อิสิดอร์ อิซาค ราบี (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 - 11 มกราคม พ.ศ. 2531 ) เป็นนักฟิสิกส์ ผู้มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรีย และได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2487
ราบีถือกำเนิดใน หมู่บ้าน Rymanów เมือง Galicia อาณาจักรออสเตรีย (ปัจจุบันเป็นประเทศโปแลนด์ ) และ ถูกพามาที่สหรัฐอเมริกา หลังจากถือกำเนิดขึ้นได้เพียง 1 ปี เขาได้รับ ปริญญาทางวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ปริญญาตรี) ทางเคมี จาก มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในปี พ.ศ. 2462 และ ศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ ได้รับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ในปี 2470 เขาใช้เวลา 2 ปีถัดจากนั้น ในยุปโรป หลังจากได้รับทุนผู้ติดตาม โดยเขาได้ทำงานกับนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงมากหลายท่าน เช่น นีลส์ บอร์ (Niels Bohr), เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบอร์ก (Werner Heisenberg), ว็อล์ฟกัง เพาลี (Wolfgang Pauli), และ ออตโต สเติร์น (Otto Stern) ต่อมาเขาจึงได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ ไม่ได้ย้ายไปไหนอีก
ในปี 2473 ราบีได้นำการค้นคว้าวิจัยไปสู่การศึกษาธรรมชาติของแรงที่รวมเอา โปรตอน ใน นิวเคลียส ของอะตอม เข้าด้วยกัน งานวิจัยนี้ท้ายที่สุดแล้วได้นำพาไปสู่ การสร้าง วิธีการตรวจจับแบบ การสั่นพ้องทางแม่เหล็ก ของ ลำโมเลกุล ซึ่งเป็นผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในเวลาต่อมา
ในปี 2483 เขาได้รับการอนุญาตให้ย้ายจากโคลัมเบียไปทำงานเป็นรองผู้อำนวยการของ ห้องทดลองการแผ่รังสี ที่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology: MIT) เพื่อจะพัฒนาเรดาร์ เขาตกลงอย่างไม่เต็มใจนักที่จะทำงานเป็นที่ปรึกษาเยือน ผู้ต้องเดินทางไปๆ มาๆ จาก ลอส แอลามอส ที่ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในน้อยคนที่ได้รับการยกเว้นในกฎที่เข้มงวดของที่นั่น นายพล กรูฟส์ ได้มีความพยายามเป็นพิเศษที่จะนำ ราบี (ซึ่งเคยเป็นเพื่อนนักเรียนกับ โอพเพนไฮเมอร์ (Oppenheimer) และ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน) ไปสู่ ลอส แอลามอส ในช่วงเวลาสำคัญที่นำไปสู่การทดลองไทรนิตี (Trinity test) เพื่อว่าเขาจะสามารถช่วยเหลือ โอพเพนไฮเมอร์ ให้รักษาสภาพจิตที่เป็นปกติเอาไว้ได้ ภายใต้แรงกดดันมหาศาล
หลังจากสงครามเขาได้ทำงานวิจัยของเขาต่อ ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการสร้าง เลเซอร์ และ นาฬิกาอะตอม ทั้งนี้เขายังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ห้องทดลองแห่งชาติบรูคเฮฟเวน (Brookhaven National Laboratory ) และ องค์ที่รู้จักกันในนามว่า เซิร์น (CERN)
ราบี เป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ของ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย จากช่วง พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นช่วงที่ มหาวิทยาลัย เป็นที่ทำงานหลักของ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลถึงสองท่าน (ราบี และ เอนริโก เฟอร์มิ) และ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลในอนาคตอีกถึง 11 ท่าน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ 7 ท่าน (โพลีคาร์พ คุช, วิลลิส แลมบ์, มาเรีย โกเอพเพิร์ท-เมเยอร์, เจมส์ เรนวอเทอร์, นอร์แมน แรมซี, ชาร์ลส์ เทาซ์ และ ฮิเดกิ ยูกาวา), นักวิจัย 1 ท่าน (เอจ บอห์ร) ศาสตราจารย์เยือน 1 ท่าน (ฮานส์ เบธธะ), นักศึกษาปริญญาเอก 1 ท่าน (ลีออน ลีเดอร์แมน) และ นักศึกษาปริญญาตรีอีก 1 ท่าน (ลีออน คูเปอร์) เมื่อมหาวิทยาลัยโคลัมเบียสร้างตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในปี 2507 ราบีเป็นคนแรกที่ได้รับตำแหน่งที่ว่านั้น เขาเกษียณจากการสอนในปี 2511 แต่ยังคงทำงานในภาค และ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกษียณผู้ทรงเกียรติของมหาวิทยาลัย และ ผู้บรรยายพิเศษ จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในวันที่ 11 มกราคม 2531
เขาเป็นผู้ที่ตั้งข้อสังเกตอันเลื่องชื่อว่า "โลกคงจะดีกว่านี้ถ้าไม่มี เอดวาร์ด เทลเลอร์ [ 1] " นอกจากนี้เขายังถูกรู้จักในฐานะผู้ตั้งคำถาม "ใครสั่ง มิวออน มาละ"
บิดา: เดวิด ราบี
มารดา: เจเนต ทีก
ภรรยา: เฮเลน นิวมาร์ก (แต่ง. 2469, บุตรีสองท่าน)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ เอดวาร์ด เทลเลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งระเบิดปรมาณู
Rabi, scientist and citizen by John S. Rigden (Sloan Foundation Series; Basic Books, 1987). A biography that is close to an autobiography, as it was based on extensive interviews with Rabi.
แหล่งข้อมูลอื่น
ค.ศ. 1901–1925 ค.ศ. 1926–1950 ค.ศ. 1951–1975 ค.ศ. 1976–2000 ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน