วอลอดือมือร์ ออแลกซันดรอวึช แซแลนสกึย[a][b] (เกิด 25 มกราคม ค.ศ. 1978) เป็นนักการเมืองและอดีตนักแสดงตลกชาวยูเครน ประธานาธิบดียูเครนคนที่ 6 และคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 2019
แซแลนสกึยเคยสวมบทบาทเป็นประธานาธิบดียูเครนในละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง เพื่อประชาชนที่รัก (สลูฮานารอดู, “ผู้รับใช้ประชาชน”)[3][4] ซึ่งออกอากาศระหว่าง ค.ศ. 2015–2019 ต่อมาลูกจ้างและพนักงานในบริษัทกวาร์ตัล 95 ได้ร่วมก่อตั้งพรรคผู้รับใช้ประชาชนขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 ซึ่งตั้งชื่อตามละครชุดนี้เอง[5][6]
หกเดือนก่อนที่เขาจะประกาศเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2018 เขาเป็นหนึ่งในตัวเต็งจากผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง[7][3][6] เขาชนะการเลือกตั้งร้อยละ 73.2 ในการเลือกตั้งรอบสอง โดยวางตัวเป็นนักการเมืองที่ต่อต้านกลุ่มผู้มีอำนาจและปราบการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ในตำแหน่งประธานาธิบดี แซแลนสกึยเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และเอกภาพระหว่างประชาชนที่พูดภาษายูเครนกับประชาชนที่พูดภาษารัสเซีย[8] เขาเน้นการสื่อสารผ่านสื่อสังคม โดยเฉพาะอินสตาแกรม[9] หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีไม่นาน เขายุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่ จนทำให้พรรคของเขาชนะอย่างถล่มทลาย ในสมัยดำรงตำแหน่งของเขา เขาผ่านกฎหมายยกเลิกความคุ้มกันทางกฎหมายต่อสมาชิกรัฐสภายูเครน[10] รับผิดชอบแก้ไขการระบาดทั่วของโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นตามมา และมีความคืบหน้าอยู่บ้างในการจัดการการฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศ[11][12] กระนั้นนักวิจารณ์เขาอ้างว่าแม้เขาจะชิงอำนาจไปจากพวกคณาธิปัตย์ แล้วรวมศูนย์อำนาจและเสริมสร้างฐานะของตัวเองแทน[13]
แซแลนสกึยให้คำมั่นว่าจะยุติความขัดแย้งอันยืดเยื้อกับรัสเซีย และพยายามเจรจากับประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน[14] รัฐบาลของเขาเผชิญกับการยกระดับความตึงเครียดกับรัสเซียใน ค.ศ. 2021 จนลงเอยด้วยการบุกเต็มขั้นของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ยุทธศาสตร์ของแซแลนสกึยระหว่างการสะสมกำลังทหารของรัสเซียเป็นการปลอบขวัญประชาชนยูเครน และพยายามสร้างความเชื่อมั่นต่อชุมชนระหว่างประเทศว่ายูเครนจะไม่ตอบโต้[15] หลังเกิดการรุกราน แซแลนสกึยประกาศกฎอัยการศึกและประกาศระดมพลทั่วประเทศ ความเป็นผู้นำของเขาในสงครามทำให้เขาได้รับความชื่นชมจากนานาชาติ และเขาได้รับการยกย่องในฐานะสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านของยูเครน[16]
หมายเหตุ
- ↑ ในชื่อซึ่งตั้งตามธรรมเนียมภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกนี้ นามสกุลที่แปลงมาจากชื่อบิดาคือ ออแลกซันดรอวึช ส่วนนามสกุลของตระกูลคือ แซแลนสกึย
- ↑ ยูเครน: Володи́мир Олекса́ндрович Зеле́нський, อักษรโรมัน: Volodymyr Oleksandrovych Zelenskyy[note 1]
- ↑ เสียงอ่านภาษายูเครน: [ʋoloˈdɪmɪr olekˈsɑndrowɪdʒ zeˈlɛnʲsʲkɪj]; รัสเซีย: Влади́мир Алекса́ндрович Зеле́нский, อักษรโรมัน: Vladimir Aleksandrovich Zelenskiy
อ้างอิง
- ↑ "Volodymyr Zelensky: Comedian-president calls snap election". BBC News. May 20, 2019.
- ↑ Зеленський Володимир Олександрович [Elections of the President of Ukraine 2019]. Central Election Commission (Ukraine) (ภาษายูเครน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2022. สืบค้นเมื่อ 10 March 2022.
- ↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 0396374-zelenskiy
- ↑ Lawyer Zelensky has registered a new political party "Servant of the people", UNIAN (3 December 2017) Jacobsen, Katherine (13 ธันวาคม 2016). "How a Fictional President Is Helping Ukrainians Rethink Their Absurd Politics". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2017.
Kao, Anthony (6 มิถุนายน 2017). "Ukraine's 'Servant of the People' is a hidden gem of political comedy". Cinema Escapist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2017.
Kao, Anthony (22 สิงหาคม 2017). "Interview: Vladimir Zelenskiy on playing Ukraine's president in 'Servant of the People'". Cinema Escapist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2017.
- ↑ (ยูเครน)
- ↑ 6.0 6.1 The boundary of a joke. How Zelensky prepares for the election เก็บถาวร 8 กุมภาพันธ์ 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ukrayinska Pravda (25 October 2018) (ยูเครน)
- ↑ Interfax-Ukraine (15 July 2018). "Support for Zelensky, Varkarchuk shows popular demand for new politicians". Kyiv Post.
- ↑ Hosa, Joanna (2019). Zelensky Unchained: What Ukraine's New Political Order Means For Its Future (Report). ECRF. pp. 11–13. JSTOR resrep21659.
- ↑ Hosa, Joanna (2019). Zelensky Unchained: What Ukraine's New Political Order Means For Its Future (Report). ECRF. pp. 7–10. JSTOR resrep21659.
- ↑ "Ukraine Lifts Prosecutorial Immunity For Members Of Parliament". RadioFreeEurope/RadioLiberty (ภาษาอังกฤษ). 19 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2022. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
- ↑ Peleschuk, Dan (15 April 2021). "Ukraine's anti-corruption effort struggles, but soldiers on". Eurasianet (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2022. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
- ↑ Wilson, Andrew (6 July 2021). "Faltering fightback: Zelensky's piecemeal campaign against Ukraine's oligarchs – European Council on Foreign Relations". ECFR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
- ↑ Hall, Ben; Olearchyk, Roman; Seddon, Max (21 October 2019). "Ukraine: why Volodymyr Zelensky is pursuing a disruptive agenda". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2022. สืบค้นเมื่อ 20 February 2022.
- ↑ Lutsevych, Orysia (16 November 2021). "Ukraine still backs Zelenskyy despite slow progress". Chatham House (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2021. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
- ↑ "Conflict in Ukraine". Global Conflict Tracker (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2022. สืบค้นเมื่อ 23 February 2022.
- ↑ Ledwidge, Frank (3 March 2022). "Ukraine war: what are Russia's strategic aims and how effectively are they achieving them?". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
ศิลปิน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|