ราชวงศ์นันทะ หรือ จักรวรรดินันทะ (อังกฤษ : Nanda Dynasty ) เป็นราชวงศ์ที่ 5 ที่ปกครองแคว้นมคธ ในอนุทวีปอินเดียตอนเหนือเมื่อศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช และอาจปกครองในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราชด้วย ราชวงศ์นันทะโค่นล้มราชวงศ์ศิศุนาค และขยายจักรวรรดิในพื้นที่อินเดียเหนือ ข้อมูลสมัยโบราณระบุพระนามกษัตริย์และระยะเวลาครองราชย์ไม่เหมือนกัน ข้อมูลศาสนาพุทธที่บันทึกใน มหาวงศ์ ระบุว่าราชวงศ์นี้ปกครองในช่วง ป. 345 –322 ปีก่อน ค.ศ. แม้ว่าบางทฤษฎีจัดปีเริ่มต้นปกครองที่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช
ราชวงศ์นันทะตั้งรากฐานผ่านความสำเร็จของราชวงศ์หรยังกะ กับศิศุนาค และจัดตั้งการบริหารแบบรวมศูนย์มากขึ้น แหล่งข้อมูลสมัยโบราณยกความชอบให้ราชวงศ์นี้ว่าสร้างความมั่งคั่งมหาศาล ซึ่งอาจเป็นผลจากการนำสกุลเงินและระบบภาษีใหม่มาใช้ ตำราสมัยโบราณยังระบุด้วยว่าราชวงศ์นันทะไม่เป็นที่นิยมในบรรดาราษฎร เนื่องจากมีต้นกำเนิดจากชนชั้นต่ำ เก็บภาษีมากเกินไป และประพฤติมิชอบอย่างทั่วไป กษัตริย์นันทะองค์สุดท้ายถูกโค่นล้มโดยจันทรคุปต์ เมารยะ ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ
ต้นกำเนิด
ทั้งธรรมเนียมอินเดียและกรีก-โรมันบรรยายผู้ก่อตั้งราชวงศ์ว่ามีต้นกำเนิดจากชนชั้นต่ำ[ 4] Diodorus (ศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ.) นักประวัติศาสตร์กรีก ระบุว่า พระเจ้าโปรสตรัสแก่อะเล็กซานเดอร์ว่า คาดกันว่ากษัตริย์นันทะร่วมสมัยเป็นบุตรช่างตัดผม Curtius (คริสต์ศตวรรษที่ 1) นักประวัติศาสตร์โรมัน ระบุเพิ่มเติมว่า ตามรายงานจากพระเจ้าโปรส ช่างตัดผมผู้นี้กลายเป็นอดีตคู่รักของราชินีด้วยรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูด ทรยศด้วยการลอบสังหารกษัตริย์ในขณะนั้น แล้วแย่งชิงอำนาจสูงสุดด้วยการแสร้งทำเป็นผู้พิทักษ์เจ้าชายในขณะนั้น จากนั้นค่อยสังหารบรรดาเจ้าชาย
ธรรมเนียมเชนที่บันทึกใน Avashyaka Sutra และ Parishishta-parvan ยืนยันรายงานกรีก-โรมัน โดยระบุว่า กษัตริย์นันทะองค์แรกเป็นบุตรช่างตัดผม[ 1] Parishishta-parvan ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รายงานว่า มารดาของกษัตริย์นันทะองค์แรกเป็นโสเภณี อย่างไรก็ตาม ตำรานั้นยังระบุอีกว่าพระราชธิดาของกษัตริย์นันทะองค์สุดท้ายอภิเษกสมรสกับจันทรคุปต์ เนื่องจากเป็นธรรมเนียมที่ลูกสาวกษัตริย์ ต้องเลือกสามี จึงเป็นนัยว่ากษัตริย์นันทะอ้างว่าตนเป็นวรรณะกษัตริย์ ซึ่งเป็นชนชั้นนักรบ
ปุราณะ ระบุพระนามผู้ก่อตั้งราชวงศ์เป็นมหาปัทม และอ้างว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหานันทิน แห่งศิศุนาค กระนั้น แม้แต่ข้อความนี้ยังบอกนัยถึงการถือกำเนิดจากชนชั้นต่ำ เมื่อมีการระบุว่า พระราชมารดาของมหาปัทมมาจากวรรณะศูทร วรรณะ ที่ต่ำที่สุด
เนื่องจากข้ออ้างบรรพบุรุษช่างตัดผมของผู้ก่อตั้งราชวงศ์ได้รับการรับรองจาก 2 ธรรมเนียมที่ต่างกัน คือ—กรีก-โรมันและเชน (ตำราคริสต์ศตวรรษที่ 12) ดูเหมือนว่าน่าเชื่อถือว่าข้ออ้างศิศุนาคของปุราณะ
ระยะเวลา
แหล่งข้อมูลสมัยโบราณมีความเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับระยะเวลาโดยรวมของรัชสมัยหรือระยะเวลาการครองราชย์ของราชวงศ์นันทะเพียงเล็กน้อย เช่น มัสยาปุราณะ ระบุกษัตริย์องค์แรกเพียงองค์เดียวครองราชย์ถึง 88 ปี ในขณะที่เอกสารตัวเขียนบางส่วนอย่าง วายุปุราณะ ระบุระยะเวลาทั้งหมดของราชวงศ์นันทะไว้ที่ 40 ปี Taranatha นักวิชาการพุทธในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระบุช่วงที่ราชวงศ์นันทะปกครองเพียง 29 ปี
เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดวันเวลาที่แน่นอนของราชวงศ์นันทะและราชวงศ์ช่วงต้นอื่น ๆ ในแคว้นมคธ Irfan Habib และ Vivekanand Jha นักประวัติศาสตร์ ระบุช่วงที่นันทะปกครองที่ ป. 344 –322 ปีก่อน ค.ศ. โดยอิงจากธรรมเนียมพุทธศรีลังกาที่ระบุว่าราชวงศ์นันทะปกครองเป็นเวลา 22 ปี[ 1] Upinder Singh นักประวัติศาสตร์อีกคน ระบุช่วงที่ราชวงศ์นันทะปกครองที่ 364/345 ถึง 324 ปีก่อน ค.ศ. โดยอิงจากสมมติฐานที่ว่าพระโคตมพุทธเจ้า ปรินิพพานเมื่อ ป. 486 ปีก่อน ค.ศ.
กษัตริย์
ทั้งธรรมเนียมพุทธ เชน และปุราณะระบุว่ามีกษัตริย์นันทะ 9 พระองค์ แต่ข้อมูลต่าง ๆ มีข้อแตกต่างในด้านพระนามกษัตริย์[ 1]
ตามข้อมูลกรีก-โรมัน ราชวงศ์นันทะปกครองถึงสองชั่วรุ่น[ 4] เช่น Curtius (คริสต์ศตวรรษที่ 1) นักประวัติศาสตร์โรมัน เสนอแนะว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์เป็นช่างตัดผมที่ผันมาเป็นกษัตริย์ และโอรสของพระองค์คือกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ถูกพระเจ้าจันทรคุปต์โค่นล้ม ข้อมูลกรีกระบุพระนามกษัตริย์นันทะเพียงองค์เดียว คือ Agrammes หรือ Xandrames ที่มีชีวิตร่วมกับอะเล็กซานเดอร์ "Agrammes" อาจเป็นรูปอักษรกรีกของศัพท์สันสกฤตว่า "Augrasainya" (แปล "โอรสหรือลูกหลานของ Ugrasena" โดย Ugrasena เป็นพระนามผู้ก่อตั้งราชวง์ตามธรรมเนียมพุทธ)[ 1]
ปุราณะ ที่รวบรวมในอินเดียเมื่อ ป. คริสต์ศตวรรษที่ 4 (แต่อิงจากข้อมูลก่อนหน้า) ก็ระบุว่าราชวงศ์นี้ปกครองไปสองชั่วรุ่น[ 4] ตามธรรมเนียมปุราณะ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์คือพระเจ้ามหาปัทม: มัสยาปุราณะ ระบุว่าพระองค์ครองราชย์ยาวนานถึง 88 ปี ส่วนวายุปุราณะ ระบุรัชสมัยของพระองค์ที่ 28 ปี ปุราณะยังระบุเพิ่มเติมว่าพระราชโอรสทั้ง 8 ของพระเจ้ามหาปัทมครองราชย์ต่อจากพระองค์รวมเป็น 12 ปี แต่มีเพียงพระราชโอรสองค์เดียวเท่านั้นที่มีการระบุพระนาม คือ Sukalpa ส่วนวายุปุราณะ ระบุพระองค์เป็น "Sahalya" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสอดคล้องกันกับพระนาม "Sahalin" ในทิวยาวทาน ของพุทธ อย่างไรก็ตาม ปุราณะไม่ได้ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์นันทะกับเมารยะ
รายงานจากมหาวงศ์ ตำราพุทธศรีลังกาที่เขียนในภาษาบาลี มีกษัตริย์นันทะ 9 พระองค์ ซึ่งทั้งหมดเป็นพี่น้องกัน โดยปกครองรวมกันได้ 22 ปี[ 1] กษัตริย์ 9 พระองค์มีพระนามดังนี้:[ 1]
Ugra-sena (Uggasena ในภาษาบาลี)
Panduka
Pandugati
Bhuta-pala
Rashtra-pala
Govishanaka
Dasha-siddhaka
Kaivarta
Dhana
หมายเหตุ
↑ ช่วงวันที่หลากหลายจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชหรือ กลางศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช
อ้างอิง
บรรณานุกรม
เส้นเวลาและ วัฒนธรรม
อินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ (ปัญจาบ -สัปตสินธุ )
ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา
อินเดียกลาง
อินเดียใต้
ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน (doab คงคา-ยมุนา )
ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนกลาง
ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนล่าง
ยุคเหล็ก
วัฒนธรรม
สมัยพระเวท ตอนปลาย
สมัยพระเวท ตอนปลาย (วัฒนธรรม Srauta )[ a] วัฒนธรรมเครื่องเคลือบสีเทา
สมัยพระเวท ตอนปลาย (วัฒนธรรมสมณะ )[ b] เครื่องเคลือบสีดำตอนเหนือ
ก่อนประวัติศาสตร์
ศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.
คันธาระ
กุรุ -ปัญจาละ
มคธ
อาทิวาสี (เผ่า)
Assaka
วัฒนธรรม
อิทธิพลเปอร์เซีย-กรีก
"การขยายเขตเมืองครั้งที่สอง " จุดรุ่งเรืองของขบวนการสมณะ ศาสนาเชน - ศาสนาพุทธ - Ājīvika - โยคะ
ก่อนประวัติศาสตร์
ศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ.
(การพิชิตของเปอร์เซีย )
ราชวงศ์ศิศุนาค
อาทิวาสี (เผ่า)
Assaka
ศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ.
(การพิชิตของกรีก )
จักรวรรดินันทะ
สมัยประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม
การเผยแผ่ศาสนาพุทธ
ก่อนประวัติศาสตร์
ศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.
จักรวรรดิเมารยะ
ราชวงศ์สาตวาหนะ Sangam period (300 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 200)โจฬะตอนต้น ราชอาณาจักรปัณฑยะตอนต้น เจระ
วัฒนธรรม
ฮินดูก่อนคลาสสิก [ c] - "ฮินดูสังเคราะห์" [ d] (ประมาณ 200 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 300)[ e] [ f] มหากาพย์ - ปุราณะ - รามายณะ - มหาภารตะ - ภควัตคีตา - พรหมสูตร - Smarta Tradition พุทธมหายาน
ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.
อาณาจักรอินโด-กรีก
จักรวรรดิศุงคะ Maha-Meghavahana Dynasty
ราชวงศ์สาตวาหนะ Sangam period (300 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 200)โจฬะตอนต้น ราชอาณาจักรปัณฑยะตอนต้น เจระ
ศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ.
คริสต์ศตวรรษที่ 1
อินโด-ไซเทีย
อินโด-พาร์เทีย
ราชอาณาจักรกุนินทะ
คริสต์ศตวรรษที่ 2
จักรวรรดิกุษาณะ
คริสต์ศตวรรษที่ 3
ราชอาณาจักรกุษาณะ-ซาเซเนียน
จักรวรรดิกุษาณะ
เซแทร็ปตะวันตก
ราชอาณาจักร Kamarupa
อาทิวาสี (เผ่า)
วัฒนธรรม
"ยุคทองของศาสนาฮินดู" (ปรพมาณ ค.ศ. 320-650)[ g] ปุราณะ การอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนาฮินดูและพุทธ
คริสต์ศตวรรษที่ 4
Kidarites
จักรวรรดิคุปตะ ราชวงศ์วารมัน
Andhra Ikshvakus Kalabhra dynasty ราชวงศ์กทัมพะ ราชวงศ์คงคาตะวันตก
คริสต์ศตวรรษที่ 5
จักรวรรดิเฮฟทาไลต์
อัลชอนฮัน
Vishnukundina Kalabhra dynasty
คริสต์ศตวรรษที่ 6
เนซักฮัน คาบูลชาฮี
Maitraka
อาทิวาสี (เผ่า)
Vishnukundina Badami Chalukyas Kalabhra dynasty
วัฒนธรรม
ฮินดูคลาสสิกตอนปลาย (ประมาณ ค.ศ. 650-1100)[ h] Advaita Vedanta - ตันตระ การเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในอินเดีย
คริสต์ศตวรรษที่ 7
อินโด-ซาเซเนียน
Vakataka dynasty จักรวรรดิหรรษวรรธนะ
Mlechchha dynasty
อาทิวาสี (เผ่า)
Badami Chalukyas จาลุกยะตะวันออก ราชอาณาจักรปัณฑยะ (ฟื้นฟู) ปัลลวะ
คริสต์ศตวรรษที่ 8
คาบูลชาฮี
จักรวรรดิปาละ
จาลุกยะตะวันออก ราชอาณาจักรปัณฑยะ Kalachuri
คริสต์ศตวรรษที่ 9
Gurjara-Pratihara
Rashtrakuta dynasty จาลุกยะตะวันออก ราชอาณาจักรปัณฑยะ โจฬะตอนกลาง Chera Perumals of Makkotai
คริสต์ศตวรรษที่ 10
กาสนาวิยะห์
ราชวงศ์ปาละ ราชวงศ์ Kamboja-ปาละ
กัลยาณีจาลุกยะ จาลุกยะตะวันออก โจฬะตอนกลาง Chera Perumals of Makkotai ราษฏรกูฏ
References and sources for table
อ้างอิง
↑ Samuel
↑ Samuel
↑ Michaels (2004) p.39
↑ Hiltebeitel (2002)
↑ Michaels (2004) p.39
↑ Hiltebeitel (2002)
↑ Michaels (2004) p.40
↑ Michaels (2004) p.41
ข้อมูล
Flood, Gavin D. (1996), An Introduction to Hinduism , Cambridge University Press
Hiltebeitel, Alf (2002), Hinduism. In: Joseph Kitagawa, "The Religious Traditions of Asia: Religion, History, and Culture" , Routledge
Michaels, Axel (2004), Hinduism. Past and present , Princeton, New Jersey: Princeton University Press
Samuel, Geoffrey (2010), The Origins of Yoga and Tantra. Indic Religions to the Thirteenth Century , Cambridge University Press
โบราณ ยุคกลาง ยุคใหม่ หมายเหตุ: เรียงลำดับตามปีการก่อตั้ง เลขในวงเล็บหลังชื่อแสดงปีการก่อตั้ง