จตุรมิตรสามัคคี

จตุรมิตรสามัคคี
ชื่อในภาษาแม่จตุรมิตร
กีฬาฟุตบอล
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
ทีม4
พบกันครั้งแรก16 ตุลาคม พ.ศ. 2507
พบกันครั้งล่าสุดจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 (11 พฤศจิกายน - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
พบกันครั้งต่อไปพ.ศ. 2568
ออกอากาศสยามสปอร์ต
JaturamitrLIVE[1]
ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (ครั้งที่ 16)[2]
สทท.(ครั้งที่ 25,26,27)[3]
ช่อง 3 แฟมิลี (ครั้งที่ 28) [4]
ยูทูบไลฟ์ (ครั้งที่ 28)
ทรูโฟร์ยู (ครั้งที่ 29)
ททบ.5 เอชดี (ครั้งที่ 30)
สนามสนามกีฬาแห่งชาติ
รางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
สถิติ
การพบกันทั้งหมด30 ครั้ง
ชนะสูงสุดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
Postseason resultsโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
และ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (พ.ศ. 2566)
ชนะต่อเนื่องยาวนานที่สุดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
และ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี (อังกฤษ: Jaturamitr Samakkee) เป็นประเพณีการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่สี่โรงเรียนของประเทศไทย ประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ

การแข่งขันจตุรมิตรสามัคคีเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507 และได้จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2530 ได้ปรับมาเป็นจัดทุก 2 ปีตามที่ปรากฎในปัจจุบัน งานดังกล่าวมักจะจัดขึ้น 1 สัปดาห์ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายน โดยปกติแล้วเจ้าภาพจะวันต่อเนื่องกันตามเข็มนาฬิกา เมื่อใดที่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งเป็นเจ้าภาพจะวนสีประจำโรงเรียนนั้นไว้มุมบนของตราลายประจำยาม[5]

ด้วยการแข่งขันดังกล่าวจัดขึ้นเพียง 2 ปีครั้ง ทำให้งานประเพณีจตุรมิตรสามัคคีถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าจากทั้งสี่โรงเรียนที่ต่างคาดหวังผลการแข่งขันชนะเดี่ยว (แชมป์เดี่ยว) เนื่องจากหากสองโรงเรียนจบการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศด้วยคะแนนเท่ากันจะไม่มีการยิงจุดโทษตามลักษณะของเกมฟุตบอลกระชับมิตร ส่งผลให้ทั้ง 2 โรงเรียนครองแชมป์ร่วมกัน[6] นอกจากเกมการแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังประกอบด้วยการแปรอักษรและการร้องเพลงเชียร์ที่ถือเป็นการเพิ่มสีสันและบรรยากาศที่สำคัญของให้กับงาน

สำหรับการแข่งขันครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 11-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยโรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นเจ้าภาพ และจะจัดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2568 โดยมีโรงเรียนอัสสัมชัญเป็นเจ้าภาพ

ประวัติ

เข็มโรงเรียนในเครือจตุรมิตร เรียงลำดับตามการแข่งขันครั้งที่ 24
กิจกรรมแปรอักษรของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
กิจกรรมแปรอักษรของโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเทพศิรินทร์ในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
การแปรอักษรตราสถาบันของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
การแปรอักษรพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี โดยโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
การแปรอักษรตราสถาบันของโรงเรียนอัสสัมชัญในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
การแปรอักษรตราสถาบันของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
การแปรอักษร 1:1 ระหว่างโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีเป็นความคิดริเริ่มของนายโปร่ง ส่งแสงเติม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับนายอารีย์ เสมประสาท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ทั้งสองท่านได้มาขอความร่วมมือจากนายบุญอวบ บูรณะบุตร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และนายบรรณา ชโนดม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญ ให้ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสี่สถาบัน เพื่อเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์และนักเรียนทุกฝ่าย ซึ่งอาจารย์ทั้งสี่มีความเห็นพ้องกัน[7]

การแข่งขันจตุรมิตรสามัคคีครั้งแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 ตุลาคมถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของนักเรียนทั้งสี่โรงเรียน การแข่งขันครั้งต่อมาจัดขึ้นทุกปีจนถึงปี พ.ศ. 2528 ยกเว้นในปี พ.ศ. 2509–2510, 2515, 2517–2520 และ 2522–2523 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา การแข่งขันถูกจัดขึ้นทุก ๆ สองปี รายการนี้เป็นการแข่งขันฟุตบอลไทยที่ได้รับความนิยมและผู้เล่นที่โดดเด่นจากการแข่งขันนี้ยังคงเป็นผู้เล่นคนสำคัญในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้แก่ ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล และธีรเทพ วิโนทัย[8] งานนี้มีการออกอากาศเป็นประจำทางโทรทัศน์แห่งชาติ และการแข่งขันล่าสุด 3 รายการยังได้รับการถ่ายทอดผ่านวิดีโอสตรีมมิ่งสดพร้อมคะแนนสดที่เผยแพร่บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ นอกจากการแข่งขันแล้วยังประกอบด้วยการแสดงเชียร์ และการแปรอักษร

แม้ว่าความสามัคคีจะเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขันมาโดยตลอด (จตุรมิตร มาจากภาษาสันสกฤต จตุร + มิตร แปลว่า "สี่สหาย" และ สามัคคี (จากภาษาบาลีว่า สามัคคี) แปลว่า "ความกลมเกลียว" หรือ "ความกลมเกลียว") คำว่า จตุรมิตร มักถูกใช้เป็นวลีติดปากเพื่อเรียกนักเรียนหรือศิษย์เก่าของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสี่แห่ง การแข่งขันระหว่างโรงเรียนได้เพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันทีมคู่ปรับระหว่างสวนกุหลาบวิทยาลัยกับเทพศิรินทร์ และอัสสัมชัญกับกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สิ่งนี้นำไปสู่ความรุนแรงระหว่างโรงเรียนหลายกรณีในช่วงหลายสัปดาห์ของการแข่งขัน ขอบเขตของปัญหาคือต้องมีการแยกผู้ชมอย่างเข้มงวดและการบังคับใช้ความปลอดภัยในระหว่างการแข่งขัน[8]

การแข่งขัน

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีมีขึ้นในปี พ.ศ. 2507 เป็นปีแรก โดยลำดับการแข่งขันและการเป็นเจ้าภาพ ดังนี้

ครั้งที่ วันแข่ง เจ้าภาพ ผู้ชนะอันดับหนึ่ง
1 16 ตุลาคม ถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
2 19 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 เทพศิรินทร์ เทพศิรินทร์ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. 2509 และ พ.ศ. 2510 งดการแข่งขัน เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ และกีฬาแหลมทอง ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ส่งผลให้สนามศุภชลาศัยไม่ว่างให้จัดการแข่งขัน
3 16 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
4 21 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
5 21 พฤศจิกายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 สวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
6 22 ตุลาคม ถึง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2514 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ เทพศิรินทร์
7
(ดูหมายเหตุด้านล่าง)
20 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 อัสสัมชัญ ไม่มีการชิงชนะเลิศ[9]
8 18 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[10] อัสสัมชัญ เทพศิรินทร์
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และภาวะทางการเมืองไม่อำนวยให้จัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี จึงว่างเว้นไประยะหนึ่ง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2520 และได้มีการฟื้นฟูการแข่งขันขึ้นในปีพ.ศ. 2521 เพื่อไม่ให้ฟุตบอลประเพณีรายการนี้หายไป
การแข่งขันครั้งนี้ไม่นับรวมอยู่ในลำดับการแข่งขัน[11] 24 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แต่ในวันชิงชนะเลิศ ทั้ง 4 โรงเรียนได้ร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยใช้สนามกีฬาจารุเสถียรเป็นสนามแข่งขัน สวนกุหลาบวิทยาลัย
9 28 พฤศจิกายน ถึง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2524 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
10 27 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
11 20 พฤศจิกายน ถึง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย
12 23 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2527 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
13 1 พฤศจิกายน ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ อัสสัมชัญ[12]
ต่อมาคณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ได้ตกลงกันว่าถ้ามีการแข่งขันทุกปีอาจทำให้สิ้นเปลือง แต่ถ้าเว้นปีไปก็เกรงว่าการแข่งขันฟุตบอลจะขาดช่วง จึงตกลงกันว่าให้มีการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีปีเว้นปีโดยปีที่ไม่มีการแข่งขันให้จัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรเหย้า - เยือนขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันโดยใช้สนามภายในโรงเรียนเท่านั้น
14 19 ธันวาคม ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
15 15 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2532 อัสสัมชัญ อัสสัมชัญ
16 24 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
17 18 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สวนกุหลาบวิทยาลัย อัสสัมชัญ[12]
18 25 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ อัสสัมชัญ
19 13 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2540 อัสสัมชัญ เทพศิรินทร์ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
20 11 ธันวาคม ถึง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2542 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เทพศิรินทร์ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
21 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
22 12 มกราคม ถึง 18 มกราคม พ.ศ. 2547 เทพศิรินทร์ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
23 26 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548 อัสสัมชัญ อัสสัมชัญ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
24 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย อัสสัมชัญ
25 21 พฤศจิกายน ถึง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
การแข่งขันครั้งที่ 26 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 19, 21, 23, และ 26 พฤศจิกายน 2554 แต่เกิดอุทกภัย จึงมีมติเลื่อนการแข่งขันไปเป็นปีพ.ศ. 2555
26 10 พฤศจิกายน ถึง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
27 15 พฤศจิกายน ถึง 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 อัสสัมชัญ อัสสัมชัญ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
การแข่งขันครั้งที่ 28 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 12, 14, 16, และ 19 พฤศจิกายน 2559 แต่เนื่องจากอยู่ระหว่างการถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีมติเลื่อนการแข่งขันออกไปอย่างไม่มีกำหนด [13] โดยเบื้องต้นกำหนดจัดการแข่งขันวันที่ 18,20,22 และ25 พฤศจิกายน 2560 [14] แต่ต่อมาได้มีการเลื่อนวันจัดการแข่งขันให้เร็วขึ้น 1 สัปดาห์
28 11 พฤศจิกายน ถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 [15] กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย อัสสัมชัญ[16]
การแข่งขันครั้งที่ 29 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 16, 18, 20, และ 23 พฤศจิกายน 2562[17] แต่เนื่องจากสนามศุภชลาศัยมีกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการแข่งขันฟุตบอลและใช้สนามในช่วงเดียวกันกับช่วงเวลาเดิมของการแข่งขัน คือ องค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย มีพิธีสหบูชามิสซา เพื่อประชาสัตบุรุษ ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ณ สนามศุภชลาศัย[18][19] คณะกรรมการจัดการแข่งขันจึงมีมติเลื่อนการแข่งขันเร็วขึ้น 1 สัปดาห์ เป็นวันที่ 9, 11, 13 และ 16 พฤศจิกายน 2562[20]
29 9 พฤศจิกายน ถึง 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[21] สวนกุหลาบวิทยาลัย เทพศิรินทร์[22][23]
การแข่งขันครั้งที่ 30 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 13, 15, 17 และ 20 พฤศจิกายน 2564 ภายใต้ชื่องานตามแนวคิด “สร้างความดีสู่วิถีชีวิตใหม่” [24] แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยยังคงอยู่ในสภาวการณ์ที่น่าเป็นห่วง คณะกรรมการจัดการแข่งขันจึงมีมติเลื่อนการแข่งขันไปเป็นปี พ.ศ. 2565[25] ต่อมามีการกำหนดการจัดการแข่งขันในวันที่ 12,14,16,19 พฤศจิกายน 2565 [26] และต่อมาได้เลื่อนการแข่งขันอีกครั้งไปเป็นปีการศึกษา 2566[27][28]
30 11 ถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[29] เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
31 15 ถึง 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568[30] อัสสัมชัญ[31]

หมายเหตุ

ในหนังสือ "Unseen จตุรมิตร 48 ปี แห่งเกียรติภูมิ" ได้ระบุว่า การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 7 กำหนดการดังกล่าวเป็นวันที่กำหนดไว้ในสูจิบัตร แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็ได้เลื่อนวันแข่งขันออกไปเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 เป็นการแข่งขันเพียงวันเดียวโดยไม่มีการชิงชนะเลิศ[32]

ในการแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ. 2527 นั้น ดำเนินการจัดการแข่งขันที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เนื่องจากสนามศุภชลาศัย ปิดซ่อมเพื่อกีฬาซีเกมส์ พ.ศ. 2528[12]

อันดับแชมป์

โรงเรียน จำนวนครั้งชนะเดี่ยว จำนวนครั้งชนะร่วม รวม
สวนกุหลาบวิทยาลัย 6 8 14
กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย 4 10 14
อัสสัมชัญ 4 4 8
เทพศิรินทร์ 2 4 6

หมายเหตุ นับเฉพาะผลการแข่งขันในปีที่นับครั้งในลำดับการแข่งขัน

จตุรมิตรสามัคคีอาวุโส

กลุ่มกองเชียร์จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยบริเวณที่นั่งฝั่งทิศใต้ของสนามศุภชลาศัยในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
กลุ่มกองเชียร์จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์บริเวณที่นั่งฝั่งทิศเหนือของสนามศุภชลาศัยในงานจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีอาวุโส เริ่มจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีจุดประสงค์เพื่อความสนุกสนาน สามัคคี เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 4 สถาบันเสมือนญาติมิตร และแสดงออกถึงความมีน้ำใจนักกีฬาของชาวจตุรมิตร อันเป็นแบบอย่างที่ดีในวงการกีฬาและสังคมไทย โดยแต่ละสถาบันจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ สถาบันละ 2 ปี

ประเพณีชาวจตุรมิตร

ทุก ๆ วันสำคัญของราชการในทุก ๆ ปี ชาวจตุรมิตรมีกิจกรรมที่สำคัญ จึงมีการนัดหมายกันทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีที่ 4 สถาบันได้ร่วมใจกันปฏิบัติมาช้านาน กิจกรรมเหล่านั้นได้แก่

  1. วันที่ 3 มิถุนายน ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[12]
  2. วันที่ 28 กรกฎาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
  3. วันที่ 12 สิงหาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  4. วันที่ 23 ตุลาคม ถวายบังคมเนื่องในวันปิยมหาราช
  5. วันที่ 25 พฤศจิกายน ถวายบังคมเนื่องในวันมหาธีรราชเจ้า
  6. วันที่ 10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "JaturamitrLIVE การแข่งขันฟุตบอลประเพณี จตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 27". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2014-11-08.
  2. จตุรมิตรฯครั้งที่ 16 นัดชิงฯ BCC vs AC สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2560.
  3. บอลจตุรมิตรยิ่งใหญ่! อสช.เปิดสนามสวนกุหลาบฯ 15 พ.ย.
  4. "ช่อง 13 ถ่ายทอดสดฟุตบอล จตุรมิตรสามัคคี 11-18 พ.ย." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
  5. "ตราสัญลักษณ์การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ ๒๗". โรงเรียนเทพศิรินทร์. สืบค้นเมื่อ 20 November 2023.
  6. "จตุรมิตรสามัคคี". Thairath. 7 November 2012. สืบค้นเมื่อ 20 November 2023.
  7. ประวัติและความเป็นมา เก็บถาวร 2014-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 27 ตุลาคม 2552.
  8. 8.0 8.1 Kamonmaitrichit, Chatchawan; Loetwutthisakun, Raphiwat (1 November 2007). "จตุรมิตรสามัคคี ฤาชื่อจะเหลือเพียงตำนาน" [Jaturamitr Samakkee - soon to be a legend?]. MGR Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2018. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
  9. จตุรมิตรครั้งที่ 7 ไม่มีการชิงชนะเลิศ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 2 ธันวาคม 2555.
  10. "จตุรมิตรครั้งที่ 7 ไม่มีการชิงชนะเลิศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-02.
  11. หลักฐานการมีอยู่ของการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 8 พ.ศ. 2517
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 สูจิบัตรการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2562
  13. "จตุรมิตรสามัคคีเลื่อนเตะไปปี 61". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-13. สืบค้นเมื่อ 2016-11-22.
  14. กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 (เดิม)
  15. กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 (ใหม่)
  16. อัสสัมชัญ คว้าแชมป์ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2560
  17. กำหนดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 (เดิม)
  18. ที่นั่ง มิสซาร่วมกับโป๊ปฟรังซิสในสนามศุภฯ เต็มทุกที่นั่งแล้ว
  19. โปรดเกล้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาเข้าเฝ้า 21 พ.ย.นี้
  20. การประชุมคณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2562 มีมติเลื่อนการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 29 เร็วขึ้น 1 สัปดาห์ (ใหม่)
  21. กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 "เราทำความดีด้วยหัวใจ" (กำหนดการใหม่)
  22. 45ปีที่รอคอย! ‘เทพศิรินทร์’ คว้าแชมป์เดี่ยวจตุรมิตรสามัคคี หลังสอย กรุงเทพคริสเตียน 2-0 สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2562
  23. เทพศิรินทร์ คว้าแชมป์เดี่ยวจตุรมิตรสามัคคี สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2562
  24. กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 "สร้างความดีสู่วิถีชีวิตใหม่"
  25. ประกาศเลื่อนการจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 ไปเป็นปีการศึกษา 2565
  26. "ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 ประกาศกลับมาจัดการแข่งขัน 12-19 พ.ย.นี้ที่สนามศุภชลาศัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  27. แถลงการณ์คณะกรรมการการจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 เลื่อนการแข่งขันไปเป็นปีการศึกษา 2566
  28. เลื่อนจัด ‘จตุรมิตรสามัคคี’ ครั้งที่ 30 อีกรอบ เป็นปีการศึกษา 2566 ห่วงการรวมตัวทำ น.ร.ติดโควิด
  29. การประชุมการจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 ในวาระครั้งที่ 1/2566
  30. 4สถาบันประชุมความพร้อมจัด ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 31
  31. อัสสัมชัญ เจ้าภาพจัดแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 31 ช่วงปลายปี 2568
  32. หนังสือ Unseen จตุรมิตร 48 ปี แห่งเกียรติภูมิ, หน้า 124

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!