พลโท ชาญ อังศุโชติ (เกิด
21 มิถุนายน พ.ศ. 2457 – 17 กันยายน พ.ศ. 2544) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 3 สมัย เคยมีประสบการในการรับราชการ การทูต เป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเป็นนายทหารที่ได้รับความไว้วางใจของจอมพล ถนอม กิตติขจร[2]
ประวัติ
พล.ท. ชาญ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้ศึกษาต่อวิชาการทหารจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก(ปัจจุบัน คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาตรีสาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยตงกุ๊ก เกาหลีใต้ และสังคมศ่าสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
พล.ท. ชาญ มีบุตรทั้งหมด 6 คน คือ
- ราศรี อังศุโชติ
- วิมลระมัย เผือกใจแผ้ว
- วิไลรื่น เลิศจันทร์เพ็ญ
- พล.ต. ชาญชลิต พนมสารนรินทร์
- ชีวีนัดดา เผือกใจแผ้ว
- พุทธิศักดิ์ พนมสารนรินทร์
พล.ท. ชาญ อังศุโชติ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 สิริอายุรวม 87 ปี และ มีการพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดธาตุทอง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2544
การทำงาน
พล.ท. ชาญ รับราชการสังกัดกองทัพบกไทย เป็นทหารสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2477 เคยได้รับหน้าที่สำคัญ เช่น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ,หัวหน้านายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี ,ผู้แทนกองทัพไทยในการลงนามความตกลงสงบศึกในสงครามเกาหลี ,ผู้อำนวยการกองวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นอกจากนั้นยังเคยรับราชการในกรมตำรวจ (ปัจจุบัน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ในตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธร
พล.ท. ชาญ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ ,กรุงแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย และกรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ เป็นทูตฝ่ายทหารบก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น อีกทั้งยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (ปัจจุบันกระทรวงถูกยุบแล้ว) และเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
งานการเมือง
พล.ท. ชาญ เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ,สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกวุฒิสภา นอกจากนั้นเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 3 สมัย ในปี พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม ปี พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย
พล.ท. ชาญ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในปี พ.ศ. 2518[4] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2524[5]
เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคธรรมสังคม[6] ในปี พ.ศ. 2517 และในปี พ.ศ. 2529 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจประชาคม ซึ่งมีนายบุญชู โรจนเสถียร เป็นหัวหน้าพรรค[7]
งานสังคม
พล.ท. ชาญ เป็นผู้ริเริ่มสร้างสะพานจันทรุเบกษา ข้ามแม่น้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2512 และในปี พ.ศ. 2515 ได้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยครูกาญจนบุรี[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2498 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 2 ประดับดาวเงิน[21]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 1
อ้างอิง
- ↑ http://books.google.co.th/books/about/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0.html?id=47DcjwEACAAJ&redir_esc=y
- ↑ ทหารที่ผมรู้จัก : พลโทชาญ อังศุโชติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)
- ↑ "บุคคลสำคัญของท้องถิ่น - กระทรวงวัฒนธรรม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-21. สืบค้นเมื่อ 2013-06-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๖๗๒, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๒๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๒ ง หน้า ๒๖๔๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, ตอนที่ 51 เล่ม 69 หน้า 2571, 19 สิงหาคม 2495
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 71 ตอนที่ 61 หน้า 2131, 27 กันยายน 2497
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอนที่ 11 เล่ม 69 หน้า 487, 19 กุมภาพันธ์ 2495
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอนที่ 72 เล่ม 23 หน้า 775, 29 มีนาคม 2498
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/010/206.PDF