอร์ชิล ดยุกที่ 7 แห่งมาร์ลบะระ ส่วนมารดาของเขา ท่านหญิงรันดอล์ฟ เชอร์ชิล เป็นบุตรสาวของเศรษฐีชาวอเมริกันนามว่าลีโอนาร์ด เจอโรม
เมื่ออายุได้สองขวบ เขาได้ย้ายไปอาศัยในดับลิน ในไอร์แลนด์ ซึ่งปู่ของเขาได้รับแต่งตั้งเป็นอุปราชของที่นั่นและแต่งตั้งบิดาของเขาเป็นเลขาส่วนตัว ซึ่งในช่วงเวลานี้ มารดาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรคนที่สอง คือ จอห์น สเตรนจ์ สเปนเซอร์-เชอร์ชิล จากการที่วินสตันเป็นหลานของอุปราช ทำให้เขาได้เห็นการสวนสนามบ่อย ๆ ในที่ทำงานของปู่ (ปัจจุบันคือทำเนียบประธานาธิบดีไอร์แลนด์) ทำให้วินสตันตัวน้อยเกิดความชอบทหารขึ้น[ 8] [ 9]
ในขณะที่อยู่ในดับลิน วินสตันมีพี่เลี้ยงคอยสอนการเขียนอ่านและวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยเหตุที่วินสตันไม่ค่อยได้เจอพ่อแม่ ทำให้เขาสนิทสนมกับพี่เลี้ยง นางเอลิซาเบธ อันน์ เอเวอเรสต์ เป็นอย่างมาก นางเป็นทั้งพี่เลี้ยง, พยาบาล และแม่นม[ 10] โดยทั้งสองมักจะพากันไปเล่นที่สวนสาธารณะฟีนิกซ์เสมอ ๆ[ 11] [ 12]
วินสตันในวัยเด็กนั้น มีนิสัยดื้อและไม่ชอบเชื่อฟังใคร ดังนั้นเมื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนเขาจึงมีผลการเรียนไม่ดี[ 13] เขาเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกชนสามแห่ง คือ โรงเรียนเซนต์จอร์จในเบิร์กเชอร์, โรงเรียนบรันสวิกใกล้กับไบรตัน และ โรงเรียนฮาร์โรวในลอนดอนซึ่งเป็นโรงเรียนที่เขาไม่ชอบเอาเสียเลย ที่ฮาร์โรวนี้ เขาได้เข้าเป็นสมาชิกในหน่วยปืนไรเฟิลฮาร์โรว[ 14] ในขณะที่เรียนอยู่ที่ฮาร์โรว วินสตันเป็นเด็กอ้วนเตี้ยผมแดงและพูดติดอ่าง ถึงจะมีผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์เป็นอันดับหนึ่งในชั้นเรียน แต่ผลการเรียนรวมกลับเป็นอันดับที่โหล่ในห้องบ๊วยของชั้นและก็ติดอันดับนี้เรื่อยมา แม้ว่าการเรียนจะทำได้ไม่ดีแต่วินสตันกลับชอบวิชาภาษาอังกฤษ ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ฮาร์โรวนี้ มารดาของเขาแทบจะไม่มาเยี่ยมเลยถึงขนาดที่เขาต้องเขียนจดหมายไปขอให้ทางบ้านมาเยี่ยมบ้างหรือไม่ก็ยอมให้เขากลับไปบ้าน ยิ่งความสัมพันธ์กับบิดานั้นยิ่งห่างเหิน[ 15] บิดาของเขาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 24 มกราคม 1895 ในวัย 45 ปี การตายของบิดานั้นได้ทำให้วินสตันฉุกคิดขึ้นได้ว่า เขาอาจจะต้องตายเมื่ออายุยังไม่มากเหมือนบิดา ดังนั้นเขาจึงควรรีบทำอะไรซักอย่างเพื่อจารึกชื่อเขาลงในประวัติศาสตร์[ 16]
ราชการทหาร
เชอร์ชิลในเครื่องแบบร้อยตรี ปี 1895
หลังจากวินสตันออกจากแฮร์โรวในปี 1893 เขาก็เข้าเรียนต่อในราชวิทยาลัยการทหาร เมืองแซนด์เฮิสต์ ซึ่งเขาต้องสอบถึงสามครั้งกว่าจะผ่านเข้าเรียน โดยเขาเข้าเรียนในหมวดทหารม้าแทนที่จะเป็นทหารราบ เนื่องจากทหารม้าต้องการผลการเรียนที่ต่ำกว่าและเขาไม่อยากเรียนคณิตศาสตร์อีก เขาจบการศึกษาเป็นคนที่ 8 ของห้องเรียนซึ่งมี 150 คนในเดือนธันวาคม 1894[ 17] และแม้ว่าตอนนี้เขาจะสามารถโอนย้ายไปหมวดทหารราบตามที่บิดาหวังไว้ แต่เขากลับเลือกที่จะสังกัดทหารม้าและได้ยศเป็นร้อยตรีประจำ กรมทหาร 4th Queen's Own Hussars ในเดือนกุมภาพันธ์ 1895[ 14] ซึ่งปีเดียวกันนี้เขาได้เดินทางไปยังคิวบาเพื่อสังเกตการณ์การต่อสู้ระหว่างกองทัพสเปนกับฝ่ายกองกำลังปลดแอกคิวบา ระหว่างอยู่ที่คิวบานี้เองเขาได้สูบฮาวานาซิการ์และสูบเรื่อยมาตลอดชีวิตเขา ในปี 1941 เขาได้รับโปรดเกล้าเป็นกรณีพิเศษเป็นผู้พันประจำกรมทหาร 4th Hussars ซึ่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับโปรดเกล้าให้อวยยศนี้ขึ้นอีกเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งปกติ สิทธิพิเศษนี้มีแต่สำหรับพระบรมวงศ์เท่านั้น
วินสตันได้รับค่าตอบแทนในยศร้อยตรีประจำ 4th Hussars ปีละ 300 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม เขาคิดว่าเขาต้องการอย่างน้อยปีละ 500 (เทียบเท่า £55,000 ในปี 2012[ 18] ) เพื่อให้เขามีวิถีชีวิตที่ดีเทียบเท่านายทหารคนอื่น ๆ ในหน่วย แม้ว่ามารดาจะส่งเงินให้เขาปีละ 400 ปอนด์แต่ก็ไม่พอเนื่องจากเขาเป็นคนมือเติบ วินสตันไม่สนใจการเลื่อนยศมากนักเหมือนที่ทหารคนอื่น ๆ เป็น เขาต้องการเป็นผู้สื่อข่าวสายทหารโดยต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในปฏิบัติการต่าง ๆ[ 19] โดยอาศัยเส้นสายของครอบครัวที่มีอยู่ในสังคมชั้นสูง เขาเป็นผู้สื่อข่าวให้แก่หนังสือพิมพ์ในลอนดอนเป็นระยะเวลากว่าเจ็ดปี[ 20] นอกจากนี้ยังมีงานเขียนเกี่ยวกับปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นของตนเอง
ประจำการในอินเดีย
ต้นเดือนตุลาคม 1896 เขาถูกโอนย้ายไปประจำการยังบริติชราช ในขณะที่เรือกำลังเทียบท่าที่มุมไบ เขาประสบอุบัติเหตุทำให้ข้อไหล่ขวาหลุด ทำให้เขาใช้แขนขวาได้ไม่เต็มที่ไปตลอดชีวิต เขาเคยเป็นนักโปโลมือหนึ่งในหน่วย[ 21] แม้หลังบาดเจ็บเขาก็ยังคงเล่นโปโลต่อไปแต่ใช้สายหนังหิ้วแขนขวาแทน[ 22]
ในปีเดียวกันเขาก็เดินทางไปบังคาลอร์ ในฐานะนายทหารหนุ่ม ในหนังสือของเขาอธิบายว่า บังคาลอร์เป็นเมืองที่มีสภาพอากาศเยี่ยม และที่อยู่ของเขาเป็นวังสีชมพูขาวใจกลางสวนหย่อมงดงามรายล้อม มีคนใช้ชื่อโธพิ, มีคนสวน, มียาม และมีคนหามน้ำ ในบังคาลอร์นี้เองที่เขาได้พบกับสตรีชื่อ พาเมลลา พลอว์เดน (Pamela Plowden) ลูกสาวของคนใช้และเป็นรักแรกของเขา[ 23] วินสตันยังได้อธิบายถึงสตรีชาวอังกฤษในอินเดียว่าพวกหล่อนนั้นไม่เป็นที่พึงประสงค์เพราะมีความมั่นใจในความงามของตนเองจนเกินไป จดหมายที่เขาเขียนถึงบ้านยังแสดงให้เห็นว่า เขาพยายามเป็นกลางและหลีกเลี่ยงประเด็นการเมืองอังกฤษซึ่งกำลังมีความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย คือฝ่ายค้านที่มีลอร์ดโรสเบรีกับโจเซฟ เชมเบอร์ลิน และฝ่ายรัฐบาลลอร์ดลันสดาวน์ที่ต้องการเพิ่มงบประมาณกองทัพ[ 22]
งานการเมือง
ส.ส. วินสตัน เชอร์ชิล ปี 1904
สมาชิกสภาสมัยแรก
ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1900 เขาชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส.จากโอลด์แฮม[ 24] หลังจากชนะการเลือกตั้งเขาก็เริ่มเดินสายปราศรัยทั้งในเกาะบริเตนและสหรัฐอเมริกา สร้างรายได้ให้แก่เขาถึง 10,000 ปอนด์ (เทียบเท่า 980,000 ปอนด์ในปัจจุบัน) นอกจากนี้ระหว่างปี 1903 ถึง 1905 เขายังได้ร่วมเขียนหนังสือชีวประวัติสองเล่มของบิดา ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล [ 25]
วาระแรกในรัฐสภา วินสตันไปสมาคมอยู่กับพรรคอนุรักษนิยมซึ่งในขณะนั้นเป็นเสียงข้างน้อยนำโดย ลอร์ดฮิวจ์ เซซิล ซึ่งมีชื่อเรียกลำลองในสภาว่า "พวกฮิวจ์" วินสตันได้อภิปรายคัดค้านรายจ่ายด้านการทหารของรัฐบาล[ 26] ตลอดจนคัดค้านการเสนอให้ขึ้นภาษีของรัฐมนตรีโจเซฟ เชมเบอร์ลิน การคัดค้านของวินสตันก็เพื่อหวังรักษาอิทธิพลทางเศรษฐกิจของอังกฤษ ในขณะที่พวกฮิวจ์ส่วนใหญ่ดูจะสนับสนุนนโยบายขึ้นภาษี ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปวินสตันก็ยังสามารถรักษาเก้าอี้ ส.ส.ของตนเองไว้ได้ แต่ด้วยความขัดแย้งเรื่องนโยบายภาษีกับพรรคอนุรักษนิยม เขาก็ตัดสินใจครั้งสำคัญโดยย้ายไปสังกัดพรรคเสรีนิยมแทน ในฐานะสมาชิกพรรคเสรีนิยม เขายังคงสนับสนุนแนวคิดเรื่องเขตการค้าเสรี และเมื่อพรรคเสรีนิยมได้เป็นรัฐบาลที่นำโดยเซอร์เฮนรี แคมป์เบล-แบนเนอร์มัน ในปี 1905 วินสตันก็ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการอาณานิคม ดูแลนิคมแอฟริกาใต้ภายหลังสงครามโบเออร์ และมีส่วนร่างรัฐธรรมนูญทรานส์วาลซึ่งหวังนำเสถียรภาพมาสู่นิคมแอฟริกาใต้ วินสตันได้สูญเสียเก้าอี้ส.ส.จากโอลด์แฮมไปในการเลือกตั้งปี 1906
การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย
ส.ส. วินสตันเป็นบุคคลที่ต่อต้านความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เพื่อปลดแอกอินเดีย รวมถึงต่อต้านกฎหมายที่จะให้เอกราชแก่อินเดีย ในปี 1920 เขากล่าวว่า "คานธี ควรจะถูกมัดมือมัดเท้าไว้หน้าประตูเมืองเดลี แล้วก็ปล่อยให้ช้างตัวเบ้อเร่อเหยียบ" [ 27] [ 28] ยังมีเอกสารระบุในภายหลังอีกว่า วินสตันอยากจะเห็นคานธีอดอาหารให้ตาย ๆ ไปซะ[ 29] วินสตันเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า สันนิบาตป้องกันอินเดีย (India Defence League) เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อธำรงไว้ซึ่งอิทธิพลของอังกฤษในอินเดีย ในปี 1930 วินสตันออกมาประกาศว่า กลุ่มคนและทุกอย่างของลัทธิคานธี จะต้องถูกจับกุมและถูกทำลาย[ 30] วินสตันถึงขนาดแตกหักกับนายกรัฐมนตรีบอลดวิน ที่จะเริ่มกระบวนการให้เอกราชแก่อินเดีย โดยกล่าวว่าจะไม่ขอรับตำแหน่งใด ๆ ในรัฐบาลอีกตราบใดที่บอลดวินยังเป็นนายกฯอยู่
นายกรัฐมนตรีสมัยแรก (ค.ศ. 1940–45)
หวนคืนสู่กระทรวงทหารเรือ
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น ในวันที่ 3 กันยายน 1939 วันที่สหราชอาณาจักรประกาศสงครามต่อเยอรมัน วินสตันได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือ ตำแหน่งเดิมกับที่เขาเคยดำรงตำแหน่งในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะรัฐมนตรีฝ่ายสงคราม (War cabinet) ในรัฐบาลของเชมเบอร์ลิน[ 31] [ 32] ในตำแหน่งนี้ วินสตันได้พิสูจน์ตนเองเป็นรัฐมนตรีมือดีในยุคที่เรียกว่า "สงครามลวง " ตอนแรกวินสตันเสนอแผนจะส่งกองเรือทะลวงเข้าไปในทะเลบอลติก แต่ก็เปลี่ยนแผนเป็นการวางทุ่นระเบิดเส้นทางเดินเรือไม่ให้นอร์เวย์สามารถส่งแร่เหล็กออกจากเมืองนาร์วิกไปป้อนอุตสาหกรรมทหารของเยอรมันได้ ซึ่งจะบีบเยอรมันให้เปิดฉากโจมตีนอร์เวย์ เป็นโอกาสดีที่ราชนาวีอังกฤษจะมีชัยเหนือกองเรือเยอรมัน[ 33] อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเชมเบอร์ลินตลอดจนคณะรัฐมนตรีฝ่ายสงครามคัดค้านแผนการนี้ทำให้แผนล่าช้าออกไป แผนวางทุ่นระเบิดอันมีชื่อว่า "ปฏิบัติการวิลเฟรด " นี้เริ่มขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 1940 เพียงวันเดียวก่อนที่เยอรมันจะประสบความสำเร็จในการบุกครองนอร์เวย์ [ 34]
สุนทรพจน์ "เราจักไม่มีวันยอมแพ้"
ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเยอรมนีจะเข้าบุกฝรั่งเศสด้วยกลยุทธ์บลิทซ์ครีก ผ่านกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ หลังจากความล้มเหลวของปฏิบัติการในประเทศนอร์เวย์ ผู้คนก็สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลของเชมเบอร์ลิน ทำให้เชมเบอร์ลินตัดสินใจลาออก ตัวเต็งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอย่างเอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์ ก็ถอนตัว เนื่องจากเขาไม่เชื่อมั่นว่าตัวเขาซึ่งมาจากสภาขุนนาง จะสามารถบริหารบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน แม้ว่าโดยจารีตประเพณีแล้วนายกรัฐมนตรีจะมิทูลเกล้าฯ เสนอชื่อนายกฯ คนต่อไป แต่เชมเบอร์ลินต้องการใครซักคนที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งสามพรรคในสภาสามัญชน จึงเกิดการหารือกันระหว่างเชมเบอร์ลิน, ลอร์ดฮาลิแฟกซ์, วินสตัน และเดวิด มาเกรสสัน ในที่สุดพระเจ้าจอร์จที่ 6 ก็ทรงเสนอชื่อวินสตันขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยสิ่งแรกที่วินสตันทำคือการเขียนจดหมายขอบคุณเชมเบอร์ลินที่สนับสนุนเขา[ 35]
ตอนปลายของยุทธการที่ฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษในภาคพื้นทวีปต่างพ่ายแพ้ต่อเยอรมัน หมู่เกาะอังกฤษตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์ ผู้คนต่างหวาดผวาต่อการรุกรานโดยนาซีเยอรมนี ทันใดนั้นก็เกิดปาฏิหาริย์แห่งดันเคิร์ก ขึ้นซึ่งช่วยทหารไว้กว่าสามแสนนาย ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940 นายกรัฐมนตรีวินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาสามัญชน สุนทรพจน์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ We shall fight on the beaches ซึ่งบางส่วนของสุนทรพจน์ดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเป็นวลีที่ดีที่สุดแห่งยุค
วินสตัน เชอร์ชิลสวมหมวกเกราะขณะสัญญาณเตือนภัยดัง ระหว่างยุทธการที่บริเตน ค.ศ. 1940
...วันนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ขอสภาให้กำหนดบ่ายวันนี้เป็นวาระพิเศษเพื่อกล่าวแถลง ผมมีความลำบากใจเป็นอย่างมากที่จะต้องประกาศหายนะทางการทหารที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของเรา...รากเหง้า แก่น และมันสมองของกองทัพบริติช...ดูเหมือนกำลังจะพังทลายลงในสนามรบ...ปาฏิหาริย์การปลดปล่อย ซึ่งสำเร็จได้จากความกล้าหาญ จากความบากบั่น กลายเป็นที่ประจักษ์แก่เราทุกคน และราชนาวีด้วยความช่วยเหลือของชาวเรือพาณิชย์นับไม่ถ้วน ได้ใช้เรือทุกชนิดเกือบพันลำ นำพากว่า 335,000 นายทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ให้รอดพ้นจากปากมัจจุราชและความอัปยศ...มีคนบอกว่าแฮร์ฮิตเลอร์มีแผนรุกรานหมู่เกาะอังกฤษ ข้อนี้ก็เคยคิดกันมาก่อนหลายครั้ง...เราจะขอพิสูจน์ตนเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดของเรา และเราจะผ่านพ้นภัยทรราชนี้...
แม้ว่าพื้นที่มากมายในยุโรปและรัฐเก่าแก่ขึ้นชื่อได้พ่ายแพ้หรืออาจตกอยู่ใต้เงื้อมมือของเกสตาโพ และระบอบนาซีที่น่ารังเกียจก็ตาม เราจะอ่อนล้าหรือล้มเหลวไม่ได้
เราจักก้าวเดินไปถึงจุดจบ เราจักสู้ในฝรั่งเศส เราจักสู้ในท้องทะเลและมหาสมุทร เราจักสู้ด้วยความเชื่อมั่นและพลังที่เติบใหญ่ในท้องนภา เราจักปกป้องเกาะของเราไม่ว่าต้องแลกด้วยอะไร เราจักสู้บนชายหาด เราจักสู้บนลานบิน เราจักสู้บนท้องทุ่งและท้องถนน เราจักสู้ในหุบเขา เราจักไม่มีวันยอมแพ้ ...
ชีวิตช่วงหลัง: ค.ศ. 1955–1965
จิตรกร นักประวัติศาสตร์ และนักเขียน
Allies (1995) โดยลอว์เรนซ์ โฮลอฟเซเนอร์ กลุ่มประติมากรรมที่แสดงแฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ กับเชอร์ชิลที่นิวบอนด์สตรีท ลอนดอน
เชอร์ชิลเป็นนักเขียนที่ผลิตผลงานมาก ได้แก่ นวนิยาย (Savrola ), ชีวประวัติ 2 เล่ม, บันทึกความทรงจำ, ประวัติศาสตร์ และบทความข่าว ผลงานที่มีชื่อเสียง 2 เล่มคือ บันทึกความทรงจำ The Second World War 6 เล่ม และ A History of the English-Speaking Peoples 4 เล่ม ใน ค.ศ. 1953 เชอร์ชิลได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม "สำหรับความเชี่ยวชาญในการบรรยายประวัติศาสตร์และชีวประวัติ" และคำปราศรัย[ 37]
เขาใช้นามปากกา "วินสตัน เอส. เชอร์ชิล" (Winston S. Churchill) หรือ "วินสตัน สเปนเซอร์ เชอร์ชิล" (Winston Spencer Churchill) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับนักเขียนนวนิยายชาวอเมริกันที่มีชื่อเดียวกัน ซึ่งเขาก็มีจดหมายโต้ตอบอย่างฉันมิตรด้วย[ 38] เป็นเวลาหลายปีที่เขาอาศัยบทความข่าวของตนเป็นอย่างมาก เพื่อบรรเทาความกังวลทางการเงิน
เชอร์ชิลกลายเป็นจิตรกรมือสมัครเล่นที่ประสบความสำเร็จ เริ่มต้นหลังลาออกจากกองทัพเรือใน ค.ศ. 1915 โดยใช้นามแฝง "Charles Morin" เขาวาดภาพถึงร้อยกว่าภาพ โดยมีหลายภาพที่จัดแสดงในสตูดิโอที่ชาร์ตเวลล์และในชุดสะสมส่วนตัว
เชอร์ชิงเป็นช่างปูน มือสมัครเล่นที่ก่อสร้างอาคารและกำแพงสวนที่ชาร์ตเวลล์ เขาเข้าร่วม Amalgamated Union of Building Trade Workers bแต่ถูกขับออกหลังเข้าเป็นสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม เขายังเพาะพันธุ์ผีเสื้อด้วย[ 43] เขาเป็นที่รู้จักจากการรักสัตว์และมีสัตว์เลี้ยงบางตัว เสมอ ส่วนใหญ่เป็นแมว แต่บางครั้งก็มีสุนัข, สุกร, แกะ, แบนแทม , แพะ และลูกสุนัขจิ้งจอก กับตัวอื่น ๆ[ 44]
สิ่งสืบทอดและการประเมิน
ครอบครัวและบรรพบุรุษ
เชอร์ชิลแต่งงานกับคลีเมนไทน์ โฮซีเออร์ (Clementine Hozier) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1908 ทั้งคู่อยู่ด้วยกันเป็นเวลา 57 ปี เชอร์ชิลตระหนักดีถึงความตึงเครียดในอาชีพทางการเมือง ส่งผลต่อการแต่งงานของเขา Colville รายงานว่า เขามีความรักชั่วครู่กับ Doris Castlerosse ในคริสต์ทศวรรษ 1930[ 48] กระนั้น แอนดรูว์ รอเบิตส์ ไม่นับเรื่องนี้
ไดอานา ลูกคนแรกของเชอร์ชิล เกิดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1909 แรนดอล์ฟ ลูกคนที่ 2 เกิดในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 ซาราห์ ลูกคนที่ 3 เกิดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 และแมรีโกลด์ ลูกคนที่ 4 เกิดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แมรีโกลด์เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1921 จากนั้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1922 จึงมีการให้กำเนิดแมรี ลูกคนสุดท้องของเชอร์ชิล ภายหลังในเดือนั้น ครอบครัวเชอร์ชิลซื้อบ้านชาร์ตเวลล์ ซึ่งภายหลังกลายเป็นบ้านของครอบครัวจนกระทั่งวินสตันเสียชีวิตใน ค.ศ. 1965 เจนกินส์รายงานว่า เชอร์ชิลเป็น "พ่อที่กระตือรือร้นและรักลูก" แต่เป็นคนที่คาดหวังลูกมากเกินไป
หมายเหตุ
อ้างอิง
ตราประจำตัวของเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ตรงกลางเป็นอาร์มประจำตำแหน่งดยุกแห่งมาร์ลบะระ
↑ หนังสือพิมพ์ออนไลน์เวิร์คพอยท์ทูเดย์ประจำวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563 สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2565
↑ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ทรูไอดีประจำวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563 สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2565
↑ Johnson, Paul (2010). Churchill . New York, NY: Penguin. p. 4 . ISBN 0-14-311799-8 .
↑ Lundy, Darryl. "Rt. Hon. Sir Winston Leonard Spencer Churchill" . The Peerage . Wellington, New Zealand: Darryl Lundy. Person Page – 10620. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007 . [แหล่งอ้างอิงไม่น่าเชื่อถือ ]
↑ Jenkins, pp. 1–20
↑ Jenkins, p. 7
↑ Johnson, Paul (2010). Churchill . New York, NY: Penguin. p. 4 . ISBN 0-14-311799-8 .
↑ Jenkins, p. 10
↑ Jordan, Anthony (1995). Churchill: A Founder of Modern Ireland . Dublin: Westport Books. pp. 11–12. ISBN 978-0-9524447-0-1 .
↑ Prendeville, Tom (19 January 2012). "Secret history of the Phoenix Park" . Irish Independent .
↑ "Sir Winston Churchill Biography" . Encyclopædia Britannica .
↑ 14.0 14.1 Lt Churchill: 4th Queen's Own Hussars , The Churchill Centre. Retrieved 28 August 2009.
↑ Jenkins, pp. 10–11
↑ Haffner, p. 32
↑ Jenkins, pp. 20–21
↑ "Bank of England inflation calculator" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-12-04. สืบค้นเมื่อ 2016-11-21 .
↑ Jenkins, pp. 21–45
↑ Lewis, G. K. (May 1957). "On the character and achievement of Sir Winston Churchill". The Canadian Journal of Economics and Political Science . 23 (2): 173–194.
↑ Jones, R. V. (1966). "Winston Leonard Spencer Churchill 1874–1965". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society . 12 : 34–26. doi :10.1098/rsbm.1966.0003 . ISSN 0080-4606 .
↑ 22.0 22.1 Robbins 1992, pp. 15–16
↑ "When Churchill lived in the City" . Deccan Herald . No. Bangalore. 11 November 2011. สืบค้นเมื่อ 16 January 2015 .
↑ "No. 27244" . The London Gazette . 6 November 1900.
↑ Jenkins, p. 101
↑ Jenkins, pp. 74–76
↑ Barczewsk, Stephanie, John Eglin, Stephen Heathorn, Michael Silvestri, and Michelle Tusan. Britain Since 1688: A Nation in the World , p. 301
↑ Toye, Richard. Churchill's Empire: The World That Made Him and the World He Made , p. 172
↑ "Churchill took hardline on Gandhi" . BBC News. 1 January 2006. สืบค้นเมื่อ 12 April 2010 .
↑ Myers, Kevin (6 August 2010). "Seventy years on and the soundtrack to the summer of 1940 is filling Britain's airwaves" . The Irish Independent . สืบค้นเมื่อ 7 November 2010 .
↑ Churchill, Winston. The Second World War (abridged edition), p. 163. Pimlico (2002); ISBN 0-7126-6702-4
↑ Brendon, Piers. "The Churchill Papers: Biographical History" . Churchill Archives Centre , Churchill College, Cambridge . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-11-13. สืบค้นเมื่อ 26 February 2007 .
↑ Lunde 2009, pp. 11–14
↑ Kersaudy, François (1995). "allierte planer" . ใน Dahl ; Hjeltnes ; Nøkleby ; Ringdal ; Sørensen (บ.ก.). Norsk krigsleksikon 1940–45 (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Cappelen. pp. 17–18. ISBN 82-02-14138-9 .
↑ Self, Robert (2006). Neville Chamberlain: A Biography , p. 431. Ashgate; ISBN 978-0-7546-5615-9 .
↑ "The Nobel Prize in Literature 1953 – Winston Churchill" . Stockholm: Nobel Media AB. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020 .
↑ "Spring 1899 (Age 24): The First Political Campaign" . International Churchill Society (ICS) . London: Bloomsbury Publishing plc. 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020 .
↑ Wainwright, Martin (19 August 2010). "Winston Churchill's butterfly house brought back to life" . The Guardian . London. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020 .
↑ Glueckstein, Fred (20 June 2013). "Churchill's Feline Menagerie" . International Churchill Society (ICS) . London: Bloomsbury Publishing plc. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020 .
↑ Doward, Jamie (25 February 2018). "Revealed: secret affair with a socialite that nearly wrecked Churchill's career" . The Guardian . London. สืบค้นเมื่อ 25 February 2018 .
บรรณานุกรม
Adams, Edward (2011). Liberal Epic: The Victorian Practice of History from Gibbon to Churchill . Charlottesville, Virginia: University of Virginia Press. ISBN 978-08-13931-45-6 .
Addison, Paul (1980). "The Political Beliefs of Winston Churchill". Transactions of the Royal Historical Society . Cambridge: Cambridge University Press. 30 : 23–47. doi :10.2307/3679001 . JSTOR 3679001 . S2CID 154309600 .
Addison, Paul (2005). Churchill: The Unexpected Hero . Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-01-99297-43-6 .
Arthur, Max (2015). Churchill – The Life: An authorised pictorial biography . London: Cassell. ISBN 978-1-84403-859-6 .
Ball, Stuart (2001). "Churchill and the Conservative Party". Transactions of the Royal Historical Society . Cambridge: Cambridge University Press. 11 : 307–330. doi :10.1017/S0080440101000160 . JSTOR 3679426 . S2CID 153860359 .
Bayly, Christopher ; Harper, Tim (2005). Forgotten Armies: Britain's Asian Empire & the War with Japan . Cambridge, Massachusetts: The Belknap Press. ISBN 0-674-01748-X .
Bell, Christopher M. (2011). "Sir John Fisher's Naval Revolution Reconsidered: Winston Churchill at the Admiralty, 1911–1914". War in History . 18 (3): 333–356. doi :10.1177/0968344511401489 . S2CID 159573922 .
Bennett, William J. (2007). America the Last Best Hope. Volume II . Nashville: Thomas Nelson Inc. ISBN 978-14-18531-10-2 .
Best, Geoffrey (2001). Churchill: A Study in Greatness . London and New York: Hambledon and Continuum. ISBN 978-18-52852-53-5 .
Blake, Robert ; Louis, Wm. Roger , บ.ก. (1993). Churchill: A Major New Reassessment of His Life in Peace and War . Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-01-98203-17-9 . OCLC 30029512 .
Brown, Judith (1998). The Twentieth Century. The Oxford History of the British Empire, Volume IV . Oxford University Press. ISBN 978-01-99246-79-3 .
Brustein, William I. (13 October 2003). Roots of Hate: Anti-Semitism in Europe Before the Holocaust . Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-77478-9 .
Charmley, John (1995). Churchill's Grand Alliance, 1940–1957 . London: Hodder & Stoughton Ltd. ISBN 978-01-51275-81-6 . OCLC 247165348 .
Churchill, Winston (1927). 1916–1918 (Parts I and II) . The World Crisis. Vol. III. London: Thornton Butterworth.
Churchill, Winston (1967b) [first published 1948]. The Twilight War: 3 September 1939 – 10 May 1940 . The Second World War: The Gathering Storm. Vol. II (9th ed.). London: Cassell & Co. Ltd .
Cohen, Michael J. (13 September 2013). Churchill and the Jews, 1900–1948 . Routledge. ISBN 978-1-135-31906-9 .
Colombo, John Robert (1984). Canadian Literary Landmarks . Toronto: Dundurn. ISBN 978-08-88820-73-0 .
Cooper, Matthew (1978). The German Army 1933–1945: Its Political and Military Failure . Briarcliff Manor, New York: Stein and Day. pp. 376 –377. ISBN 978-08-12824-68-1 .
Dalton, Hugh (1986). The Second World War Diary of Hugh Dalton 1940–45 . London: Jonathan Cape. p. 62 . ISBN 978-02-24020-65-7 .
Douglas, R. M. (2009). "Did Britain Use Chemical Weapons in Mandatory Iraq?" . The Journal of Modern History . 81 (4): 859–887. doi :10.1086/605488 . S2CID 154708409 .
Faught, C. Brad (2022). Cairo 1921: Ten Days That Made the Middle East . New Haven and London: Yale University Press. ISBN 978-0-300-25674-1
Faught, C. Brad (2023). Churchill and Africa: Empire, Decolonisation and Africa . Barnsley and Philadelphia: Pen and Sword Military. ISBN 978-1-526-76854-4
Freeman, Jennifer (2019). "A farewell to Marigold". The Telamon . No. 87. London: The Friends of Kensal Green Cemetery. p. 3.
Gilbert, Martin (1991). Churchill: A Life . London: Heinemann. ISBN 978-04-34291-83-0 .
Gilbert, Martin (1988). Never Despair: Winston S. Churchill, 1945–1965 . Trowbridge: Minerva. ISBN 978-07-49391-04-1 .
Haffner, Sebastian (2003). Churchill . John Brownjohn (translator). London: Haus. ISBN 978-19-04341-07-9 . OCLC 852530003 .
Hastings, Max (2009). Finest Years. Churchill as Warlord, 1940–45 . Hammersmith: Harper Collins. ISBN 978-00-07263-67-7 .
Hermiston, Roger (2016). All Behind You, Winston – Churchill's Great Coalition, 1940–45 . London: Aurum Press. ISBN 978-17-81316-64-1 .
Jenkins, Roy (2001). Churchill . London: Macmillan Press. ISBN 978-03-30488-05-1 .
Jordan, Anthony J. (1995). Churchill, A Founder of Modern Ireland . Westport, Mayo: Westport Books. ISBN 978-09-52444-70-1 .
Judd, Dennis (2012). George VI . London: I. B. Tauris. ISBN 978-17-80760-71-1 .
Khan, Yasmin (2015). India at War: The Subcontinent and the Second World War . Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-975349-9 .
Knickerbocker, H. R. (1941). Is Tomorrow Hitler's? 200 Questions on the Battle of Mankind . New York: Reynal & Hitchcock. ISBN 978-14-17992-77-5 .
Langworth, Richard (2008). Churchill by Himself . London: Ebury Press.
Lovell, Mary S. (2011). The Churchills . London: Little Brown Book Group. ISBN 978-07-48117-11-6 .
Lynch, Michael (2008). "1. The Labour Party in Power, 1945–1951". Britain 1945–2007 . Access to History. London: Hodder Headline. pp. 1–4. ISBN 978-03-40965-95-5 .
Marr, Andrew (2008). A History of Modern Britain . London: Macmillan. ISBN 978-03-30439-83-1 .
Marr, Andrew (2009). The Making of Modern Britain . London: Macmillan. pp. 423 –424. ISBN 978-03-30510-99-8 .
Montague Browne, Anthony (1995). Long Sunset: Memoirs of Winston Churchill's Last Private Secretary . Ashford: Podkin Press. ISBN 978-09-55948-30-5 . *
Moritz, Edward Jr. (1958). "Winston Churchill – Prison Reformer" . The Historian . Hoboken, New Jersey: Wiley. 20 (4): 428–440. doi :10.1111/j.1540-6563.1958.tb01990.x . JSTOR 24437567 .
Mumford, Andrew (2012). The Counter-Insurgency Myth: The British Experience of Irregular Warfare . Abingdon: Routledge. ISBN 978-04-15667-45-6 .
Neiberg, Michael S. (2004). Warfare and Society in Europe: 1898 to the Present . London: Psychology Press. ISBN 978-04-15327-19-0 .
O'Brien, Jack (1989). British Brutality in Ireland . Dublin: The Mercier Press. ISBN 978-0-85342-879-4 .
Pelling, Henry (June 1980). "The 1945 General Election Reconsidered" . The Historical Journal . Cambridge University Press. 23 (2): 399–414. doi :10.1017/S0018246X0002433X . JSTOR 2638675 . S2CID 154658298 .
Price, Bill (2009). Winston Churchill : war leader (International ed.). Harpenden: Pocket Essentials. ISBN 978-1-306-80155-3 . OCLC 880409116 .
Rasor, Eugene L. (2000). Winston S. Churchill, 1874–1965: A Comprehensive Historiography and Annotated Bibliography . Westport, Connecticut: Greenwood Press. ISBN 978-03-13305-46-7 .
Reagles, David; Larsen, Timothy (2013). "Winston Churchill and Almighty God". Historically Speaking . Boston, Massachusetts: Johns Hopkins University Press. 14 (5): 8–10. doi :10.1353/hsp.2013.0056 . S2CID 161952924 .
Resis, Albert (April 1978). "The Churchill-Stalin Secret "Percentages" Agreement on the Balkans, Moscow, October 1944" . The American Historical Review . 83 (2): 368–387. doi :10.2307/1862322 . JSTOR 1862322 .
Rhodes James, Robert (1970). Churchill: A Study in Failure 1900–1939 . London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 978-02-97820-15-4 .
Roberts, Andrew (2018). Churchill: Walking with Destiny . London: Allen Lane. ISBN 978-11-01980-99-6 .
Robbins, Keith (2014) [1992]. Churchill: Profiles in Power . London and New York: Routledge. ISBN 978-13-17874-52-2 .
Sen, Amartya (1977). "Starvation and exchange entitlements: a general approach and its application to the Great Bengal Famine". Cambridge Journal of Economics . 1 (1): 33–59. doi :10.1093/oxfordjournals.cje.a035349 .
Shakespeare, Nicholas (2017). Six Minutes in May . London: Vintage. ISBN 978-17-84701-00-0 .
Soames, Mary (1990). Winston Churchill: His Life as a Painter . Boston, Massachusetts: Houghton Mifflin. ISBN 978-03-95563-19-9 .
Soames, Mary (1998). Speaking for Themselves: The Personal Letters of Winston and Clementine Churchill . London: Doubleday. ISBN 978-03-85406-91-8 .
Soames, Mary (2012). A Daughter's Tale: The Memoir of Winston and Clementine Churchill's Youngest Child . London: Transworld Publishers Limited. ISBN 978-05-52770-92-7 .
Sorrels, Roy W. (1984). "10 People Who Hated Portraits of Themselves". ใน Wallechinsky, David; Wallace, Irving; Wallace, Amy (บ.ก.). The People's Almanac Book of Lists . New York City: William Morrow & Co. ISBN 978-05-52123-71-6 .
Taylor, Frederick (2005). Dresden: Tuesday, 13 February 1945 . London: Bloomsbury. ISBN 978-07-47570-84-4 .
Tolstoy, Nikolai (1978). The Secret Betrayal . New York City: Scribner. p. 360 . ISBN 978-06-84156-35-4 .
Toye, Richard (2007). Lloyd George and Churchill: Rivals for Greatness . London: Macmillan. ISBN 978-14-05048-96-5 .
แหล่งข้อมูลอื่น
บรรณานุกรมและชุดสะสมออนไลน์
บันทึกเสียง
พิพิธภัณฑ์, หอจดหมายเหตุ และห้องสมุด
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
ค.ศ. 1901–1925 (พ.ศ. 2444–2468) ค.ศ. 1926–1950 (พ.ศ. 2469–2493) ค.ศ. 1951–1975 (พ.ศ. 2494–2518) ค.ศ. 1976–2000 (พ.ศ. 2519–2543) ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ ศิลปิน ประชาชน อื่น ๆ