ฟุตบอลในประเทศไทย

ฟุตบอลในประเทศไทย
ประเทศไทย
องค์กรบริหารดูแลสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ทีมชาติไทย
แข่งขันครั้งแรกพ.ศ. 1
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
การแข่งขันระดับนานาชาติ

ฟุตบอลถือเป็นกีฬาซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุดในประเทศไทย มีสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลฟุตบอลทีมชาติไทย ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับอาเซียน และรายการแข่งขันแบบอาชีพ ไทยพรีเมียร์ลีก โดยในอดีตเคยจัดการแข่งขันระดับโลกหลายครั้ง เช่นเอเชียนคัพ 2 ครั้ง ฟุตบอลอายุไม่เกิน 19 ปีชิงแชมป์เอเชีย

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2443 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ซึ่งตอนนั้นมียศเป็นหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ เป็นผู้ริเริ่มร่างกติกากีฬาฟุตบอลในสยามเป็นครั้งแรก จนกระทั่งเกิดความนิยมแผ่ขยายกว้างขวางไปทั่วประเทศ การแข่งขันฟุตบอลนัดแรกที่ถูกบันทึกในประเทศไทย โดยใช้กติกาของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ เกิดขึ้นในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2443 ระหว่างทีมชาวบริเตนในบางกอก กับทีมกรมศึกษาธิการ การแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอ 2-2[1]

ฟุตบอลในประเทศสยามเริ่มเป็นที่นิยมกว้างขวางมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2443 จึงมีการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนชิงโล่ห์กรมศึกษาธิการ ใช้กติกาแบบแพ้คัดออก โดยมี 9 ทีมเข้าร่วมในการแข่งขันนั้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งสโมสรคณะฟุตบอลสยาม ขึ้นโดยมีพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงลงแข่งขันเป็นผู้เล่นเอง และเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 มีการจัดแข่งขันในระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างทีมชาติสยาม (ปัจจุบันคือ ฟุตบอลทีมชาติไทย) กับทีมราชกรีฑาสโมสร ที่สนามราชกรีฑาสโมสร โดยมีดักลาส โรเบิร์ตสัน เป็นกรรมการผู้ตัดสิน[2]

จากนั้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสยาม ขึ้นโดยทรงรับเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่เริ่มแรก พร้อมทั้งตราข้อบังคับสมาคมฯ และแต่งตั้งสภากรรมการบริหารชุดแรก ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 7 ท่าน โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ; ต่อมาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น เจ้าพระยารามราฆพ) เป็นนายกสภาฯ และพระราชดรุณรักษ์ (เสริญ ปันยารชุน; ต่อมาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาปรีชานุสาสน์) เป็นเลขาธิการ[2]

ต่อมาราวปลายปีเดียวกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ริเริ่มการแข่งขัน "ฟุตบอลถ้วยทองของหลวง" ขึ้น มี 12 ทีมเข้าร่วมในขณะนั้น ซึ่งต่อมาการแข่งขันนี้จะรู้จักกันในชื่อฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และแยกกับฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ทั้งนี้สมาคมฯ เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 การแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาตินัดแรกของทีมชาติไทย เป็นการพบกับทีมชาติสหภาพอินโดจีนของฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2473 ช่วงเวลาเดียวกับการเสด็จประพาสสหภาพอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นชัยชนะอย่างเด็ดขาดของทีมชาติไทย ด้วยผลการแข่งขัน 4-0[3]

สืบเนื่องจากที่รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ประกาศรัฐนิยมเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยเมื่อปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเปลี่ยนชื่อฟุตบอลทีมชาติเป็น ฟุตบอลทีมชาติไทย มีการแข่งขันฟีฟ่ารับรองนัดแรกในปี พ.ศ. 2491 ที่กรุงเทพมหานคร ทีมชาติไทยพ่ายทีมชาติสาธารณรัฐจีนไป 1-6[4] โดยสมาคมฯ ส่งฟุตบอลทีมชาติไทยลงแข่งขันระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 16 ที่นครเมลเบิร์นของออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2499[2]

จากนั้นสมาคมฯ เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) เมื่อปี พ.ศ. 2500[2] และเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟเอฟ) เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2527[5] ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 สมาคมฯ จัดระบบการแข่งขันฟุตบอลเสียใหม่เป็นระดับชั้น (Division) โดยตั้งวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นเลิศ ตามรูปแบบของสมาคมฟุตบอลอังกฤษในขณะนั้น คือจัดเป็นฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ก, ข, ค และ ง ตลอดจนไทยเอฟเอคัพ (เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513) รวมถึงฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ (เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2511) และควีนสคัพ (เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดการแข่งขันในระดับอื่นเช่น ฟุตบอลนักเรียน, ฟุตบอลอาชีวศึกษา, ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน, ฟุตบอลเตรียมอุดมศึกษา, ฟุตบอลอุดมศึกษา รวมทั้งกำกับดูแลในการส่งทีมฟุตบอลต่างๆ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันระหว่างประเทศอีกด้วย[2]

สำหรับสโมสรฟุตบอลของไทย ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคือสโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย จากผลงานชนะเลิศรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในระดับเอเชีย 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2537 และ 2538 โดยมีสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งรองชนะเลิศ ของรายการเดียวกันเมื่อปี พ.ศ. 2546

ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย

ในอดีต ประเทศไทยเคยจัดแข่งขันฟุตบอลระบบลีกมาก่อน ว่าไม่ได้รับความนิยมจึงต้องยกเลิกไป จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลฯ ดำเนินการจัดแข่งขัน ฟุตบอลอาชีพในระบบลีกขึ้น โดยมีชื่อที่เปลี่ยนไปหลายครั้งคือ ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก (Thailand Soccer League), ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก (Thailand Premier League), ไทยลีก (Thai League) และ ไทยพรีเมียร์ลีก (Thai Premier League) แต่ในระยะแรกมีปัญหาที่สำคัญคือ สโมสรฟุตบอลในลีกนี้ และการแข่งขันส่วนมากอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นผลให้ชาวไทยในจังหวัดอื่นทั่วประเทศ ไม่มีโอกาสรับชมการแข่งขัน

เมื่อปี พ.ศ. 2542 การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จึงร่วมกับสมาคมฟุตบอลฯ เข้าแก้ไขปัญหานี้ โดยจัดแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ระบบลีกในส่วนภูมิภาค โดยให้ชื่อว่าโปรวินเชียลลีก (Provincial League) ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 กกท.ย้ายการแข่งขันไปร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น โปรเฟสชันนัลลีก (Professional League) โดยแบ่งเป็นสองระดับชั้น (Division) ซึ่งระดับชั้นสูงสุดมี 18 สโมสรเข้าร่วม จนกระทั่งเมื่อเริ่มฤดูกาล พ.ศ. 2549 สโมสรฟุตบอลชลบุรี และสโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี จากโปรเฟสชันนัลลีกสูงสุด เข้ามาร่วมในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก และเมื่อเริ่มฤดูกาล พ.ศ. 2550 กกท.ทำการยุบ โปรเฟสชันนัลลีกสูงสุด โดยจัดแบ่งสโมสรในลีกให้ไปเข้าแข่งขัน กับไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก และไทยลีกดิวิชัน 1

ในส่วนการแข่งขันรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ซึ่งสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) กำหนดให้สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขันต้องมีใบรับรองสโมสร (Club licensing) อย่างถูกต้องตามที่เอเอฟซีกำหนด โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอยู่ 6 สโมสรคือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด, บางกอกกล๊าส เอฟซี, ชลบุรี เอฟซี, บีอีซี เทโรศาสน และชัยนาท ฮอร์นบิล แต่บีอีซี เทโรศาสน กับ ชัยนาท ฮอร์นบิล ถึงจะได้คลับไลเซนซิ่งแล้ว แต่สนามยังอยู่ในคลาส B ซึ่งในอนาคตทางสมาคมฟุตบอลฯได้มีการกำหนดให้ทุกทีมในไทยลีกต้องผ่านคลับไลเซนซิ่ง โดยทีมที่ทำไม่ได้จะถูกหักเงินหรือถูกตัดแต้ม

ระบบลีก

การแข่งขันฟุตบอลสำคัญในประเทศ

สนามฟุตบอลในประเทศไทย

สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทยคือ สนามกรีฑาสถาน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สนามศุภชลาศัย เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (ร.น.) อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก) ตั้งอยู่ภายในกรีฑาสถานแห่งชาติ บริเวณที่ทำการของกรมพลศึกษา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2480 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2484

สนามฟุตบอลในประเทศไทยโดยส่วนมาก มักสร้างขึ้นพร้อมกับ สนามแข่งขันกรีฑาและอัฒจันทร์โดยรอบ ในสถานะของสนามหลัก (Main Stadium) ภายในศูนย์กีฬาระดับต่างๆ โดยมักตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือเป็นส่วนหนึ่งของสนามกีฬากลางในแต่ละจังหวัด ต่อมาหลังจากปี พ.ศ. 2552 เมื่อฟุตบอลระบบลีกอาชีพของไทยเป็นที่นิยมอย่างสูง สโมสรฟุตบอลชั้นนำหลายแห่งจึงเริ่มลงทุนจัดสร้างสนามฟุตบอลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง

ทั้งนี้สนามฟุตบอลในกรุงเทพมหานคร มีหลายแห่งที่สำคัญเช่น ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น), ราชมังคลากีฬาสถาน, สนามกีฬากองทัพบก, สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์), สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนามฟุตบอลเทพหัสดิน, แพตสเตเดียม, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เป็นต้น ส่วนสนามฟุตบอลที่สำคัญในเขตปริมณฑล มีอาทิ เอสซีจีสเตเดียม, สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ ในจังหวัดนนทบุรี, สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต, ลีโอสเตเดียม ในจังหวัดปทุมธานี เป็นต้น

สำหรับสนามฟุตบอลในส่วนภูมิภาคที่สำคัญ นอกจากสนามกีฬากลางประจำจังหวัด ยังมีอีกหลายแห่งเช่น สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี, สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ใน จังหวัดเชียงใหม่, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 จังหวัดนครราชสีมา, ชลบุรีสเตเดียม ในจังหวัดชลบุรี, ช้างอารีนา ในจังหวัดบุรีรัมย์, มิตรผลสเตเดียม ในจังหวัดราชบุรี, สนามกีฬาจิระนคร และสนามกีฬาติณสูลานนท์ ในจังหวัดสงขลา เป็นต้น

ซึ่งสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) กำหนดให้สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน รายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ต้องมีใบรับรองสโมสร (Club licensing) อย่างถูกต้องตามที่เอเอฟซีกำหนด จึงสามารถใช้สนามเหย้าทำการแข่งขันได้ โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอยู่ 8 สนามคือ ช้างอารีนา, เอสซีจีสเตเดียม, ลีโอสเตเดียม, ชลบุรีสเตเดียม, สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต, สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี, มิตรผลสเตเดียม และสนามทุ่งทะเลหลวง นอกจากนี้ ยังมีอีกสองสนาม ที่เอเอฟซีใกล้จะออกใบรับรองสโมสรคือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา และสนามกีฬากลางจังหวัดชัยนาท สำหรับสนามฟุตบอลที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) รับรองมาตรฐาน ในประเทศไทยมีอยู่ 3 สนามคือ ช้างอารีนา, มิตรผลสเตเดียม และลีโอสเตเดียม

ผู้สนับสนุนฟุตบอลไทย

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ชาวไทยให้ความนิยมอย่างมาก ทว่าส่วนมากนิยมติดตามฟุตบอลยุโรปมากกว่า ก่อนหน้านี้ผู้สนับสนุนฟุตบอลทีมชาติไทยมีอยู่ไม่มากนัก โดยมักให้ความสำคัญเฉพาะนัดระดับชาติที่สำคัญเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนิยมในฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นหลัก รวมตัวกันจัดตั้งเป็นชมรม โดยให้ชื่อว่าเชียร์ไทย เพื่อเป็นแกนนำในการสนับสนุนฟุตบอลทีมชาติไทย ใช้เว็บบอร์ดในการติดต่อระหว่างกัน รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ชาวไทยอื่นๆ สนใจสนับสนุนฟุตบอลไทยมากขึ้น โดยในระยะหลังจากปี พ.ศ. 2552 เมื่อฟุตบอลระบบลีกอาชีพของไทยเป็นที่นิยมอย่างสูง จึงมีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนับสนุนสโมสรฟุตบอลต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

นักฟุตบอลไทยในลีกต่างประเทศ

ข้อมูลเฉพาะนักฟุตบอลไทยที่เล่นในลีกสูงสุดในต่างประเทศ แต่ไม่นับรวมลีกสูงสุดที่ถูกยุบ

อ้างอิง

  1. https://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/70-2017-07-30-12-55-03
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "ประวัติสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ 2013-07-06.
  3. https://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/72-2017-07-30-13-19-42
  4. http://www.eloratings.net/Thailand
  5. History of ASEAN Football Federation, www.aseanfootball.org

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Read other articles:

1963 compilation album by Johnny CashRing of Fire: The Best of Johnny CashCompilation album by Johnny CashReleasedJuly 8, 1963RecordedJuly 24, 1958 - March 25, 1963Genre Country gospel rockabilly Length33:36LabelColumbiaProducer Don Law Frank Jones Johnny Cash chronology Blood, Sweat and Tears(1963) Ring of Fire: The Best of Johnny Cash(1963) The Christmas Spirit(1963) Singles from Ring of Fire: The Best of Jonny Cash What Do I CareReleased: September 15, 1958 The Rebel – Johnny Yum...

 

Himne OlimpiadeLagu kebangsaan OlimpiadeAliasbahasa Yunani: Ολυμπιακός ΎμνοςPrancis: Hymne OlympiquePenulis lirikKostis PalamasKomponisSpyridon Samaras, 1896Penggunaan1958Sampel audioHimne Olimpiadeberkasbantuan Himne Olimpiade (Yunani: Ύμνος Ολυμπιακός, Olympiakos Ýmnos), juga dikenal informal sebagai Lagu Kebangsaan Olimpiade, adalah lagu yang musiknya diciptakan oleh komposer opera Spyridon Samaras, pada lirik oleh penyair Yunani Kostis Palamas. Kedua...

 

Single by The Voice of Holland One Thousand VoicesSingle by The Voice of HollandReleased16 September 2011Recorded2011GenrePopLength3:19Label8ball MusicSongwriter(s)Tjeerd Oosterhuis, Klaus Derendorf, Hiten Bharadia, Alfred TuoheyProducer(s)Tjeerd Oosterhuis, Klaus D One Thousand Voices is a single by the coaches of the Dutch television programme The Voice of Holland. The song was released on 16 September 2011.[1] The song was written by Tjeerd Oosterhuis, Klaus Derendorf, Hiten Bharad...

В Википедии есть статьи о других людях с такой фамилией, см. Каратыгин. Евгений Сергеевич Каратыгин Дата рождения 3 июня 1872(1872-06-03) Дата смерти 1930(1930) Гражданство СССР Подданство  Российская империя Род деятельности писатель, редактор, публицист, издатель, экономи

 

Se ha sugerido que «Propergol líquido» sea fusionado en este artículo o sección. Motivo: los argumentos están expuestos en la página de discusión.Una vez que hayas realizado la fusión de artículos, pide la fusión de historiales aquí.Este aviso fue puesto el 25 de octubre de 2019. Los cohetes químicos de impulsos específicos más altos (cohetes de propulsores líquido) utilizan propelentes de combustible líquido . Aproximadamente 170 propulsores líquidos diferentes han sido som...

 

Japanese dialects of the Kantō region Kantō JapaneseNative toJapanRegionKantō regionLanguage familyJaponic JapaneseEastern JapaneseKantō JapaneseLanguage codesISO 639-3–Glottologkant1251Kantō dialects. Blue: Western Kantō and Hokkaidō. Azure: Eastern Kantō, transitional to Tōhoku. Green: Eastern Tōkai–Tōsan (Nagano–Yamanashi–Shizuoka), which lack the Western features of the more transitional Tōkai–Tōsan dialects. The Kantō dialects (関東方言 kantō hōgen, 関...

American lawyer (1927–1986) Roy CohnCohn in 1964BornRoy Marcus Cohn(1927-02-20)February 20, 1927New York City, U.S.DiedAugust 2, 1986(1986-08-02) (aged 59)Bethesda, Maryland, U.S.EducationColumbia University (BA, LLB)OccupationLawyerKnown forJulius and Ethel Rosenberg trial (1951)Joseph McCarthy's chief counsel (1953–1954)Donald Trump's attorney and mentor (1973–1985)Political party DemocraticParentsAlbert C. CohnDora MarcusFamilyJoshua Lionel Cowen (great-uncle)[1] Ro...

 

This article has multiple issues. Please help improve it or discuss these issues on the talk page. (Learn how and when to remove these template messages) This article relies excessively on references to primary sources. Please improve this article by adding secondary or tertiary sources. Find sources: Logistics officer – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (October 2013) (Learn how and when to remove this template message) This article needs ad...

 

LeBron James has scored the most points in NBA history, is the youngest to reach every point milestone from 1,000 to 38,000, and the only player to reach 39,000.[1] This article contains two charts: The first chart is a list of the top 50 all-time scorers in the history of the National Basketball Association (NBA). The list includes only points scored in regular season games. The second chart is a progressive list of the leading all-time NBA scorers.[2] LeBron James is the lea...

Sixteenth season of RuPaul's Drag Race Season of television series RuPaul's Drag RaceSeason 16Hosted byRuPaulJudges RuPaul Michelle Visage Carson Kressley Ross Mathews Ts Madison No. of contestants14Companion showRuPaul's Drag Race Untucked! Country of originUnited StatesReleaseOriginal networkMTVOriginal releaseJanuary 5, 2024 (2024-01-05) –present (present)Season chronology← PreviousSeason 15List of episodes The sixteenth season of RuPaul's Drag Race is set to pr...

 

Private college in Carlinville, Illinois, U.S. This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: Blackburn College Illinois – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (July 2009) (Learn how and when to remove this template message) Blackburn CollegeFormer namesBlackburn Theological Seminary (1837–186...

 

This article consists almost entirely of a plot summary. Please help improve the article by adding more real-world context. (August 2011) (Learn how and when to remove this template message) Series of novels by Meredith Ann Pierce The Darkangel TrilogyCover of the first edition of The DarkangelThe Darkangel, A Gathering of Gargoyles, The Pearl of the Soul of the WorldAuthorMeredith Ann PierceCountryUnited StatesLanguageEnglishGenreEpic fantasyPublisherAtlantic Monthly Press, Little, BrownPubl...

PTM-1 The PTM-1 (Russian: ПТМ-1), also known as the PTM-1G, PTM-1S, and the PGMDM is a Soviet/Russian plastic-bodied anti-vehicle landmine. It is generally deployed by helicopter or rocket artillery via the BM-21 or BM-27 rocket systems.[1][2] Description The PTM-1 is a blast mine that can be pressure- or self-activated.[1] It is 338 mm long and rectangular in shape.[2] It contains approximately 1.5 kg of liquid explosive.[3] A cylindrical housing at...

 

Waiblingen Waiblingen Lambang kebesaranLetak Waiblingen NegaraJermanNegara bagianBaden-WürttembergWilayahStuttgartKreisRems-Murr-KreisPemerintahan • MayorAndreas Hesky (non-partai)Luas • Total42,76 km2 (1,651 sq mi)Ketinggian230 m (750 ft)Populasi (2012-12-31)[1] • Total52.302 • Kepadatan12/km2 (32/sq mi)Zona waktuWET/WMPET (UTC+1/+2)Kode pos71331–71336Kode area telepon07151, 07146Pelat kendaraanWNSi...

 

This article is about the town. For the waterway, see Milford Haven Waterway. For the title in the peerage of the United Kingdom, see Marquess of Milford Haven. Human settlement in WalesMilford HavenWelsh: AberdaugleddauClockwise from top: Milford Haven Docks from Hakin; Haven from town; the Tribute to Fishermen on The Rath.Milford HavenLocation within PembrokeshirePopulation13,907 (Community 2011)[1]DemonymMilfordianOS grid referenceSM899061CommunityMilford HavenPrinci...

1991 studio album by XuxaXuxa 2Studio album by XuxaReleasedApril 25, 1991 (1991-04-25)Recorded1990 (1990)GenreLatin popchildren's musicLength39:20LabelBMGProducerMichael SullivanPaulo MassadasXuxa chronology Xuxa 1(1990) Xuxa 2(1991) Xuxa 3(1992) Singles from Xuxa 2 ChindoleleReleased: July 20, 1991 (1991-07-20) Luna de CristalReleased: December 14, 1991 (1991-12-14) Loquita Por tiReleased: August 22, 1992 (1992-08-22) E...

 

Village in England Human settlement in EnglandFurness ValeThe A6 passes through Furness Vale.Furness ValeLocation within DerbyshirePopulation1,500 OS grid referenceSK007835DistrictHigh PeakShire countyDerbyshireRegionEast MidlandsCountryEnglandSovereign stateUnited KingdomPost townHIGH PEAKPostcode districtSK23Dialling code01663PoliceDerbyshireFireDerbyshireAmbulanceEast Midlands UK ParliamentHigh Peak List of places UK England Derbyshire 53°20′56″...

 

You can help expand this article with text translated from the corresponding article in Dutch. (January 2023) Click [show] for important translation instructions. Machine translation, like DeepL or Google Translate, is a useful starting point for translations, but translators must revise errors as necessary and confirm that the translation is accurate, rather than simply copy-pasting machine-translated text into the English Wikipedia. Do not translate text that appears unreliable or low-...

Uje Brandelius Uje Brandelius på Melodifestivalen 2023.FödelsenamnUje BrandeliusFödd24 juli 1971 (52 år)Födelseort Sigtuna församling, Stockholms län, SverigeBakgrund Gävle, SverigeMakaCatti Brandelius (2001–2004; skilda)PartnerTherese Hörnqvist (sambo)Barn3FöräldrarJerker BrandeliusUlla BergholtzSläktingarPia Brandelius (faster)Erik Brandelius (farfar)Gösta Bergholtz (morfar)Harry Brandelius (farfars bror)Relaterade artisterDoktor KosmosUtmärkelser Guldbaggen för bästa...

 

Albanian 17th-century Roman Catholic bishop For other uses, see Bardhi. Most ReverendFrang BardhiBishop of SapëFrang Bardhi on a 1993 Albanian stampChurchCatholic ChurchIn office1635–1644PredecessorGiorgio BianchiSuccessorGiorgio BianchiOrdersConsecration30 Mar 1636by Ciriaco RocciPersonal detailsBorn1606Kallmet or Nënshat in the northern Albanian Zadrima region near LezhëDied1643 (aged 36–37) Frang Bardhi (Latin: Franciscus Blancus, Italian: Francesco Bianchi, 1606–164...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!