โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่สอง (ญี่ปุ่น : 福島第二原子力発電所 ) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 1.5 ล้านตารางเมตร[ 1] ในนครนาราฮะ และเมืองโทมิโอกะ ในอำเภอฟูตาบะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ไปทางใต้ 11.5 กิโลเมตร บริหารจัดการโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว
หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 เครื่องปฏิกรณ์ทั้งสี่หน่วยถูกปิดตัวลงโดยอัตโนมัติ[ 2] แต่ปั๊มน้ำเย็นที่หน่วยที่ 1, 2 และ 4 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิ[ 3] มีการออกคำสั่งอพยพ เนื่องจากอาจมีการรั่วไหลของกัมมันตรังสี[ 4] [ 5]
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2554
แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงไฟฟ้า ปริมาณกัมมันตภาพรังสี และเขตกักกัน
เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งส่งผลให้มีความเร่งสูงสุดพื้นดินอยู่ระหว่าง 0.21 จี (2.10 ม./วินาที2 ) และ 0.28 จี (2.77 ม./วินาที2 ณ ที่ตั้งของโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าพื้นฐานการออกแบบมาก[ 6] [ 7] เครื่องปฏิกรณ์ทั้งสี่หน่วยถูกปิดลงอัตโนมัติหลังจากแผ่นดินไหว[ 2] และเครื่องยนต์ดีเซลเริ่มทำงานเพื่อหล่อเย็นเครื่องปฏิกรณ์[ 8] TEPCO ประมาณว่าคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวและเข้าท่วมโรงไฟฟ้าดังกล่าวนั้นมีความสูงถึง 14 เมตร ซึ่งมากกว่าสองเท่าของความสูงที่ได้รับการออกแบบไว้[ 6] คลื่นสึนามิที่ว่านี้เข้าท่วมห้องปั๊มซึ่งใช้สำหรับการถ่ายโอนความร้อนไปสู่ทะเล อันเป็นการระบายความร้อนพื้นฐานของเครื่องปฏิกรณ์[ 8] ขณะที่ระบบหล่อเย็นของหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าที่ 3 จะไม่ได้รับความเสียหาย เครื่องปฏิกรณ์เครื่องอื่นล้วนได้รับผลกระทบ ระบบหล่อเย็นยังคงสามารถใช้การได้ แต่ความร้อนเพิ่มขึ้นจากการขาดการระบายความร้อน ได้มีการใช้ระบบฉีดน้ำความดันสูง (HPCI) ซึ่งได้รับพลังงานจากไอน้ำจากเครื่องปฏิกรณ์ เพื่อลดความร้อนเพิ่มเติม[ 8]
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ระบบหล่อเย็นของเครื่องปฏิกรณ์สามเครื่อง (หมายเลข 1, 2 และ 4) ที่ห้องควบคุมความดันมีอุณหภูมิสูงถึง 100 °C ระหว่าง 5.30 น. และ 6.10 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น[ 9] [ 10] [ 11] ทำให้ระบบหล่อเย็นทั้งหมด (ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างห้องควบคุมความดันกับเครื่องปฏิกรณ์) ไม่มีประสิทธิภาพ[ 8] ระบบหล่อเย็นในห้องปั๊มได้รับการซ่อมแซมและเปิดใช้การได้ในหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าที่ 1, 2 และ 4 ไม่กี่วันหลังจากการปิดตัวลงฉุกเฉินหลังจากการลดความร้อนเริ่มต่อไปได้[ 9] จนกระทั่งอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 100 °C ในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2 ราว 34 ชั่วโมงหลังจากการปิดฉุกเฉิน[ 9] เช่นเดียวกับเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1 และ 3 เมื่อเวลา 1.24 น. และ 3.52 น. ของวันที่ 14 มีนาคม และเครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 เมื่อเวลา 7.00 น. ของวันที่ 15 มีนาคม[ 12] การสูญเสียน้ำหล่อเย็นในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 4 ถูกจัดเป็นระดับที่ 3 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (เหตุขัดข้องอย่างรุนแรง) โดยทางการญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม[ 13] [ 14]
อ้างอิง
↑ Tepco site (Japanese). Text and answers to the Fukushima II plant quiz [ลิงก์เสีย ] . Page 8.
↑ 2.0 2.1 "Japan initiates emergency protocol after earthquake" . Nuclear Engineering International. March 11, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011 .
↑ "Information on the Japanese Earthquake and Reactors in That Region" . Nuclear Energy Institute . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011 .
↑ Sumit Paul-Choudhury, Rowan Hooper (March 13, 2011). "Japanese nuclear crisis spreads to two more plants" . NewScientist .
↑ Pete Norman (March 13, 2011). "Japan: 200,000 Evacuated From Near Reactors" . Sky News .
↑ 6.0 6.1 "Fukushima faced 14-metre tsunami" . World Nuclear News . March 24, 2011. สืบค้นเมื่อ March 24, 2011 .
↑ "The record of the earthquake intensity observed at Fukushima Daiichi Nuclear Power Station and Fukushima Daini Nuclear Power Station (Interim Report)" . TEPCO . 1 April 2011.
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "Insight to Fukushima engineering challenges" . World Nuclear News . March 18, 2011. สืบค้นเมื่อ March 19, 2011 .
↑ 9.0 9.1 9.2 Cold shutdowns at Fukushima Daini , World Nuclear News, March 2011, สืบค้นเมื่อ March 14, 2011
↑ reports for reactor 1 , reactor 2 , and reactor 4 of Tokyo Electric, received 11:50 JST
↑ Winter, Michael "Cooling system fails at 3 reactors at another Japanese nuclear plant" USA Today, March 11, 2011, 6:01 EST.
↑ "All Fukushima No.2 plant reactors safely halted" . Tuesday, March 15, 2011 11:58 +0900 (JST). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ March 15, 2011 .
↑ "IAEA Update on Japan Earthquake" . สืบค้นเมื่อ March 16, 2011 . Japanese authorities have assessed that the loss of cooling functions in the reactor Units 1, 2 and 4 of the Fukushima Daini nuclear power plant has also been rated as 3. All reactor Units at Fukushima Daini nuclear power plant are now in a cold shut down condition..
↑ http://www.huffingtonpost.com/t/flash-japan-nuclear-safet_2_48671013055111168.html
ธรณีวิทยา พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ
สาธารณูปโภค ที่ได้รับผลกระทบ อุบัติภัยนิวเคลียร์